คสช. ส่อชะลอแท็บเล็ต ปี 57 ปลัด ศธ. เผย ผบ.ทร. ยังไม่ตัดสินใจโครงการแท็บเล็ตรอถกอีกรอบพร้อมผู้บริหาร ศธ. พร้อมย้ำอำนาจบริหารงบ แต่งตั้งบุคคลให้ขึ้นตรงกับ ผบ.ทร.เท่านั้น ปลัด ศธ.รับผิดชอบแค่งานรูทีน ขณะที่ “อภิชาติ” เผยเตรียมเร่งสรุปรายละเอียดโครงการแท็บเล็ต ทั้ง 56-57 โดยเฉพาะปี 56 ที่ยังค้างโซน 4 เตรียมแจงเหตุผลจำเป็นต้องจัดให้ครบเพื่อไม่ให้เกิดความลักลั่น
วันนี้ (27 พ.ค.) นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กลุ่มงานฝ่ายสังคมและจิตวิทยา โดยมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกลุ่มงานสังคมและจิตวิทยา เป็นประธานการประชุม ว่า ในการประชุมทั้ง 7 กระทรวงด้านสังคม ได้นำเสนอโครงการเร่งด่วนและโครงการที่แต่ละกระทรวงจะต้องดำเนินการในปีงบประมาณ 2557 รวมถึงโครงการที่จะต้องเสนอของบประมาณในการดำเนินการในปี2558 ซึ่งกลุ่มงานฝ่ายสังคมฯ ยังไม่มีการไฟเขียวต่อโครงการใดๆ โดยในส่วนของ ศธ. พล.ร.อ.ณรงค์ ได้พูดถึงนโยบายแจกแท็บเล็ตให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และประถมศึกษาปีที่ 1 ตามโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน ซึ่งขณะนี้ยังเหลือการจัดซื้อของปีการศึกษา 2556 อีก 1 โซน คือ โซนที่ 4 มัธยมศึกษาปีที่ 1 และครู (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เนื่องจากมีการยกเลิกสัญญาและอยู่ระหว่างดำเนินการใหม่ซึ่งคาดว่าจะมีการจัดซื้อจัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-ออกชัน กลางเดือนมิถุนายนนี้ ขณะที่แท็บเล็ตปีการศึกษา 2557 มีงบประมาณรองรับไว้แล้วและจัดทำสเปกไว้แล้ว อยู่ระหว่างการจัดทำร่างขอบเขตงาน หรือ ทีโออาร์ เท่านั้น ส่วนแท็บเล็ตปีการศึกษา 2558 ก็ได้เการตั้งวงเงินไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ทั้งนี้ ผบ.ทร. ยังไม่มีการปฏิเสธหรือตอบรับโครงการแท็บเล็ตทั้งหมด เพราะต้องการมาคุยรายละเอียดในภาพรวมกับผู้บริหาร ศธ. ก่อน เพราะโดยหลักการแล้ว คสช. ต้องการเดินหน้าโครงการที่เกิดประโยชน์กับผู้เรียนจริงๆ และเป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงบประมาณ
ทั้งนี้ ในส่วนของ ศธ. ได้เสนอโยบายสำคัญที่ คสช.จะต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ จัดสรรงบประมาณให้กับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นเงิน 3,610 ล้านบาท เพื่อปล่อยให้กับผู้กู้รายใหม่ 204,000 ราย งบซ่อมแซมอาคารเรียนจากเหตุแผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย 298 ล้านบาท เงินงบประมาณค่าใช้จ่ายต่อหัวสำหรับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
“ผบ.ทร. ยังพูดถึงอำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวง ในฐานะปฏิบัติราชการแทน รมว.ศึกษาธิการ สรุปได้ว่า ให้อำนาจปลัดกระทรวง อนุมัติหรือเดินหน้าโครงการที่เป็นงานทั่วไปต่อได้เลย หรืองานที่มีลักษณะเฉพาะเช่น การประกาศใช้หลักสูตรใหม่ ที่ได้รับการเห็นชอบจากบอร์ดแล้ว ยกเว้นงานบริหารงบประมาณ โดยเฉพาะโครงการที่ต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการสูง และงานบริหารบุคคล แต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารระดับ 10 ขึ้นไป อาจจะต้องนำเสนอ ผบ.ทร.ในฐานะหัวหน้าฝ่ายสังคมฯ พิจารณาก่อน หรือบางเรื่องที่สำคัญมากอาจต้องเสนอไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผอ.ทบ.)ในฐานะหัวหน้า คสช. พิจารณา ทั้งนี้ คสช. จะทำแนวปฏิบัติออกมาให้ชัดเจนว่าเรื่องใดบ้างที่เป็นอำนาจของปลัด และเรื่องใดบ้างที่จะต้องเสนอไปยังผบ.ทร.ก่อน” ปลัด ศธ.กล่าวและว่า ผบ.ทร. ตั้งฝ่ายประสานงาน และได้ขอให้แต่ละกระทรวงส่งผู้แทนไปประจำที่สำนักงานด้วย เพื่อช่วยประสานงานและขับเคลื่อนการดำเนินการร่วมกัน
ด้าน นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สำหรับการจัดหาแท็บเล็ตในปีการศึกษา 2557 นั้น ทาง ผบ.ทร.ได้สั่งการให้ สพฐ.ทำเรื่องเสนอขอความเห็นชอบจาก คสช. ก่อน โดย คสช.จะพิจารณาถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหาก คสช. ให้ความเห็นชอบ สพฐ. จึงจะดำเนินการต่อได้ ทั้งนี้ ตนได้สอบถามถึงการดำเนินการจัดหาแท็บเล็ตของปีการศึกษา 2556 ที่ขณะนี้ดำเนินการเรียบร้อยแล้วในโซน 1 ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 (ภาคกลางและภาคใต้) โซน 2 ป.1 (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และโซนที่ 3 ระดับม.1 (ภาคกลางและภาคใต้) ยกเว้นโซนที่ 4 ม.1 (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ซึ่งได้ยกเลิกสัญญาและอยู่ระหว่างดำเนินการประกวดราคาใหม่ ซึ่งทาง ผบ.ทร. ได้กำชับว่ายังไม่ให้ สพฐ.ดำเนินการเซ็นสัญญาใดๆ และให้ส่งเรื่องมาขอความเห็นชอบก่อนเช่นกัน พร้อมแจ้งเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรแยบมาด้วย เพราะโครงการนี้ใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่เวลานี้ประเทศชาติอาจจะมีความจำเป็นที่ต้องใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาด้านอื่นๆ มากกว่าจึงต้องพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
“ในส่วนของแท็บเล็ตปีการศึกษา 2557 นั้นยังไม่ได้เริ่มโครงการใดๆ จึงยังไม่มีปัญหา แต่สำหรับปีการศึกษา 2556 ได้ดำเนินการไปแล้วแต่ยังค้างในโซนที่ 4 ซึ่งผมจะเสนอเรื่องและให้เหตุผลว่ามีความจำเป็นต้องจัดสรรให้ครบเนื่องจากที่ผ่านมานักเรียนใน 3 ภูมิภาคได้รับแท็บเล็ตหมดแล้ว เหลือเพียงอีก 1 ภูมิภาคที่ยังไม่ได้ซึ่งอาจก่อเกิดความลักลั่น ความไม่เท่าเทียมและเราอาจจะไม่สามารถตอบคำถามเด็กและผู้ปกครองได้ ทั้งนี้ สพฐ. จะนัดประชุมสรุปรายละเอียดและเสนอเรื่องไปยัง สคช. โดยเร็ว” นายอภิชาติ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
วันนี้ (27 พ.ค.) นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กลุ่มงานฝ่ายสังคมและจิตวิทยา โดยมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกลุ่มงานสังคมและจิตวิทยา เป็นประธานการประชุม ว่า ในการประชุมทั้ง 7 กระทรวงด้านสังคม ได้นำเสนอโครงการเร่งด่วนและโครงการที่แต่ละกระทรวงจะต้องดำเนินการในปีงบประมาณ 2557 รวมถึงโครงการที่จะต้องเสนอของบประมาณในการดำเนินการในปี2558 ซึ่งกลุ่มงานฝ่ายสังคมฯ ยังไม่มีการไฟเขียวต่อโครงการใดๆ โดยในส่วนของ ศธ. พล.ร.อ.ณรงค์ ได้พูดถึงนโยบายแจกแท็บเล็ตให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และประถมศึกษาปีที่ 1 ตามโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน ซึ่งขณะนี้ยังเหลือการจัดซื้อของปีการศึกษา 2556 อีก 1 โซน คือ โซนที่ 4 มัธยมศึกษาปีที่ 1 และครู (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เนื่องจากมีการยกเลิกสัญญาและอยู่ระหว่างดำเนินการใหม่ซึ่งคาดว่าจะมีการจัดซื้อจัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-ออกชัน กลางเดือนมิถุนายนนี้ ขณะที่แท็บเล็ตปีการศึกษา 2557 มีงบประมาณรองรับไว้แล้วและจัดทำสเปกไว้แล้ว อยู่ระหว่างการจัดทำร่างขอบเขตงาน หรือ ทีโออาร์ เท่านั้น ส่วนแท็บเล็ตปีการศึกษา 2558 ก็ได้เการตั้งวงเงินไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ทั้งนี้ ผบ.ทร. ยังไม่มีการปฏิเสธหรือตอบรับโครงการแท็บเล็ตทั้งหมด เพราะต้องการมาคุยรายละเอียดในภาพรวมกับผู้บริหาร ศธ. ก่อน เพราะโดยหลักการแล้ว คสช. ต้องการเดินหน้าโครงการที่เกิดประโยชน์กับผู้เรียนจริงๆ และเป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงบประมาณ
ทั้งนี้ ในส่วนของ ศธ. ได้เสนอโยบายสำคัญที่ คสช.จะต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ จัดสรรงบประมาณให้กับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นเงิน 3,610 ล้านบาท เพื่อปล่อยให้กับผู้กู้รายใหม่ 204,000 ราย งบซ่อมแซมอาคารเรียนจากเหตุแผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย 298 ล้านบาท เงินงบประมาณค่าใช้จ่ายต่อหัวสำหรับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
“ผบ.ทร. ยังพูดถึงอำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวง ในฐานะปฏิบัติราชการแทน รมว.ศึกษาธิการ สรุปได้ว่า ให้อำนาจปลัดกระทรวง อนุมัติหรือเดินหน้าโครงการที่เป็นงานทั่วไปต่อได้เลย หรืองานที่มีลักษณะเฉพาะเช่น การประกาศใช้หลักสูตรใหม่ ที่ได้รับการเห็นชอบจากบอร์ดแล้ว ยกเว้นงานบริหารงบประมาณ โดยเฉพาะโครงการที่ต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการสูง และงานบริหารบุคคล แต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารระดับ 10 ขึ้นไป อาจจะต้องนำเสนอ ผบ.ทร.ในฐานะหัวหน้าฝ่ายสังคมฯ พิจารณาก่อน หรือบางเรื่องที่สำคัญมากอาจต้องเสนอไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผอ.ทบ.)ในฐานะหัวหน้า คสช. พิจารณา ทั้งนี้ คสช. จะทำแนวปฏิบัติออกมาให้ชัดเจนว่าเรื่องใดบ้างที่เป็นอำนาจของปลัด และเรื่องใดบ้างที่จะต้องเสนอไปยังผบ.ทร.ก่อน” ปลัด ศธ.กล่าวและว่า ผบ.ทร. ตั้งฝ่ายประสานงาน และได้ขอให้แต่ละกระทรวงส่งผู้แทนไปประจำที่สำนักงานด้วย เพื่อช่วยประสานงานและขับเคลื่อนการดำเนินการร่วมกัน
ด้าน นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สำหรับการจัดหาแท็บเล็ตในปีการศึกษา 2557 นั้น ทาง ผบ.ทร.ได้สั่งการให้ สพฐ.ทำเรื่องเสนอขอความเห็นชอบจาก คสช. ก่อน โดย คสช.จะพิจารณาถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหาก คสช. ให้ความเห็นชอบ สพฐ. จึงจะดำเนินการต่อได้ ทั้งนี้ ตนได้สอบถามถึงการดำเนินการจัดหาแท็บเล็ตของปีการศึกษา 2556 ที่ขณะนี้ดำเนินการเรียบร้อยแล้วในโซน 1 ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 (ภาคกลางและภาคใต้) โซน 2 ป.1 (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และโซนที่ 3 ระดับม.1 (ภาคกลางและภาคใต้) ยกเว้นโซนที่ 4 ม.1 (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ซึ่งได้ยกเลิกสัญญาและอยู่ระหว่างดำเนินการประกวดราคาใหม่ ซึ่งทาง ผบ.ทร. ได้กำชับว่ายังไม่ให้ สพฐ.ดำเนินการเซ็นสัญญาใดๆ และให้ส่งเรื่องมาขอความเห็นชอบก่อนเช่นกัน พร้อมแจ้งเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรแยบมาด้วย เพราะโครงการนี้ใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่เวลานี้ประเทศชาติอาจจะมีความจำเป็นที่ต้องใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาด้านอื่นๆ มากกว่าจึงต้องพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
“ในส่วนของแท็บเล็ตปีการศึกษา 2557 นั้นยังไม่ได้เริ่มโครงการใดๆ จึงยังไม่มีปัญหา แต่สำหรับปีการศึกษา 2556 ได้ดำเนินการไปแล้วแต่ยังค้างในโซนที่ 4 ซึ่งผมจะเสนอเรื่องและให้เหตุผลว่ามีความจำเป็นต้องจัดสรรให้ครบเนื่องจากที่ผ่านมานักเรียนใน 3 ภูมิภาคได้รับแท็บเล็ตหมดแล้ว เหลือเพียงอีก 1 ภูมิภาคที่ยังไม่ได้ซึ่งอาจก่อเกิดความลักลั่น ความไม่เท่าเทียมและเราอาจจะไม่สามารถตอบคำถามเด็กและผู้ปกครองได้ ทั้งนี้ สพฐ. จะนัดประชุมสรุปรายละเอียดและเสนอเรื่องไปยัง สคช. โดยเร็ว” นายอภิชาติ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่