ลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวชั่วคราววันแรกที่สมุทรสาคร ตรวจพบโรคต้องห้ามในการทำงาน 2 ราย ต้องส่งกลับประเทศ คาดภายใน 1 เดือน ยังลงทะเบียนไม่ครบ 1 แสนราย มั่นใจระดมเจ้าหน้าที่ไม่กระทบบริการประชาชนทั่วไป
วันนี้ (1 ก.ค.) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด 20 จังหวัด ที่มีการเปิดจุดรับลงทะเบียนชั่วคราวแรงงานต่างด้าวไม่ถูกกฎหมาย ว่า หลังจากที่มีการเปิดศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ที่ จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. เป็นวันแรก ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีผู้แจ้งลงทะเบียน 2,020 คน แต่มาลงทะเบียน 1,998 คน ทั้งนี้ การตรวจสุขภาพบางอย่างสามารถทราบผล ณ ที่ตรวจได้เลย เช่น การเอกซเรย์ปอด ตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติด ส่วนการตรวจเลือดยังต้องรอผลวิเคราะห์ ซึ่งจะรู้ผลใน 3 วัน โดยหากตรวจพบโรคต้องห้ามในการทำงาน อาทิ โรคซิฟิลิสระยะที่ 3 วัณโรคระยะแพร่เชื้อ ติดสารเสพติด จิตฟั่นเฟือน เป็นต้น จะประสานกับตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ให้ส่งกลับประเทศ
“เบื้องต้นตรวจพบโรคต้องห้ามในการทำงานของแรงงานต่างด้าวจำนวน 2 คน สำหรับการดำเนินงานลงทะเบียนในวันแรกพบว่า มีปัญหาเรื่องการบันทึกข้อมูล เพราะต้องบันทึกข้อมูลชื่อเป็นภาษาอังกฤษ แต่เจอปัญหาแรงงานสะกดชื่อเป็นภาษาอังกฤษไม่เป็น จึงทำให้เสียเวลา นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องการตรวจสอบอายุเด็ก เช่น บางรายรูปร่างเหมือนเด็กอายุ 7 ขวบ แต่บอกว่าอายุ 11 ขวบ ซึ่งไม่มีเอกสารหลักฐานยืนยัน จึงต้องตรวจสอบให้ละเอียด อย่างไรก็ตาม คาดว่า ภายใน 1 เดือน คงไม่สามารถลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวได้ทั้งหมด 1 แสนราย ส่วน” นพ.ศุภกิจ กล่าว
นพ.ศุภกิจ กล่าวด้วยว่า แม้จะระดมเจ้าหน้าที่ให้มาดำเนินการมากขึ้น อย่างกรณีการตรวจเลือดนั้น ขอยืนยันว่าจะไม่กระทบต่อบริการประชาชนทั่วไป และได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ว่าสามารถดำเนินการได้ตามกำหนด และขณะนี้ได้กำชับให้จังหวัดอื่นที่จะมีการเปิดให้แรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนชั่วคราวต่อไปเตรียมสถานพยาบาลรองรับแล้ว เช่น จ.ตาก กรุงเทพฯ ชลบุรี นนทบุรี เชียงใหม่ และเชียงราย มั่นใจว่าจะไม่กระทบต่อการให้บริการทางห้องปฏิบัติการแก่ประชาชนทั่วไป
นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า การตรวจสุขภาพและออกบัตรประกันสุขภาพให้แก่แรงงานต่างด้าวที่มาลงทะเบียนชั่วคราว จะมีอยู่ 2 อัตรา คือ 1,000 บาท แบ่งเป็นค่าตรวจสุขภาพ 500 บาท และบัตรประกันสุขภาพ 500 บาท คุ้มครอง 3 เดือน และ 1,400 บาท แบ่งเป็นค่าตรวจสุขภาพ 500 บาท และบัตรประกันสุขภาพ 900 บาท คุ้มครอง 6 เดือน ส่วนแรงงานที่พิสูจน์สัญชาติแล้วเข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมายจะอยู่ในราคา 2,100 บาท แบ่งเป็นตรวจสุขภาพ 500 บาท และบัตรประกันสุขภาพ 1,600 บาท คุ้มครอง 1 ปี ซึ่งการทำบัตรประกันสุขภาพทั้งหมดนี้ถือเป็นเรื่องดี เพราะหากแรงงานต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่เข้าสู่ระบบประกันสังคม จะต้องรอจ่ายสมทบให้ครบ 3 เดือน หรือ 90 วันจึงจะเกิดสิทธิ บัตรประกันสุขภาพตรงนี้จะช่วยลดช่องว่างระหว่างการอสิทธิได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (1 ก.ค.) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด 20 จังหวัด ที่มีการเปิดจุดรับลงทะเบียนชั่วคราวแรงงานต่างด้าวไม่ถูกกฎหมาย ว่า หลังจากที่มีการเปิดศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ที่ จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. เป็นวันแรก ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีผู้แจ้งลงทะเบียน 2,020 คน แต่มาลงทะเบียน 1,998 คน ทั้งนี้ การตรวจสุขภาพบางอย่างสามารถทราบผล ณ ที่ตรวจได้เลย เช่น การเอกซเรย์ปอด ตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติด ส่วนการตรวจเลือดยังต้องรอผลวิเคราะห์ ซึ่งจะรู้ผลใน 3 วัน โดยหากตรวจพบโรคต้องห้ามในการทำงาน อาทิ โรคซิฟิลิสระยะที่ 3 วัณโรคระยะแพร่เชื้อ ติดสารเสพติด จิตฟั่นเฟือน เป็นต้น จะประสานกับตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ให้ส่งกลับประเทศ
“เบื้องต้นตรวจพบโรคต้องห้ามในการทำงานของแรงงานต่างด้าวจำนวน 2 คน สำหรับการดำเนินงานลงทะเบียนในวันแรกพบว่า มีปัญหาเรื่องการบันทึกข้อมูล เพราะต้องบันทึกข้อมูลชื่อเป็นภาษาอังกฤษ แต่เจอปัญหาแรงงานสะกดชื่อเป็นภาษาอังกฤษไม่เป็น จึงทำให้เสียเวลา นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องการตรวจสอบอายุเด็ก เช่น บางรายรูปร่างเหมือนเด็กอายุ 7 ขวบ แต่บอกว่าอายุ 11 ขวบ ซึ่งไม่มีเอกสารหลักฐานยืนยัน จึงต้องตรวจสอบให้ละเอียด อย่างไรก็ตาม คาดว่า ภายใน 1 เดือน คงไม่สามารถลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวได้ทั้งหมด 1 แสนราย ส่วน” นพ.ศุภกิจ กล่าว
นพ.ศุภกิจ กล่าวด้วยว่า แม้จะระดมเจ้าหน้าที่ให้มาดำเนินการมากขึ้น อย่างกรณีการตรวจเลือดนั้น ขอยืนยันว่าจะไม่กระทบต่อบริการประชาชนทั่วไป และได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ว่าสามารถดำเนินการได้ตามกำหนด และขณะนี้ได้กำชับให้จังหวัดอื่นที่จะมีการเปิดให้แรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนชั่วคราวต่อไปเตรียมสถานพยาบาลรองรับแล้ว เช่น จ.ตาก กรุงเทพฯ ชลบุรี นนทบุรี เชียงใหม่ และเชียงราย มั่นใจว่าจะไม่กระทบต่อการให้บริการทางห้องปฏิบัติการแก่ประชาชนทั่วไป
นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า การตรวจสุขภาพและออกบัตรประกันสุขภาพให้แก่แรงงานต่างด้าวที่มาลงทะเบียนชั่วคราว จะมีอยู่ 2 อัตรา คือ 1,000 บาท แบ่งเป็นค่าตรวจสุขภาพ 500 บาท และบัตรประกันสุขภาพ 500 บาท คุ้มครอง 3 เดือน และ 1,400 บาท แบ่งเป็นค่าตรวจสุขภาพ 500 บาท และบัตรประกันสุขภาพ 900 บาท คุ้มครอง 6 เดือน ส่วนแรงงานที่พิสูจน์สัญชาติแล้วเข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมายจะอยู่ในราคา 2,100 บาท แบ่งเป็นตรวจสุขภาพ 500 บาท และบัตรประกันสุขภาพ 1,600 บาท คุ้มครอง 1 ปี ซึ่งการทำบัตรประกันสุขภาพทั้งหมดนี้ถือเป็นเรื่องดี เพราะหากแรงงานต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่เข้าสู่ระบบประกันสังคม จะต้องรอจ่ายสมทบให้ครบ 3 เดือน หรือ 90 วันจึงจะเกิดสิทธิ บัตรประกันสุขภาพตรงนี้จะช่วยลดช่องว่างระหว่างการอสิทธิได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่