ปัตตานี - เลขาฯ สพฐ.ประชุมร่วม 3 ฝ่าย กำชับแผน รปภ.ครูก่อนเปิดภาคเรียน เนื่องจากตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มก่อความไม่สงบอย่างต่อเนื่อง เตรียมปรับพื้นที่การดูแลครูที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง
วันนี้ (15 พ.ค.) ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี ดร.กมล รอดคลาย รองเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานประชุมมาตรการรักษาความปลอดภัยครู และบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา สมาพันธ์ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และหน่วยความมั่นคงในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมประชุมเพื่อทำบันทึกข้อตกลงร่วม 4 ฝ่าย และหารือร่วมกันทุกฝ่ายเกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยครู โดยครูส่วนใหญ่ได้สะท้อนปัญหาทั้งเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ ความปลอดภัยระหว่างเดินทางไปกลับโรงเรียน ขณะอยู่ภายในโรงเรียน หรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากครูตกเป็นเป้าหมายของผู้ก่อเหตุรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด มีครูถูกทำร้ายถึงชีวิตแล้ว 174 ราย
ดร.กมล รอดคลาย รองเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยครูเป็นสำคัญ เพราะสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจึงต้องมีการเตรียมความพร้อม ก่อนหน้านี้ ทาง สพฐ.ได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยกำลังเรื่องแผนการดูแลความปลอดภัยครูแล้ว เพื่อกำหนดเส้นทางการดูแลครูว่าจุดไหนที่มีปัญหา และก็มีการปรับแผน และได้กำชับครูทุกคนให้ปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัย ขณะเดียวกัน การเปิดภาคเรียนนี้ก็ได้เน้นย้ำการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาการศึกษาอย่างเต็มที่ ซึ่งทาง รมว.ศึกษาธิการ มีความห่วงใยครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับแผนการดูแลความปลอดภัยที่ทำอยู่เป็นแผนที่ดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ทำเพิ่มเติมคือปรับพื้นที่การดูแลที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง จึงต้องมีการดูแลความปลอดภัยเพิ่มขึ้น และต้องครอบคลุมมากยิ่งขึ้น การรับส่งครู การกำหนดเวลา ก็ต้องกำชับให้ทำตามแผนอย่างเคร่งครัด และที่สำคัญต้องติดตามข่าวสารตลอดเวลา เพราะผู้ก่อเหตุใช้ช่วงโหว่ และจุดอ่อนมาก่อเหตุกับครู ฉะนั้นครูต้องมีความสัมพันธ์กับชุมชนให้มากเพื่อที่จะดูแลครูอีกทางหนึ่ง
ดร.กมล ยอมรับว่า ผู้บังคับบัญชามีความห่วงใยครูมาตลอดเพราะครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ปฏิบัติหน้าที่มีความลำบากกว่าครูในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ สพฐ.ได้ดูแลเรื่องสวัสดิภาพ ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น ดูแลครูที่ประสบภัย หากเสียชีวิตลูกหลานก็จะรับราชการครูทันที สิ่งที่กังวลที่สุดคือ ทำอย่างไรให้ครูมีความปลอดภัยไม่เสียชีวิต และบาดเจ็บ
วันนี้ (15 พ.ค.) ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี ดร.กมล รอดคลาย รองเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานประชุมมาตรการรักษาความปลอดภัยครู และบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา สมาพันธ์ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และหน่วยความมั่นคงในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมประชุมเพื่อทำบันทึกข้อตกลงร่วม 4 ฝ่าย และหารือร่วมกันทุกฝ่ายเกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยครู โดยครูส่วนใหญ่ได้สะท้อนปัญหาทั้งเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ ความปลอดภัยระหว่างเดินทางไปกลับโรงเรียน ขณะอยู่ภายในโรงเรียน หรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากครูตกเป็นเป้าหมายของผู้ก่อเหตุรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด มีครูถูกทำร้ายถึงชีวิตแล้ว 174 ราย
ดร.กมล รอดคลาย รองเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยครูเป็นสำคัญ เพราะสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจึงต้องมีการเตรียมความพร้อม ก่อนหน้านี้ ทาง สพฐ.ได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยกำลังเรื่องแผนการดูแลความปลอดภัยครูแล้ว เพื่อกำหนดเส้นทางการดูแลครูว่าจุดไหนที่มีปัญหา และก็มีการปรับแผน และได้กำชับครูทุกคนให้ปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัย ขณะเดียวกัน การเปิดภาคเรียนนี้ก็ได้เน้นย้ำการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาการศึกษาอย่างเต็มที่ ซึ่งทาง รมว.ศึกษาธิการ มีความห่วงใยครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับแผนการดูแลความปลอดภัยที่ทำอยู่เป็นแผนที่ดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ทำเพิ่มเติมคือปรับพื้นที่การดูแลที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง จึงต้องมีการดูแลความปลอดภัยเพิ่มขึ้น และต้องครอบคลุมมากยิ่งขึ้น การรับส่งครู การกำหนดเวลา ก็ต้องกำชับให้ทำตามแผนอย่างเคร่งครัด และที่สำคัญต้องติดตามข่าวสารตลอดเวลา เพราะผู้ก่อเหตุใช้ช่วงโหว่ และจุดอ่อนมาก่อเหตุกับครู ฉะนั้นครูต้องมีความสัมพันธ์กับชุมชนให้มากเพื่อที่จะดูแลครูอีกทางหนึ่ง
ดร.กมล ยอมรับว่า ผู้บังคับบัญชามีความห่วงใยครูมาตลอดเพราะครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ปฏิบัติหน้าที่มีความลำบากกว่าครูในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ สพฐ.ได้ดูแลเรื่องสวัสดิภาพ ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น ดูแลครูที่ประสบภัย หากเสียชีวิตลูกหลานก็จะรับราชการครูทันที สิ่งที่กังวลที่สุดคือ ทำอย่างไรให้ครูมีความปลอดภัยไม่เสียชีวิต และบาดเจ็บ