โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
หลังจากที่ ASTVผู้จัดการ เคยนำเสนอเรื่องแพกเกจการตรวจสุขภาพแบบครบเวอร์หรือแบบเหวี่ยงแห มีความจำเป็นมากน้อยเพียงไร ในหัวข้อ “โปรดคิดให้ดี...ก่อนถูกหลอกขายแพกเกจตรวจสุขภาพ”เพราะการตรวจสุขภาพบางโรคไม่มีความจำเป็นแม้แต่น้อย เรียกได้ว่าอาจไม่มีความคุ้มค่ากับเงินที่ต้องเสียไป คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วคนแต่ละช่วงวัยควรตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังโรคใดบ้าง
ก่อนหน้านี้ น.ส.ทัศนีย์ แน่นอุดร หัวหน้าศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เคยแนะนำว่า ต้องรู้จักตัวเองก่อนว่าเราเป็นเพศอะไร อายุเท่าไร มีการใช้ชีวิตประจำหรือมีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างไร จึงค่อยเลือกไปตรวจสุขภาพในส่วนที่เกี่ยวข้อง
สำหรับวัยที่ควรเริ่มต้นตรวจสุขภาพ นพ.วัชชิระ ตีระพิพัฒนกุล ผอ.ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.ปิยะเวท แนะนำว่า ควรเริ่มจากช่วงวัยรุ่น เพราะเป็นช่วงวัยเรียนจนเข้าสู่วัยทำงานตอนต้น เป็นช่วงเรียนจบใหม่และเริ่มต้นในการทำงาน จนหลายคนลืมดูแลสุขภาพ แต่คนวัยนี้ส่วนใหญ่จะแข็งแรง ไม่ค่อยเจ็บป่วย แต่หารู้ไม่ว่าโรคภัยที่จะเกิดขึ้นมักจะเริ่มต้นจากช่วงอายุนี้และไปมีผลอีกทีตอนอายุเพิ่มมากขึ้น อาทิ การสะสมของคอเลสเตอรอล ความดันโลหิต ซึ่งพบว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่มีไขมันในเลือดสูง อาจเป็นไปได้ว่าไม่ค่อยได้ใส่ใจในอาหารการกิน
สอดคล้องกับ ศ.นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่แนะนำว่า ควรตรวจสุขภาพตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป ทว่าการตรวจสุขภาพต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงของร่างกายในการเกิดโรค ซึ่งการตรวจสุขภาพจะแบ่งโรคที่ทำการตรวจออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มหลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแดงแข็งกระด้าง (Artheriosclerosis) โรคในกลุ่มนี้มี ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน การวัดไขมันในเลือด และการวัดดัชนีมวลกาย
การตรวจสุขภาพในกลุ่มโรคแรกนั้น ศ.นพ.ประเสริฐ อธิบายว่า โรคความดันโลหิตสูง ทั้งผู้ชายและผู้หญิงควรตรวจตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป หากความดันปกติคือ ไม่เกิน 120/80 ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกปี อาจตรวจทุก 2 ปีครั้งก็พอ ยกเว้นผู้ที่อายุเกิน 35 ปี เริ่มมีความเสี่ยงความดันจะเริ่มสูงคืออยู่ในช่วง 120-139/80-90 ควรตรวจความดันทุก 1 ปี
ส่วนโรคเบาหวาน ทั้งผู้ชายและผู้หญิงหากไม่มีความเสี่ยงคือ น้ำตาลในเลือดไม่สูง อาจเริ่มตรวจที่อายุ 45 ปี แต่หากมีความเสี่ยงดังต่อไปนี้ควรรีบมาตรวจตั้งแต่อายุ 18 ปี คือ คนอ้วน วัดได้จากค่าดัชนีมวลกาย คือ น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง หากค่าเกิน 25 บ่งบอกว่ามีภาวะอ้วน ญาติสายตรง เช่น พ่อแม่มีประวัติป่วยเบาหวาน ผู้หญิงมีภาวะน้ำตาลขึ้นสูงช่วงตั้งครรภ์ หรือคลอดลูกแล้วน้ำหนักเกิน 4.1 กิโลกรัม ค่าไขมันในเลือด เช่น ไตรกลีเซอไรด์เกิน 250 หรือค่าคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ต่ำกว่า 30 และคนที่ไม่ออกกำลังกาย ควรตรวจน้ำตาลในเลือดทุก 1 ปี
สำหรับการวัดไขมันในเลือด ทั้งผู้หญิงและผู้ชายหากไม่มีความเสี่ยงควรตรวจทุก 5 ปี หากมีความเสี่ยงคือ สูบบุหรี่ อ้วนคือมีค่าดัชนีมวลกายเกิน 30 มีความดันสูง และญาติสายตรงป่วยโรคหลอดเลือดอุดตัน เช่น หัวใจ หรือขา ควรตรวจทุก 1 ปี โดยการตรวจไขมันในเลือดแบ่งเป็น คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ อย่างไรก็ตาม การตรวจคอเลสเตอรอลควรแยกให้ชัดเจน ระหว่าง HDL และคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) เพื่อที่จะได้แปลผลไม่ผิดพลาด เพราะบางคนคอเลสเตอรอลสูง อาจมาจากการมีHDL สูง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ส่วนไตรกลีเซอไรด์ค่าไม่ควรเกิน 200
สุดท้ายการวัดดัชนีมวลกาย สิ่งนี้สามารถตรวจเองได้ โดยอาศัยน้ำหนักและส่วนสูงตามสูตรที่กล่าวไปแล้ว ซึ่งดัชนีมวลกายควรตรวจทุก 1 ปี ไม่ควรเกิน 23
ศ.นพ.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า กลุ่มโรคที่สองคือ โรคมะเร็ง ที่ควรตรวจคือมะเร็งที่เป็นมากในประเทศไทย แบ่งเป็น มะเร็งตับและท่อน้ำดี ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เนื่องจากมะเร็งที่ทำให้ผู้ชายทั่วโลกเสียชีวิตมากที่สุดคือ มะเร็งปอด แต่ไทยกลับเสียชีวิตจากมะเร็งตับ ทั้งที่ป้องกันได้ จึงต้องมีการตรวจคัดกรอง โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงคือคนอีสานที่ชอบกินปลาน้ำจืดดิบ ซึ่งจะมีพยาธิใบไม้ในตับ โดยทำการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิ ซึ่งปัจจุบันมียากินรักษาให้หายได้จากมะเร็งท่อน้ำดีได้
ส่วนมะเร็งในเซลล์ตับ เกิดในคนที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ซึ่งเด็กรุ่นใหม่ไม่น่าห่วง เพราะกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีให้วัคซีนฟรีตั้งแต่เด็กทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อตับอักเสบบี ยกเว้นตับอักเสบซีเพราะยังไม่มีวัคซีน ดังนั้น คนที่ควรตรวจคือทุกคน เพื่อให้ทราบว่าตัวเองมีพาหะของไวรัสตับอักเสบบีหรือซีหรือไม่ หากไม่เคยได้รับวัคซีนและไม่เคยได้รับเชื้อควรไปรับวัคซีน รวมถึงคนที่เคยมีประวัติได้รับเลือด หรือมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่แฟนตัวเอง เพราะไวรัสทั้ง 2 ตัวสามารถติดต่อได้ผ่านทางเลือด ทั้งนี้ หากตรวจพบว่าตัวเองมีพาหะของเชื้ออาจจะต้องมาตรวจตับทุกๆ 6 เดือน อัลตราซาวนด์ตับทุก 1 ปี หากเจอมะเร็งตับได้เร็วก็จะรักษาให้หายได้ หากเจอช้าคนที่เป็นมะเร็งตับอาจมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน
มะเร็งปากมดลูก คนที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน HPV เพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก และมีประวัติมีเพศสัมพันธ์ถือว่ามีความเสี่ยง ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตาม จะต้องตรวจหามะเร็งปากมดลูกทุก 1 ปี แต่หากตรวจทั้ง 3 ปีแล้วยังปกติอาจจะตรวจทุก 3 ปีได้ หากอายุถึง 70 ปีแล้วช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่เคยมีเพศสัมพันธ์เลยก็อาจหยุดตรวจได้
มะเร็งเต้านม ต่างประเทศมีคำแนะนำว่าควรตรวจแมมโมแกรมค้นหามะเร็งเต้านมทุกปี แต่ในบริบทประเทศไทยเราไม่มีเครื่องตรวจที่เพียงพอ แม้แต่ในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ดังนั้น คนที่มีความเสี่ยงควรตรวจคือ มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ ควรตรวจแมมโมแกรมทุกปี หรือคนที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม 1 ข้าง ต้องตรวจอีกข้างเป็นประจำ เพราะไม่ใครบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร ส่วนผู้ชายการเกิดมะเร็งเต้านมน้อยมาก ที่แนะนำคือพยายามสำรวจตัวเอง หากพบอะไรผิดปกติก็ควรไปพบแพทย์
มะเร็งปอด การคัดกรองมะเร็งปอดด้วยการเอกซเรย์ปอดนั้น หากมาตรวจสุขภาพประจำปีก็จะมีให้เอกซเรย์ปอดอยู่แล้ว แต่ไม่มีข้อกำหนดว่าต้องตรวจถี่มากน้อยเพียงไร เพราะไม่มีใครบอกได้ว่าโรคจะเกิดขึ้นเมื่อไร อย่างเอกซเรย์วันนี้ แต่ 3-4 เดือนอาจเกิดมะเร็งขึ้นก็ได้ แม้จะบอกให้มีการไปเอกซเรย์ปอดทุก 3 เดือนก็ตาม ทางที่ดีคือไม่ควรสูบบุหรี่ หรือเลี่ยงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการสูบบุหรี่ เพราะหากสูบบุหรี่แล้วมาเอกซเรย์ปอดทุก 3 เดือนอย่างไรก็ไม่เกิดประโยชน์และไม่มีความคุ้มค่า
สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบมากเป็นลำดับ 3 ของประเทศไทยในผู้ชาย โรคนี้มากับพฤติกรรมคือการกินกากอาหารน้อยลง โดยหันไปกินพวกฟาสต์ฟูดมากขึ้น จึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรค นอกจากนี้ ยังสัมพันธ์กับพันธุกรรม บางครอบครัวมีติ่งเนื้อในลำไส้ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็ง ดังนั้น มะเร็งลำไส้ใหญ่ควรเริ่มตรวจ 40-50 ปีขึ้นไป โดยการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระทุกปี แต่ก่อนตรวจสามวันต้องห้ามกินอาหารที่อาจทำให้มีเลือดแฝงได้ เช่น เลือด ยอดผักที่มีธาตุเหล็กสูง แอสไพริน วิตามินซี เพราะจะทำให้ผลตรวจลวงได้ แต่หากมีประวัติญาติสายตรงป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรไปตรวจกล้องส่องทุกปี
สุดท้าย มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคที่พบมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น แต่ไม่ใช่มะเร็งที่พบบ่อย เพราะเป็นโรคที่ไม่ได้ทำให้เสียชีวิตรวดเร็ว จึงทำให้พบผู้ป่วยโรคนี้มากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงมาจากพันธุกรรม ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจทางทวารหนัก คลำต่อมลูกหมาก แต่หากมีความเสี่ยง เช่น มีประวัติญาติป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก อาจต้องตรวจ PSA ทุก 5 ปี หากค่าที่ได้ไม่เกิน 4 อาจตรวจทุก 5 ปี แต่หากค่าเกิน 4 ควรตรวจทุกปี
“ส่วนมะเร็งบางอย่างที่บอกว่าอย่าไปตรวจ เพราะไม่มีวิธีที่ตรวจหรือมีวิธีตรวจแต่ยังไม่ดีนัก หรือตรวจไปแล้วอาจโผล่ขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ หนึ่งในนั้นคือมะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งมดลูก เว้นมีความเสี่ยงมากๆ อาจเจาะเลือดตรวจในมะเร็งรังไข่ ส่วนมะเร็งมดลูกหากมีเลือดออกทางช่องคลอดในวัยหมดประจำเดือน หรือท้องโตขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ ส่วนมะเร็งอื่นๆ เจอน้อยมากและไม่มีมาร์กเกอร์อะไร เว้นเจอหมอทีก็ตรวจสุขภาพทั่วไป เช่น มะเร็งผิวหนัง ก็ให้ตรวจได้ แต่พบในคนไทยน้อย เพราะเราผิวคล้ำ ไม่เหมือนผิวขาว”
สำหรับโรคกลุ่มที่ 3 ศ.นพ.ประเสริฐ ให้นิยามว่า โรคอื่นๆ ที่ควรตรวจคือ โรคกระดูกพรุน ซึ่งโรคนี้จะมากับอายุ โดยต่างประเทศแนะนำว่า หากอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปควรตรวจคัดกรองโดยการเอกซเรย์กระดูก แต่สำหรับประเทศไทยคงเป็นเรื่องยาก ที่อยากแนะนำคือผู้ที่มีความเสี่ยงสมควรไปตรวจ ได้แก่ ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน มีประวัติกระดูกหักง่ายๆ ทั้งตนเอง ครอบครัว หรือญาติสายตรง ผู้หญิงที่ตัดรังไข่ทั้งสองข้างเร็วกว่าวัยหมดประจำเดือน จะทำให้ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงเกิดโอกาสกระดูกพรุน ผู้ที่กินยาบางอย่างให้กระดูกบาง เช่น ยาสเตียรอยด์ ยารักษาไทรอยด์ และยากันชัก ทั้งนี้ ไม่มีคำแนะนำว่าต้องตรวจบ่อยแค่ไหน แต่ถ้ามีความเสี่ยงสูงควรตรวจทุก 5 ปี
“ที่ผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อโรคนี้มากกว่าผู้ชาย เพราะการหมดประจำเดือน สังเกตได้เลยว่าผู้หญิงอายุมากๆ เช่น วัย 70 กว่าปี ตัวเล็กๆ และผอมกลุ่มนี้มีโอกาสเป็นกระดูกพรุน ที่เป็นเช่นนั้นเพราะหากผู้หญิงอายุมากแล้วอ้วน ความอ้วนนี้จะทำให้กระดูกแข็งแรง น้ำหนักที่กดทำให้กระดูกไม่ผุง่ายๆ ผู้ชายจึงมีโอกาสเป็นกระดูกพรุนน้อยกว่า”
นอกจากนี้ ศ.นพ.ประเสริฐ บอกว่ายังมี โรคโลหิตจางหรือธาลัสซีเมีย ซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้น หากมีญาติสายตรงที่เป็นโรคโลหิตจางก็ควรตรวจ เพราะโลหิตจางจะมีชนิดแฝงคือไม่แสดงอาการ หากพ่อและแม่เป็นแฝงทั้งคู่ ลูกก็จะมีโอกาสเป็นโลหิตจางเช่นกัน หรืออาจได้รับเชื้อมาครึ่งเดียว ต้องตรวจดูฮีโมโกลบินว่ามีอาการซีดเยอะหรือไม่ นอกจากนี้ จะตรวจเมื่อมีความเสี่ยงด้วย เช่น ประวัติเสียเลือดเรื้อรัง ประจำเดือนมาเยอะกว่าปกติ ทั้งนี้ ผู้ชายควรมีค่าฮีโมโกลบินมากกว่า 13 ผู้หญิงควรมากกว่า 12 หากน้อยกว่านี้คือมีอาการซีดหรือโรคโลหิตจาง
สำหรับโรคไทรอยด์ กลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจคือ มีประวัติต่อมไทรอยด์มาก่อน หรือกินน้ำแร่ไอโอดีน เพื่อรักษาต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โดยทำการตรวจเลือด หากพบว่าต่อมไทรอยด์เริ่มทำงานน้อยก็จะได้ให้ยารักษาได้ เพราะหากทิ้งไว้ยิ่งต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง จะทำให้ร่างกายแย่ลง ทำงานเฉื่อยชา และเกิดอาการไขมันสูง และกระดูกพรุนตามมาได้
ส่วนการตรวจไต ไม่มีข้อมูลชัดเจน ถ้ามีความเสี่ยงประวัติโรคไตควรตรวจ ถ้าไม่เคยตรวจก็ควรตรวจสักครั้งหนึ่ง โดยการตรวจปัสสาวะ ถ้าปกติก็ไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติของไต
นอกจากนี้ ยังมีการตรวจร่างกายกรณีเฉพาะกิจ เช่น แต่งงาน ซึ่ง ศ.นพ.ประเสริฐ ระบุว่า จะแบ่งการตรวจเป็นโรคที่เกิดอันตรายต่อคู่สมรส คือ โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ คือ ซิฟิลิส เอดส์ และโรคที่มีผลต่อเด็กคือ ซิฟิลิส เอดส์ และหัดเยอรมัน ซึ่งหากแม่เป็นหัดเยอรมันช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก เชื้อไวรัสมีผลทำให้เด็กพิการได้ ดังนั้น จึงควรตรวจเลือดแม่ก่อนแต่งงานว่ามีภูมิคุ้มกันหรือยัง ถ้ายังก็ควรรีบให้วัคซีนก่อนแต่งงานหรือตั้งครรภ์ และอีกโรคคือ ธาลัสซีเมีย ซึ่งปัจจุบันสามารถตรวจตั้งแต่ตั้งครรภ์ได้ว่าลูกเป็นธาลัสซีเมียหรือไม่ และเป็นแบบแฝงหรือไม่ เพื่อช่วยในการวางแผนครอบครัว การใช้ชีวิตคู่ หรือการวางแผนมีบุตร
“โรงพยาบาลบางแห่งจะให้เจาะเลือดตรวจเยอะๆ หลายๆ โรค ก็จะยิ่งเสียเงินเยอะ แต่ถ้าอิงทางวิชาการเราจะดูเรื่องความคุ้มค่า ว่าควรตรวจหรือไม่ ใครควรตรวจอะไรบ้าง ควรตรวจอะไร ควรรู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงอะไร ควรตรวจอะไร แต่ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกอย่าง ยิ่งอายุน้อยๆ เช่น 25 ปี แทบไม่ต้องตรวจเพราะความเสี่ยงน้อยมาก เว้นแต่มีประวัติครอบครัวมีความเสี่ยงบางอย่างอาจจะต้องตรวจ” ศ.นพ.ประเสริฐ กล่าวทิ้งท้าย
โดยสรุปสามารถแบ่งการตรวจสุขภาพตามช่วงอายุได้ ดังนี้
เด็กแรกเกิด เมื่อแรกคลอดเด็กจะได้รับการตรวจสุขภาพต่างๆ จากกุมารแพทย์อยู่แล้วว่ามีส่วนใดผิดปกติหรือไม่ เมื่อกลับมาถึงบ้านสิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือการตรวจพัฒนาการของลูก ตามคู่มือพัฒนาการเด็กที่จะมีแจกให้แก่คุณพ่อคุณแม่อยู่แล้ว หากลูกไม่มีพัฒนาการสมวัยตามคู่มือ ก็ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กพัฒนาการของเด็กต่อไป
ช่วงก่อนอายุ 18 ปี ตามที่แพทย์แนะนำคือแทบไม่จำเป็นต้องสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคใดๆ เพราะเป็นช่วงร่างกายแข็งแรงอยู่แล้ว ยกเว้น เมื่อป่วยไข้ หรือมีอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์
ช่วงอายุ 18 ปีขึ้นไป แม้จะเป็นวัยที่แข็งแรงอยู่ แต่ควรตรวจสุขภาพเพื่อดูความเสี่ยงสัก 1 ครั้ง ได้แก่
ความดันโลหิตสูง หากอยู่ในเกณฑ์ปกติควรมาตรวจ 2 ปีต่อครั้ง หากความดันสูงควรมาตรวจปีละครั้ง
เบาหวานควรตรวจต่อเมื่อมีความเสี่ยงคือ อ้วน มีญาติสายตรง เช่น พ่อแม่มีประวัติป่วยเบาหวาน มีภาวะน้ำตาลขึ้นสูงช่วงตั้งครรภ์ หรือคลอดลูกแล้วน้ำหนักเกิน 4.1 กิโลกรัม ค่าไตรกลีเซอไรด์เกิน 250 หรือค่าคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ต่ำกว่า 30 และคนที่ไม่ออกกำลังกาย ควรตรวจน้ำตาลในเลือดทุก 1 ปี
การตรวจไขมันในเลือด หากค่าปกติควรตรวจทุก 5 ปี แต่หากมีความเสี่ยงคือ สูบบุหรี่ อ้วน ความดันสูง และญาติสายตรงป่วยโรคหลอดเลือดอุดตัน เช่น หัวใจ หรือขา ควรตรวจทุก 1 ปี
ค่าดัชนีมวลกายตรวจทุก 1 ปี
ตรวจไวรัสตับอักเสบบีและซี เพื่อดูว่าตนเองเป็นพาหะหรือไม่ หากเป็นพาหะควรตรวจตับทุก 6 เดือน และอัลตราซาวนด์ตับทุก 1 ปี เพื่อป้องกันมะเร็งตับ
ไต ควรตรวจสักครั้งจากปัสสาวะ หากไม่มีความผิดปกติก็ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดตรวจ ซึ่งให้คงการตรวจเช่นนี้ไปทุกช่วงอายุ
ช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป ตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ทุก 1 ปี สำหรับผู้ชายควรเริ่มตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย โดยตรวจทุก 5 ปี แต่หากตรวจแล้วค่า PSA เกิน 4 ควรตรวจทุกปี
ช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจโรคเบาหวาน
ช่วงวัยหมดประจำเดือน อายุประมาณ 45-51 ปีขึ้นไป สำหรับผู้หญิง ควรตรวจโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุมากๆ ตัวเล็กและผอม ยิ่งสมควรตรวจ หากมีความเสี่ยงสูงควรตรวจทุก 5 ปี
สำหรับโรคอื่นๆ ต้องดูปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรม ดังนี้
ผู้ที่ชอบกินปลาน้ำจืดดิบ ควรตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ในตับเพื่อป้องกันโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี
ผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรตรวจหาไวรัสตับอักเสบบีและซี สำหรับผู้หญิงไม่ว่าวัยใดหากมีเพศสัมพันธ์ต้องตรวจหาไวรัส HPV เพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก ควรตรวจทุก 1 ปี หากครบ 3 ปียังปกติ อาจตรวจทุก 3 ปีได้
ผู้หญิงที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมทุกปี
ผู้หญิงที่มีประวัติกระดูกหักง่ายๆ ทั้งตนเอง ครอบครัว หรือญาติสายตรง ผู้หญิงที่ตัดรังไข่ทั้งสองข้าง ผู้ที่กินยาบางอย่างให้กระดูกบาง เช่น ยาสเตียรอยด์ ยารักษาไทรอยด์ และยากันชัก ควรตรวจกระดูก หากมีความเสี่ยงสูงควรตรวจทุก 5 ปี
ผู้ที่มีญาติสายตรงป่วยโรคโลหิตจาง มีประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือมีประวัติเสียเลือดมาก ควรตรวจฮีโมโกลบิน หาโรคธาลัสซีเมียหรือโลหิตจาง
ผู้ที่มีประวัติต่อมไทรอยด์ หรือกินน้ำแร่รักษาต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ควรตรวจต่อมไทรอยด์
ผู้ที่จะแต่งงานหรือมีลูก ควรตรวจ เอดส์ ซิฟิลิส หัดเยอรมัน และธาลัสซีเมีย
หลังจากที่ ASTVผู้จัดการ เคยนำเสนอเรื่องแพกเกจการตรวจสุขภาพแบบครบเวอร์หรือแบบเหวี่ยงแห มีความจำเป็นมากน้อยเพียงไร ในหัวข้อ “โปรดคิดให้ดี...ก่อนถูกหลอกขายแพกเกจตรวจสุขภาพ”เพราะการตรวจสุขภาพบางโรคไม่มีความจำเป็นแม้แต่น้อย เรียกได้ว่าอาจไม่มีความคุ้มค่ากับเงินที่ต้องเสียไป คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วคนแต่ละช่วงวัยควรตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังโรคใดบ้าง
ก่อนหน้านี้ น.ส.ทัศนีย์ แน่นอุดร หัวหน้าศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เคยแนะนำว่า ต้องรู้จักตัวเองก่อนว่าเราเป็นเพศอะไร อายุเท่าไร มีการใช้ชีวิตประจำหรือมีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างไร จึงค่อยเลือกไปตรวจสุขภาพในส่วนที่เกี่ยวข้อง
สำหรับวัยที่ควรเริ่มต้นตรวจสุขภาพ นพ.วัชชิระ ตีระพิพัฒนกุล ผอ.ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.ปิยะเวท แนะนำว่า ควรเริ่มจากช่วงวัยรุ่น เพราะเป็นช่วงวัยเรียนจนเข้าสู่วัยทำงานตอนต้น เป็นช่วงเรียนจบใหม่และเริ่มต้นในการทำงาน จนหลายคนลืมดูแลสุขภาพ แต่คนวัยนี้ส่วนใหญ่จะแข็งแรง ไม่ค่อยเจ็บป่วย แต่หารู้ไม่ว่าโรคภัยที่จะเกิดขึ้นมักจะเริ่มต้นจากช่วงอายุนี้และไปมีผลอีกทีตอนอายุเพิ่มมากขึ้น อาทิ การสะสมของคอเลสเตอรอล ความดันโลหิต ซึ่งพบว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่มีไขมันในเลือดสูง อาจเป็นไปได้ว่าไม่ค่อยได้ใส่ใจในอาหารการกิน
สอดคล้องกับ ศ.นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่แนะนำว่า ควรตรวจสุขภาพตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป ทว่าการตรวจสุขภาพต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงของร่างกายในการเกิดโรค ซึ่งการตรวจสุขภาพจะแบ่งโรคที่ทำการตรวจออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มหลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแดงแข็งกระด้าง (Artheriosclerosis) โรคในกลุ่มนี้มี ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน การวัดไขมันในเลือด และการวัดดัชนีมวลกาย
การตรวจสุขภาพในกลุ่มโรคแรกนั้น ศ.นพ.ประเสริฐ อธิบายว่า โรคความดันโลหิตสูง ทั้งผู้ชายและผู้หญิงควรตรวจตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป หากความดันปกติคือ ไม่เกิน 120/80 ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกปี อาจตรวจทุก 2 ปีครั้งก็พอ ยกเว้นผู้ที่อายุเกิน 35 ปี เริ่มมีความเสี่ยงความดันจะเริ่มสูงคืออยู่ในช่วง 120-139/80-90 ควรตรวจความดันทุก 1 ปี
ส่วนโรคเบาหวาน ทั้งผู้ชายและผู้หญิงหากไม่มีความเสี่ยงคือ น้ำตาลในเลือดไม่สูง อาจเริ่มตรวจที่อายุ 45 ปี แต่หากมีความเสี่ยงดังต่อไปนี้ควรรีบมาตรวจตั้งแต่อายุ 18 ปี คือ คนอ้วน วัดได้จากค่าดัชนีมวลกาย คือ น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง หากค่าเกิน 25 บ่งบอกว่ามีภาวะอ้วน ญาติสายตรง เช่น พ่อแม่มีประวัติป่วยเบาหวาน ผู้หญิงมีภาวะน้ำตาลขึ้นสูงช่วงตั้งครรภ์ หรือคลอดลูกแล้วน้ำหนักเกิน 4.1 กิโลกรัม ค่าไขมันในเลือด เช่น ไตรกลีเซอไรด์เกิน 250 หรือค่าคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ต่ำกว่า 30 และคนที่ไม่ออกกำลังกาย ควรตรวจน้ำตาลในเลือดทุก 1 ปี
สำหรับการวัดไขมันในเลือด ทั้งผู้หญิงและผู้ชายหากไม่มีความเสี่ยงควรตรวจทุก 5 ปี หากมีความเสี่ยงคือ สูบบุหรี่ อ้วนคือมีค่าดัชนีมวลกายเกิน 30 มีความดันสูง และญาติสายตรงป่วยโรคหลอดเลือดอุดตัน เช่น หัวใจ หรือขา ควรตรวจทุก 1 ปี โดยการตรวจไขมันในเลือดแบ่งเป็น คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ อย่างไรก็ตาม การตรวจคอเลสเตอรอลควรแยกให้ชัดเจน ระหว่าง HDL และคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) เพื่อที่จะได้แปลผลไม่ผิดพลาด เพราะบางคนคอเลสเตอรอลสูง อาจมาจากการมีHDL สูง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ส่วนไตรกลีเซอไรด์ค่าไม่ควรเกิน 200
สุดท้ายการวัดดัชนีมวลกาย สิ่งนี้สามารถตรวจเองได้ โดยอาศัยน้ำหนักและส่วนสูงตามสูตรที่กล่าวไปแล้ว ซึ่งดัชนีมวลกายควรตรวจทุก 1 ปี ไม่ควรเกิน 23
ศ.นพ.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า กลุ่มโรคที่สองคือ โรคมะเร็ง ที่ควรตรวจคือมะเร็งที่เป็นมากในประเทศไทย แบ่งเป็น มะเร็งตับและท่อน้ำดี ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เนื่องจากมะเร็งที่ทำให้ผู้ชายทั่วโลกเสียชีวิตมากที่สุดคือ มะเร็งปอด แต่ไทยกลับเสียชีวิตจากมะเร็งตับ ทั้งที่ป้องกันได้ จึงต้องมีการตรวจคัดกรอง โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงคือคนอีสานที่ชอบกินปลาน้ำจืดดิบ ซึ่งจะมีพยาธิใบไม้ในตับ โดยทำการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิ ซึ่งปัจจุบันมียากินรักษาให้หายได้จากมะเร็งท่อน้ำดีได้
ส่วนมะเร็งในเซลล์ตับ เกิดในคนที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ซึ่งเด็กรุ่นใหม่ไม่น่าห่วง เพราะกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีให้วัคซีนฟรีตั้งแต่เด็กทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อตับอักเสบบี ยกเว้นตับอักเสบซีเพราะยังไม่มีวัคซีน ดังนั้น คนที่ควรตรวจคือทุกคน เพื่อให้ทราบว่าตัวเองมีพาหะของไวรัสตับอักเสบบีหรือซีหรือไม่ หากไม่เคยได้รับวัคซีนและไม่เคยได้รับเชื้อควรไปรับวัคซีน รวมถึงคนที่เคยมีประวัติได้รับเลือด หรือมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่แฟนตัวเอง เพราะไวรัสทั้ง 2 ตัวสามารถติดต่อได้ผ่านทางเลือด ทั้งนี้ หากตรวจพบว่าตัวเองมีพาหะของเชื้ออาจจะต้องมาตรวจตับทุกๆ 6 เดือน อัลตราซาวนด์ตับทุก 1 ปี หากเจอมะเร็งตับได้เร็วก็จะรักษาให้หายได้ หากเจอช้าคนที่เป็นมะเร็งตับอาจมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน
มะเร็งปากมดลูก คนที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน HPV เพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก และมีประวัติมีเพศสัมพันธ์ถือว่ามีความเสี่ยง ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตาม จะต้องตรวจหามะเร็งปากมดลูกทุก 1 ปี แต่หากตรวจทั้ง 3 ปีแล้วยังปกติอาจจะตรวจทุก 3 ปีได้ หากอายุถึง 70 ปีแล้วช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่เคยมีเพศสัมพันธ์เลยก็อาจหยุดตรวจได้
มะเร็งเต้านม ต่างประเทศมีคำแนะนำว่าควรตรวจแมมโมแกรมค้นหามะเร็งเต้านมทุกปี แต่ในบริบทประเทศไทยเราไม่มีเครื่องตรวจที่เพียงพอ แม้แต่ในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ดังนั้น คนที่มีความเสี่ยงควรตรวจคือ มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ ควรตรวจแมมโมแกรมทุกปี หรือคนที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม 1 ข้าง ต้องตรวจอีกข้างเป็นประจำ เพราะไม่ใครบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร ส่วนผู้ชายการเกิดมะเร็งเต้านมน้อยมาก ที่แนะนำคือพยายามสำรวจตัวเอง หากพบอะไรผิดปกติก็ควรไปพบแพทย์
มะเร็งปอด การคัดกรองมะเร็งปอดด้วยการเอกซเรย์ปอดนั้น หากมาตรวจสุขภาพประจำปีก็จะมีให้เอกซเรย์ปอดอยู่แล้ว แต่ไม่มีข้อกำหนดว่าต้องตรวจถี่มากน้อยเพียงไร เพราะไม่มีใครบอกได้ว่าโรคจะเกิดขึ้นเมื่อไร อย่างเอกซเรย์วันนี้ แต่ 3-4 เดือนอาจเกิดมะเร็งขึ้นก็ได้ แม้จะบอกให้มีการไปเอกซเรย์ปอดทุก 3 เดือนก็ตาม ทางที่ดีคือไม่ควรสูบบุหรี่ หรือเลี่ยงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการสูบบุหรี่ เพราะหากสูบบุหรี่แล้วมาเอกซเรย์ปอดทุก 3 เดือนอย่างไรก็ไม่เกิดประโยชน์และไม่มีความคุ้มค่า
สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบมากเป็นลำดับ 3 ของประเทศไทยในผู้ชาย โรคนี้มากับพฤติกรรมคือการกินกากอาหารน้อยลง โดยหันไปกินพวกฟาสต์ฟูดมากขึ้น จึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรค นอกจากนี้ ยังสัมพันธ์กับพันธุกรรม บางครอบครัวมีติ่งเนื้อในลำไส้ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็ง ดังนั้น มะเร็งลำไส้ใหญ่ควรเริ่มตรวจ 40-50 ปีขึ้นไป โดยการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระทุกปี แต่ก่อนตรวจสามวันต้องห้ามกินอาหารที่อาจทำให้มีเลือดแฝงได้ เช่น เลือด ยอดผักที่มีธาตุเหล็กสูง แอสไพริน วิตามินซี เพราะจะทำให้ผลตรวจลวงได้ แต่หากมีประวัติญาติสายตรงป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรไปตรวจกล้องส่องทุกปี
สุดท้าย มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคที่พบมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น แต่ไม่ใช่มะเร็งที่พบบ่อย เพราะเป็นโรคที่ไม่ได้ทำให้เสียชีวิตรวดเร็ว จึงทำให้พบผู้ป่วยโรคนี้มากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงมาจากพันธุกรรม ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจทางทวารหนัก คลำต่อมลูกหมาก แต่หากมีความเสี่ยง เช่น มีประวัติญาติป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก อาจต้องตรวจ PSA ทุก 5 ปี หากค่าที่ได้ไม่เกิน 4 อาจตรวจทุก 5 ปี แต่หากค่าเกิน 4 ควรตรวจทุกปี
“ส่วนมะเร็งบางอย่างที่บอกว่าอย่าไปตรวจ เพราะไม่มีวิธีที่ตรวจหรือมีวิธีตรวจแต่ยังไม่ดีนัก หรือตรวจไปแล้วอาจโผล่ขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ หนึ่งในนั้นคือมะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งมดลูก เว้นมีความเสี่ยงมากๆ อาจเจาะเลือดตรวจในมะเร็งรังไข่ ส่วนมะเร็งมดลูกหากมีเลือดออกทางช่องคลอดในวัยหมดประจำเดือน หรือท้องโตขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ ส่วนมะเร็งอื่นๆ เจอน้อยมากและไม่มีมาร์กเกอร์อะไร เว้นเจอหมอทีก็ตรวจสุขภาพทั่วไป เช่น มะเร็งผิวหนัง ก็ให้ตรวจได้ แต่พบในคนไทยน้อย เพราะเราผิวคล้ำ ไม่เหมือนผิวขาว”
สำหรับโรคกลุ่มที่ 3 ศ.นพ.ประเสริฐ ให้นิยามว่า โรคอื่นๆ ที่ควรตรวจคือ โรคกระดูกพรุน ซึ่งโรคนี้จะมากับอายุ โดยต่างประเทศแนะนำว่า หากอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปควรตรวจคัดกรองโดยการเอกซเรย์กระดูก แต่สำหรับประเทศไทยคงเป็นเรื่องยาก ที่อยากแนะนำคือผู้ที่มีความเสี่ยงสมควรไปตรวจ ได้แก่ ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน มีประวัติกระดูกหักง่ายๆ ทั้งตนเอง ครอบครัว หรือญาติสายตรง ผู้หญิงที่ตัดรังไข่ทั้งสองข้างเร็วกว่าวัยหมดประจำเดือน จะทำให้ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงเกิดโอกาสกระดูกพรุน ผู้ที่กินยาบางอย่างให้กระดูกบาง เช่น ยาสเตียรอยด์ ยารักษาไทรอยด์ และยากันชัก ทั้งนี้ ไม่มีคำแนะนำว่าต้องตรวจบ่อยแค่ไหน แต่ถ้ามีความเสี่ยงสูงควรตรวจทุก 5 ปี
“ที่ผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อโรคนี้มากกว่าผู้ชาย เพราะการหมดประจำเดือน สังเกตได้เลยว่าผู้หญิงอายุมากๆ เช่น วัย 70 กว่าปี ตัวเล็กๆ และผอมกลุ่มนี้มีโอกาสเป็นกระดูกพรุน ที่เป็นเช่นนั้นเพราะหากผู้หญิงอายุมากแล้วอ้วน ความอ้วนนี้จะทำให้กระดูกแข็งแรง น้ำหนักที่กดทำให้กระดูกไม่ผุง่ายๆ ผู้ชายจึงมีโอกาสเป็นกระดูกพรุนน้อยกว่า”
นอกจากนี้ ศ.นพ.ประเสริฐ บอกว่ายังมี โรคโลหิตจางหรือธาลัสซีเมีย ซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้น หากมีญาติสายตรงที่เป็นโรคโลหิตจางก็ควรตรวจ เพราะโลหิตจางจะมีชนิดแฝงคือไม่แสดงอาการ หากพ่อและแม่เป็นแฝงทั้งคู่ ลูกก็จะมีโอกาสเป็นโลหิตจางเช่นกัน หรืออาจได้รับเชื้อมาครึ่งเดียว ต้องตรวจดูฮีโมโกลบินว่ามีอาการซีดเยอะหรือไม่ นอกจากนี้ จะตรวจเมื่อมีความเสี่ยงด้วย เช่น ประวัติเสียเลือดเรื้อรัง ประจำเดือนมาเยอะกว่าปกติ ทั้งนี้ ผู้ชายควรมีค่าฮีโมโกลบินมากกว่า 13 ผู้หญิงควรมากกว่า 12 หากน้อยกว่านี้คือมีอาการซีดหรือโรคโลหิตจาง
สำหรับโรคไทรอยด์ กลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจคือ มีประวัติต่อมไทรอยด์มาก่อน หรือกินน้ำแร่ไอโอดีน เพื่อรักษาต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โดยทำการตรวจเลือด หากพบว่าต่อมไทรอยด์เริ่มทำงานน้อยก็จะได้ให้ยารักษาได้ เพราะหากทิ้งไว้ยิ่งต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง จะทำให้ร่างกายแย่ลง ทำงานเฉื่อยชา และเกิดอาการไขมันสูง และกระดูกพรุนตามมาได้
ส่วนการตรวจไต ไม่มีข้อมูลชัดเจน ถ้ามีความเสี่ยงประวัติโรคไตควรตรวจ ถ้าไม่เคยตรวจก็ควรตรวจสักครั้งหนึ่ง โดยการตรวจปัสสาวะ ถ้าปกติก็ไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติของไต
นอกจากนี้ ยังมีการตรวจร่างกายกรณีเฉพาะกิจ เช่น แต่งงาน ซึ่ง ศ.นพ.ประเสริฐ ระบุว่า จะแบ่งการตรวจเป็นโรคที่เกิดอันตรายต่อคู่สมรส คือ โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ คือ ซิฟิลิส เอดส์ และโรคที่มีผลต่อเด็กคือ ซิฟิลิส เอดส์ และหัดเยอรมัน ซึ่งหากแม่เป็นหัดเยอรมันช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก เชื้อไวรัสมีผลทำให้เด็กพิการได้ ดังนั้น จึงควรตรวจเลือดแม่ก่อนแต่งงานว่ามีภูมิคุ้มกันหรือยัง ถ้ายังก็ควรรีบให้วัคซีนก่อนแต่งงานหรือตั้งครรภ์ และอีกโรคคือ ธาลัสซีเมีย ซึ่งปัจจุบันสามารถตรวจตั้งแต่ตั้งครรภ์ได้ว่าลูกเป็นธาลัสซีเมียหรือไม่ และเป็นแบบแฝงหรือไม่ เพื่อช่วยในการวางแผนครอบครัว การใช้ชีวิตคู่ หรือการวางแผนมีบุตร
“โรงพยาบาลบางแห่งจะให้เจาะเลือดตรวจเยอะๆ หลายๆ โรค ก็จะยิ่งเสียเงินเยอะ แต่ถ้าอิงทางวิชาการเราจะดูเรื่องความคุ้มค่า ว่าควรตรวจหรือไม่ ใครควรตรวจอะไรบ้าง ควรตรวจอะไร ควรรู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงอะไร ควรตรวจอะไร แต่ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกอย่าง ยิ่งอายุน้อยๆ เช่น 25 ปี แทบไม่ต้องตรวจเพราะความเสี่ยงน้อยมาก เว้นแต่มีประวัติครอบครัวมีความเสี่ยงบางอย่างอาจจะต้องตรวจ” ศ.นพ.ประเสริฐ กล่าวทิ้งท้าย
โดยสรุปสามารถแบ่งการตรวจสุขภาพตามช่วงอายุได้ ดังนี้
เด็กแรกเกิด เมื่อแรกคลอดเด็กจะได้รับการตรวจสุขภาพต่างๆ จากกุมารแพทย์อยู่แล้วว่ามีส่วนใดผิดปกติหรือไม่ เมื่อกลับมาถึงบ้านสิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือการตรวจพัฒนาการของลูก ตามคู่มือพัฒนาการเด็กที่จะมีแจกให้แก่คุณพ่อคุณแม่อยู่แล้ว หากลูกไม่มีพัฒนาการสมวัยตามคู่มือ ก็ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กพัฒนาการของเด็กต่อไป
ช่วงก่อนอายุ 18 ปี ตามที่แพทย์แนะนำคือแทบไม่จำเป็นต้องสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคใดๆ เพราะเป็นช่วงร่างกายแข็งแรงอยู่แล้ว ยกเว้น เมื่อป่วยไข้ หรือมีอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์
ช่วงอายุ 18 ปีขึ้นไป แม้จะเป็นวัยที่แข็งแรงอยู่ แต่ควรตรวจสุขภาพเพื่อดูความเสี่ยงสัก 1 ครั้ง ได้แก่
ความดันโลหิตสูง หากอยู่ในเกณฑ์ปกติควรมาตรวจ 2 ปีต่อครั้ง หากความดันสูงควรมาตรวจปีละครั้ง
เบาหวานควรตรวจต่อเมื่อมีความเสี่ยงคือ อ้วน มีญาติสายตรง เช่น พ่อแม่มีประวัติป่วยเบาหวาน มีภาวะน้ำตาลขึ้นสูงช่วงตั้งครรภ์ หรือคลอดลูกแล้วน้ำหนักเกิน 4.1 กิโลกรัม ค่าไตรกลีเซอไรด์เกิน 250 หรือค่าคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ต่ำกว่า 30 และคนที่ไม่ออกกำลังกาย ควรตรวจน้ำตาลในเลือดทุก 1 ปี
การตรวจไขมันในเลือด หากค่าปกติควรตรวจทุก 5 ปี แต่หากมีความเสี่ยงคือ สูบบุหรี่ อ้วน ความดันสูง และญาติสายตรงป่วยโรคหลอดเลือดอุดตัน เช่น หัวใจ หรือขา ควรตรวจทุก 1 ปี
ค่าดัชนีมวลกายตรวจทุก 1 ปี
ตรวจไวรัสตับอักเสบบีและซี เพื่อดูว่าตนเองเป็นพาหะหรือไม่ หากเป็นพาหะควรตรวจตับทุก 6 เดือน และอัลตราซาวนด์ตับทุก 1 ปี เพื่อป้องกันมะเร็งตับ
ไต ควรตรวจสักครั้งจากปัสสาวะ หากไม่มีความผิดปกติก็ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดตรวจ ซึ่งให้คงการตรวจเช่นนี้ไปทุกช่วงอายุ
ช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป ตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ทุก 1 ปี สำหรับผู้ชายควรเริ่มตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย โดยตรวจทุก 5 ปี แต่หากตรวจแล้วค่า PSA เกิน 4 ควรตรวจทุกปี
ช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจโรคเบาหวาน
ช่วงวัยหมดประจำเดือน อายุประมาณ 45-51 ปีขึ้นไป สำหรับผู้หญิง ควรตรวจโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุมากๆ ตัวเล็กและผอม ยิ่งสมควรตรวจ หากมีความเสี่ยงสูงควรตรวจทุก 5 ปี
สำหรับโรคอื่นๆ ต้องดูปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรม ดังนี้
ผู้ที่ชอบกินปลาน้ำจืดดิบ ควรตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ในตับเพื่อป้องกันโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี
ผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรตรวจหาไวรัสตับอักเสบบีและซี สำหรับผู้หญิงไม่ว่าวัยใดหากมีเพศสัมพันธ์ต้องตรวจหาไวรัส HPV เพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก ควรตรวจทุก 1 ปี หากครบ 3 ปียังปกติ อาจตรวจทุก 3 ปีได้
ผู้หญิงที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมทุกปี
ผู้หญิงที่มีประวัติกระดูกหักง่ายๆ ทั้งตนเอง ครอบครัว หรือญาติสายตรง ผู้หญิงที่ตัดรังไข่ทั้งสองข้าง ผู้ที่กินยาบางอย่างให้กระดูกบาง เช่น ยาสเตียรอยด์ ยารักษาไทรอยด์ และยากันชัก ควรตรวจกระดูก หากมีความเสี่ยงสูงควรตรวจทุก 5 ปี
ผู้ที่มีญาติสายตรงป่วยโรคโลหิตจาง มีประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือมีประวัติเสียเลือดมาก ควรตรวจฮีโมโกลบิน หาโรคธาลัสซีเมียหรือโลหิตจาง
ผู้ที่มีประวัติต่อมไทรอยด์ หรือกินน้ำแร่รักษาต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ควรตรวจต่อมไทรอยด์
ผู้ที่จะแต่งงานหรือมีลูก ควรตรวจ เอดส์ ซิฟิลิส หัดเยอรมัน และธาลัสซีเมีย