โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
จากการพยากรณ์โรคในปี 2557 โดยกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า โรคท็อปฮิตติดชาร์ตที่คาดว่าจะมีการระบาดหนักก็คือ “โรคไข้หวัดใหญ่” จากข้อมูลล่าสุดทำให้ตื่นตระหนกไม่น้อย เพราะตั้งแต่ ม.ค.- พ.ค. 2557 มีผู้ป่วยแล้ว 36,390 ราย ตาย 59 ราย
ที่สำคัญจำนวนผู้ป่วยมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันนี้ในปี 2556 ถึง 2 เท่า
เมื่อจำแนกออกเป็นรายเดือนยิ่งชัดเจน โดย ก.พ. 2557 พบผู้ป่วยมากกว่า ก.พ. 2556 คิดเป็น 1.9 เท่า มีนาคม มากกว่า 3.1 เท่า และ เม.ย. มากกว่า 2 เท่า
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดี คร. กล่าวว่า การพยากรณ์โรคคาดว่า ในปี 2557 จะมีรายงานผู้ป่วยสูงสุดใน ส.ค.- ก.ย. ประมาณเดือนละ 20,000 - 26,000 ราย ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ดำเนินตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่ดีและเหมาะสม
จากข้อมูลข้างต้น ไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะกล่าวว่า “โรคไข้หวัดใหญ่” จะเป็นโรคที่สมควรเฝ้าระวังมากที่สุดในช่วงนี้ เพราะล่าสุด กรมควบคุมโรคเองก็ออกประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง การป้องกันโรคที่เกิดในฤดูฝน ประจำปี 2557 โดยแบ่งโรคเป็น 3 กลุ่ม 9 โรค ดังนี้ 1. โรคที่มีแนวโน้มจะระบาด ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่และโรคมือ เท้า ปาก 2. โรคที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นและต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ โรคไข้เลือดออก และไวรัสตับอักเสบ เอ และ 3. โรคที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ได้แก่ โรคเลปโตสไปโรซิส โรคปอดบวม ไข้สมองอักเสบเจอี อหิวาตกโรค และมาลาเรีย
แต่ที่น่าห่วงของไข้หวัดใหญ่คือ การกลับมาระบาดของ หวัดมรณะ 2009 หรือ เชื้อ H1N1 ซึ่งคาดกันว่าทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกเมื่อปี 2552 ประมาณ 150,000 - 500,000 คน แต่ขณะนี้กลายเป็นเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาลไปแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเชื้อประจำตามฤดูกาล แต่ H1N1 ก็ยังเป็นเชื้อที่มีความรุนแรง สังเกตได้จากจำนวนผู้ตายในปีนี่ พบว่า มากกว่า 90% ตายจากเชื้อ H1N1 และที่น่าห่วงคือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพราะพบว่า 40% ของผู้เสียชีวิตมีโรคเรื้อรัง และกว่า 1 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตไปรับการรักษาช้า
สิ่งสำคัญที่สุดคือ ทำอย่างไรจึงจะห่างไกลจากโรคไข้หวัดใหญ่นี้ได้ ซึ่ง นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. แนะนำว่า ทุกคนจะต้องร่วมมือร่วมใจกันทำ จึงจะสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้ โดยเบื้องต้นคือ ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย หมั่นล้างมือบ่อยๆ ใส่หน้ากากอนามัย ใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูกเมื่อไอจาม และกลุ่มเสี่ยงสูงต้องไปรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
ทั้งนี้ เมื่อแบ่งการรับมือป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ออกเป็นกลุ่มๆ หากร่วมกันดำเนินการตามนี้ นพ.โอภาส บอกว่า จะสามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้อย่างเฉียบขาดคือ
1.กลุ่มประชาชน สามารถทำได้โดย
หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ช้อนส้อม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว และหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก
2.กลุ่มผู้ที่มีอาการป่วย สามารถทำได้โดย
ควรป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น ทำได้โดยการหยุดงาน หยุดเรียน ใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ
3.กลุ่มโรงเรียน สถานประกอบการ สามารถทำได้โดยจัดให้มีสถานที่สำหรับล้างมือ พร้อมสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือที่มีผู้ใช้ร่วมกันจำนวนมาก เช่น โทรศัพท์ ลูกบิดประตู ตรวจสอบจำนวนบุคลากรที่ขาด้รียน ขาดงานผิดปกติ หากสงสัยว่าป่วยไข้หวัดใหญ่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทันทีเพื่อควบคุมโรค และต้องให้บุคลากรที่มีอาการป่วยลาป่วยอย่างน้อย 7 วันหลังเริ่มวันป่วย
4.กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ สามารถทำได้โดย
ต้องให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์แก่ผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงทันทีและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ส่วนผู้ป่วยที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงควรแนะนำให้กลับมาพบแพทย์ หากอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน นอกจากนี้ ต้องสวมเครื่องป้องกันการติดเชื้อที่เหมาะสม และล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย รวมถึงปฏิบัติตามแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่อย่างเคร่งครัด
และ 5.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข สามารถทำได้โดย
ติดตามจำนวนผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่อย่างใกล้ชิด สอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ หรือผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ทุกราย และประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์โรคและการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
การป้องกันไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่เรื่องยาก และเป็นพฤติกรรมใกล้ตัวที่สามารถทำได้ ข้อเพียงทุกคน ทุกฝ่าย ร่วมกันปฏิบัติ มิเช่นนั้นแล้ว ผู้ป่วยอีกกว่า 26,000 รายที่จะป่วยในช่วงฤดูฝนนี้ สุดท้ายอาจเป็นคุณ!!
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
จากการพยากรณ์โรคในปี 2557 โดยกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า โรคท็อปฮิตติดชาร์ตที่คาดว่าจะมีการระบาดหนักก็คือ “โรคไข้หวัดใหญ่” จากข้อมูลล่าสุดทำให้ตื่นตระหนกไม่น้อย เพราะตั้งแต่ ม.ค.- พ.ค. 2557 มีผู้ป่วยแล้ว 36,390 ราย ตาย 59 ราย
ที่สำคัญจำนวนผู้ป่วยมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันนี้ในปี 2556 ถึง 2 เท่า
เมื่อจำแนกออกเป็นรายเดือนยิ่งชัดเจน โดย ก.พ. 2557 พบผู้ป่วยมากกว่า ก.พ. 2556 คิดเป็น 1.9 เท่า มีนาคม มากกว่า 3.1 เท่า และ เม.ย. มากกว่า 2 เท่า
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดี คร. กล่าวว่า การพยากรณ์โรคคาดว่า ในปี 2557 จะมีรายงานผู้ป่วยสูงสุดใน ส.ค.- ก.ย. ประมาณเดือนละ 20,000 - 26,000 ราย ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ดำเนินตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่ดีและเหมาะสม
จากข้อมูลข้างต้น ไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะกล่าวว่า “โรคไข้หวัดใหญ่” จะเป็นโรคที่สมควรเฝ้าระวังมากที่สุดในช่วงนี้ เพราะล่าสุด กรมควบคุมโรคเองก็ออกประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง การป้องกันโรคที่เกิดในฤดูฝน ประจำปี 2557 โดยแบ่งโรคเป็น 3 กลุ่ม 9 โรค ดังนี้ 1. โรคที่มีแนวโน้มจะระบาด ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่และโรคมือ เท้า ปาก 2. โรคที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นและต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ โรคไข้เลือดออก และไวรัสตับอักเสบ เอ และ 3. โรคที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ได้แก่ โรคเลปโตสไปโรซิส โรคปอดบวม ไข้สมองอักเสบเจอี อหิวาตกโรค และมาลาเรีย
แต่ที่น่าห่วงของไข้หวัดใหญ่คือ การกลับมาระบาดของ หวัดมรณะ 2009 หรือ เชื้อ H1N1 ซึ่งคาดกันว่าทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกเมื่อปี 2552 ประมาณ 150,000 - 500,000 คน แต่ขณะนี้กลายเป็นเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาลไปแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเชื้อประจำตามฤดูกาล แต่ H1N1 ก็ยังเป็นเชื้อที่มีความรุนแรง สังเกตได้จากจำนวนผู้ตายในปีนี่ พบว่า มากกว่า 90% ตายจากเชื้อ H1N1 และที่น่าห่วงคือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพราะพบว่า 40% ของผู้เสียชีวิตมีโรคเรื้อรัง และกว่า 1 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตไปรับการรักษาช้า
สิ่งสำคัญที่สุดคือ ทำอย่างไรจึงจะห่างไกลจากโรคไข้หวัดใหญ่นี้ได้ ซึ่ง นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. แนะนำว่า ทุกคนจะต้องร่วมมือร่วมใจกันทำ จึงจะสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้ โดยเบื้องต้นคือ ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย หมั่นล้างมือบ่อยๆ ใส่หน้ากากอนามัย ใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูกเมื่อไอจาม และกลุ่มเสี่ยงสูงต้องไปรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
ทั้งนี้ เมื่อแบ่งการรับมือป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ออกเป็นกลุ่มๆ หากร่วมกันดำเนินการตามนี้ นพ.โอภาส บอกว่า จะสามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้อย่างเฉียบขาดคือ
1.กลุ่มประชาชน สามารถทำได้โดย
หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ช้อนส้อม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว และหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก
2.กลุ่มผู้ที่มีอาการป่วย สามารถทำได้โดย
ควรป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น ทำได้โดยการหยุดงาน หยุดเรียน ใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ
3.กลุ่มโรงเรียน สถานประกอบการ สามารถทำได้โดยจัดให้มีสถานที่สำหรับล้างมือ พร้อมสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือที่มีผู้ใช้ร่วมกันจำนวนมาก เช่น โทรศัพท์ ลูกบิดประตู ตรวจสอบจำนวนบุคลากรที่ขาด้รียน ขาดงานผิดปกติ หากสงสัยว่าป่วยไข้หวัดใหญ่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทันทีเพื่อควบคุมโรค และต้องให้บุคลากรที่มีอาการป่วยลาป่วยอย่างน้อย 7 วันหลังเริ่มวันป่วย
4.กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ สามารถทำได้โดย
ต้องให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์แก่ผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงทันทีและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ส่วนผู้ป่วยที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงควรแนะนำให้กลับมาพบแพทย์ หากอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน นอกจากนี้ ต้องสวมเครื่องป้องกันการติดเชื้อที่เหมาะสม และล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย รวมถึงปฏิบัติตามแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่อย่างเคร่งครัด
และ 5.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข สามารถทำได้โดย
ติดตามจำนวนผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่อย่างใกล้ชิด สอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ หรือผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ทุกราย และประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์โรคและการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
การป้องกันไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่เรื่องยาก และเป็นพฤติกรรมใกล้ตัวที่สามารถทำได้ ข้อเพียงทุกคน ทุกฝ่าย ร่วมกันปฏิบัติ มิเช่นนั้นแล้ว ผู้ป่วยอีกกว่า 26,000 รายที่จะป่วยในช่วงฤดูฝนนี้ สุดท้ายอาจเป็นคุณ!!
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่