ก.แรงงาน เร่งดำเนินการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว หลังจัดตั้ง กนร. เน้นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษแนวชายแดน
นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ยินดีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว ที่ยังมีปัญหาคั้งค้างอยู่จำนวนมาก และจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (กนร.) โดยมีพล.อ.ธนศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในฐานะรองหัวหน้า คสช. ฝ่ายความมั่นคง เป็นประธาน ซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ โดยเฉพาะการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ได้ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ สามารถอยู่ในไทยได้อีก 1 ปี เนื่องจากใบอนุญาตการทำงานจะครบกำหนด ในวันที่ 11 สิงหาคมนี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายของ คสช. เรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานรับผิดชอบเรื่องการใช้แรงงาน ในการให้แรงงานต่างด้าวทำงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่อยู่ตามแนวชายแดนของไทย แบบมาเช้าเย็นกลับ และแรงงานตามฤดูกาล รวมทั้งการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะงานก่อสร้าง ที่มีการเคลื่อนย้ายงานไปตามที่ต่างๆ ซึ่งนายจ้างที่จะพาแรงงานออกนอกจังหวัดที่ได้รับอนุญาต ต้องยื่นเรื่องขออนุญาตเคลื่อนย้ายแรงงาน กับกรมการจัดหางานก่อน ซึ่งมีค่าธรรมเนียมครั้งละ 1 พันบาท ต่อการเคลื่อนย้ายแรงงาน 1 ครั้ง ซึ่งนายจ้างมองว่าเป็นการเพิ่มภาระ เพราะลักษณะของงานไม่ได้อยู่เพียงจังหวัดเดียว
อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงานอาจจะเสนอเรื่องนี้ต่อ กนร. พิจารณาด้วย พร้อมมอบหมายให้ นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน ในฐานะรองประธานอนุกรรมการ กนร. นำประเด็นนี้ไปหารือฝ่ายเลขานุการ กนร. ด้วยว่าควรนำมาพิจารณาหรือไม่
ด้าน นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) ในฐานะรองประธาน กนร. กล่าวว่า เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. ที่ผ่านมา ตนเองได้เข้าหารือฝ่ายเลขานุการ กนร. เรื่ององค์ประกอบของ กนร. รวมถึงการจัดทำเอกสาร ซึ่งขณะนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางาน ไปช่วยฝ่ายเลขานุการ กนร. ดำเนินการ เพื่อประกอบการประชุมในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ ชุด กนร. จะเริ่มการประชุมก่อน จากนั้นในวันเดียวกันก็จะประชุมอนุ กนร. เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย โดยเฉพาะการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ได้ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ สามารถอยู่ในไทยได้อีก 1 ปี เนื่องจากใบอนุญาตการทำงานจะครบกำหนด รวมทั้งการพิจารณาว่าจะอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวสามารถเดินทางมาทำงานในไทยแบบเช้ามาเย็นกลับ และตามฤดูกาลหรือไม่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ยินดีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว ที่ยังมีปัญหาคั้งค้างอยู่จำนวนมาก และจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (กนร.) โดยมีพล.อ.ธนศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในฐานะรองหัวหน้า คสช. ฝ่ายความมั่นคง เป็นประธาน ซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ โดยเฉพาะการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ได้ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ สามารถอยู่ในไทยได้อีก 1 ปี เนื่องจากใบอนุญาตการทำงานจะครบกำหนด ในวันที่ 11 สิงหาคมนี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายของ คสช. เรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานรับผิดชอบเรื่องการใช้แรงงาน ในการให้แรงงานต่างด้าวทำงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่อยู่ตามแนวชายแดนของไทย แบบมาเช้าเย็นกลับ และแรงงานตามฤดูกาล รวมทั้งการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะงานก่อสร้าง ที่มีการเคลื่อนย้ายงานไปตามที่ต่างๆ ซึ่งนายจ้างที่จะพาแรงงานออกนอกจังหวัดที่ได้รับอนุญาต ต้องยื่นเรื่องขออนุญาตเคลื่อนย้ายแรงงาน กับกรมการจัดหางานก่อน ซึ่งมีค่าธรรมเนียมครั้งละ 1 พันบาท ต่อการเคลื่อนย้ายแรงงาน 1 ครั้ง ซึ่งนายจ้างมองว่าเป็นการเพิ่มภาระ เพราะลักษณะของงานไม่ได้อยู่เพียงจังหวัดเดียว
อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงานอาจจะเสนอเรื่องนี้ต่อ กนร. พิจารณาด้วย พร้อมมอบหมายให้ นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน ในฐานะรองประธานอนุกรรมการ กนร. นำประเด็นนี้ไปหารือฝ่ายเลขานุการ กนร. ด้วยว่าควรนำมาพิจารณาหรือไม่
ด้าน นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) ในฐานะรองประธาน กนร. กล่าวว่า เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. ที่ผ่านมา ตนเองได้เข้าหารือฝ่ายเลขานุการ กนร. เรื่ององค์ประกอบของ กนร. รวมถึงการจัดทำเอกสาร ซึ่งขณะนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางาน ไปช่วยฝ่ายเลขานุการ กนร. ดำเนินการ เพื่อประกอบการประชุมในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ ชุด กนร. จะเริ่มการประชุมก่อน จากนั้นในวันเดียวกันก็จะประชุมอนุ กนร. เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย โดยเฉพาะการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ได้ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ สามารถอยู่ในไทยได้อีก 1 ปี เนื่องจากใบอนุญาตการทำงานจะครบกำหนด รวมทั้งการพิจารณาว่าจะอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวสามารถเดินทางมาทำงานในไทยแบบเช้ามาเย็นกลับ และตามฤดูกาลหรือไม่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่