ก.แรงงาน จ่อแก้แรงงานต่างด้าวขาดแคลน หลังหนีกลับประเทศวุ่น หวั่นถูกกวาดล้าง ยันไม่มีการจับกุม เตรียมเดินหน้าโครงการเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นระบบแก้ปัญหา ให้แรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายพื้นที่ที่มีแรงงานมาก ไปทำงานพื้นที่ขาดแคลน พร้อมขู่เชือดข้าราชการเอี่ยวค้ามนุษย์
วันนี้ (18 มิ.ย.) ที่ศาลาประชาคมอ่าวอุดม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) ได้ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกรณีกระแสข่าวลือการกวาดล้างจับกุมแรงงานต่าวด้าว และนโยบายการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวแก่ผู้ประกอบการและแรงงานกัมพูชาโดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังประมาณ 1,500 คน
นายจีรศักดิ์ กล่าวหลังการประชุมว่า ขณะนี้มีแรงงานกัมพูชาเดินทางออกประเทศไทยไปแล้วกว่า 1 แสนคน โดยในจำนวนนี้เป็นแรงงานกัมพูชาในภาคตะวันออกร้อยละ 60 - 70 โดยเฉพาะภาคก่อสร้างและการเกษตรได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากมีปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างมาก จากการพูดคุยกับจัดหางานจังหวัดในภาคตะวันออกได้สรุปสถานการณ์แรงงานต่างด้าว พบว่า จังหวัดระยองมีแรงงานกัมพูชาที่ถูกกฎหมายเดินทางกลับประเทศมากที่สุดประมาณ 3 หมื่นคน นอกจากนี้ ยังมีแรงงานกัมพูชาที่ผิดกฎหมาย ซึ่งคาดว่ามีประมาณ 3 หมื่นคนเดินทางกลับไปด้วย
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า จากการที่ตนได้พูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดทราบทุกฝ่าย ทั้งทางจังหวัด ทหาร และหน่วยงานราชการต่างๆ ได้ร่วมมือกันชี้แจงทำความเข้าใจกับแรงงานต่างด้าวว่า คสช. ไม่มีนโยบายกวาดล้างจับกุมและผลักดันแรงงานต่าวด้าวอย่างเต็มที่ ซึ่งตนก็ได้ยืนยันว่า คสช. ไม่มีนโยบายจับกุม กวาดล้างแรงงานต่างด้าวในที่ประชุมด้วย นอกจากนี้ ยังได้ชี้แจงด้วยว่า คสช. มีนโยบายแก้ปัญหาและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างเด็ดขาด จะมีการเอาผิดตามกฎหมายทั้งผู้นำเข้ามา นายจ้าง และข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดในพื้นที่ต่างๆ คอยจับตาและตรวจสอบว่ามีข้าราชการและเจ้าหน้าที่หน่วยงานของกระทรวงแรงงานเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์และมีเรียกเก็บค่าหัวคิวแรงงานต่างด้าวหรือไม่ หากพบว่ามีข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องก็ให้แจ้งในทางลับมายังกระทรวงแรงงาน เพื่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบและเอาผิดต่อไป
นายจีรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานนั้น ตนได้แจ้งในที่ประชุมว่ากระทรวงแรงงานจะจัดทำโครงการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบโดยเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายในพื้นที่มีแรงงานต่างด้าวอยู่มากและต้องการเข้ามาทำงานในพื้นที่ขาดแคลนแรงงาน ซึ่งผู้ประกอบการในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ขาดแคลนแรงงานสามารถแจ้งเรื่องได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดในพื้นที่ได้ตั้งแต่วันนี้โดยให้แจ้งข้อมูลจำนวนแรงงานที่ต้องการ เพศ ลักษณะงานที่ทำ ค่าจ้าง ที่พัก และสวัสดิการต่างๆ หลังจากนั้นสำนักงานจัดหางานจังหวัดจะรวบรวมข้อมูลส่งมายังกระทรวงแรงงานซึ่งกระทรวงแรงงานจะส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวอยู่มากเพื่อเชิญชวนแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในจังหวัดที่มีปัญหาขาดแคลนแรงงาน นอกจากนี้ ยังมีเสียงเรียกร้องจากผู้ประกอบการด้านก่อสร้าง เนื่องจากมีงานก่อสร้างในหลายพื้นที่ทำให้ต้องเคลื่อนย้ายแรงงานบ่อยครั้งแต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 1 พันบาทต่อแรงงานต่างด้าว 1 คน จึงอยากให้กระทรวงงดเว้นค่าธรรมเนียมการเคลื่อนย้ายซึ่งกระทรวงแรงงานจะมาพิจารณาในแง่กฎหมายต่อไปว่าทำได้หรือไม่และจะช่วยเหลือได้อย่างไร
ด้านพล.ต.เกรียงศักดิ์ อรุณศรีโสภณ ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 เปิดเผยว่า ตามหน้าด่านที่จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด ยังคงมีแรงงานกัมพูชาไหลออกนอกประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีแรงงานเดินทางกลับประเทศแล้วกว่า 1 หมื่นคน ผ่านด่านบริเวณจังหวัดสระแก้วมากที่สุด ถึง 9,992 คน และตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา มีแรงงานกัมพชาไหลออกสะสมแล้วประมาณ 1 แสนคน โดยสาเหตุหลักยังคงมาจากการตื่นข่าวลือ รองลงมา คือ ถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ประจำด่านเกือบ 100 คน ชี้แจงทำความเข้าใจกับแรงงานที่เดินทางออกแล้ว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 มิ.ย.) ที่ศาลาประชาคมอ่าวอุดม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) ได้ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกรณีกระแสข่าวลือการกวาดล้างจับกุมแรงงานต่าวด้าว และนโยบายการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวแก่ผู้ประกอบการและแรงงานกัมพูชาโดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังประมาณ 1,500 คน
นายจีรศักดิ์ กล่าวหลังการประชุมว่า ขณะนี้มีแรงงานกัมพูชาเดินทางออกประเทศไทยไปแล้วกว่า 1 แสนคน โดยในจำนวนนี้เป็นแรงงานกัมพูชาในภาคตะวันออกร้อยละ 60 - 70 โดยเฉพาะภาคก่อสร้างและการเกษตรได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากมีปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างมาก จากการพูดคุยกับจัดหางานจังหวัดในภาคตะวันออกได้สรุปสถานการณ์แรงงานต่างด้าว พบว่า จังหวัดระยองมีแรงงานกัมพูชาที่ถูกกฎหมายเดินทางกลับประเทศมากที่สุดประมาณ 3 หมื่นคน นอกจากนี้ ยังมีแรงงานกัมพูชาที่ผิดกฎหมาย ซึ่งคาดว่ามีประมาณ 3 หมื่นคนเดินทางกลับไปด้วย
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า จากการที่ตนได้พูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดทราบทุกฝ่าย ทั้งทางจังหวัด ทหาร และหน่วยงานราชการต่างๆ ได้ร่วมมือกันชี้แจงทำความเข้าใจกับแรงงานต่างด้าวว่า คสช. ไม่มีนโยบายกวาดล้างจับกุมและผลักดันแรงงานต่าวด้าวอย่างเต็มที่ ซึ่งตนก็ได้ยืนยันว่า คสช. ไม่มีนโยบายจับกุม กวาดล้างแรงงานต่างด้าวในที่ประชุมด้วย นอกจากนี้ ยังได้ชี้แจงด้วยว่า คสช. มีนโยบายแก้ปัญหาและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างเด็ดขาด จะมีการเอาผิดตามกฎหมายทั้งผู้นำเข้ามา นายจ้าง และข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดในพื้นที่ต่างๆ คอยจับตาและตรวจสอบว่ามีข้าราชการและเจ้าหน้าที่หน่วยงานของกระทรวงแรงงานเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์และมีเรียกเก็บค่าหัวคิวแรงงานต่างด้าวหรือไม่ หากพบว่ามีข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องก็ให้แจ้งในทางลับมายังกระทรวงแรงงาน เพื่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบและเอาผิดต่อไป
นายจีรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานนั้น ตนได้แจ้งในที่ประชุมว่ากระทรวงแรงงานจะจัดทำโครงการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบโดยเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายในพื้นที่มีแรงงานต่างด้าวอยู่มากและต้องการเข้ามาทำงานในพื้นที่ขาดแคลนแรงงาน ซึ่งผู้ประกอบการในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ขาดแคลนแรงงานสามารถแจ้งเรื่องได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดในพื้นที่ได้ตั้งแต่วันนี้โดยให้แจ้งข้อมูลจำนวนแรงงานที่ต้องการ เพศ ลักษณะงานที่ทำ ค่าจ้าง ที่พัก และสวัสดิการต่างๆ หลังจากนั้นสำนักงานจัดหางานจังหวัดจะรวบรวมข้อมูลส่งมายังกระทรวงแรงงานซึ่งกระทรวงแรงงานจะส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวอยู่มากเพื่อเชิญชวนแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในจังหวัดที่มีปัญหาขาดแคลนแรงงาน นอกจากนี้ ยังมีเสียงเรียกร้องจากผู้ประกอบการด้านก่อสร้าง เนื่องจากมีงานก่อสร้างในหลายพื้นที่ทำให้ต้องเคลื่อนย้ายแรงงานบ่อยครั้งแต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 1 พันบาทต่อแรงงานต่างด้าว 1 คน จึงอยากให้กระทรวงงดเว้นค่าธรรมเนียมการเคลื่อนย้ายซึ่งกระทรวงแรงงานจะมาพิจารณาในแง่กฎหมายต่อไปว่าทำได้หรือไม่และจะช่วยเหลือได้อย่างไร
ด้านพล.ต.เกรียงศักดิ์ อรุณศรีโสภณ ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 เปิดเผยว่า ตามหน้าด่านที่จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด ยังคงมีแรงงานกัมพูชาไหลออกนอกประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีแรงงานเดินทางกลับประเทศแล้วกว่า 1 หมื่นคน ผ่านด่านบริเวณจังหวัดสระแก้วมากที่สุด ถึง 9,992 คน และตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา มีแรงงานกัมพชาไหลออกสะสมแล้วประมาณ 1 แสนคน โดยสาเหตุหลักยังคงมาจากการตื่นข่าวลือ รองลงมา คือ ถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ประจำด่านเกือบ 100 คน ชี้แจงทำความเข้าใจกับแรงงานที่เดินทางออกแล้ว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่