สธ. เผยยุงยักษ์ไม่อันตราย และไม่น่ากลัว เหตุไม่เป็นพาหะนำโรค ชี้ยุงลายอันตรายกว่าจากการเป็นพาหะโรคไข้เลือดออก ระบุช่วงฤดูฝนนี้ต้องเร่งเฝ้าระวัง เพราะสภาพเหมาะแก่การแพร่พันธุ์
วันนี้ (14 พ.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีพบยุงยักษ์ที่ จ.ชัยภูมิ ว่า ยุงยักษ์จัดเป็นยุงรำคาญชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่นำเชื้อโรคไข้เลือดออก ไม่น่ากลัว ไม่เหมือนยุงลาย ซึ่งมีตัวเล็กกว่า พบได้ตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝน โดยยุงจะวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เมื่อจำนวนยุงลายเพิ่มมากขึ้นก็มีโอกาสแพร่โรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นตามมา ทั้งนี้ สถานการณ์โรคไข้เลือดออกปัจจุบัน สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 6 พ.ค. มีผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว 3,278 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุด คืออยู่ในวัยเรียนโดยพบมากที่สุดอายุ 15-24 ปี ร้อยละ 21
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า สธ. ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ และมอบหมายให้ อสม. ร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำในชุมชน ครู นักเรียน และประชาชน ร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลายทุก 5-7 วัน ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ ซึ่งเป็นวิธีการลดจำนวนตัวยุงลายตัวแก่อย่างได้ผลดี
วันนี้ (14 พ.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีพบยุงยักษ์ที่ จ.ชัยภูมิ ว่า ยุงยักษ์จัดเป็นยุงรำคาญชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่นำเชื้อโรคไข้เลือดออก ไม่น่ากลัว ไม่เหมือนยุงลาย ซึ่งมีตัวเล็กกว่า พบได้ตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝน โดยยุงจะวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เมื่อจำนวนยุงลายเพิ่มมากขึ้นก็มีโอกาสแพร่โรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นตามมา ทั้งนี้ สถานการณ์โรคไข้เลือดออกปัจจุบัน สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 6 พ.ค. มีผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว 3,278 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุด คืออยู่ในวัยเรียนโดยพบมากที่สุดอายุ 15-24 ปี ร้อยละ 21
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า สธ. ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ และมอบหมายให้ อสม. ร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำในชุมชน ครู นักเรียน และประชาชน ร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลายทุก 5-7 วัน ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ ซึ่งเป็นวิธีการลดจำนวนตัวยุงลายตัวแก่อย่างได้ผลดี