“อาร์เอส”ตั้งชุดเฉพาะกิจตรวจจับพวกละเมิดลิขสิทธิ์บอลโลก จับตา 37 เว็บไซต์ เปิดถ่ายสดดูบอล เจอจับแน่ พร้อมประสานปิดเว็บ ส่วนทีวีดาวเทียม ก็ห้าม เตือนผู้ประกอบการ โรงแรม ร้านอาหาร เธค ผับ บาร์เบียร์ ต้องขออนุญาตใช้สิทธิให้ถูกต้อง โพลชี้คนไทยพอใจชมเกมฟรีทีวี 22 คู่ ด้าน สพฐ.วาง 3 มาตรการป้องกันเด็กกลายเป็นผีพนันบอล
นายสุทธิศักดิ์ ประศาสน์ครุการ กรรมการและผู้อำนวยการสายงานกฎหมายและปราบปราม บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด หรือทีซีซี ในเครือ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้จัดตั้งทีมงานเฉพาะกิจประกอบด้วยทีมทนายความและทีมปราบปรามจำนวนกว่า 300 คน กระจายลงพื้นที่ทั่วประเทศ
เพื่อตรวจสอบการใช้งานลิขสิทธิ์การแพร่เสียงแพร่ภาพรายการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์โลกที่บราซิล ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 12 มิ.ย.-13 ก.ค.2557 เพื่อป้องกันปัญหาการนำการถ่ายทอดสดฟุตบอลไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้ขออนุญาตให้ถูกต้อง
ทั้งนี้ ทีซีซีกำลังจับตาเว็บไซต์ที่ปกติได้ถ่ายทอดสดฟุตบอลของลีกต่างๆ ในต่างประเทศ และมีแนวโน้มว่าจะมีการดึงสัญญาณการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกไปเผยแพร่ ซึ่งมีประมาณ 37 เว็บไซต์ โดยให้จับตาอย่างใกล้ชิด และหากพบว่ามีการดึงสัญญาณไปถ่ายทอดสดจริง ก็จะตำรวจการจับกุมในทันที และประสานไปยังตำรวจและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อปิดเว็บไซต์ด้วย ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 2 วัน
สำหรับทีวีดาวเทียม ก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่มีความเสี่ยงที่จะดึงสัญญาณไปใช้ ซึ่งได้จับตาเช่นเดียวกัน เพราะทีซีซีไม่ได้อนุญาตให้ทีวีดาวเทียมนำโปรแกรมการถ่ายทอดสดไปใช้ ซึ่งหากตรวจสอบพบก็จะมีการดำเนินการจับกุมเช่นเดียวกัน โดยหากจับกุมได้จะมีโทษตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นายสุทธิศักดิ์กล่าวว่า ทีซีซีขอเตือนไปยังองค์กรธุรกิจ หน่วยงาน หรือสถานประกอบการต่างๆ ร้านอาหาร สวนอาหาร ศูนย์จำหน่ายอาหาร ร้านคาราโอเกะ ภัตตาการ เธค ผับ บาร์เบียร์ โรงแรม อพาร์ทเม้นท์ ศูนย์จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า คลับเฮาส์ และบริเวณสถานที่กลางแจ้งของร้านอาหาร สวนอาหาร สถานบันเทิงที่ประสงค์จะนำงานอันมีลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพดังกล่าวออกไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ไม่ว่าในรูปแบบการนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือการจัดกิจกรรมส่งเสริมใดๆ เพื่อประโยชน์ทางการค้า ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม จะต้องขออนุญาตให้ถูกต้อง
“ตอนนี้ มีผู้ประกอบการในส่วนต่างๆ ติดต่อขอใช้สิทธิ์แล้วประมาณ 1 หมื่นราย ส่วนใครที่ยังไม่ขออนุญาตให้ถูกต้อง ก็ให้รีบติดต่อ เพราะใกล้จะเปิดการแข่งขันแล้ว ถ้าไม่ขอแล้วนำไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรม on ground ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอล รวมถึงการจัดงานกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ โดยมีเจตนาแอบแฝงหรือซ่อนเร้นในการนำผลงานอันมีลิขสิทธิ์ไปเอื้อประโยชน์ ก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย”
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการร้านค้าที่ได้มีการขออนุญาตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะต้องทำการแสดงหนังสือไว้ในที่เปิดเผย และง่ายต่อการตรวจสอบ เพื่อป้องกันไม่ให้การตรวจสอบเข้าไปทำการรบกวนเวลาชมหรือรับประทานอาหารของลูกค้าในสถานประกอบการ ส่วนร้านค้ารายย่อย เช่น ร้านอาหารริมทาง ร้านส้มตำ ที่เปิดให้ลูกค้าดูการแข่งขันฟุตบอล ที่ไม่ใช่การจัดทำเพื่อการค้า ก็สามารถดำเนินการได้ตามปกติ จะไม่มีการเข้าไปจับกุม
คนไทยพอใจฟรีทีวี 22 คู่
วันที่ 8 มิ.ย. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ศึกฟุตบอลโลก 2014” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5–7 มิถุนายน 2557 จากประชาชนที่ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของวงการฟุตบอลโลก 2014 รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,268 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ เกี่ยวกับศึกฟุตบอลโลก 2014 ที่จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน – 13 กรกฎาคม 2557 โดยมีประเทศบราซิลเป็นเจ้าภาพ อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4
จากผลการสำรวจเกี่ยวกับความถี่ในการติดตามข่าวความเคลื่อนไหวการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 79.97 ระบุว่า ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 เป็นบางครั้ง ขณะที่ ร้อยละ 20.03 ระบุว่า ติดตามเป็นประจำ
เมื่อถามถึงความพึงพอใจของประชาชนที่จะได้รับชมการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ทางช่องฟรีทีวี (ช่อง 7) จำนวน 22 คู่ จาก 64 คู่ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 32.73 ระบุว่า พอใจมาก ร้อยละ 41.17 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 13.09 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 4.57 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 8.44 ระบุว่า เฉยๆ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อทีมฟุตบอลที่ชื่นชอบมากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.41 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติบราซิล รองลงมา ร้อยละ 21.41 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติอังกฤษ ร้อยละ 17.83 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติสเปน ร้อยละ 11.11 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติเยอรมนี ร้อยละ 4.12 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติอาร์เจนตินา ร้อยละ 3.05 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติอิตาลี ร้อยละ 2.78 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติฮอลแลนด์ ร้อยละ 2.06 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติฝรั่งเศส ร้อยละ 1.70 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติโปรตุเกส ร้อยละ 0.54 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติญี่ปุ่น ร้อยละ 0.45 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติเบลเยียม และร้อยละ 0.54 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติ อื่นๆ ได้แก่ กานา สวิตเซอร์แลนด์ อุรุกวัย เอกวาดอร์ เกาหลีใต้ และฮอนดูรัส
ท้ายสุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อทีมฟุตบอลที่คิดว่า จะได้เป็นแชมป์ฟุตบอลโลก 2014 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.78 ระบุว่า เป็นทีมชาติบราซิล รองลงมา ร้อยละ 15.03 ระบุว่า เป็นทีมชาติสเปน ร้อยละ 7.71 ระบุว่า เป็นทีมชาติเยอรมนี ร้อยละ 5.98 ระบุว่า เป็นทีมชาติอังกฤษ ร้อยละ 2.28 ระบุว่า เป็นทีมชาติอาร์เจนตินา ร้อยละ 1.34 ระบุว่า เป็นทีมชาติอิตาลี ร้อยละ 0.94 ระบุว่า เป็นทีมชาติฮอลแลนด์และโปรตุเกส ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 0.71 ระบุว่า เป็นทีมชาติฝรั่งเศส ร้อยละ 0.55 ระบุว่า เป็นทีมชาติอื่นๆ ได้แก่ อุรุกวัย เบลเยียม เอกวาดอร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และร้อยละ 15.74 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ
สพฐ.วาง 3 มาตรการป้องเด็กผีพนันบอล
นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า เนื่องจากจะมีการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ระหว่างันที่ 12 มิถุนายนถึง 13 กรกฎาคม 2557 ที่ประเทศบราซิล ดังนั้นเพื่อป้องกันนักเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เข้าไปเกี่ยวข้องกับการพนันฟุตบอล เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ กพฐ. ได้ลงนามในหนังสือด่วนไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทุกเขตพื้นที่เพื่อย้ำถึงมาตรการการป้องกันนักเรียนโรงเรียนในสังกัด สพฐ. เล่นพนันฟุตบอลโลก 2014 โดยประเด็นสำคัญที่ สพฐ.กำหนดมี 3 ข้อ คือ 1.สร้างภูมิคุ้มกันเด็ก โดยเน้นสร้างการป้องกันนักเรียนจากการพนัน อาทิ โรงเรียนควรจะมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่เหมาะสมในช่วงการแข่งขัน การรณรงค์ผ่านผู้ปกครอง การคัดกรองเด็ก ซึ่ง สพฐ.มีข้อมูลอยู่แล้วว่า เด็กกลุ่มไหนที่เสี่ยงจะเล่นพนันบอล เป็นต้น นอกจากนี้ สพฐ.จะมอบหมายให้สภาเด็กประจำจังหวัดคอยเฝ้าระวังอีกทางหนึ่ง เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยที่เราไม่รู้ว่าเด็กจะเล่นหรือไม่เล่นพนัน
รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า 2.การป้องกันและร่วมมือไม่ให้เด็กเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการพนัน โดยเฉพาะช่วงระหว่างการแข่งขันเป็นเวลา 1 เดือน โดยสพท.จะมีชุดเฝ้าระวังคอยสอดส่อง กรณีที่รู้ว่าเด็กจะเล่นพนันก็จะมีสายสืบเข้าไปห้ามปราม และ 3.โรงเรียนจะต้องรณรงค์ให้เด็กชมฟุตบอลโดยปลอดการพนัน อาทิ กำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้เด็กชมการแข่งขันฟุตบอล นำเทปการแข่งขันในคู่ดึกมาเปิดให้ชมในช่วงพักกลางวัน เสนอข่าวสารผลฟุตบอลในโรงเรียน เป็นต้น
"การเปิดเทปการแข่งขันฟุตบอลให้ เด็กดูในโรงเรียนเป็นการป้องกันไปในตัว เพราะมีครูคอยแนะนำในสิ่งที่ถูกต้อง แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ไปกระทบกับช่วงเวลาเรียนปกติด้วย ขณะที่ข้อมูลของสำนักงานสาธรณสุขมูลฐาน ระบุว่า การเล่นพนันบอลในเด็กถือเป็นอาชญากรรมลำดับที่ 3 รองจากอาชญากรรม และยาเสพติด นอกจากนี้ สพฐ.เห็นว่าการพนันในรูปแบบออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือ และผ่านระบบเอสเอ็มเอสนั้น จะต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแล เพราะไม่ต้องการให้ใครมาหาประโยชน์กับเด็ก" นายกมล กล่าว.
นายสุทธิศักดิ์ ประศาสน์ครุการ กรรมการและผู้อำนวยการสายงานกฎหมายและปราบปราม บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด หรือทีซีซี ในเครือ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้จัดตั้งทีมงานเฉพาะกิจประกอบด้วยทีมทนายความและทีมปราบปรามจำนวนกว่า 300 คน กระจายลงพื้นที่ทั่วประเทศ
เพื่อตรวจสอบการใช้งานลิขสิทธิ์การแพร่เสียงแพร่ภาพรายการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์โลกที่บราซิล ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 12 มิ.ย.-13 ก.ค.2557 เพื่อป้องกันปัญหาการนำการถ่ายทอดสดฟุตบอลไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้ขออนุญาตให้ถูกต้อง
ทั้งนี้ ทีซีซีกำลังจับตาเว็บไซต์ที่ปกติได้ถ่ายทอดสดฟุตบอลของลีกต่างๆ ในต่างประเทศ และมีแนวโน้มว่าจะมีการดึงสัญญาณการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกไปเผยแพร่ ซึ่งมีประมาณ 37 เว็บไซต์ โดยให้จับตาอย่างใกล้ชิด และหากพบว่ามีการดึงสัญญาณไปถ่ายทอดสดจริง ก็จะตำรวจการจับกุมในทันที และประสานไปยังตำรวจและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อปิดเว็บไซต์ด้วย ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 2 วัน
สำหรับทีวีดาวเทียม ก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่มีความเสี่ยงที่จะดึงสัญญาณไปใช้ ซึ่งได้จับตาเช่นเดียวกัน เพราะทีซีซีไม่ได้อนุญาตให้ทีวีดาวเทียมนำโปรแกรมการถ่ายทอดสดไปใช้ ซึ่งหากตรวจสอบพบก็จะมีการดำเนินการจับกุมเช่นเดียวกัน โดยหากจับกุมได้จะมีโทษตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นายสุทธิศักดิ์กล่าวว่า ทีซีซีขอเตือนไปยังองค์กรธุรกิจ หน่วยงาน หรือสถานประกอบการต่างๆ ร้านอาหาร สวนอาหาร ศูนย์จำหน่ายอาหาร ร้านคาราโอเกะ ภัตตาการ เธค ผับ บาร์เบียร์ โรงแรม อพาร์ทเม้นท์ ศูนย์จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า คลับเฮาส์ และบริเวณสถานที่กลางแจ้งของร้านอาหาร สวนอาหาร สถานบันเทิงที่ประสงค์จะนำงานอันมีลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพดังกล่าวออกไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ไม่ว่าในรูปแบบการนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือการจัดกิจกรรมส่งเสริมใดๆ เพื่อประโยชน์ทางการค้า ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม จะต้องขออนุญาตให้ถูกต้อง
“ตอนนี้ มีผู้ประกอบการในส่วนต่างๆ ติดต่อขอใช้สิทธิ์แล้วประมาณ 1 หมื่นราย ส่วนใครที่ยังไม่ขออนุญาตให้ถูกต้อง ก็ให้รีบติดต่อ เพราะใกล้จะเปิดการแข่งขันแล้ว ถ้าไม่ขอแล้วนำไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรม on ground ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอล รวมถึงการจัดงานกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ โดยมีเจตนาแอบแฝงหรือซ่อนเร้นในการนำผลงานอันมีลิขสิทธิ์ไปเอื้อประโยชน์ ก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย”
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการร้านค้าที่ได้มีการขออนุญาตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะต้องทำการแสดงหนังสือไว้ในที่เปิดเผย และง่ายต่อการตรวจสอบ เพื่อป้องกันไม่ให้การตรวจสอบเข้าไปทำการรบกวนเวลาชมหรือรับประทานอาหารของลูกค้าในสถานประกอบการ ส่วนร้านค้ารายย่อย เช่น ร้านอาหารริมทาง ร้านส้มตำ ที่เปิดให้ลูกค้าดูการแข่งขันฟุตบอล ที่ไม่ใช่การจัดทำเพื่อการค้า ก็สามารถดำเนินการได้ตามปกติ จะไม่มีการเข้าไปจับกุม
คนไทยพอใจฟรีทีวี 22 คู่
วันที่ 8 มิ.ย. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ศึกฟุตบอลโลก 2014” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5–7 มิถุนายน 2557 จากประชาชนที่ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของวงการฟุตบอลโลก 2014 รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,268 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ เกี่ยวกับศึกฟุตบอลโลก 2014 ที่จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน – 13 กรกฎาคม 2557 โดยมีประเทศบราซิลเป็นเจ้าภาพ อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4
จากผลการสำรวจเกี่ยวกับความถี่ในการติดตามข่าวความเคลื่อนไหวการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 79.97 ระบุว่า ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 เป็นบางครั้ง ขณะที่ ร้อยละ 20.03 ระบุว่า ติดตามเป็นประจำ
เมื่อถามถึงความพึงพอใจของประชาชนที่จะได้รับชมการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ทางช่องฟรีทีวี (ช่อง 7) จำนวน 22 คู่ จาก 64 คู่ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 32.73 ระบุว่า พอใจมาก ร้อยละ 41.17 ระบุว่า ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 13.09 ระบุว่า ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 4.57 ระบุว่า ไม่พอใจเลย ร้อยละ 8.44 ระบุว่า เฉยๆ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อทีมฟุตบอลที่ชื่นชอบมากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.41 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติบราซิล รองลงมา ร้อยละ 21.41 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติอังกฤษ ร้อยละ 17.83 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติสเปน ร้อยละ 11.11 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติเยอรมนี ร้อยละ 4.12 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติอาร์เจนตินา ร้อยละ 3.05 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติอิตาลี ร้อยละ 2.78 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติฮอลแลนด์ ร้อยละ 2.06 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติฝรั่งเศส ร้อยละ 1.70 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติโปรตุเกส ร้อยละ 0.54 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติญี่ปุ่น ร้อยละ 0.45 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติเบลเยียม และร้อยละ 0.54 ระบุว่า ชื่นชอบทีมชาติ อื่นๆ ได้แก่ กานา สวิตเซอร์แลนด์ อุรุกวัย เอกวาดอร์ เกาหลีใต้ และฮอนดูรัส
ท้ายสุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อทีมฟุตบอลที่คิดว่า จะได้เป็นแชมป์ฟุตบอลโลก 2014 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.78 ระบุว่า เป็นทีมชาติบราซิล รองลงมา ร้อยละ 15.03 ระบุว่า เป็นทีมชาติสเปน ร้อยละ 7.71 ระบุว่า เป็นทีมชาติเยอรมนี ร้อยละ 5.98 ระบุว่า เป็นทีมชาติอังกฤษ ร้อยละ 2.28 ระบุว่า เป็นทีมชาติอาร์เจนตินา ร้อยละ 1.34 ระบุว่า เป็นทีมชาติอิตาลี ร้อยละ 0.94 ระบุว่า เป็นทีมชาติฮอลแลนด์และโปรตุเกส ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 0.71 ระบุว่า เป็นทีมชาติฝรั่งเศส ร้อยละ 0.55 ระบุว่า เป็นทีมชาติอื่นๆ ได้แก่ อุรุกวัย เบลเยียม เอกวาดอร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และร้อยละ 15.74 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ
สพฐ.วาง 3 มาตรการป้องเด็กผีพนันบอล
นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า เนื่องจากจะมีการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ระหว่างันที่ 12 มิถุนายนถึง 13 กรกฎาคม 2557 ที่ประเทศบราซิล ดังนั้นเพื่อป้องกันนักเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เข้าไปเกี่ยวข้องกับการพนันฟุตบอล เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ กพฐ. ได้ลงนามในหนังสือด่วนไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทุกเขตพื้นที่เพื่อย้ำถึงมาตรการการป้องกันนักเรียนโรงเรียนในสังกัด สพฐ. เล่นพนันฟุตบอลโลก 2014 โดยประเด็นสำคัญที่ สพฐ.กำหนดมี 3 ข้อ คือ 1.สร้างภูมิคุ้มกันเด็ก โดยเน้นสร้างการป้องกันนักเรียนจากการพนัน อาทิ โรงเรียนควรจะมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่เหมาะสมในช่วงการแข่งขัน การรณรงค์ผ่านผู้ปกครอง การคัดกรองเด็ก ซึ่ง สพฐ.มีข้อมูลอยู่แล้วว่า เด็กกลุ่มไหนที่เสี่ยงจะเล่นพนันบอล เป็นต้น นอกจากนี้ สพฐ.จะมอบหมายให้สภาเด็กประจำจังหวัดคอยเฝ้าระวังอีกทางหนึ่ง เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยที่เราไม่รู้ว่าเด็กจะเล่นหรือไม่เล่นพนัน
รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า 2.การป้องกันและร่วมมือไม่ให้เด็กเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการพนัน โดยเฉพาะช่วงระหว่างการแข่งขันเป็นเวลา 1 เดือน โดยสพท.จะมีชุดเฝ้าระวังคอยสอดส่อง กรณีที่รู้ว่าเด็กจะเล่นพนันก็จะมีสายสืบเข้าไปห้ามปราม และ 3.โรงเรียนจะต้องรณรงค์ให้เด็กชมฟุตบอลโดยปลอดการพนัน อาทิ กำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้เด็กชมการแข่งขันฟุตบอล นำเทปการแข่งขันในคู่ดึกมาเปิดให้ชมในช่วงพักกลางวัน เสนอข่าวสารผลฟุตบอลในโรงเรียน เป็นต้น
"การเปิดเทปการแข่งขันฟุตบอลให้ เด็กดูในโรงเรียนเป็นการป้องกันไปในตัว เพราะมีครูคอยแนะนำในสิ่งที่ถูกต้อง แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ไปกระทบกับช่วงเวลาเรียนปกติด้วย ขณะที่ข้อมูลของสำนักงานสาธรณสุขมูลฐาน ระบุว่า การเล่นพนันบอลในเด็กถือเป็นอาชญากรรมลำดับที่ 3 รองจากอาชญากรรม และยาเสพติด นอกจากนี้ สพฐ.เห็นว่าการพนันในรูปแบบออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือ และผ่านระบบเอสเอ็มเอสนั้น จะต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแล เพราะไม่ต้องการให้ใครมาหาประโยชน์กับเด็ก" นายกมล กล่าว.