เตือน ปชช. อย่าหลงเชื่อโฆษณา “น้ำยาล้างจาน-ยาไล่ยุง” อวดอ้างสรรพคุณทางเครื่องสำอาง ทั้งถนอมมือ บำรุงผิว ชี้ทำผู้บริโภคเข้าใจผิด เสี่ยงได้รับอันตราย เหตุเป็นผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย จ่อเอาผิดผู้ประกอบการทั้งจำทั้งปรับ
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และโฆษก อย. กล่าวว่า ขณะนี้มีการโฆษณาแสดงสรรพคุณผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายไปในทางเครื่องสำอาง เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ผลิตภัณฑ์ทาไล่ยุง แสดงข้อความที่มีความหมายหรือสื่อความหมายว่าช่วยถนอมมือ ถนอมผิว และบำรุงผิว ตามสื่อต่างๆ โดยเฉพาะเว็บไซต์ จนอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ผู้บริโภค และขาดความระมัดระวังในการใช้ ซึ่งอาจได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายดังกล่าว ซึ่งผู้ประกอบการจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 มาตรา 82 คือเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพคุณภาพ ปริมาณ หรือสารสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ไม่ว่าจะเป็นของตนหรือของผู้อื่น ทำ หรือใช้ฉลากที่มีข้อความอันเป็นเท็จ ข้อความที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ภก.ประพนธ์ กล่าวอีกว่า ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายไม่มีจุดมุ่งหวังเรื่องให้เกิดความสวยงามหรือความสะอาด ซึ่งเป็นลักษณะของผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องสำอาง ซึ่งผลิตภัณฑ์ล้างจาง ผลิตภัณฑ์ทาไล่ยุง ปกติเป็นวัตถุอันตราย ส่วนใหญ่ประกอบด้วยสารเคมีมีอันตราย จะต้องถูกจำกัดเรื่องปริมาณและการขึ้นทะเบียน จึงไม่เหมาะที่จะเอามาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างความสวยงามทำความสะอาดร่างกาย ซึ่งกรอบการโฆษณากฎหมายไม่ได้กำหนดว่าจะต้องขออนุญาตก่อน ดังนั้น ใครโฆษณาก็ต้องรับผิดชอบข้อความของตัวเอง ถ้าก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสารสำคัญก็ถือว่าผิดกฎหมาย
“การดำเนินการจะมีคณะทำงานพิจารณาข้อความการโฆษณาวัตถุอันตราย ว่าโฆษณาตัวไหนดูแล้วอาจจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย ก็เอาข้อความเหล่านั้นมาเข้าคณะทำงาน ถ้าผิดกฎหมายก็ดำเนินคดี ซึ่งที่ผ่านมาก็เคยมีการดำเนินคดีมาแล้วอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ขอเตือนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อการโฆษณา หรือการแสดงข้อความสรรพคุณบนฉลากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายว่าสามารถถนอมหรือบำรุงผิว และหากผู้บริโภคพบการโฆษณาผ่านทางสื่อต่างๆ หรือแสดงข้อความบนฉลากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายไปในทางเครื่องสำอาง หรือได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอให้ร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application เพื่อทาง อย. จะได้ดำเนินการปราบปราม และดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป” รองเลขาธิการ อย. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และโฆษก อย. กล่าวว่า ขณะนี้มีการโฆษณาแสดงสรรพคุณผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายไปในทางเครื่องสำอาง เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ผลิตภัณฑ์ทาไล่ยุง แสดงข้อความที่มีความหมายหรือสื่อความหมายว่าช่วยถนอมมือ ถนอมผิว และบำรุงผิว ตามสื่อต่างๆ โดยเฉพาะเว็บไซต์ จนอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ผู้บริโภค และขาดความระมัดระวังในการใช้ ซึ่งอาจได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายดังกล่าว ซึ่งผู้ประกอบการจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 มาตรา 82 คือเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพคุณภาพ ปริมาณ หรือสารสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ไม่ว่าจะเป็นของตนหรือของผู้อื่น ทำ หรือใช้ฉลากที่มีข้อความอันเป็นเท็จ ข้อความที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ภก.ประพนธ์ กล่าวอีกว่า ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายไม่มีจุดมุ่งหวังเรื่องให้เกิดความสวยงามหรือความสะอาด ซึ่งเป็นลักษณะของผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องสำอาง ซึ่งผลิตภัณฑ์ล้างจาง ผลิตภัณฑ์ทาไล่ยุง ปกติเป็นวัตถุอันตราย ส่วนใหญ่ประกอบด้วยสารเคมีมีอันตราย จะต้องถูกจำกัดเรื่องปริมาณและการขึ้นทะเบียน จึงไม่เหมาะที่จะเอามาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างความสวยงามทำความสะอาดร่างกาย ซึ่งกรอบการโฆษณากฎหมายไม่ได้กำหนดว่าจะต้องขออนุญาตก่อน ดังนั้น ใครโฆษณาก็ต้องรับผิดชอบข้อความของตัวเอง ถ้าก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสารสำคัญก็ถือว่าผิดกฎหมาย
“การดำเนินการจะมีคณะทำงานพิจารณาข้อความการโฆษณาวัตถุอันตราย ว่าโฆษณาตัวไหนดูแล้วอาจจะเข้าข่ายผิดกฎหมาย ก็เอาข้อความเหล่านั้นมาเข้าคณะทำงาน ถ้าผิดกฎหมายก็ดำเนินคดี ซึ่งที่ผ่านมาก็เคยมีการดำเนินคดีมาแล้วอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ขอเตือนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อการโฆษณา หรือการแสดงข้อความสรรพคุณบนฉลากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายว่าสามารถถนอมหรือบำรุงผิว และหากผู้บริโภคพบการโฆษณาผ่านทางสื่อต่างๆ หรือแสดงข้อความบนฉลากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายไปในทางเครื่องสำอาง หรือได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอให้ร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application เพื่อทาง อย. จะได้ดำเนินการปราบปราม และดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป” รองเลขาธิการ อย. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่