เตือนกิน “ว่านจักจั่น” อันตราย ระบุไม่ใช่พืชแต่เป็นซากจักจั่นติดเชื้อราแมลง ส่งผลทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ จนถึงตายได้
วันนี้ (23 พ.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า สำนักระบาดวิทยา ได้รับรายงานพบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจากกินว่านจักจั่นทอดแกล้มเหล้า จำนวน 9 ราย จากที่กินทั้งหมด 11 ราย มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ชัก การรู้สึกตัวเปลี่ยน กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก อ่อนแรง ใจสั่น และเวียนศีรษะ เป็นต้น ทั้ง 9 ราย เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีผู้อาการหนัก ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 1 ราย จากการสอบสวนโรคผู้ป่วยเป็นช่างรับทำโครงการหมู่บ้านจัดสรร แขวงและเขตบางบอน กรุงเทพฯ ขุดว่านจักจั่นภายในบริเวณโครงการหมู่บ้านจัดสรรขึ้นมาแล้วแจกจ่ายไปยังผู้ป่วยรายอื่นๆ ระยะเวลาจากกินจักจั่นจนกระทั่งมีอาการป่วย 4-6 ชั่วโมง ขณะนี้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ร่วมกับ สำนักอนามัย กรุงเทพฯ ได้ลงสอบสวนโรคในหมู่บ้านจัดสรรและให้ความรู้แก่คนงาน รวมทั้งเฝ้าระวังผู้ป่วยรายอื่นๆ ในบริเวณนั้นและในบริเวณที่อยู่อาศัยของผู้ป่วยรายอื่นๆ ด้วย
นพ.โสภณ กล่าวว่า ว่านจักจั่น ที่ชาวบ้านนำมากินแกล้มเหล้านี้ เป็นซากของจักจั่นติดเชื้อราแมลงกว่า 500 ชนิด ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ไม่ใช่ว่านหรือพืชที่มีต้นคล้ายเห็ดอยู่เหนือดินและหัวใต้ดินอย่างที่เข้าใจ ว่านจักจั่นจะพบมากในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีความชื้นสูง เมื่อจักจั่นตัวอ่อนที่กำลังโผล่ขึ้นจากดิน เพื่อลอกคราบ จักจั่นจะอ่อนแอ จึงมีโอกาสติดเชื้อราแมลงได้ง่ายและตายในที่สุด เชื้อราแมลงก็จะเจริญเติบโตในซากจักจั่น และแทงเส้นใยออกมานอกตัวจักจั่นและเจริญโครงสร้างสำหรับสืบพันธุ์ ทำให้ดูเหมือนมีราก หรือเขาออกมาจากตัวจักจั่น ซึ่งราแมลงที่ทำให้เกิดจักจั่นติดเชื้อรานี้ มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับแมลงชนิดอื่นๆ ด้วย เช่น มด แมงมุม เพลี้ย ด้วง และ หนอน เป็นต้น
“การที่ชาวบ้านนำมาทอดแกล้มเหล้า และทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ อาจเกิดจากเชื้อรา หรือจากจักจั่นหรือผลร่วมกันของทั้งเชื้อราและจักจั่น ทั้งนี้ เพราะจักจั่นสามารถอยู่ในดินได้ในระยะเวลานาน และเคยมีการศึกษาที่พบตัวอ่อนของจักจั่นอาศัยนานถึง 2-17 ปี ทำให้บางคนอาจจะแพ้เชื้อรา แพ้จักจั่น หรือได้รับพิษสารเคมีที่อยู่ในดินที่ซากจักจั่นนั้นอยู่ก็ได้ ดังนั้น จึงขอเตือนประชาชนไม่ให้นำซากจักจั่นติดเชื้อรา หรือ ว่านจักจั่น มาบริโภค เพราะอาจเจ็บป่วยด้วยอาหารเป็นพิษ หรืออาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมทั้งการนำมาเก็บไว้นานๆ อาจเสี่ยงต่ออาการภูมิแพ้เชื้อราแมลง หรือ ทำเป็นมีผลต่อสุขภาพอื่นๆ ได้” อธิบดี คร. กล่าว
วันนี้ (23 พ.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า สำนักระบาดวิทยา ได้รับรายงานพบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจากกินว่านจักจั่นทอดแกล้มเหล้า จำนวน 9 ราย จากที่กินทั้งหมด 11 ราย มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ชัก การรู้สึกตัวเปลี่ยน กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก อ่อนแรง ใจสั่น และเวียนศีรษะ เป็นต้น ทั้ง 9 ราย เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีผู้อาการหนัก ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 1 ราย จากการสอบสวนโรคผู้ป่วยเป็นช่างรับทำโครงการหมู่บ้านจัดสรร แขวงและเขตบางบอน กรุงเทพฯ ขุดว่านจักจั่นภายในบริเวณโครงการหมู่บ้านจัดสรรขึ้นมาแล้วแจกจ่ายไปยังผู้ป่วยรายอื่นๆ ระยะเวลาจากกินจักจั่นจนกระทั่งมีอาการป่วย 4-6 ชั่วโมง ขณะนี้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ ร่วมกับ สำนักอนามัย กรุงเทพฯ ได้ลงสอบสวนโรคในหมู่บ้านจัดสรรและให้ความรู้แก่คนงาน รวมทั้งเฝ้าระวังผู้ป่วยรายอื่นๆ ในบริเวณนั้นและในบริเวณที่อยู่อาศัยของผู้ป่วยรายอื่นๆ ด้วย
นพ.โสภณ กล่าวว่า ว่านจักจั่น ที่ชาวบ้านนำมากินแกล้มเหล้านี้ เป็นซากของจักจั่นติดเชื้อราแมลงกว่า 500 ชนิด ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ไม่ใช่ว่านหรือพืชที่มีต้นคล้ายเห็ดอยู่เหนือดินและหัวใต้ดินอย่างที่เข้าใจ ว่านจักจั่นจะพบมากในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีความชื้นสูง เมื่อจักจั่นตัวอ่อนที่กำลังโผล่ขึ้นจากดิน เพื่อลอกคราบ จักจั่นจะอ่อนแอ จึงมีโอกาสติดเชื้อราแมลงได้ง่ายและตายในที่สุด เชื้อราแมลงก็จะเจริญเติบโตในซากจักจั่น และแทงเส้นใยออกมานอกตัวจักจั่นและเจริญโครงสร้างสำหรับสืบพันธุ์ ทำให้ดูเหมือนมีราก หรือเขาออกมาจากตัวจักจั่น ซึ่งราแมลงที่ทำให้เกิดจักจั่นติดเชื้อรานี้ มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับแมลงชนิดอื่นๆ ด้วย เช่น มด แมงมุม เพลี้ย ด้วง และ หนอน เป็นต้น
“การที่ชาวบ้านนำมาทอดแกล้มเหล้า และทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ อาจเกิดจากเชื้อรา หรือจากจักจั่นหรือผลร่วมกันของทั้งเชื้อราและจักจั่น ทั้งนี้ เพราะจักจั่นสามารถอยู่ในดินได้ในระยะเวลานาน และเคยมีการศึกษาที่พบตัวอ่อนของจักจั่นอาศัยนานถึง 2-17 ปี ทำให้บางคนอาจจะแพ้เชื้อรา แพ้จักจั่น หรือได้รับพิษสารเคมีที่อยู่ในดินที่ซากจักจั่นนั้นอยู่ก็ได้ ดังนั้น จึงขอเตือนประชาชนไม่ให้นำซากจักจั่นติดเชื้อรา หรือ ว่านจักจั่น มาบริโภค เพราะอาจเจ็บป่วยด้วยอาหารเป็นพิษ หรืออาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมทั้งการนำมาเก็บไว้นานๆ อาจเสี่ยงต่ออาการภูมิแพ้เชื้อราแมลง หรือ ทำเป็นมีผลต่อสุขภาพอื่นๆ ได้” อธิบดี คร. กล่าว