ผู้ตรวจเขตสุขภาพที่ 8 เผยเทคนิคแก้ปัญหา รพ.ขาดทุน จี้ ผอ.ควบคุมค่าใช้จ่ายโรงพยาบาลไม่ให้เกินเกณฑ์ที่กำหนด ทำไม่ได้เน้นตัดเงินเรียงหัวตั้งแต่ ผอ. กรรมการบริหาร ยันหัวหน้าแต่ละฝ่าย พร้อมพัฒนาระบบบัญชีให้รู้การใช้เงินแต่ละโรงพยาบาล
นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เขต 8 กล่าวถึงกรณี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. ชูเขต 8 ซึ่งดูแลพื้นที่ 7 จังหวัด คือ บึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี นครพนม และสกลนคร เป็นพื้นที่ตัวอย่างแก้ปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องหรือขาดทุน ว่า การที่โรงพยาบาลในเขต 8 สามารถลดปัญหาขาดสภาพคล่องได้มี 4 ปัจจัย คือ 1. มีการพัฒนาระบบบัญชีที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะบัญชีเกณฑ์เงินคงค้าง ซึ่งไม่ใช่เงินสด โดยมีการตรวจสอบอย่างละเอียดมาก ทั้งการจ่ายค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ และค่าแรง ซึ่งจะทำให้ทราบว่าแต่ละโรงพยาบาลมีการใช้เงินอย่างไร และมีเงินคงค้างอย่างไร 2.ควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยโรงพยาบาลที่มีขนาดเดียวกันต้องมีค่าใช้จ่ายในเกณฑ์ที่กำหนด 3. มีเกณฑ์ควบคุมค่าใช้จ่าย เช่น การซื้อครุภัณฑ์ วัสดุ ยาต่างๆ ต้องซื้อเป็นแบบรวมกันในระดับเขต และ 4. ผู้บริหารต้องใส่ใจในการบริหารจัดการ ควบคุมค่าใช้จ่ายให้ได้ตามที่กำหนด หากทำไม่ได้หลายครั้ง มีการตักเตือนแล้วยังไม่มีการปรับปรุงก็จะมีคณะกรรมการตรวจสอบ และมีคำสั่งลดค่าตอบแทนบุคลากรที่ใช้จากเงินบำรุง คือ พวกเงินค่าโอทีต่างๆ
“หากสุดท้ายไม่มีการปรับปรุงใดๆ ก็จะต้องดำเนินมาตรการตัดเงินค่าตอบแทน โดยผู้อำนวยการจะลดเงิน 20% กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายของโรงพยาบาลจะถูกลด 15% โดยจะตัดเงินไปจนกว่าโรงพยาบาลจะพ้นวิกฤตขาดสภาพคล่อง ซึ่งที่ผ่านมาโรงพยาบาลในพื้นที่เขต 8 มีกว่า 80 แห่ง ขาดทุนไปเกือบ 20 แห่ง แต่เมื่อใช้วิธีการดังกล่าวสามารถลดปัญหาขาดทุนได้กว่าครึ่งหนึ่ง โดยเหลือโรงพยาบาลที่เป็นปัญหาอีกประมาณ 10 กว่าแห่ง ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จดี และจะมีการพัฒนาเช่นนี้ไปเรื่อยๆ” นพ.สุรเชษฐ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเขตบริการสุขภาพ 8 ประสบความสำเร็จ เป็นต้นแบบให้เขตอื่นๆในเรื่องลดปัญหาขาดสภาพคล่องในโรงพยาบาล ทางกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพหน่วยบริการ (พปง.) ปี 2557 โดยมีแนวทางต่างๆ เพื่อให้เขตบริการสุขภาพอื่นๆ เป็นแบบอย่างด้วย
นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เขต 8 กล่าวถึงกรณี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. ชูเขต 8 ซึ่งดูแลพื้นที่ 7 จังหวัด คือ บึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี นครพนม และสกลนคร เป็นพื้นที่ตัวอย่างแก้ปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องหรือขาดทุน ว่า การที่โรงพยาบาลในเขต 8 สามารถลดปัญหาขาดสภาพคล่องได้มี 4 ปัจจัย คือ 1. มีการพัฒนาระบบบัญชีที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะบัญชีเกณฑ์เงินคงค้าง ซึ่งไม่ใช่เงินสด โดยมีการตรวจสอบอย่างละเอียดมาก ทั้งการจ่ายค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ และค่าแรง ซึ่งจะทำให้ทราบว่าแต่ละโรงพยาบาลมีการใช้เงินอย่างไร และมีเงินคงค้างอย่างไร 2.ควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยโรงพยาบาลที่มีขนาดเดียวกันต้องมีค่าใช้จ่ายในเกณฑ์ที่กำหนด 3. มีเกณฑ์ควบคุมค่าใช้จ่าย เช่น การซื้อครุภัณฑ์ วัสดุ ยาต่างๆ ต้องซื้อเป็นแบบรวมกันในระดับเขต และ 4. ผู้บริหารต้องใส่ใจในการบริหารจัดการ ควบคุมค่าใช้จ่ายให้ได้ตามที่กำหนด หากทำไม่ได้หลายครั้ง มีการตักเตือนแล้วยังไม่มีการปรับปรุงก็จะมีคณะกรรมการตรวจสอบ และมีคำสั่งลดค่าตอบแทนบุคลากรที่ใช้จากเงินบำรุง คือ พวกเงินค่าโอทีต่างๆ
“หากสุดท้ายไม่มีการปรับปรุงใดๆ ก็จะต้องดำเนินมาตรการตัดเงินค่าตอบแทน โดยผู้อำนวยการจะลดเงิน 20% กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายของโรงพยาบาลจะถูกลด 15% โดยจะตัดเงินไปจนกว่าโรงพยาบาลจะพ้นวิกฤตขาดสภาพคล่อง ซึ่งที่ผ่านมาโรงพยาบาลในพื้นที่เขต 8 มีกว่า 80 แห่ง ขาดทุนไปเกือบ 20 แห่ง แต่เมื่อใช้วิธีการดังกล่าวสามารถลดปัญหาขาดทุนได้กว่าครึ่งหนึ่ง โดยเหลือโรงพยาบาลที่เป็นปัญหาอีกประมาณ 10 กว่าแห่ง ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จดี และจะมีการพัฒนาเช่นนี้ไปเรื่อยๆ” นพ.สุรเชษฐ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเขตบริการสุขภาพ 8 ประสบความสำเร็จ เป็นต้นแบบให้เขตอื่นๆในเรื่องลดปัญหาขาดสภาพคล่องในโรงพยาบาล ทางกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพหน่วยบริการ (พปง.) ปี 2557 โดยมีแนวทางต่างๆ เพื่อให้เขตบริการสุขภาพอื่นๆ เป็นแบบอย่างด้วย