กรมวิทย์เผยผลตรวจยากลุ่มรักษาโรคหัวใจ พบผิดมาตรฐานด้านปริมาณยา 1% ระบุเป็นยานำเข้า 1 ตัวอย่าง และผลิตในประเทศ 1 ตัวอย่าง แจ้ง อย.ดำเนินการแล้ว ขอประชาชนมั่นใจยารักษาโรคหัวใจผลิตในประเทศได้มาตรฐานสากล
น.พ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ยากลุ่มรักษาโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาหัวใจ ยาขับปัสสาวะ ยาละลายลิ่มเลือด ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ยาป้องกันภาวะเลือดไหลไม่หยุด และยาลดไขมันในเส้นเลือด เป็นกลุ่มยาที่มีแนวโน้มการใช้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะไทยมีอัตราการเกิดโรคดังกล่าวสูงขึ้น และมีอัตราการตายเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ ทั้งนี้ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทย์ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยากลุ่มนี้จากโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ ตามโครงการประกันคุณภาพยาปี 2556 จำนวน 183 ตัวอย่าง จาก 76 ทะเบียนยา ทั้งยากินและยาฉีด แบ่งเป็นยานำเข้า 62 ตัวอย่าง และผลิตในประเทศ 121 ตัวอย่าง
นพ.อภิชัย กล่าวอีกว่า ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพพบผิดมาตรฐานหัวข้อปริมาณตัวยาสำคัญ โดยพบยาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดผิดมาตรฐาน 2 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1 ซึ่งเป็นยานำเข้า 1 ตัวอย่าง และผลิตในประเทศ 1 ตัวอย่าง สำหรับตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาที่ผิดมาตรฐาน กรมวิทย์ได้แจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการต่อไปแล้ว สรุปจากผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพพบว่า ยาที่ผลิตในประเทศไทยเกือบทั้งหมดมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ซึ่งกรมวิทย์จะดำเนินการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนมั่นใจในการเลือกใช้ยาที่ผลิตในประเทศ เป็นการเพิ่มมูลค่าการใช้ยาที่ผลิตในประเทศ ลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ
“โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคเรื้อรัง การใช้ยาในกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องใช้อย่างต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง ไม่ควรลดหรือเพิ่มขนาดยาเอง ควบคู่กับการควบคุมอาหารที่มีรสเค็ม หรือมีโซเดียมสูง อาหารหวานและไขมันสูง งดสูบบุหรี่และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่วมกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด” อธิบดีกรมวิทย์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
น.พ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ยากลุ่มรักษาโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาหัวใจ ยาขับปัสสาวะ ยาละลายลิ่มเลือด ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ยาป้องกันภาวะเลือดไหลไม่หยุด และยาลดไขมันในเส้นเลือด เป็นกลุ่มยาที่มีแนวโน้มการใช้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะไทยมีอัตราการเกิดโรคดังกล่าวสูงขึ้น และมีอัตราการตายเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ ทั้งนี้ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทย์ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยากลุ่มนี้จากโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ ตามโครงการประกันคุณภาพยาปี 2556 จำนวน 183 ตัวอย่าง จาก 76 ทะเบียนยา ทั้งยากินและยาฉีด แบ่งเป็นยานำเข้า 62 ตัวอย่าง และผลิตในประเทศ 121 ตัวอย่าง
นพ.อภิชัย กล่าวอีกว่า ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพพบผิดมาตรฐานหัวข้อปริมาณตัวยาสำคัญ โดยพบยาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดผิดมาตรฐาน 2 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1 ซึ่งเป็นยานำเข้า 1 ตัวอย่าง และผลิตในประเทศ 1 ตัวอย่าง สำหรับตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาที่ผิดมาตรฐาน กรมวิทย์ได้แจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการต่อไปแล้ว สรุปจากผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพพบว่า ยาที่ผลิตในประเทศไทยเกือบทั้งหมดมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ซึ่งกรมวิทย์จะดำเนินการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนมั่นใจในการเลือกใช้ยาที่ผลิตในประเทศ เป็นการเพิ่มมูลค่าการใช้ยาที่ผลิตในประเทศ ลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ
“โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคเรื้อรัง การใช้ยาในกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องใช้อย่างต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง ไม่ควรลดหรือเพิ่มขนาดยาเอง ควบคู่กับการควบคุมอาหารที่มีรสเค็ม หรือมีโซเดียมสูง อาหารหวานและไขมันสูง งดสูบบุหรี่และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่วมกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด” อธิบดีกรมวิทย์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่