ประธาน อกนร. ถกสถานการณ์ปัญหาต่างด้าว พร้อมตรวจโซนที่พักจ.สมุทรสาคร ยัน คสช. ไม่มีนโยบายกวาดล้างตามข่าวลือ ด้าน กกจ. เผย แรงงานกัมพูชา ทยอยกลับประเทศแล้วกว่า 9 หมื่นคน เตรียมประชุมกำหนดมาตรการแก้ไข 17 มิ.ย. นี้
วันนี้ (16 มิ.ย.) พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหารกองบัญชาการกองทัพไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (อกนร.) เดินทางมาร่วมประชุมรับทราบสถานการณ์การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วย นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน มีหน่วยงานราชการในจังหวัดเข้าร่วม อาทิ ประมงจังหวัด แรงงานจังหวัด สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด และภาคเอกชน ทั้ง สมาคมแช่เยือกแข็ง สมาคมประมงนอกน่านน้ำ เป็นต้น
ร.ต.ท.อาทิตย์ บุญญะโสภัค ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวรายงานสถานการณ์แรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร ว่า ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานทั้งหมด 196,579 คน ส่วนแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้จดทะเบียนคาดว่ามีประมาณ 190,000 คน เป็นแรงงานสัญชาติพม่ามากที่สุด
พล.อ.ศิริชัย กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ความสนใจในเรื่องการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและมีแนวคิดจะจัดการปัญหานี้ให้เรียบร้อย ตนคิดว่าต่างด้าวเป็นปัญหาที่สลับซับซ้อนมีหน่วยงานราชการหลายหน่วยงาน มีกฎหมายหลายฉบับรวม มีภาคเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่ผ่านมาตนเคยทำงานใน กอรมน. ได้รวบรวมปัญหาการทำงานเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว พบว่า 1. เราไม่เคยเห็นแผนการใช้แรงงานโดยภาครวมของประเทศ 2. เนื่องจากมีหน่วยงานหลายหน่วยงานมาร่วมกันจัดการ เห็นว่าการดำเนินการขาดเอกภาพ 3. การบังคับใช้กฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างจริงจัง และ 4. มีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเรื่องดังกล่าวคาดว่ายังคงอยู่มาถึงปัจจุบัน จึงต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจัดการปัญหาดังกล่าวกล่าวให้เรียบร้อย ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมามีข่าวลือว่าจะปราบปรามแรงงานต่างด้าว ขอยืนยันว่าไม่มี เนื่องจากเรื่องนโยบายการจัดการแรงงานต่างด้าวยังอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (กนร.)
พล.อ.ศิริชัย กล่าวอีกว่า จากการรายงานพบว่า ทางสมุทรสาครมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปดูแลในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของการค้ามนุษย์ นอกจากนั้นยังได้กำชับให้ดูแลแรงงานต่างด้าวตามมาตรฐานสากล ส่วนการจัดโซนนิงอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาของกนร. วัตถุประสงค์ก็เพื่อควบคุมแรงงานให้อยู่เป็นพื้นที่ สะดวกต่อการติดต่อ ดูแล ซึ่งสมุทรสาครถือเป็นจังหวัดต้นแบบในการจัดการ
พล.อ.ศิริชัย ตอบคำถามกรณีที่แรงงานกัมพูชาพากันเดินทางกลับประเทศ ว่า ยืนยันว่า คสช. ไม่มีนโยบายปราบปรามแรงงานต่างด้าวที่รุนแรง ส่วนแรงงานสัญชาติอื่นนั้นยังไม่ได้รับรายงานว่ามีการอพยพกลับประเทศต้นทางแต่อย่างใด รวมทั้งกระทรวงแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศได้ทำความเข้าใจกับรัฐบาลของประเทศเพื่อนบ้านว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง และภาคเอกชนก็ได้ทำหนังสือเวียนถึงลูกจ้างเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจด้วย
ด้าน นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า แรงงานกัมพูชาที่เดินทางกลับประเทศนั้นเป็นแรงงานผิดกฎหมาย ซึ่งได้รับทราบข่าวลือว่า คสช. จะปราบปรามจับกุมด้วยวิธีการรุนแรง โดยส่วนมากเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ส่งผลให้ขาดแคลนแรงงาน ทั้งนี้ แรงงานที่เดินทางออกนอกประเทศมีจำนวน 91,308 คน ทั้งด่านชายแดนจังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด ทั้งนี้ แรงงานดังกล่าวสามารถเข้าประเทศโดยถูกกฎหมายได้ด้วยการกลับไปทำหนังสือเดินทางและกลับเข้ามาตามด่านชายแดนที่มีศูนย์วันสตอปเซอร์วิสของกระทรวงแรงงานได้ โดยภาคธุรกิจที่ขาดแคลนหรือต้องการแรงงานก็สามารถยื่นเรื่องเพื่อขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามบันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศ (เอ็มโอยู) ได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด
นายสุวรรณ ดวงตา จัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า ปัจจุบันแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าในสมุทรสาครมีกว่า 150,000 คน ลาวกว่า 4,000 คน และกัมพูชากว่า 6,000 คน นอกจากนี้ จังหวัดได้กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. จัดระเบียบแรงงานต่างด้าวให้ถูกต้องตามกฎหมาย 2. พัฒนาฝีมือแรงงานสู่มาตรฐานสากล 3. พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวตามหลักสิทธิมนุษยชน 4. สมานฉันท์ชุมชนแรงงานต่างด้าวกับชุมชนไทย 5. ลดการพึ่งพาแรงงานต่างด้าวในระยะยาว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกัน ประธาน อกนร. พร้อมปลัดกระทรวงแรงงาน และอธิบดีกรมการจัดหางาน ได้เดินทางไปตรวจปัญหาแรงงานต่างด้าว ณ พิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่า ต.ท่าจีน อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ที่มีการจัดโซนที่พักอาศัยของแรงงานต่างด้าว โดย พล.อ. ศิริชัย กล่าวว่า เป็นการลงพื้นที่เพื่อดูสภาพความเป็นอยู่ของต่างด้าว เพื่อนำไปประกอบการขยายผลการจัดโซนที่พักอาศัย โดยนำร่องที่จังหวัดสมุทรสาคร และระนอง ส่วนจังหวัดอื่นๆต้องดูตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้การจัดโซนที่พัก ต้องนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (กนร.) พิจารณา
ขณะที่ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า การจัดโซนนิงในแต่ละจังหวัดจะแตกต่างกัน เช่น จ.ระนอง จะเป็นชุมชนที่แรงงานต่างด้าวอาศัยอยู่จำนวนมาก โดยจะกำหนดให้มีผู้นำชุมชน เพื่อดูแลความเรียบร้อย ซึ่งในวันพรุ่งนี้เวลา 13.30 น. จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (อกนร.) ที่ กองทัพไทย เพื่อกำหนดมาตรการดูแลปัญหาแรงงานต่างด้าวต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (16 มิ.ย.) พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหารกองบัญชาการกองทัพไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (อกนร.) เดินทางมาร่วมประชุมรับทราบสถานการณ์การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วย นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน มีหน่วยงานราชการในจังหวัดเข้าร่วม อาทิ ประมงจังหวัด แรงงานจังหวัด สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด และภาคเอกชน ทั้ง สมาคมแช่เยือกแข็ง สมาคมประมงนอกน่านน้ำ เป็นต้น
ร.ต.ท.อาทิตย์ บุญญะโสภัค ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวรายงานสถานการณ์แรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร ว่า ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานทั้งหมด 196,579 คน ส่วนแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้จดทะเบียนคาดว่ามีประมาณ 190,000 คน เป็นแรงงานสัญชาติพม่ามากที่สุด
พล.อ.ศิริชัย กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ความสนใจในเรื่องการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและมีแนวคิดจะจัดการปัญหานี้ให้เรียบร้อย ตนคิดว่าต่างด้าวเป็นปัญหาที่สลับซับซ้อนมีหน่วยงานราชการหลายหน่วยงาน มีกฎหมายหลายฉบับรวม มีภาคเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่ผ่านมาตนเคยทำงานใน กอรมน. ได้รวบรวมปัญหาการทำงานเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว พบว่า 1. เราไม่เคยเห็นแผนการใช้แรงงานโดยภาครวมของประเทศ 2. เนื่องจากมีหน่วยงานหลายหน่วยงานมาร่วมกันจัดการ เห็นว่าการดำเนินการขาดเอกภาพ 3. การบังคับใช้กฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างจริงจัง และ 4. มีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเรื่องดังกล่าวคาดว่ายังคงอยู่มาถึงปัจจุบัน จึงต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจัดการปัญหาดังกล่าวกล่าวให้เรียบร้อย ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมามีข่าวลือว่าจะปราบปรามแรงงานต่างด้าว ขอยืนยันว่าไม่มี เนื่องจากเรื่องนโยบายการจัดการแรงงานต่างด้าวยังอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (กนร.)
พล.อ.ศิริชัย กล่าวอีกว่า จากการรายงานพบว่า ทางสมุทรสาครมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปดูแลในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของการค้ามนุษย์ นอกจากนั้นยังได้กำชับให้ดูแลแรงงานต่างด้าวตามมาตรฐานสากล ส่วนการจัดโซนนิงอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาของกนร. วัตถุประสงค์ก็เพื่อควบคุมแรงงานให้อยู่เป็นพื้นที่ สะดวกต่อการติดต่อ ดูแล ซึ่งสมุทรสาครถือเป็นจังหวัดต้นแบบในการจัดการ
พล.อ.ศิริชัย ตอบคำถามกรณีที่แรงงานกัมพูชาพากันเดินทางกลับประเทศ ว่า ยืนยันว่า คสช. ไม่มีนโยบายปราบปรามแรงงานต่างด้าวที่รุนแรง ส่วนแรงงานสัญชาติอื่นนั้นยังไม่ได้รับรายงานว่ามีการอพยพกลับประเทศต้นทางแต่อย่างใด รวมทั้งกระทรวงแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศได้ทำความเข้าใจกับรัฐบาลของประเทศเพื่อนบ้านว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง และภาคเอกชนก็ได้ทำหนังสือเวียนถึงลูกจ้างเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจด้วย
ด้าน นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า แรงงานกัมพูชาที่เดินทางกลับประเทศนั้นเป็นแรงงานผิดกฎหมาย ซึ่งได้รับทราบข่าวลือว่า คสช. จะปราบปรามจับกุมด้วยวิธีการรุนแรง โดยส่วนมากเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ส่งผลให้ขาดแคลนแรงงาน ทั้งนี้ แรงงานที่เดินทางออกนอกประเทศมีจำนวน 91,308 คน ทั้งด่านชายแดนจังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด ทั้งนี้ แรงงานดังกล่าวสามารถเข้าประเทศโดยถูกกฎหมายได้ด้วยการกลับไปทำหนังสือเดินทางและกลับเข้ามาตามด่านชายแดนที่มีศูนย์วันสตอปเซอร์วิสของกระทรวงแรงงานได้ โดยภาคธุรกิจที่ขาดแคลนหรือต้องการแรงงานก็สามารถยื่นเรื่องเพื่อขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามบันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศ (เอ็มโอยู) ได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด
นายสุวรรณ ดวงตา จัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า ปัจจุบันแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าในสมุทรสาครมีกว่า 150,000 คน ลาวกว่า 4,000 คน และกัมพูชากว่า 6,000 คน นอกจากนี้ จังหวัดได้กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. จัดระเบียบแรงงานต่างด้าวให้ถูกต้องตามกฎหมาย 2. พัฒนาฝีมือแรงงานสู่มาตรฐานสากล 3. พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวตามหลักสิทธิมนุษยชน 4. สมานฉันท์ชุมชนแรงงานต่างด้าวกับชุมชนไทย 5. ลดการพึ่งพาแรงงานต่างด้าวในระยะยาว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกัน ประธาน อกนร. พร้อมปลัดกระทรวงแรงงาน และอธิบดีกรมการจัดหางาน ได้เดินทางไปตรวจปัญหาแรงงานต่างด้าว ณ พิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่า ต.ท่าจีน อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ที่มีการจัดโซนที่พักอาศัยของแรงงานต่างด้าว โดย พล.อ. ศิริชัย กล่าวว่า เป็นการลงพื้นที่เพื่อดูสภาพความเป็นอยู่ของต่างด้าว เพื่อนำไปประกอบการขยายผลการจัดโซนที่พักอาศัย โดยนำร่องที่จังหวัดสมุทรสาคร และระนอง ส่วนจังหวัดอื่นๆต้องดูตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้การจัดโซนที่พัก ต้องนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (กนร.) พิจารณา
ขณะที่ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า การจัดโซนนิงในแต่ละจังหวัดจะแตกต่างกัน เช่น จ.ระนอง จะเป็นชุมชนที่แรงงานต่างด้าวอาศัยอยู่จำนวนมาก โดยจะกำหนดให้มีผู้นำชุมชน เพื่อดูแลความเรียบร้อย ซึ่งในวันพรุ่งนี้เวลา 13.30 น. จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (อกนร.) ที่ กองทัพไทย เพื่อกำหนดมาตรการดูแลปัญหาแรงงานต่างด้าวต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่