อึ้ง! เด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปีกว่า 40% เริ่มเล่นพนันบอล เตรียมแทงบอลโลก 2014 ถึง 12% โดย 52.6% จะใช้เงินเก็บมาเล่น ชี้ นร.อาชีวะต้องการเล่นพนันบอลมากกว่าสายสามัญ ระบุสภาพแวดล้อม เพื่อนสนิท ครอบครัว รวมทั้งการห้ามปรามที่ไม่จริงจัง ส่งผลเด็กเล่นพนันบอล แนะภาครัฐ พ่อแม่ โรงเรียน และสื่อร่วมกัน ขจัดร้าย ขยายดี มีภูมิคุ้มกัน เปิดโอกาสทุกบ้านดูบอลโลก วอนไอซีทีปิดเว็บรับแทงบอล
วันนี้ (9 มิ.ย.) ที่โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) เครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน โครงการเสริมสร้างสื่อมวลชนศึกษา และโครงการขับเคลื่อนสังคมและนโยบายสาธารณะเพื่อลดปัญหาจากการพนัน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) จัดแถลงผลการสำรวจ “พฤติกรรมการรับชมและการเล่นพนันทายผลฟุตบอลโลก 2014 กลุ่มนักพนันมัธยมปลายและอาชีวศึกษา ครั้งที่ 1” โดย รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน จุฬาฯ กล่าวว่า จากการสำรวจกลุ่มนักเรียนระดับม.ปลาย (ม.4 - ม.6) และอาชีวศึกษา (ปวช.1 - ปวช.3) ในพื้นที่ 8 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และจังหวัดใหญ่ใน 4 ภูมิภาค เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และชลบุรี จำนวน 3,050 คน พบว่า ร้อยละ 77.5 ระบุว่ารายการฟุตบอลที่กลุ่มตัวอย่างสนใจชมการถ่ายทอดมากที่สุด คือ ฟุตบอลโลก โดยร้อยละ 42.2 ตั้งใจจะชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2014 และร้อยละ 44.8 ยังไม่แน่ใจ เมื่อถามถึงทัศนคติและประสบการณ์พนันบอล พบว่า ร้อยละ 48.6 เห็นว่าเหมาะสมหากเล่นพนันบอลกับเพื่อนด้วยสิ่งอื่น ที่ไม่ใช่เงิน ร้อยละ 20.9 เหมาะสมหากเดิมพันด้วยเงินกับเพื่อนเพื่อเพิ่มสีสันในการเชียร์ ร้อยละ9.5เหมาะสมหากเล่นผ่านโต๊ะบอล และร้อยละ 8.7 เหมาะสมหากเล่นผ่านทางเว็บไซต์
นอกจากนั้น เมื่อสอบถามถึงอายุที่เริ่มเล่นพนันบอครั้งแรก พบว่า ร้อยละ 38.4 เริ่มเล่นครั้งแรกในช่วงอายุ 8-14 ปี หรือน้อยกว่า 15 ปี ร้อยละ 34.5 อายุ 15 ปี ร้อยละ 15.2 อายุ 16 ปี และร้อยละ 12 อายุ 17.20 ปี อีกทั้ง เมื่อสอบถามประสบการณ์เล่นพนันบอล พบว่าร้อยละ 21.8 เคยมีประสบการณ์เล่นพนันบอล โดยร้อยละ 53.1 เล่นกับเพื่อนมากที่สุด ร้อยละ 31.6 เล่นกับโต๊ะบอล ร้อยละ 26.5 เล่นกับโต๊ะบอลโดยผ่านคนรับแทง และร้อยละ 11.7 เล่นผ่านเว็บไซต์ นอกจากนั้น กลุ่มที่มีประสบการณ์เล่นพนนัน ร้อยละ 37.1 เล่นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยจำนวนเงินที่เล่นเฉลี่ยประมาณ 228 บาทต่อครั้ง ส่วนเหตุผลในการเล่นพนันบอลนั้น ร้อยละ 42.6 เพื่อทำให้การเชียร์ฟุตบอลสนุกตื่นเต้นขึ้น ร้อยละ 15.1 ชอบคิดวิเคราะห์เกมการแข่งขัน ร้อยละ 11.2 มั่นใจว่าโอกาสได้เงินมีมากกว่าเสียเงิน ร้อยละ 11 ชอบเสี่ยง และร้อยละ 10.1 เพื่อชวนและเล่นตามเพื่อน
รศ.ดร.นวลน้อย กล่าวต่อว่า สำหรับข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจเล่นพนันบอล คือสถิติการแข่งขันที่ผ่านมา, ข้อมูลอัตราต่อรอง, ข้อมูลความพร้อมของทีมที่จะแข่งขัน, เป็นแฟนบอลทีมนั้นๆ, จากการวิเคราะห์ฟันธงผลการแข่งขันล่วงหน้า, ข้อมูลจากคอลัมน์วิจารณ์ต่างๆ และคิดเอง ส่วนช่องทางที่รับข้อมูลข่าวสารในการเล่นพนันบอล 5 อันดับแรก ได้แก่ เว็บไซต์ โทรทัศน์ฟรีทีวี หนังสือพิมพ์กีฬา หนังสือพิมพ์วิเคราะห์อัตราต่อรอง และทีวีดาวเทียม หรือเคเบิลทีวี ในส่วนพฤติกรรมการเล่นพนันบอลที่นำไปสู่ปัญหา พบว่า ร้อยละ 37 เคยเล่นเพียงต้องการได้เงินที่เสียไปคืน ร้อยละ 27.5 เคยเล่นเกินความตั้งใจ ร้อนละ 18.3 เคนเล่นแล้วเสียงเงินแต่ไม่มีเงินพอจ่าย ร้อยละ 55.9 คิดจะที่ลดหรือเลิกเล่น และร้อยละ 44.6 รู้สึกผิดกับการเล่นพนันบอล ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 36.2 เคยได้รับผลกระทบจากการเล่นพนัน โดยผลกระทบดังกล่าวมีตั้งแต่ เสียการเรียน ถูกโกง ทะเลาะวิวาทกับคู่พนัน ถูกขู่กรรโชกและทำร้ายร่างกาย เลิกกับแฟน มีปัญหาในครอบครัว และเครียด
เมื่อถามถึงความตั้งใจที่จะเล่นพนันฟุตบอลโลก 2014 พบว่า ร้อยละ 11.7 ตั้งใจจะเล่นพนัน ร้อยละ 20.5 ไม่แน่ใจ โดยกลุ่มที่ตั้งใจจะเล่นด้วย คือ เพื่อน รองลงมา พี่น้อง และในกลุ่มที่ตั้งใจจะเล่นพนันบอล ร้อยละ 20.7 ตั้งใจจะเล่นกับโต๊ะบอลโดยตรง ร้อยละ 15.9 เล่นผ่านเว็บไซต์ และร้อยละ 11.9 เล่นกับโต๊ะบอลโดยผ่านคนรับแทง นอกจากนั้น ผู้ที่เคยเล่นพนันบอลมาก่อน ร้อยละ 42.6 ตั้งใจจะเล่นพนันบอลโลก 2014 ร้อยละ 35.5 ไม่แน่ใจว่าจะเล่น และร้อยละ 22 ตอบว่าไม่เล่น ส่วนนักเรียนสายสามัญ ร้อยละ 8.5 ต้องการจะเล่นพนันบอล ขณะที่สายอาชีพ ร้อยละ 16.8 ต้องการเล่นพนันบอล โดยวงเงินที่ใช้เล่น มีตั้งแต่ไม่เกิน 50 บาท ไปจนถึง 1,000 บาท ค่าเฉลี่ยเฉพาะที่จะเล่นต่อคู่อยู่ที่ประมาณ 492 บาท ซึ่งเงินที่จะนำมาเล่น ร้อยละ 52.6 มาจากเงินเก็บ ร้อยละ 37.4 เงินที่ได้จากทางบ้าน
เมื่อถามถึงการห้ามปรามการเล่นพนันบอล พบว่า กลุ่มที่ตั้งใจเล่นพนันบอลโลก 2014 ร้อยละ 42.9 ไม่เคยได้ยินได้ฟังการรณรงค์เพื่อห้ามปรามไม่ให้เล่นพนันบอลโลก 2014 ครั้งนี้แต่อย่างใด และได้ยินจากพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือสื่อต่างๆ มีสัดส่วนที่ต่ำ ส่วนใหญ่จะได้ฟังจากโรงเรียนและครู อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างที่ตั้งใจจะเล่นพนันบอลร้อยละ 53.1 ไม่รู้สึกกังวลว่าจะถูกจับได้ และถูกลงโทษแต่อย่างใด เพราะรู้สึกว่ามีคนที่เล่นพนันบอลถูกจับได้น้อย
“10 ปีหลังมานี้ คนที่เล่นพนันฟุตบอล ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กและเยาวชนที่มีอายุน้อย ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า เด็กเข้าถึงการพนันบอลได้ง่าย เพราะเล่นแล้วไม่ถูกจับตามอง อีกทั้งร้อยละ 90 อยู่ในสภาพแวดล้อม มีคนรู้จักไม่ว่าจะเป็นเพื่อนสนิท พ่อแม่ พี่น้อง ญาติ ที่เล่นพนันบอล ทำให้การเล่นพนันบอลกลายเป็นเรื่องปกติทั้งที่การพนันบอลเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ดังนั้น ตอนนี้สังคมไทยต้องกลับมามองตระหนักถึงการเล่นพนันบอลของเด็ก โดยเฉพาะในส่วนของพ่อแม่ผู้ปกครองที่เล่นพนันบอล อย่ามองเพียงว่าเล่นเพื่อความสนุก ไม่กระทบต่อค่าใช้จ่ายของตนเอง แต่เรื่องนี้ได้ส่งผลกระทบต่อลูกหลาน เพราะ 1 ใน 3 ของเด็กที่เล่นพนันบอลล้วนนำไปสู่ปัญหา บางคนต้องหาเงินโดยวิธีที่ผิดเพื่อมาจ่ายพนันบอล และ 14% ระบุว่ามีความเครียดจนต้องเข้ารับการบำบัด หรือคิดสั้น ฉะนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง พี่น้องควรเลิกเล่น และต้องคอยสังเกตลูกหลานในช่วงเทศกาลฟุตบอล ควรสอบถามเฝ้าดูแลลูกหลานอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการเล่นพนันบอลถ้าไม่นำไปสู่ปัญหา เด็กจะไม่เลิกเล่น ขณะเดียวกันสื่อต่างๆ ควรจะรณรงค์ไม่ให้เล่นพนันบอล และไม่ควรจะวิเคราะห์ ให้ข้อมูลต่างๆ ที่อาจจะนำไปสู่การพนันบอล” รศ.ดร.นวลน้อย กล่าว
นายธนากร คมกฤส ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน กล่าวว่า แนวทางในการเฝ้าระวังเด็กและเยาวชนจากการเล่นพนันบอลนั้น ภาครัฐ โรงเรียน และผู้ปกครองต้องร่วมมือกัน ขจัดร้าย ขยายดี และมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งต้องมีการปราบพนันทุกประเภท สนับสนุนกิจกรรมทางเลือกที่สร้างสรรค์เพื่อทดแทน หรือเบี่ยงเบของเด็กและเยาวชนจากการเล่นพนัน ผู้ปกครองควรช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน และถ้าเป็นไปได้ แต่ละบ้านควรดูถ่านทอดสดฟุตบอล ทั้งนี้ทางเครือข่ายได้จัดทำคู่มือ ดูบอลทั้งบ้าน ให้ครอบครัวมีแนวทางในการพูดคุยกัน โดยครอบครัวใดสนใจสามารถติดต่อขอรับฟรีได้ที่ 0-2954-23446-7
ด้าน นายพงศ์ธร จันทรัศมี ผู้จัดการศูนย์ข้อมูลนโยบายสาธารณะเพื่อลดปัญหาจากการพนัน มสช. กล่าวว่า กระแสบอลโลกจะทำให้เกิดนักพนันบอลหน้าใหม่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของเด็กและเยาวชนที่จะเข้าสู่วงจรการพนันบอลมากขึ้น จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยหาแนวทางควบคุมปัญหาการพนันบอลโลก อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องบังคับกฎหมายการพนันอย่างเคร่งครัด จับกุมร้านเกมที่เปิดให้เล่นฟุตบอล ตำเนินคดีกับสื่อโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และอินเตอร์เน็ตที่นำเสนอข้อมูลชักชวนให้เกิดการเล่นพนันบอล กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ปิดเว็บรับแทงบอล และกระทรวงศึกษาธิการ ควรมีคำสั่งให้สถานศึกษาทั่วประเทศจัดระบบเฝ้าระวังนักเรียนเล่นพนันบอล และรณรงค์ เพื่อสร้างการรู้ทัน เป็นต้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (9 มิ.ย.) ที่โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) เครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน โครงการเสริมสร้างสื่อมวลชนศึกษา และโครงการขับเคลื่อนสังคมและนโยบายสาธารณะเพื่อลดปัญหาจากการพนัน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) จัดแถลงผลการสำรวจ “พฤติกรรมการรับชมและการเล่นพนันทายผลฟุตบอลโลก 2014 กลุ่มนักพนันมัธยมปลายและอาชีวศึกษา ครั้งที่ 1” โดย รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน จุฬาฯ กล่าวว่า จากการสำรวจกลุ่มนักเรียนระดับม.ปลาย (ม.4 - ม.6) และอาชีวศึกษา (ปวช.1 - ปวช.3) ในพื้นที่ 8 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และจังหวัดใหญ่ใน 4 ภูมิภาค เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และชลบุรี จำนวน 3,050 คน พบว่า ร้อยละ 77.5 ระบุว่ารายการฟุตบอลที่กลุ่มตัวอย่างสนใจชมการถ่ายทอดมากที่สุด คือ ฟุตบอลโลก โดยร้อยละ 42.2 ตั้งใจจะชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2014 และร้อยละ 44.8 ยังไม่แน่ใจ เมื่อถามถึงทัศนคติและประสบการณ์พนันบอล พบว่า ร้อยละ 48.6 เห็นว่าเหมาะสมหากเล่นพนันบอลกับเพื่อนด้วยสิ่งอื่น ที่ไม่ใช่เงิน ร้อยละ 20.9 เหมาะสมหากเดิมพันด้วยเงินกับเพื่อนเพื่อเพิ่มสีสันในการเชียร์ ร้อยละ9.5เหมาะสมหากเล่นผ่านโต๊ะบอล และร้อยละ 8.7 เหมาะสมหากเล่นผ่านทางเว็บไซต์
นอกจากนั้น เมื่อสอบถามถึงอายุที่เริ่มเล่นพนันบอครั้งแรก พบว่า ร้อยละ 38.4 เริ่มเล่นครั้งแรกในช่วงอายุ 8-14 ปี หรือน้อยกว่า 15 ปี ร้อยละ 34.5 อายุ 15 ปี ร้อยละ 15.2 อายุ 16 ปี และร้อยละ 12 อายุ 17.20 ปี อีกทั้ง เมื่อสอบถามประสบการณ์เล่นพนันบอล พบว่าร้อยละ 21.8 เคยมีประสบการณ์เล่นพนันบอล โดยร้อยละ 53.1 เล่นกับเพื่อนมากที่สุด ร้อยละ 31.6 เล่นกับโต๊ะบอล ร้อยละ 26.5 เล่นกับโต๊ะบอลโดยผ่านคนรับแทง และร้อยละ 11.7 เล่นผ่านเว็บไซต์ นอกจากนั้น กลุ่มที่มีประสบการณ์เล่นพนนัน ร้อยละ 37.1 เล่นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยจำนวนเงินที่เล่นเฉลี่ยประมาณ 228 บาทต่อครั้ง ส่วนเหตุผลในการเล่นพนันบอลนั้น ร้อยละ 42.6 เพื่อทำให้การเชียร์ฟุตบอลสนุกตื่นเต้นขึ้น ร้อยละ 15.1 ชอบคิดวิเคราะห์เกมการแข่งขัน ร้อยละ 11.2 มั่นใจว่าโอกาสได้เงินมีมากกว่าเสียเงิน ร้อยละ 11 ชอบเสี่ยง และร้อยละ 10.1 เพื่อชวนและเล่นตามเพื่อน
รศ.ดร.นวลน้อย กล่าวต่อว่า สำหรับข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจเล่นพนันบอล คือสถิติการแข่งขันที่ผ่านมา, ข้อมูลอัตราต่อรอง, ข้อมูลความพร้อมของทีมที่จะแข่งขัน, เป็นแฟนบอลทีมนั้นๆ, จากการวิเคราะห์ฟันธงผลการแข่งขันล่วงหน้า, ข้อมูลจากคอลัมน์วิจารณ์ต่างๆ และคิดเอง ส่วนช่องทางที่รับข้อมูลข่าวสารในการเล่นพนันบอล 5 อันดับแรก ได้แก่ เว็บไซต์ โทรทัศน์ฟรีทีวี หนังสือพิมพ์กีฬา หนังสือพิมพ์วิเคราะห์อัตราต่อรอง และทีวีดาวเทียม หรือเคเบิลทีวี ในส่วนพฤติกรรมการเล่นพนันบอลที่นำไปสู่ปัญหา พบว่า ร้อยละ 37 เคยเล่นเพียงต้องการได้เงินที่เสียไปคืน ร้อยละ 27.5 เคยเล่นเกินความตั้งใจ ร้อนละ 18.3 เคนเล่นแล้วเสียงเงินแต่ไม่มีเงินพอจ่าย ร้อยละ 55.9 คิดจะที่ลดหรือเลิกเล่น และร้อยละ 44.6 รู้สึกผิดกับการเล่นพนันบอล ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 36.2 เคยได้รับผลกระทบจากการเล่นพนัน โดยผลกระทบดังกล่าวมีตั้งแต่ เสียการเรียน ถูกโกง ทะเลาะวิวาทกับคู่พนัน ถูกขู่กรรโชกและทำร้ายร่างกาย เลิกกับแฟน มีปัญหาในครอบครัว และเครียด
เมื่อถามถึงความตั้งใจที่จะเล่นพนันฟุตบอลโลก 2014 พบว่า ร้อยละ 11.7 ตั้งใจจะเล่นพนัน ร้อยละ 20.5 ไม่แน่ใจ โดยกลุ่มที่ตั้งใจจะเล่นด้วย คือ เพื่อน รองลงมา พี่น้อง และในกลุ่มที่ตั้งใจจะเล่นพนันบอล ร้อยละ 20.7 ตั้งใจจะเล่นกับโต๊ะบอลโดยตรง ร้อยละ 15.9 เล่นผ่านเว็บไซต์ และร้อยละ 11.9 เล่นกับโต๊ะบอลโดยผ่านคนรับแทง นอกจากนั้น ผู้ที่เคยเล่นพนันบอลมาก่อน ร้อยละ 42.6 ตั้งใจจะเล่นพนันบอลโลก 2014 ร้อยละ 35.5 ไม่แน่ใจว่าจะเล่น และร้อยละ 22 ตอบว่าไม่เล่น ส่วนนักเรียนสายสามัญ ร้อยละ 8.5 ต้องการจะเล่นพนันบอล ขณะที่สายอาชีพ ร้อยละ 16.8 ต้องการเล่นพนันบอล โดยวงเงินที่ใช้เล่น มีตั้งแต่ไม่เกิน 50 บาท ไปจนถึง 1,000 บาท ค่าเฉลี่ยเฉพาะที่จะเล่นต่อคู่อยู่ที่ประมาณ 492 บาท ซึ่งเงินที่จะนำมาเล่น ร้อยละ 52.6 มาจากเงินเก็บ ร้อยละ 37.4 เงินที่ได้จากทางบ้าน
เมื่อถามถึงการห้ามปรามการเล่นพนันบอล พบว่า กลุ่มที่ตั้งใจเล่นพนันบอลโลก 2014 ร้อยละ 42.9 ไม่เคยได้ยินได้ฟังการรณรงค์เพื่อห้ามปรามไม่ให้เล่นพนันบอลโลก 2014 ครั้งนี้แต่อย่างใด และได้ยินจากพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือสื่อต่างๆ มีสัดส่วนที่ต่ำ ส่วนใหญ่จะได้ฟังจากโรงเรียนและครู อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างที่ตั้งใจจะเล่นพนันบอลร้อยละ 53.1 ไม่รู้สึกกังวลว่าจะถูกจับได้ และถูกลงโทษแต่อย่างใด เพราะรู้สึกว่ามีคนที่เล่นพนันบอลถูกจับได้น้อย
“10 ปีหลังมานี้ คนที่เล่นพนันฟุตบอล ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กและเยาวชนที่มีอายุน้อย ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า เด็กเข้าถึงการพนันบอลได้ง่าย เพราะเล่นแล้วไม่ถูกจับตามอง อีกทั้งร้อยละ 90 อยู่ในสภาพแวดล้อม มีคนรู้จักไม่ว่าจะเป็นเพื่อนสนิท พ่อแม่ พี่น้อง ญาติ ที่เล่นพนันบอล ทำให้การเล่นพนันบอลกลายเป็นเรื่องปกติทั้งที่การพนันบอลเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ดังนั้น ตอนนี้สังคมไทยต้องกลับมามองตระหนักถึงการเล่นพนันบอลของเด็ก โดยเฉพาะในส่วนของพ่อแม่ผู้ปกครองที่เล่นพนันบอล อย่ามองเพียงว่าเล่นเพื่อความสนุก ไม่กระทบต่อค่าใช้จ่ายของตนเอง แต่เรื่องนี้ได้ส่งผลกระทบต่อลูกหลาน เพราะ 1 ใน 3 ของเด็กที่เล่นพนันบอลล้วนนำไปสู่ปัญหา บางคนต้องหาเงินโดยวิธีที่ผิดเพื่อมาจ่ายพนันบอล และ 14% ระบุว่ามีความเครียดจนต้องเข้ารับการบำบัด หรือคิดสั้น ฉะนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง พี่น้องควรเลิกเล่น และต้องคอยสังเกตลูกหลานในช่วงเทศกาลฟุตบอล ควรสอบถามเฝ้าดูแลลูกหลานอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการเล่นพนันบอลถ้าไม่นำไปสู่ปัญหา เด็กจะไม่เลิกเล่น ขณะเดียวกันสื่อต่างๆ ควรจะรณรงค์ไม่ให้เล่นพนันบอล และไม่ควรจะวิเคราะห์ ให้ข้อมูลต่างๆ ที่อาจจะนำไปสู่การพนันบอล” รศ.ดร.นวลน้อย กล่าว
นายธนากร คมกฤส ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน กล่าวว่า แนวทางในการเฝ้าระวังเด็กและเยาวชนจากการเล่นพนันบอลนั้น ภาครัฐ โรงเรียน และผู้ปกครองต้องร่วมมือกัน ขจัดร้าย ขยายดี และมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งต้องมีการปราบพนันทุกประเภท สนับสนุนกิจกรรมทางเลือกที่สร้างสรรค์เพื่อทดแทน หรือเบี่ยงเบของเด็กและเยาวชนจากการเล่นพนัน ผู้ปกครองควรช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน และถ้าเป็นไปได้ แต่ละบ้านควรดูถ่านทอดสดฟุตบอล ทั้งนี้ทางเครือข่ายได้จัดทำคู่มือ ดูบอลทั้งบ้าน ให้ครอบครัวมีแนวทางในการพูดคุยกัน โดยครอบครัวใดสนใจสามารถติดต่อขอรับฟรีได้ที่ 0-2954-23446-7
ด้าน นายพงศ์ธร จันทรัศมี ผู้จัดการศูนย์ข้อมูลนโยบายสาธารณะเพื่อลดปัญหาจากการพนัน มสช. กล่าวว่า กระแสบอลโลกจะทำให้เกิดนักพนันบอลหน้าใหม่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของเด็กและเยาวชนที่จะเข้าสู่วงจรการพนันบอลมากขึ้น จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยหาแนวทางควบคุมปัญหาการพนันบอลโลก อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องบังคับกฎหมายการพนันอย่างเคร่งครัด จับกุมร้านเกมที่เปิดให้เล่นฟุตบอล ตำเนินคดีกับสื่อโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และอินเตอร์เน็ตที่นำเสนอข้อมูลชักชวนให้เกิดการเล่นพนันบอล กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ปิดเว็บรับแทงบอล และกระทรวงศึกษาธิการ ควรมีคำสั่งให้สถานศึกษาทั่วประเทศจัดระบบเฝ้าระวังนักเรียนเล่นพนันบอล และรณรงค์ เพื่อสร้างการรู้ทัน เป็นต้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่