หัวหน้าฝ่ายสังคมฯ สั่ง สพฐ. แจงสเปกห้องสมาร์ทคลาสรูมแบบละเอียด ด้านเลขาธิการ กพฐ. มั่นใจ ถ้า คสช.ไฟเขียวทุกขั้นตอนเสร็จภายใน ก.ค.นักเรียนได้ใช้ห้องเรียนอัจฉริยะในภาคเรียนที่ 2 แน่นอน
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมระหว่างผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ กับ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผบ.ทร. ในฐานะหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นโครงการที่ขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณจัดซื้อแท็บเล็ตแจกนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 และ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีงบประมาณ 2556 และ 2557 เพื่อมาจัดทำห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ ห้องสมาร์ทคลาสรูมทั่วประเทศ 15,000 โรงแทน ทั้งนี้ ฝ่ายสังคมจิตวิทยาไม่ได้คัดค้านรูปแบบของห้องสมาร์ทคลาสรูม ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอเพื่อเป็นต้นแบบให้หน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัดอีก 9 หน่วยงานรับไปดำเนินการ แต่ พล.ร.อ.ณรงค์ ได้ขอให้ทาง สพฐ. จัดทำสเปกของห้องสมาร์ทคลาสรูมอย่างละเอียดเสนอไป ซึ่ง สพฐ. จะเร่งดำเนินการจัดทำสเปคและเสนอไปภายในสัปดาห์หน้า
นายกมล กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน สพฐ. ได้ทำเรื่องขอเปลี่ยนแปลงการใช้งบประมาณโครงการจัดซื้อแท็บเล็ตประจำปี 2556 และ 2557 ไปเรียบร้อยแล้ว เรื่องรอการพิจารณาอยู่ที่ คสช. คาดว่า ไม่เกินสัปดาห์หน้า คสช. จะหยิบขึ้นมาพิจารณา เพราะฉะนั้น ถ้าภายในเดือนกรกฎาคมนี้ คสช.พิจารณาสเปคและอนุมัติโครงการพร้อมงบประมาณได้เรียบร้อยแล้ว การจัดซื้อน่าจะมีขึ้นช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้ โดย สพฐ. จะโอนงบประมาณไปให้โรงเรียนเป็นผู้ประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างเอง
“ ถ้าทุกอย่างเป็นตามนี้ เชื่อว่าภายในเดือนกันยายนนี้ อุปกรณ์ห้องสมาร์ทคลาสรูมจะถึงโรงเรียน พร้อมประกอบให้นักเรียนทันใช้ในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2557 นี้ สพฐ. ก็จะเตรียมอบรมครูไว้รองรับด้วย ส่วนโครงการเติมเต็มการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โรงเรียนวังไกลกังวลให้ครบทุกโรงเรียนก่อนวันที่ 5 ธ.ค. นี้ เพื่อถวายในหลวงนั้น คสช. ต้องการให้ สพฐ. สำรวจตัวเลขให้ชัดเจนว่า มีโรงเรียนในสังกัดอีกจำนวนเท่าใดที่ยังไม่ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมเพื่อรับชมรายการที่ออกอากาศจากโรงเรียนวังไกลกังวล เพราะฉะนั้น จะเรียกประชุมฝ่ายที่เกี่ยวข้องในวันที่ 2 ก.ค. นี้ เพื่อหารือเรื่องนี้ แต่ข้อมูลเบื้องต้น จากจำนวนโรงเรียนในสังกัด สพฐ. กว่า 31,000 โรงนั้น มีประมาณแค่ 500 โรงที่ยังไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ”เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมระหว่างผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ กับ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผบ.ทร. ในฐานะหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นโครงการที่ขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณจัดซื้อแท็บเล็ตแจกนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 และ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีงบประมาณ 2556 และ 2557 เพื่อมาจัดทำห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ ห้องสมาร์ทคลาสรูมทั่วประเทศ 15,000 โรงแทน ทั้งนี้ ฝ่ายสังคมจิตวิทยาไม่ได้คัดค้านรูปแบบของห้องสมาร์ทคลาสรูม ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอเพื่อเป็นต้นแบบให้หน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัดอีก 9 หน่วยงานรับไปดำเนินการ แต่ พล.ร.อ.ณรงค์ ได้ขอให้ทาง สพฐ. จัดทำสเปกของห้องสมาร์ทคลาสรูมอย่างละเอียดเสนอไป ซึ่ง สพฐ. จะเร่งดำเนินการจัดทำสเปคและเสนอไปภายในสัปดาห์หน้า
นายกมล กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน สพฐ. ได้ทำเรื่องขอเปลี่ยนแปลงการใช้งบประมาณโครงการจัดซื้อแท็บเล็ตประจำปี 2556 และ 2557 ไปเรียบร้อยแล้ว เรื่องรอการพิจารณาอยู่ที่ คสช. คาดว่า ไม่เกินสัปดาห์หน้า คสช. จะหยิบขึ้นมาพิจารณา เพราะฉะนั้น ถ้าภายในเดือนกรกฎาคมนี้ คสช.พิจารณาสเปคและอนุมัติโครงการพร้อมงบประมาณได้เรียบร้อยแล้ว การจัดซื้อน่าจะมีขึ้นช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้ โดย สพฐ. จะโอนงบประมาณไปให้โรงเรียนเป็นผู้ประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างเอง
“ ถ้าทุกอย่างเป็นตามนี้ เชื่อว่าภายในเดือนกันยายนนี้ อุปกรณ์ห้องสมาร์ทคลาสรูมจะถึงโรงเรียน พร้อมประกอบให้นักเรียนทันใช้ในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2557 นี้ สพฐ. ก็จะเตรียมอบรมครูไว้รองรับด้วย ส่วนโครงการเติมเต็มการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โรงเรียนวังไกลกังวลให้ครบทุกโรงเรียนก่อนวันที่ 5 ธ.ค. นี้ เพื่อถวายในหลวงนั้น คสช. ต้องการให้ สพฐ. สำรวจตัวเลขให้ชัดเจนว่า มีโรงเรียนในสังกัดอีกจำนวนเท่าใดที่ยังไม่ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมเพื่อรับชมรายการที่ออกอากาศจากโรงเรียนวังไกลกังวล เพราะฉะนั้น จะเรียกประชุมฝ่ายที่เกี่ยวข้องในวันที่ 2 ก.ค. นี้ เพื่อหารือเรื่องนี้ แต่ข้อมูลเบื้องต้น จากจำนวนโรงเรียนในสังกัด สพฐ. กว่า 31,000 โรงนั้น มีประมาณแค่ 500 โรงที่ยังไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ”เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่