สพฐ. จัดประชุม 10 หน่วยงานใช้แท็บเล็ต เตรียมส่งผลสรุปให้ คสช. ฟันธง แท็บเล็ตปี 56 โซน 4 เหลือแค่ 3 หน่วยงานยังไม่ได้จัดซื้อ
วันนี้ (12 มิ.ย.) นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมหารือเกี่ยวกับ โครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน ร่วมกับหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณจัดซื้อแท็บเล็ตจำนวน 10 หน่วยงาน ร่วมประชุม โดยมีผู้แทนจากคณะผู้แทนจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ร่วมสังเกตการณ์ ว่า ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาใน 3 ประเด็นตามที่ คสช. มอบหมายมา โดยประเด็นแรกที่ประชุมได้พิจารณาถึงผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แท็บเล็ตว่า มีผลดี-ผลเสียอย่างไร เพื่อนำไปสู่การพิจารณาโครงการนี้ในอนาคต
นายกมล กล่าวต่อว่า ประเด็นถัดมาเป็นการพิจารณาโครงการจัดซื้อแท็บเล็ตจัดการ ปีงบประมาณ 2556 โซน 4 ซึ่งเป็นการจัดซื้อแท็บเล็ตให้นักเรียน ม.1 ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ยังค้างอยู่ อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมไม่มีการลงความเห็นในลักษณะว่าควรจะดำเนินการหรือยกเลิกการดำเนินการแต่ให้ทั้ง 10 หน่วยงาน รายงานข้อมูลว่าแต่ละหน่วยงานได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างไปถึงขั้นตอนใดแล้ว พบว่า การจัดซื้อแท็บเล็ตในโซน 4 นั้น มี 7 หน่วยงานได้จัดซื้อไปเรียบร้อยแล้วเหลือเพียง 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติที่ยังไม่ได้จัดซื้อ ประเด็นสุดท้ายเป็นการหารือเกี่ยวกับโครงการจัดซื้อแท็บเล็ตประจำปี 2557 ว่าจะดำเนินโครงการไปในทิศทางใด อย่างไรก็ตาม คสช. ไม่ได้สอบถามความเห็นมาว่าจะดำเนินการต่อหรือไม่ ดังนั้น ที่ประชุมจึงได้ให้ความเห็นเชิงนวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในรูปแบบใหม่ๆ เช่น อี-เลิร์นนิง สมาร์ทคลาสรูม และเชื่อว่า คสช. น่าจะมีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมาดูการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาพรวม ซึ่งก็น่าจะได้นำข้อมูลส่วนนี้ไปพิจารณา
“ ขั้นตอนหลังจากนี้ สพฐ. ก็จะสรุปความเห็นจากที่ประชุมพร้อมเหตุผลประกอบโดยระเอียดนำเสนอนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณา ก่อนรายงานต่อไปให้ นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในนามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำเสนอต่อ คสช. ในบ่ายวันเดียวกันนี้ ถือว่าสามารถประชุมและหาข้อสรุปเสนอ คสช. ได้ทันกรอบ 15 วันที่กำหนดไว้” นายกมล กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (12 มิ.ย.) นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมหารือเกี่ยวกับ โครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน ร่วมกับหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณจัดซื้อแท็บเล็ตจำนวน 10 หน่วยงาน ร่วมประชุม โดยมีผู้แทนจากคณะผู้แทนจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ร่วมสังเกตการณ์ ว่า ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาใน 3 ประเด็นตามที่ คสช. มอบหมายมา โดยประเด็นแรกที่ประชุมได้พิจารณาถึงผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แท็บเล็ตว่า มีผลดี-ผลเสียอย่างไร เพื่อนำไปสู่การพิจารณาโครงการนี้ในอนาคต
นายกมล กล่าวต่อว่า ประเด็นถัดมาเป็นการพิจารณาโครงการจัดซื้อแท็บเล็ตจัดการ ปีงบประมาณ 2556 โซน 4 ซึ่งเป็นการจัดซื้อแท็บเล็ตให้นักเรียน ม.1 ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ยังค้างอยู่ อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมไม่มีการลงความเห็นในลักษณะว่าควรจะดำเนินการหรือยกเลิกการดำเนินการแต่ให้ทั้ง 10 หน่วยงาน รายงานข้อมูลว่าแต่ละหน่วยงานได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างไปถึงขั้นตอนใดแล้ว พบว่า การจัดซื้อแท็บเล็ตในโซน 4 นั้น มี 7 หน่วยงานได้จัดซื้อไปเรียบร้อยแล้วเหลือเพียง 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติที่ยังไม่ได้จัดซื้อ ประเด็นสุดท้ายเป็นการหารือเกี่ยวกับโครงการจัดซื้อแท็บเล็ตประจำปี 2557 ว่าจะดำเนินโครงการไปในทิศทางใด อย่างไรก็ตาม คสช. ไม่ได้สอบถามความเห็นมาว่าจะดำเนินการต่อหรือไม่ ดังนั้น ที่ประชุมจึงได้ให้ความเห็นเชิงนวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในรูปแบบใหม่ๆ เช่น อี-เลิร์นนิง สมาร์ทคลาสรูม และเชื่อว่า คสช. น่าจะมีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมาดูการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาพรวม ซึ่งก็น่าจะได้นำข้อมูลส่วนนี้ไปพิจารณา
“ ขั้นตอนหลังจากนี้ สพฐ. ก็จะสรุปความเห็นจากที่ประชุมพร้อมเหตุผลประกอบโดยระเอียดนำเสนอนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณา ก่อนรายงานต่อไปให้ นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในนามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำเสนอต่อ คสช. ในบ่ายวันเดียวกันนี้ ถือว่าสามารถประชุมและหาข้อสรุปเสนอ คสช. ได้ทันกรอบ 15 วันที่กำหนดไว้” นายกมล กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่