จากการคาดการณ์ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล คาดว่าในช่วงกลางปี 2557 จะมีจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในประเทศไทยมากถึง 9.9 ล้านคน และประชากรวัย 65 ปีขึ้นไป มากถึง 6.6 ล้านคน
เรียกได้ว่าสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ หมายความว่า “คนแก่” จะกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแล เพราะผู้สูงอายุนั้นแน่นอนว่าร่างกายย่อมเสื่อมสภาพไปตามวัย แต่ขณะที่หนุ่มสาวคนวัยทำงานที่จะต้องคอยดูแลผู้สูงอายุกลับมีจำนวนลดลง อาจกระทบต่อการดูแลในอนาคตได้
แน่นอนว่าแนวทางหนึ่งในการลดปัญหาเรื่องคนวัยทำงานน้อยลง คือ การยืดอายุเวลาการทำงานก่อนเกษียณออกไป เช่น จากการที่เกษียณอายุทำงานจากเดิม 60 ปี ออกไปเป็น 65 ปี แต่การดูแลผู้สูงอายุก็ยังคงประสบปัญหาอยู่
ทั้งนี้ หลายประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วอย่างญี่ปุ่น ก็มีการจัดระบบในการดูแลผู้สูงอายุ แต่ทว่ากลับประสบปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุที่มากกว่าค่าบริการทางสาธารณสุข ซึ่ง นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สะท้อนว่า หากประเทศไทยจัดตั้งกองทุนดูแลผู้สูงอายุขึ้น โดยที่มีการจัดระบบไม่ดีพอ ประเทศไทยก็อาจจะประสบปัญหาเช่นเดียวกับญี่ปุ่นหรือสหรัฐอเมริกาได้เช่นกัน
แล้วระบบแบบใดที่มีความเหมาะสมกับประเทศไทย และไม่สร้างภาระแก่งบประมาณของประเทศ ที่สำคัญช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการในการดูแลด้วย นพ.ประทีป ให้ข้อมูลว่า ต้องมีการจัดตั้งกองทุนดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงต้องการการดูแล ซึ่งจะตั้งเป็นกองทุนใหม่แยกต่างหากจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการข้าราชการ เท่ากับว่าคนแก่ทุกคนในประเทศจะได้รับการดูแลจากกองทุนนี้ทั้งหมด ไม่ว่าจะมีสิทธิการรักษาใดก็ตาม ซึ่งจะไม่มีความซ้ำซ้อนกับกองทุนชราภาพของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งกองทุนชราภาพจะเน้นเรื่องการจ่ายบำเหน็จบำนาญ คือให้ผู้สูงอายุมีเงินใช้จ่ายในแต่ละเดือน ส่วนกองทุนที่ตั้งใหม่นี้จะเน้นเรื่องการดูแลรักษาพยาบาล
“ส่วนการดำเนินงานอย่างไรไม่ให้ประสบปัญหาค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากอย่างญี่ปุ่นนั้น ระบบของกองทุนนี้ออกแบบมาให้แต่ละตำบลมีค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุประมาณ 2 หมื่นบาทต่อคนต่อปี งบประมาณแบ่งกันรับผิดชอบคนละครึ่งหนึ่งระหว่างงบประมาณกลางจากรัฐบาล และเงินสมทบจากท้องถิ่นหรือเทศบาลต่างๆ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 2,000 แห่ง โดยรวมแล้วแต่ละส่วนจะต้องลงงบประมาณส่วนละ 800 ล้านบาท รวมคือ 1,600 ล้านบาทในการดูแล”
นพ.ประทีป อธิบายต่อว่า การดำเนินงานจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะละ 1 ปี โดยปีแรกจะนำร่องใน 10 จังหวัดที่มีความพร้อมก่อน และค่อยขยายให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งการที่กองทุนนี้จะไม่ประสบปัญหาอย่างต่างประเทศนั้น เพราะเน้นให้ชุมชนบริหารจัดการกันเอง จะช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการ ด้วยการตั้งศูนย์ประจำการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สามารถเดินทางไปกลับเองได้ เรียกว่า ศูนย์เดย์แคร์ (Day Care) การดูแลจึงเป็นไปในลักษณะไปเช้าเย็นกลับ นอกจากนี้ จะมีการตั้งศูนย์ฝึกอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุด้วย
ส่วนการจะมีการเรียกเก็บเงินคนวัยทำงานเข้ากองทุนนี้ เพื่อเอาไว้ใช้ในการดูแลตัวเองต่อไปในอนาคตหรือไม่นั้น นพ.ประทีป บอกว่า จะต้องมีการหารืออีกครั้งหนึ่ง ซึ่งยังคงให้คำตอบชัดเจนขณะนี้ไม่ได้
“เราจะมีการหารือถึงเรื่องทั้งหมดนี้ร่วมกับกองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการข้าราชการ ในการประชุมใหญ่ปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 2 และจะมีการเสนอเรื่องนี้ต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต่อไป”
หากมีการตั้งกองทุนนี้ขึ้นจริง เชื่อได้ว่าผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลอย่างดี แต่ที่น่าห่วงคือในเขตเมืองอย่าง กทม. ที่มีบริบทแวดล้อมแตกต่างจากสังคมชนบท ต้องมีการออกแบบระบบที่แตกต่างออกไปหรือไม่ คงเป็นเรื่องที่ สปสช. และกองทุนต่างๆ ต้องร่วมกันหาคำตอบด้วยเช่นกัน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
เรียกได้ว่าสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ หมายความว่า “คนแก่” จะกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแล เพราะผู้สูงอายุนั้นแน่นอนว่าร่างกายย่อมเสื่อมสภาพไปตามวัย แต่ขณะที่หนุ่มสาวคนวัยทำงานที่จะต้องคอยดูแลผู้สูงอายุกลับมีจำนวนลดลง อาจกระทบต่อการดูแลในอนาคตได้
แน่นอนว่าแนวทางหนึ่งในการลดปัญหาเรื่องคนวัยทำงานน้อยลง คือ การยืดอายุเวลาการทำงานก่อนเกษียณออกไป เช่น จากการที่เกษียณอายุทำงานจากเดิม 60 ปี ออกไปเป็น 65 ปี แต่การดูแลผู้สูงอายุก็ยังคงประสบปัญหาอยู่
ทั้งนี้ หลายประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วอย่างญี่ปุ่น ก็มีการจัดระบบในการดูแลผู้สูงอายุ แต่ทว่ากลับประสบปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุที่มากกว่าค่าบริการทางสาธารณสุข ซึ่ง นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สะท้อนว่า หากประเทศไทยจัดตั้งกองทุนดูแลผู้สูงอายุขึ้น โดยที่มีการจัดระบบไม่ดีพอ ประเทศไทยก็อาจจะประสบปัญหาเช่นเดียวกับญี่ปุ่นหรือสหรัฐอเมริกาได้เช่นกัน
แล้วระบบแบบใดที่มีความเหมาะสมกับประเทศไทย และไม่สร้างภาระแก่งบประมาณของประเทศ ที่สำคัญช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการในการดูแลด้วย นพ.ประทีป ให้ข้อมูลว่า ต้องมีการจัดตั้งกองทุนดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงต้องการการดูแล ซึ่งจะตั้งเป็นกองทุนใหม่แยกต่างหากจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการข้าราชการ เท่ากับว่าคนแก่ทุกคนในประเทศจะได้รับการดูแลจากกองทุนนี้ทั้งหมด ไม่ว่าจะมีสิทธิการรักษาใดก็ตาม ซึ่งจะไม่มีความซ้ำซ้อนกับกองทุนชราภาพของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งกองทุนชราภาพจะเน้นเรื่องการจ่ายบำเหน็จบำนาญ คือให้ผู้สูงอายุมีเงินใช้จ่ายในแต่ละเดือน ส่วนกองทุนที่ตั้งใหม่นี้จะเน้นเรื่องการดูแลรักษาพยาบาล
“ส่วนการดำเนินงานอย่างไรไม่ให้ประสบปัญหาค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากอย่างญี่ปุ่นนั้น ระบบของกองทุนนี้ออกแบบมาให้แต่ละตำบลมีค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุประมาณ 2 หมื่นบาทต่อคนต่อปี งบประมาณแบ่งกันรับผิดชอบคนละครึ่งหนึ่งระหว่างงบประมาณกลางจากรัฐบาล และเงินสมทบจากท้องถิ่นหรือเทศบาลต่างๆ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 2,000 แห่ง โดยรวมแล้วแต่ละส่วนจะต้องลงงบประมาณส่วนละ 800 ล้านบาท รวมคือ 1,600 ล้านบาทในการดูแล”
นพ.ประทีป อธิบายต่อว่า การดำเนินงานจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะละ 1 ปี โดยปีแรกจะนำร่องใน 10 จังหวัดที่มีความพร้อมก่อน และค่อยขยายให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งการที่กองทุนนี้จะไม่ประสบปัญหาอย่างต่างประเทศนั้น เพราะเน้นให้ชุมชนบริหารจัดการกันเอง จะช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการ ด้วยการตั้งศูนย์ประจำการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สามารถเดินทางไปกลับเองได้ เรียกว่า ศูนย์เดย์แคร์ (Day Care) การดูแลจึงเป็นไปในลักษณะไปเช้าเย็นกลับ นอกจากนี้ จะมีการตั้งศูนย์ฝึกอบรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุด้วย
ส่วนการจะมีการเรียกเก็บเงินคนวัยทำงานเข้ากองทุนนี้ เพื่อเอาไว้ใช้ในการดูแลตัวเองต่อไปในอนาคตหรือไม่นั้น นพ.ประทีป บอกว่า จะต้องมีการหารืออีกครั้งหนึ่ง ซึ่งยังคงให้คำตอบชัดเจนขณะนี้ไม่ได้
“เราจะมีการหารือถึงเรื่องทั้งหมดนี้ร่วมกับกองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการข้าราชการ ในการประชุมใหญ่ปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 2 และจะมีการเสนอเรื่องนี้ต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต่อไป”
หากมีการตั้งกองทุนนี้ขึ้นจริง เชื่อได้ว่าผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลอย่างดี แต่ที่น่าห่วงคือในเขตเมืองอย่าง กทม. ที่มีบริบทแวดล้อมแตกต่างจากสังคมชนบท ต้องมีการออกแบบระบบที่แตกต่างออกไปหรือไม่ คงเป็นเรื่องที่ สปสช. และกองทุนต่างๆ ต้องร่วมกันหาคำตอบด้วยเช่นกัน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่