สธ. จัดทีมตรวจสุขภาพ - ขายบัตรประกันสุขภาพ รองรับแรงงานเขมรไหลกลับเข้าไทย พร้อมลดค่าตรวจสุขภาพและค่าบัตรประกัน แต่ได้สิทธิการรักษาเท่าเดิม เล็งใช้สมุทรสาครโมเดลขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวใต้ดินทั้งหมด เสนอเว้นแรงงานต่างด้าวออกจากประกันสังคม เหตุไม่ครอบคลุม ดันเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพ สธ. อึ้ง! แรงงานต่างด้าวป่วยวัณโรคกว่า 2 พันคน
วันนี้ (25 มิ.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ร่วมกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ทั่วประเทศ เพื่อเตรียมรองรับการไหลกลับของแรงงานต่างด้าวประมาณ 1.3 แสนคน ว่า ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยออกบัตรประจำตัวชั่วคราว อายุ 60 วัน ให้แก่แรงงานต่างด้าว ซึ่งจะกลับเข้ามาทาง 4 จังหวัด คือ สระแก้ว ตราด สุรินทร์ และ ศรีสะเกษ โดยให้อยู่ที่ศูนย์พักรอ เพื่อรอให้นายจ้างมารับกลับ ซึ่งตนได้สั่งการให้ สสจ. และโรงพยาบาลในจังหวัดปลายทางที่คาดว่าจะมีแรงงานชาวกัมพูชาไหลกลับเข้ามาประสานกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดว่ามีจำนวนแรงงานต่างด้าวเท่าไร เพื่อเตรียมเจ้าหน้าที่จัดบริการตรวจสุขภาพและขายบัตรประกันสุขภาพแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว (One Stop Service)
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ได้มีการปรับลดค่าตรวจสุขภาพจากเดิม 600 บาท เหลือ 500 บาท และบัตรประกันสุขภาพจาก 2,200 บาท เหลือ 1,600 บาท แต่ได้สิทธิประโยชน์เท่าเดิม อย่างไรก็ตาม หากแรงงานต่างด้าวไม่มาตรวจสุขภาพและซื้อบัตรประกันสุขภาพ เมื่อบัตรชั่วคราวหมดอายุ 60 วัน ก็จะถูกตามเพื่อส่งตัวกลับประเทศ นอกจากนี้ ยังจะใช้สมุทรสาครโมเดล ที่จะเปิดโอกาสให้แรงงานต่างด้าวใต้ดินทั้งลาว กัมพูชา และพม่า ได้มาขึ้นทะเบียน ตรวจสุขภาพ และซื้อบัตรประกันสุขภาพ เพื่อเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย หากสมุทรสาครทำแล้วมีประสิทธิภาพก็จะขยายต่อไปยังจังหวัดอื่นที่มีแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมากและขยายต่อไปยังทุกจังหวัดทั่วประเทศ
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ข้อมูลจากกรมการจัดหางานพบว่า มีแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายประมาณ 2.1 ล้านคน แบ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่พิสูจน์สัญชาติแล้ว 1.8 ล้านคน นำเข้าตามข้อตกลงระหว่างประเทศจำนวน 3 แสนคน ส่วนจำนวนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายไม่ชัดเจน แต่มีการศึกษาว่าน่าจะมีประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่เข้าสู่ระบบประกันสังคมมีประมาณ 4 แสนคน และซื้อบัตรประกันสุขภาพของ สธ. อีก 4 แสนคน เท่ากับว่ายังมีแรงงานต่างด้าวอีกกว่า 3 ล้านคนที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพซึ่งจะเป็นปัญหาได้ โดยในปี 2555 มีแรงงานต่างด้าวเข้ารับการตรวจสุขภาพ 587,000 คน พบป่วยวัณโรค 2,034 คน อยู่ในระยะแพร่เชื้อสู่คนอื่นได้ 195 คน โรคซิฟิลิส 1,359 คน โรคเท้าช้าง 38 คน สารเสพติด 321 คน ซึ่งโรงพยาบาลสังกัด สธ.ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายแรงงานต่างด้าวเจ็บป่วย แต่เก็บเงินไม่ได้กว่า 300 ล้านบาท จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องผลักดันให้แรงงานต่างด้าวทั้งหมดเข้าสู่ระบบ
“กฎหมายประกันสังคมไม่เหมาะกับแรงงานต่างด้าว เพราะตามกฎหมายจะครอบคลุมเฉพาะแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในสถานประกอบการที่จดทะเบียน แต่ไม่ครอบคุลมแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองมาอย่างถูกกฎหมายแต่ไปทำอาชีพคนรับใช้ ประมง เกษตรกร เป็นต้น จึงมองว่าการดำเนินการในระยะต่อไปอาจจะต้องแก้กฎหมายให้เว้นแรงงานต่างด้าวออกจากระบบประกันสังคม แล้วไปอยู่ในระบบบัตรประกันสุขภาพของ สธ. แทน” นพ.ศุภกิจ กล่าวและว่า ทั้งนี้ หาก คสช.ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่ไหลกลับเข้ามาพาครบอครัวกลับเข้ามาด้วยได้ ก็จะให้ครอบครัวตรวจสุขภาพและทำบัตรประกันสุขภาพด้วย โดยผู้ใหญ่จะเสียค่าบัตรประกันสุขภาพราคา 1,600 บาทเช่นกัน ส่วนเด็กค่าบัตรประกันอยู่ที่ 365 บาท
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (25 มิ.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ร่วมกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ทั่วประเทศ เพื่อเตรียมรองรับการไหลกลับของแรงงานต่างด้าวประมาณ 1.3 แสนคน ว่า ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยออกบัตรประจำตัวชั่วคราว อายุ 60 วัน ให้แก่แรงงานต่างด้าว ซึ่งจะกลับเข้ามาทาง 4 จังหวัด คือ สระแก้ว ตราด สุรินทร์ และ ศรีสะเกษ โดยให้อยู่ที่ศูนย์พักรอ เพื่อรอให้นายจ้างมารับกลับ ซึ่งตนได้สั่งการให้ สสจ. และโรงพยาบาลในจังหวัดปลายทางที่คาดว่าจะมีแรงงานชาวกัมพูชาไหลกลับเข้ามาประสานกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดว่ามีจำนวนแรงงานต่างด้าวเท่าไร เพื่อเตรียมเจ้าหน้าที่จัดบริการตรวจสุขภาพและขายบัตรประกันสุขภาพแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว (One Stop Service)
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ได้มีการปรับลดค่าตรวจสุขภาพจากเดิม 600 บาท เหลือ 500 บาท และบัตรประกันสุขภาพจาก 2,200 บาท เหลือ 1,600 บาท แต่ได้สิทธิประโยชน์เท่าเดิม อย่างไรก็ตาม หากแรงงานต่างด้าวไม่มาตรวจสุขภาพและซื้อบัตรประกันสุขภาพ เมื่อบัตรชั่วคราวหมดอายุ 60 วัน ก็จะถูกตามเพื่อส่งตัวกลับประเทศ นอกจากนี้ ยังจะใช้สมุทรสาครโมเดล ที่จะเปิดโอกาสให้แรงงานต่างด้าวใต้ดินทั้งลาว กัมพูชา และพม่า ได้มาขึ้นทะเบียน ตรวจสุขภาพ และซื้อบัตรประกันสุขภาพ เพื่อเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย หากสมุทรสาครทำแล้วมีประสิทธิภาพก็จะขยายต่อไปยังจังหวัดอื่นที่มีแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมากและขยายต่อไปยังทุกจังหวัดทั่วประเทศ
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ข้อมูลจากกรมการจัดหางานพบว่า มีแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายประมาณ 2.1 ล้านคน แบ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่พิสูจน์สัญชาติแล้ว 1.8 ล้านคน นำเข้าตามข้อตกลงระหว่างประเทศจำนวน 3 แสนคน ส่วนจำนวนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายไม่ชัดเจน แต่มีการศึกษาว่าน่าจะมีประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่เข้าสู่ระบบประกันสังคมมีประมาณ 4 แสนคน และซื้อบัตรประกันสุขภาพของ สธ. อีก 4 แสนคน เท่ากับว่ายังมีแรงงานต่างด้าวอีกกว่า 3 ล้านคนที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพซึ่งจะเป็นปัญหาได้ โดยในปี 2555 มีแรงงานต่างด้าวเข้ารับการตรวจสุขภาพ 587,000 คน พบป่วยวัณโรค 2,034 คน อยู่ในระยะแพร่เชื้อสู่คนอื่นได้ 195 คน โรคซิฟิลิส 1,359 คน โรคเท้าช้าง 38 คน สารเสพติด 321 คน ซึ่งโรงพยาบาลสังกัด สธ.ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายแรงงานต่างด้าวเจ็บป่วย แต่เก็บเงินไม่ได้กว่า 300 ล้านบาท จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องผลักดันให้แรงงานต่างด้าวทั้งหมดเข้าสู่ระบบ
“กฎหมายประกันสังคมไม่เหมาะกับแรงงานต่างด้าว เพราะตามกฎหมายจะครอบคลุมเฉพาะแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในสถานประกอบการที่จดทะเบียน แต่ไม่ครอบคุลมแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองมาอย่างถูกกฎหมายแต่ไปทำอาชีพคนรับใช้ ประมง เกษตรกร เป็นต้น จึงมองว่าการดำเนินการในระยะต่อไปอาจจะต้องแก้กฎหมายให้เว้นแรงงานต่างด้าวออกจากระบบประกันสังคม แล้วไปอยู่ในระบบบัตรประกันสุขภาพของ สธ. แทน” นพ.ศุภกิจ กล่าวและว่า ทั้งนี้ หาก คสช.ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่ไหลกลับเข้ามาพาครบอครัวกลับเข้ามาด้วยได้ ก็จะให้ครอบครัวตรวจสุขภาพและทำบัตรประกันสุขภาพด้วย โดยผู้ใหญ่จะเสียค่าบัตรประกันสุขภาพราคา 1,600 บาทเช่นกัน ส่วนเด็กค่าบัตรประกันอยู่ที่ 365 บาท
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่