ASTVผู้จัดการรายวัน -"ธีรชัย" ชี้แรงงานเขมรหนีกลับประเทศอาจทำศก.ไทยพัง เหตุโครงการก่อสร้างอสังหาฯติดขัด ธนาคารปล่อย กู้ยากขึ้นจนลุกลามไปยังธุรกิจคู่ค้า และในไม่ช้าก็จะกระทบการจ้างงานเป็นวงกว้าง "ประยุทธ์" สั่งจัดระเบียบ แรงงานต่างด้าว “วินธัย”ปัดให้ความเห็น “ฮุนเซน”ส่งรถรับแรงงานกลับเขมร เร่งสยบข่าวทหารไล่ล่า อสังหาฯหวั่นเกิดปัญหาก่อสร้าง คาดกระทบส่งมอบบ้านล่าช้า 2-3 เดือน วอนคสช.ประกาศนโยบายแรงงานต่างด้าวให้ชัดเจน "ส.อ.ท."ยอมรับระยะสั้นอาจกระทบการก่อสร้าง ประมง พร้อมหนุนปฏิรูปให้ถูกกฎหมาย "ทภ.2" เผย 15 วันภาคอีสานจับกุมแล้วกว่า 6,400 ราย ส่วนใหญ่เป็นชาวเขมร คาดตัวเลขผ่านด่านสระแก้วกลับเข้าประเทศกว่า 7 หมื่นคนแล้ว
วานนี้ (16 มิ.ย.) เมื่อเวลา 03.30 น. นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง และประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Thirachai Phuvanatnaranubala" ว่า แรงงานเขมรที่หนีกลับบ้านร่วมแสน อาจจะเป็นหมัดน็อคเศรษฐกิจ เพราะเหตุใด
โครงการก่อสร้างจำนวนมาก ไม่สามารถเดินหน้าได้ ภายใน 3 เดือน หลายโครงการที่เริ่มมีปัญหาเงินหมุนเวียนอยู่แล้ว จะทรุดหนักจนถึงขั้นค้างชำระต้นเงินและดอกเบี้ยแก่แบงค์ แบงค์จะต้องจัดชั้นลูกหนี้เหล่านี้ และกันสำรอง
ถึงแม้ค่าแรงงานเขมรที่หนีกลับบ้านจะเป็นเงินเพียงน้อยนิด แต่แบงค์จะต้องกันสำรองสำหรับยอดเงินกู้ทั้งโครงการ และกำไรแบงค์จะลดลง เมื่อกระทบฐานะแบงค์ การปล่อยกู้รายใหม่ก็จะติดขัดไปหมด ปัญหาจะลุกลามต่อเนื่องไปยังธุรกิจคู่ค้าของโครงการต่าง ๆ ซึ่งจะขาดเงินหมุนเวียนไปด้วย และไม่ช้า ถ้าถึงขั้นกระทบการจ้างงาน หนี้ครัวเรือนที่ผ่อนรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ เครื่องใช่ไฟฟ้า จะติดขัดเป็นลูกโซ่
ไม่น่าเชื่อว่าแรงงานเขมรเพียงแสนคน จะมีผลได้มากเช่นนี้ เป็นเพราะสภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เปราะบาง จากปัญหาล้นตลาดอยู่แล้ว และหลายรายก็ยังแบกภาระเก็งกำไรที่ดินไว้อีกด้วย ทั้งตามเส้นทางรถไฟความเร็วสูง และที่อื่นๆ จึงต้องหาทางเจรจาให้แรงงานเขมรกลับคืนมาด่วนที่สุด
***หัวหน้าคสช.สั่งจัดระเบียบต่างด้าว
วานนี้ (16 ) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุม คสช. เพื่อติดตามสถานการณ์ประจำวัน และติดตามการทำงานในแต่ละส่วนงาน ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.)
โดย หัวหน้าคณะคสช.กล่าวยืนยันถึงเรื่องการบริหารแรงงานต่างด้าวว่า ขณะนี้เป็นการจัดระเบียบโดยผู้ประกอบการจะต้องจัดทำบัญชีควบคุมให้เรียบร้อยเป็นไปตามกฎหมาย
นอกจากนี้ยังสั่งการให้ฝ่ายสังคมจิตวิทยาเร่งเดินหน้าแก้ไขเหตุที่ทำให้สังคมไทยอ่อนแอ เช่น เรื่องพระภิกษุที่ประพฤติไม่เหมาะสม ได้เน้นย้ำให้กรมการศาสนา และสำนักพระพุทธศาสนาตั้งคณะกรรมการติดตามเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อทำให้ศาสนาบริสุทธิ์
**ยันไม่มีนโยบายกวาดล้างแรงงานต่างด้าว
พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก กล่าวย้ำว่า ไม่มีนโยบายกวาดล้างแรงงานต่างด้าว แต่ต้องจัดระเบียบใหม่ หลังปัญหาสะสมมานับสิบปี และแรงงานต่างด้าว ต้องขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง และในช่วงบ่าย พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด รองหัวหน้า คสช.ฝ่ายความมั่นคง และต่างประเทศ สั่งการให้ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหาร ในฐานะประธานอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว ตรวจพื้นที่ปัญหาแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อรับทราบปัญหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น จากผู้ประกอบการและแรงงานต่างด้าว
****คสช.ปัดไล่ผลักดัน-ไม่ตอบ “ฮุนเซน” สั่งรอรับ
พ.อ.วินธัย กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่าสมเด็จฮุนเซน นายกฯ กัมพูชา ให้ทหารนำรถมารับแรงงานกัมพูชา ในประเทศไทยที่กำลังทะลักเข้าประเทศว่า คงไม่เกี่ยวกัน และคสช.ไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวอะไรกับเรื่องแรงงาน ยังเป็นห่วงด้วยซ้ำว่าจะไปตื่นกันจนเสียหายกับธุรกิจหรือเปล่า ทั้งนี้เท่าที่มีการตรวจสอบไปยังผู้ประกอบการยังไม่ได้รับผลกระทบอะไร
“เราต้องสยบข่าวทหารไปไล่ล่าแรงงานต่างด้าวให้ได้ ซึ่งส่วนหนึ่งคิดว่าน่าจะมาจากแรงงานตื่นตระหนกไปเอง เพราะคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาก็เป็นการไปคุมเรื่องนโยบายมากกว่า ไม่ได้ไปเดินไล่ล่า”
ผู้สื่อข่าวถามว่าแรงงานที่กลับประเทศไปแล้ว จะต้องใช้เวลานานแค่ไหนจึงจะกลับเข้ามาในประเทศไทยได้อีก พ.อ.วินธัย กล่าวว่า ก็คงต้องใช้เวลาสักพักหนึ่ง อาจจะหลายปี
***ส.อ.ท.แนะรัฐเร่งชี้แจงพร้อมปฏิรูปให้ถูกกม.
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เอกชนกำลังติดตามสถานการณ์ดังกล่าวใกล้ชิดว่าจะมีผลกระทบต่อภาคการผลิตมากน้อยเพียงใด โดยยอมรับว่ากลุ่มที่อาจจะได้รับผลกระทบก่อนจะเป็นในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์ และประมงที่คนไทยไม่ยอมทำงาน
“ไทยต้องพึ่งพิงแรงงานต่างด้าวทั้งจากกัมพูชา ลาว พม่า ประมาณ 2.2 ล้านคน ซึ่งจำนวนนี้ถือว่าเป็นแรงงานแบบถูกกฎหมาย แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ายังมีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาแบบไม่ถูกกฎหมายอีกเกือบ 1 ล้านคน ซึ่งเชื่อว่าขณะนี้คสช.กำลังเข้ามาดูแลปัญหาดังกล่าวอยู่ ซึ่งเอกชนต้องการเห็นการจัดการระบบให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ต้องเร่งชี้แจงเพื่อไม่ให้เกิดข่าวลือเช่นที่เกิดขึ้นว่าจะมีการกวาดล้างจนแรงงานหนีกลับเพราะจะกระทบเศรษฐกิจไทยได้ง่าย”
***อสังหาฯหวั่นส่งมอบบ้าน-คอนโดฯล่าช้า 3 เดือน
นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้แรงงานภาคอสังหาริมทรัพย์ยังขาดแคลน จำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าวถึง 80% ของแรงงานทั้งหมด โดยแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่มาจากประเทศเมียนมาร์ และกัมพูชาเป็นหลัก เมื่อเกิดกระแสตื่นตระหนกแรงงานกัมพูชาแห่กลับบ้าน ย่อมส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาการก่อสร้าง
ด้านนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย ยอมรับว่า จะส่งผลกระทบทำให้การขึ้นโครงการใหม่ๆ และการส่งมอบบ้าน หรือคอนโดมิเนียมต้องล่าช้าออกไป 2-3 เดือน เพราะว่าแรงงานต่างด้าวถือเป็นปัจจัยหลักในภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยแรงงงานต่างด้าวที่กระจายอยู่ทั่วประเทศจำนวนมาก ในกรุงเทพฯ มีประมาณ 3 แสนคน
นอกจากนี้ แรงงานต่างด้าวยังมีความสำคัญต่อภาคการก่อสร้างอื่นๆ ไม่ใช่เฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เช่น ในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งประเทศไทยมีแผนที่จะดำเนินการอีกเป็นจำนวนมากในระยะต่อไป จึงอยากให้รัฐมีความชัดเจน และวางกติการ่วมกัน เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถทำงานร่วมกันได้
***'เอพี'ขอประเมิน 1 สัปดาห์ก่อนปรับแผนรับมือ
ด้านนายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์การตลาด บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ส่งผลกระทบกับงานก่อสร้างของ เอพี แต่ได้รับรายงานจากผู้รับเหมาก่อสร้างมาบ้างแล้ว ซึ่งในเรื่องดังกล่าวบริษัทอยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์ว่า มาตรการดูแลปัญหาเรื่องแรงงานเถื่อนของ คสช. จะส่งผลกระทบกับภาคงานก่อสร้างมากน้อยอย่างไร แต่หากกระทบถึงงานก่อสร้างโครงการ เอพี จะต้องปรับแผนงานก่อสร้างใหม่โดยหันไปเน้นงานก่อสร้างโครงการที่เร่งด่วน หรือโครงการที่มีกำหนดต้องส่งมอบหรือโอนบ้านให้กับลูกค้าก่อนโครงการอื่นๆ เพื่อให้ไม่เกิดผลกระทบแก่ลูกค้า
***รรท.ผบ.ตร.สั่งสืบหาต้นตอข่าวลือ
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รรท.ผบ.ตร.กล่าวยืนยืนยันเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้ทำร้ายแรงงานชาวกัมพูชา แต่ที่มีเหตุเกิดขึ้นก็ต้องตรวจสอบที่มาของข่าวก่อนสืบสวนสอบสวนไปตามกระบวนการตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามในส่วนแรงงานไร้ฝีมือก็ยังให้อยู่ทำงานในประเทศ เป็นช่วงผ่อนผันการให้อยู่ในประเทศ ส่วนกรณีที่มีข่าวลือจนแรงงานแห่กลับประเทศนั้นจะต้องตรวจสอบสืบหาที่มาของข่าวเพื่อดำเนินการแก้ไข ระงับข่าวลือ
****จ่อจัดโซนนิ่งแรงงาน
พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหารกองบัญชาการกองทัพไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (อกนร.) เดินทางมาร่วมประชุมรับทราบสถานการณ์การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วย นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) กระทรวงแรงงาน มีหน่วยงานราชการในจังหวัดเข้าร่วมอาทิ ประมงจังหวัด แรงงานจังหวัด สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด และภาคเอกชน ทั้ง สมาคมแช่เยือกแข็ง สมาคมประมงนอกน่านน้ำ เป็นต้น
ร.ต.ท.อาทิตย์ บุญญะโสภัค ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า ปัจจุบัน มีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานทั้งหมด 196,579 คน ส่วนแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้จดทะเบียนคาดว่ามีประมาณ 190,000 คน เป็นแรงงานสัญชาติพม่ามากที่สุด
พล.อ.ศิริชัย กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ความสนใจในเรื่องการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและมีแนวคิดจะจัดการปัญหานี้ให้เรียบร้อย ตนคิดว่าต่างด้าวเป็นปัญหาที่สลับซับซ้อนมีหน่วยงานราชการหลายหน่วยงาน มีกฎหมายหลายฉบับรวม มีภาคเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่ผ่านมาตนเคยทำงานใน กอรมน. ได้รวบรวมปัญหาการทำงานเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว พบว่า 1.เราไม่เคยเห็นแผนการใช้แรงงานโดยภาครวมของประเทศ 2.เนื่องจากมีหน่วยงานหลายหน่วยงานมาร่วมกันจัดการ เห็นว่าการดำเนินการขาดเอกภาพ3.การบังคับใช้กฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างจริงจัง และ4.มีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง
พล.อ.ศิริชัย กล่าวอีกว่า จากการรายงานพบว่า ทางสมุทรสาครมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปดูแลในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของการค้ามนุษย์
นอกจากนี้ ประธาน อกนร. พร้อมปลัดกระทรวงแรงงาน และอธิบดีกรมการจัดหางาน ได้เดินทางไปตรวจปัญหาแรงงานต่างด้าว ณ พิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่า ต.ท่าจีน อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ที่มีการจัดโซนที่พักอาศัยของแรงงานต่างด้าว โดยพล.อ. ศิริชัย กล่าวว่า เป็นการลงพื้นที่เพื่อดูสภาพความเป็นอยู่ของต่างด้าว เพื่อนำไปประกอบการขยายผลการจัดโซนที่พักอาศัย โดยนำร่องที่จังหวัดสมุทรสาคร และระนอง ส่วนจังหวัดอื่นๆต้องดูตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้การจัดโซนที่พัก ต้องนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว(กนร.)พิจารณา
**ทภ.2เผยจับต่างด้าวผิดกม.กว่า 6 พันราย
วานนี้ (16 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมชั้น 2 สโมสรร่วมเริงไชย ค่ายสุรนารี กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2) อ.เมือง จ.นครราชสีมา พ.อ.ชินกาจ รัตนจิตติ รองเสนาธิการกองภัพภาคที่ 2ในฐานะโฆษกกองทัพภาคที่ 2 พร้อมด้วย นายประภาส รักษาทรัพย์ ปลัดจังหวัดนครราชสีมา และ พ.ต.อ.ธนวัฒน์ ภัคคะธนิตศักดิ์ ผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ 5 กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 3 ในฐานะ รองโฆษก ตำรวจภูธรภาค 3 ได้ร่วมกันแถลงผลการปฏิบัติงานของกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยกองทัพภาคที่ 2 ต่อสื่อมวลชน
พ.อ.ชินกาจ กล่าวว่า สำหรับผลการปฏิบัติงานในการปราบปราบแรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองช่วงวันที่ 1-15 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการจับกุมผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย รวม 6,441 คน เป็นชาวกัมพูชามากสุดถึง 6,256 คน
สำหรับผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภาค 3 ในพื้นที่ 8 จังหวัดอีสานตอนล่าง สามารถจับกุมแรงงานต่างด้าวได้ 647 คน และนายจ้าง ผู้นำพา ผู้ให้ที่พักพิง อีก 4 คน และยังคงเดินหน้าปราบปรามแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง
**สระแก้วเร่งระบายแรงงานต่างด้าวกลับ
ขณะที่ ด่านตรวจคนเข้าเมืองสระแก้ว และที่อาคารเอนกประสงค์เทศบาลเมืองอรัญประเทศ จ.สระแก้ว พล.ต.สุริยา ปาวรีย์ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระแก้ว พร้อมด้วย พ.ต.อ.ธีระชัย เด็ดขาด ผกก.ตรวจคนเข้าเมืองสระแก้ว และ พ.ต.อ.สุบิน บุญเล็ก ผกก.สภ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ได้นำเจ้าหน้าที่กว่า 200 นาย ตรวจทำประวัติแรงงานชาวกัมพูชา ที่อพยพกลับประเทศ และมีแรงงานที่ตกค้างรอการส่งกลับประเทศจากเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมากว่า 2,000 คน ขณะเดียวกันการเดินทางกลับประเทศของแรงงานชาวกัมพูชาในไทย ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.ถึงขณะนี้ผ่านทาง จ.สระแก้ว พบว่า มีมากกว่า 70,000 คน
วานนี้ (16 มิ.ย.) เมื่อเวลา 03.30 น. นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง และประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Thirachai Phuvanatnaranubala" ว่า แรงงานเขมรที่หนีกลับบ้านร่วมแสน อาจจะเป็นหมัดน็อคเศรษฐกิจ เพราะเหตุใด
โครงการก่อสร้างจำนวนมาก ไม่สามารถเดินหน้าได้ ภายใน 3 เดือน หลายโครงการที่เริ่มมีปัญหาเงินหมุนเวียนอยู่แล้ว จะทรุดหนักจนถึงขั้นค้างชำระต้นเงินและดอกเบี้ยแก่แบงค์ แบงค์จะต้องจัดชั้นลูกหนี้เหล่านี้ และกันสำรอง
ถึงแม้ค่าแรงงานเขมรที่หนีกลับบ้านจะเป็นเงินเพียงน้อยนิด แต่แบงค์จะต้องกันสำรองสำหรับยอดเงินกู้ทั้งโครงการ และกำไรแบงค์จะลดลง เมื่อกระทบฐานะแบงค์ การปล่อยกู้รายใหม่ก็จะติดขัดไปหมด ปัญหาจะลุกลามต่อเนื่องไปยังธุรกิจคู่ค้าของโครงการต่าง ๆ ซึ่งจะขาดเงินหมุนเวียนไปด้วย และไม่ช้า ถ้าถึงขั้นกระทบการจ้างงาน หนี้ครัวเรือนที่ผ่อนรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ เครื่องใช่ไฟฟ้า จะติดขัดเป็นลูกโซ่
ไม่น่าเชื่อว่าแรงงานเขมรเพียงแสนคน จะมีผลได้มากเช่นนี้ เป็นเพราะสภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เปราะบาง จากปัญหาล้นตลาดอยู่แล้ว และหลายรายก็ยังแบกภาระเก็งกำไรที่ดินไว้อีกด้วย ทั้งตามเส้นทางรถไฟความเร็วสูง และที่อื่นๆ จึงต้องหาทางเจรจาให้แรงงานเขมรกลับคืนมาด่วนที่สุด
***หัวหน้าคสช.สั่งจัดระเบียบต่างด้าว
วานนี้ (16 ) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุม คสช. เพื่อติดตามสถานการณ์ประจำวัน และติดตามการทำงานในแต่ละส่วนงาน ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.)
โดย หัวหน้าคณะคสช.กล่าวยืนยันถึงเรื่องการบริหารแรงงานต่างด้าวว่า ขณะนี้เป็นการจัดระเบียบโดยผู้ประกอบการจะต้องจัดทำบัญชีควบคุมให้เรียบร้อยเป็นไปตามกฎหมาย
นอกจากนี้ยังสั่งการให้ฝ่ายสังคมจิตวิทยาเร่งเดินหน้าแก้ไขเหตุที่ทำให้สังคมไทยอ่อนแอ เช่น เรื่องพระภิกษุที่ประพฤติไม่เหมาะสม ได้เน้นย้ำให้กรมการศาสนา และสำนักพระพุทธศาสนาตั้งคณะกรรมการติดตามเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อทำให้ศาสนาบริสุทธิ์
**ยันไม่มีนโยบายกวาดล้างแรงงานต่างด้าว
พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก กล่าวย้ำว่า ไม่มีนโยบายกวาดล้างแรงงานต่างด้าว แต่ต้องจัดระเบียบใหม่ หลังปัญหาสะสมมานับสิบปี และแรงงานต่างด้าว ต้องขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง และในช่วงบ่าย พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด รองหัวหน้า คสช.ฝ่ายความมั่นคง และต่างประเทศ สั่งการให้ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหาร ในฐานะประธานอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว ตรวจพื้นที่ปัญหาแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อรับทราบปัญหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น จากผู้ประกอบการและแรงงานต่างด้าว
****คสช.ปัดไล่ผลักดัน-ไม่ตอบ “ฮุนเซน” สั่งรอรับ
พ.อ.วินธัย กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่าสมเด็จฮุนเซน นายกฯ กัมพูชา ให้ทหารนำรถมารับแรงงานกัมพูชา ในประเทศไทยที่กำลังทะลักเข้าประเทศว่า คงไม่เกี่ยวกัน และคสช.ไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวอะไรกับเรื่องแรงงาน ยังเป็นห่วงด้วยซ้ำว่าจะไปตื่นกันจนเสียหายกับธุรกิจหรือเปล่า ทั้งนี้เท่าที่มีการตรวจสอบไปยังผู้ประกอบการยังไม่ได้รับผลกระทบอะไร
“เราต้องสยบข่าวทหารไปไล่ล่าแรงงานต่างด้าวให้ได้ ซึ่งส่วนหนึ่งคิดว่าน่าจะมาจากแรงงานตื่นตระหนกไปเอง เพราะคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาก็เป็นการไปคุมเรื่องนโยบายมากกว่า ไม่ได้ไปเดินไล่ล่า”
ผู้สื่อข่าวถามว่าแรงงานที่กลับประเทศไปแล้ว จะต้องใช้เวลานานแค่ไหนจึงจะกลับเข้ามาในประเทศไทยได้อีก พ.อ.วินธัย กล่าวว่า ก็คงต้องใช้เวลาสักพักหนึ่ง อาจจะหลายปี
***ส.อ.ท.แนะรัฐเร่งชี้แจงพร้อมปฏิรูปให้ถูกกม.
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เอกชนกำลังติดตามสถานการณ์ดังกล่าวใกล้ชิดว่าจะมีผลกระทบต่อภาคการผลิตมากน้อยเพียงใด โดยยอมรับว่ากลุ่มที่อาจจะได้รับผลกระทบก่อนจะเป็นในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์ และประมงที่คนไทยไม่ยอมทำงาน
“ไทยต้องพึ่งพิงแรงงานต่างด้าวทั้งจากกัมพูชา ลาว พม่า ประมาณ 2.2 ล้านคน ซึ่งจำนวนนี้ถือว่าเป็นแรงงานแบบถูกกฎหมาย แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ายังมีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาแบบไม่ถูกกฎหมายอีกเกือบ 1 ล้านคน ซึ่งเชื่อว่าขณะนี้คสช.กำลังเข้ามาดูแลปัญหาดังกล่าวอยู่ ซึ่งเอกชนต้องการเห็นการจัดการระบบให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ต้องเร่งชี้แจงเพื่อไม่ให้เกิดข่าวลือเช่นที่เกิดขึ้นว่าจะมีการกวาดล้างจนแรงงานหนีกลับเพราะจะกระทบเศรษฐกิจไทยได้ง่าย”
***อสังหาฯหวั่นส่งมอบบ้าน-คอนโดฯล่าช้า 3 เดือน
นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้แรงงานภาคอสังหาริมทรัพย์ยังขาดแคลน จำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าวถึง 80% ของแรงงานทั้งหมด โดยแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่มาจากประเทศเมียนมาร์ และกัมพูชาเป็นหลัก เมื่อเกิดกระแสตื่นตระหนกแรงงานกัมพูชาแห่กลับบ้าน ย่อมส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาการก่อสร้าง
ด้านนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย ยอมรับว่า จะส่งผลกระทบทำให้การขึ้นโครงการใหม่ๆ และการส่งมอบบ้าน หรือคอนโดมิเนียมต้องล่าช้าออกไป 2-3 เดือน เพราะว่าแรงงานต่างด้าวถือเป็นปัจจัยหลักในภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยแรงงงานต่างด้าวที่กระจายอยู่ทั่วประเทศจำนวนมาก ในกรุงเทพฯ มีประมาณ 3 แสนคน
นอกจากนี้ แรงงานต่างด้าวยังมีความสำคัญต่อภาคการก่อสร้างอื่นๆ ไม่ใช่เฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เช่น ในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งประเทศไทยมีแผนที่จะดำเนินการอีกเป็นจำนวนมากในระยะต่อไป จึงอยากให้รัฐมีความชัดเจน และวางกติการ่วมกัน เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถทำงานร่วมกันได้
***'เอพี'ขอประเมิน 1 สัปดาห์ก่อนปรับแผนรับมือ
ด้านนายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์การตลาด บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ส่งผลกระทบกับงานก่อสร้างของ เอพี แต่ได้รับรายงานจากผู้รับเหมาก่อสร้างมาบ้างแล้ว ซึ่งในเรื่องดังกล่าวบริษัทอยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์ว่า มาตรการดูแลปัญหาเรื่องแรงงานเถื่อนของ คสช. จะส่งผลกระทบกับภาคงานก่อสร้างมากน้อยอย่างไร แต่หากกระทบถึงงานก่อสร้างโครงการ เอพี จะต้องปรับแผนงานก่อสร้างใหม่โดยหันไปเน้นงานก่อสร้างโครงการที่เร่งด่วน หรือโครงการที่มีกำหนดต้องส่งมอบหรือโอนบ้านให้กับลูกค้าก่อนโครงการอื่นๆ เพื่อให้ไม่เกิดผลกระทบแก่ลูกค้า
***รรท.ผบ.ตร.สั่งสืบหาต้นตอข่าวลือ
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รรท.ผบ.ตร.กล่าวยืนยืนยันเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้ทำร้ายแรงงานชาวกัมพูชา แต่ที่มีเหตุเกิดขึ้นก็ต้องตรวจสอบที่มาของข่าวก่อนสืบสวนสอบสวนไปตามกระบวนการตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามในส่วนแรงงานไร้ฝีมือก็ยังให้อยู่ทำงานในประเทศ เป็นช่วงผ่อนผันการให้อยู่ในประเทศ ส่วนกรณีที่มีข่าวลือจนแรงงานแห่กลับประเทศนั้นจะต้องตรวจสอบสืบหาที่มาของข่าวเพื่อดำเนินการแก้ไข ระงับข่าวลือ
****จ่อจัดโซนนิ่งแรงงาน
พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหารกองบัญชาการกองทัพไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (อกนร.) เดินทางมาร่วมประชุมรับทราบสถานการณ์การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วย นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) กระทรวงแรงงาน มีหน่วยงานราชการในจังหวัดเข้าร่วมอาทิ ประมงจังหวัด แรงงานจังหวัด สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด และภาคเอกชน ทั้ง สมาคมแช่เยือกแข็ง สมาคมประมงนอกน่านน้ำ เป็นต้น
ร.ต.ท.อาทิตย์ บุญญะโสภัค ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า ปัจจุบัน มีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานทั้งหมด 196,579 คน ส่วนแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้จดทะเบียนคาดว่ามีประมาณ 190,000 คน เป็นแรงงานสัญชาติพม่ามากที่สุด
พล.อ.ศิริชัย กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ความสนใจในเรื่องการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและมีแนวคิดจะจัดการปัญหานี้ให้เรียบร้อย ตนคิดว่าต่างด้าวเป็นปัญหาที่สลับซับซ้อนมีหน่วยงานราชการหลายหน่วยงาน มีกฎหมายหลายฉบับรวม มีภาคเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่ผ่านมาตนเคยทำงานใน กอรมน. ได้รวบรวมปัญหาการทำงานเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว พบว่า 1.เราไม่เคยเห็นแผนการใช้แรงงานโดยภาครวมของประเทศ 2.เนื่องจากมีหน่วยงานหลายหน่วยงานมาร่วมกันจัดการ เห็นว่าการดำเนินการขาดเอกภาพ3.การบังคับใช้กฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างจริงจัง และ4.มีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง
พล.อ.ศิริชัย กล่าวอีกว่า จากการรายงานพบว่า ทางสมุทรสาครมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปดูแลในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของการค้ามนุษย์
นอกจากนี้ ประธาน อกนร. พร้อมปลัดกระทรวงแรงงาน และอธิบดีกรมการจัดหางาน ได้เดินทางไปตรวจปัญหาแรงงานต่างด้าว ณ พิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่า ต.ท่าจีน อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ที่มีการจัดโซนที่พักอาศัยของแรงงานต่างด้าว โดยพล.อ. ศิริชัย กล่าวว่า เป็นการลงพื้นที่เพื่อดูสภาพความเป็นอยู่ของต่างด้าว เพื่อนำไปประกอบการขยายผลการจัดโซนที่พักอาศัย โดยนำร่องที่จังหวัดสมุทรสาคร และระนอง ส่วนจังหวัดอื่นๆต้องดูตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้การจัดโซนที่พัก ต้องนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว(กนร.)พิจารณา
**ทภ.2เผยจับต่างด้าวผิดกม.กว่า 6 พันราย
วานนี้ (16 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมชั้น 2 สโมสรร่วมเริงไชย ค่ายสุรนารี กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2) อ.เมือง จ.นครราชสีมา พ.อ.ชินกาจ รัตนจิตติ รองเสนาธิการกองภัพภาคที่ 2ในฐานะโฆษกกองทัพภาคที่ 2 พร้อมด้วย นายประภาส รักษาทรัพย์ ปลัดจังหวัดนครราชสีมา และ พ.ต.อ.ธนวัฒน์ ภัคคะธนิตศักดิ์ ผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ 5 กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 3 ในฐานะ รองโฆษก ตำรวจภูธรภาค 3 ได้ร่วมกันแถลงผลการปฏิบัติงานของกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยกองทัพภาคที่ 2 ต่อสื่อมวลชน
พ.อ.ชินกาจ กล่าวว่า สำหรับผลการปฏิบัติงานในการปราบปราบแรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองช่วงวันที่ 1-15 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการจับกุมผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย รวม 6,441 คน เป็นชาวกัมพูชามากสุดถึง 6,256 คน
สำหรับผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภาค 3 ในพื้นที่ 8 จังหวัดอีสานตอนล่าง สามารถจับกุมแรงงานต่างด้าวได้ 647 คน และนายจ้าง ผู้นำพา ผู้ให้ที่พักพิง อีก 4 คน และยังคงเดินหน้าปราบปรามแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง
**สระแก้วเร่งระบายแรงงานต่างด้าวกลับ
ขณะที่ ด่านตรวจคนเข้าเมืองสระแก้ว และที่อาคารเอนกประสงค์เทศบาลเมืองอรัญประเทศ จ.สระแก้ว พล.ต.สุริยา ปาวรีย์ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระแก้ว พร้อมด้วย พ.ต.อ.ธีระชัย เด็ดขาด ผกก.ตรวจคนเข้าเมืองสระแก้ว และ พ.ต.อ.สุบิน บุญเล็ก ผกก.สภ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ได้นำเจ้าหน้าที่กว่า 200 นาย ตรวจทำประวัติแรงงานชาวกัมพูชา ที่อพยพกลับประเทศ และมีแรงงานที่ตกค้างรอการส่งกลับประเทศจากเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมากว่า 2,000 คน ขณะเดียวกันการเดินทางกลับประเทศของแรงงานชาวกัมพูชาในไทย ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.ถึงขณะนี้ผ่านทาง จ.สระแก้ว พบว่า มีมากกว่า 70,000 คน