สปสช. ปัดสั่งหมออนามัยคีย์ข้อมูลสุขภาพ เผยให้ทำแค่เรื่องเดียว ที่เหลือเป็นการกำหนดของ สธ. 21 แฟ้ม และกรมต่างๆ ใน สธ. ระบุมีเพียงส่วนน้อยที่มีปัญหา ระบุต้องใช้ข้อมูลเป็นผลงานพิจารณางบลงหน่วยบริการ หากส่งบันทึกไม่ตรงเวลาเท่ากับไม่มีผลงาน แนะ สธ. จัดระเบียบกรมมอบหมายงาน ระบบบันทึกข้อมูล ลดภาระหมออนามัย
วันนี้ (25 มิ.ย.) นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือหมออนามัยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เปิดเผยถึงการทำงานในปัจจุบันที่ต้องบันทึกข้อมูลสุขภาพประชาชนจำนวนมาก ต้องส่งข้อมูลเป็นรายเดือน หากไม่ส่งจะไม่ได้งบประมาณจาก สปสช. ทำให้ไม่มีเวลาลงเยี่ยมบ้านประชาชน ซึ่งเป็นภารกิจหลัก ว่า จริงๆ แล้วการบันทึกข้อมูลสุขภาพ 21 แฟ้ม เป็นการกำหนดโดยกระทรวงสาธารรสุข (สธ.) มีเพียงเรื่องข้อมูลการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่เท่านั้นที่มีการกำหนดให้ รพ.สต. บันทึกและส่งข้อมูล แต่ก็เป็นการดำเนินการเฉพาะ รพ.สต. ที่มีแพทย์ประจำอนู่เท่านั้น
นพ.ประทีป กล่าวอีกว่า สำหรับข้อมูลที่ รพ.สต. ต้องบันทึกมี 4 ส่วนหลัก คือ 1. งานประจำ เช่น บันทึกข้อมูลการให้บริการตรวจรักษา 2. ข้อมูลบริการพื้นฐานตามมาตรฐานที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) กำหนด 3. ข้อมูลที่ต้องบันทึกเพิ่มเติมจากที่กรมและหน่วยงานต่างๆ ระบุ เช่น คัดกรองมะเร็งปากมดลูก และชั่งน้ำหนักนักเรียน เป็นต้น และ 4. งานที่ สปสช. มอบหมาย ซึ่งมีเพียงการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่
“รพ.สต. ที่สามารถบริหารจัดการเรื่องการบันทึกข้อมูลได้ดีมีประมาณ 50% จัดการได้ดีมากมี 1 ใน 3 คือ สามารถประมวลผลข้อมูลและนำไปใช้กับงานที่ดำเนินการได้เอง มีเพียงส่วนน้อยที่การบันทึกข้อมูลส่งผลต่อการทำงาน ทั้งนี้ ข้อมูลที่ รพ.สต. ต้องบันทึกส่วนใหญ่เป็นการกำหนดโดยกรมต่างๆ เช่น การคัดกรองเบาหวาน สปสช. กำหนดให้คัดกรองผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป แต่กรมควบคุมโรคกำหนดให้ดำเนินการในผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และต้องทำให้ได้ 90% จึงเป็นภาระหนักให้กับหมออนามัย ดังนั้น หาก สธ. สามารถจัดระเบียบการมอบหมายงานแก่ รพ.สต. และจัดระบบการบันทึกข้อมูลใหม่ก็จะช่วยหมออนามัยได้มากขึ้น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันในการออกแบบระบบข้อมูลและเก็บข้อมูลใหม่ ไม่ให้การเก็บข้อมูลเป็นภาระอยู่ที่ รพ.สต. อย่างเดียว และการส่งข้อมูลควรสรุปตามตัวชี้วัดแล้วส่งให้ สธ. และ สปสช. เท่านั้น” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.ประทีป กล่าวด้วยว่า ส่วนประเด็นการกำหนดเวลาส่งงานบันทึกข้อมูลจนกระทบกับการดูแลเยี่ยมบ้านประชาชนนั้น การทำงานของเจ้าหน้าที่จริงแล้วๆ ก็มีการบันทึกข้อมูลตามวันที่ให้บริการ เช่น ให้บริการเบาหวานวันพุธ ก็บันทึกข้อมูลเบาหวานในวันนั้นแล้วส่งข้อมูลไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นรายเดือน แบบนี้ก็ยิ่งทำให้การทำงานเป็นระบบมากขึ้น ง่ายต่อการทำงาน ส่วนกรณีส่งข้อมูลไม่ตรงตามเวลาจะไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก สปสช. นั้น ความจริงคือ สปสช. จัดสรรงบประมาณในรูปหน่วยบริการ โดยนำข้อมูล 21 แฟ้มจาก สธ. มาใช้เป็นข้อมูลที่เป็นผลงานของหน่วยบริการในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ดังนั้น หากไม่มีการส่งข้อมูลก็จะไม่มีผลงานของหน่วยบริการปรากฏสำหรับพิจารณาจัดสรรงบประมาณ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (25 มิ.ย.) นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือหมออนามัยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เปิดเผยถึงการทำงานในปัจจุบันที่ต้องบันทึกข้อมูลสุขภาพประชาชนจำนวนมาก ต้องส่งข้อมูลเป็นรายเดือน หากไม่ส่งจะไม่ได้งบประมาณจาก สปสช. ทำให้ไม่มีเวลาลงเยี่ยมบ้านประชาชน ซึ่งเป็นภารกิจหลัก ว่า จริงๆ แล้วการบันทึกข้อมูลสุขภาพ 21 แฟ้ม เป็นการกำหนดโดยกระทรวงสาธารรสุข (สธ.) มีเพียงเรื่องข้อมูลการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่เท่านั้นที่มีการกำหนดให้ รพ.สต. บันทึกและส่งข้อมูล แต่ก็เป็นการดำเนินการเฉพาะ รพ.สต. ที่มีแพทย์ประจำอนู่เท่านั้น
นพ.ประทีป กล่าวอีกว่า สำหรับข้อมูลที่ รพ.สต. ต้องบันทึกมี 4 ส่วนหลัก คือ 1. งานประจำ เช่น บันทึกข้อมูลการให้บริการตรวจรักษา 2. ข้อมูลบริการพื้นฐานตามมาตรฐานที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) กำหนด 3. ข้อมูลที่ต้องบันทึกเพิ่มเติมจากที่กรมและหน่วยงานต่างๆ ระบุ เช่น คัดกรองมะเร็งปากมดลูก และชั่งน้ำหนักนักเรียน เป็นต้น และ 4. งานที่ สปสช. มอบหมาย ซึ่งมีเพียงการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่
“รพ.สต. ที่สามารถบริหารจัดการเรื่องการบันทึกข้อมูลได้ดีมีประมาณ 50% จัดการได้ดีมากมี 1 ใน 3 คือ สามารถประมวลผลข้อมูลและนำไปใช้กับงานที่ดำเนินการได้เอง มีเพียงส่วนน้อยที่การบันทึกข้อมูลส่งผลต่อการทำงาน ทั้งนี้ ข้อมูลที่ รพ.สต. ต้องบันทึกส่วนใหญ่เป็นการกำหนดโดยกรมต่างๆ เช่น การคัดกรองเบาหวาน สปสช. กำหนดให้คัดกรองผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป แต่กรมควบคุมโรคกำหนดให้ดำเนินการในผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และต้องทำให้ได้ 90% จึงเป็นภาระหนักให้กับหมออนามัย ดังนั้น หาก สธ. สามารถจัดระเบียบการมอบหมายงานแก่ รพ.สต. และจัดระบบการบันทึกข้อมูลใหม่ก็จะช่วยหมออนามัยได้มากขึ้น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันในการออกแบบระบบข้อมูลและเก็บข้อมูลใหม่ ไม่ให้การเก็บข้อมูลเป็นภาระอยู่ที่ รพ.สต. อย่างเดียว และการส่งข้อมูลควรสรุปตามตัวชี้วัดแล้วส่งให้ สธ. และ สปสช. เท่านั้น” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.ประทีป กล่าวด้วยว่า ส่วนประเด็นการกำหนดเวลาส่งงานบันทึกข้อมูลจนกระทบกับการดูแลเยี่ยมบ้านประชาชนนั้น การทำงานของเจ้าหน้าที่จริงแล้วๆ ก็มีการบันทึกข้อมูลตามวันที่ให้บริการ เช่น ให้บริการเบาหวานวันพุธ ก็บันทึกข้อมูลเบาหวานในวันนั้นแล้วส่งข้อมูลไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นรายเดือน แบบนี้ก็ยิ่งทำให้การทำงานเป็นระบบมากขึ้น ง่ายต่อการทำงาน ส่วนกรณีส่งข้อมูลไม่ตรงตามเวลาจะไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก สปสช. นั้น ความจริงคือ สปสช. จัดสรรงบประมาณในรูปหน่วยบริการ โดยนำข้อมูล 21 แฟ้มจาก สธ. มาใช้เป็นข้อมูลที่เป็นผลงานของหน่วยบริการในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ดังนั้น หากไม่มีการส่งข้อมูลก็จะไม่มีผลงานของหน่วยบริการปรากฏสำหรับพิจารณาจัดสรรงบประมาณ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่