กลุ่มวัยรุ่น-วัยทำงานอ้างอยากสวย ลดอ้วน รีบไปเรียนทำงาน งดกินมื้อเช้า สอดคล้องผลสำรวจเยาวชนกินอาหารครบ 3 มื้อลดลง สธ. เตือนทำน้ำตาลในเลือดต่ำ หิวมากขึ้น เสี่ยงอ้วนง่าย แถมหงุดหงิด สมองตื้อ แนะกินซีเรียลคู่นม สลัดผัก และไข่ เลิศที่สุด
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรทั่วประเทศปี 2556 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวน 26,520 ครัวเรือน พบประชากรที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไปกินอาหารมื้อหลักครบ 3 มื้อในแต่ละวัน ร้อยละ 88 โดยพบสูงสุดในกลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี ร้อยละ 93 และต่ำสุดในกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี คือร้อยละ 87 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 พบว่า กลุ่มเยาวชนมีอัตราการบริโภคอาหารครบ 3 มื้อลดลงร้อยละ 0.5 ในขณะที่ประชากรกลุ่มอื่นมีอัตราเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่มีอายุ 6-14 ปีที่เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 13 ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดี
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า สำหรับประชาชนที่กินอาหารไม่ครบ 3 มื้อนั้น ส่วนใหญ่มักจะงดมื้อเช้าด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ต้องตื่นแต่เช้าเร่งรีบไปเรียนหรือทำงาน ไม่มีเวลาพอสำหรับการเตรียมอาหารเช้า บางคนงดอาหารเช้าด้วยเหตุผลที่ต้องการลดน้ำหนัก จะพบมากในกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด และเกิดผลเสียตามมา เนื่องจากการงดกินอาหารเช้าจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้ช่วงสายของวันจะรู้สึกหิว มีอารมณ์หงุดหงิด สมองตื้อ คิดอะไรไม่ออก ไม่มีสมาธิในการเรียนหรือทำงาน เกิดการผิดพลาดได้มากกว่า และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การทำงานจะด้อยกว่าคนที่กินอาหารเช้า เนื่องจากสมองต้องการน้ำตาลกลูโคสหล่อเลี้ยงตลอดเวลา และจะหันมารับประทานอาหารอื่น เช่น ขนม ประเภทกินจุบกินจิบแทนการกินอาหารเช้า ส่งผลให้อ้วนเพิ่มขึ้นหรือน้ำหนักตัวขึ้นง่ายขึ้น
ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า อาหารเช้าเป็นมื้อที่มีความสำคัญสำหรับเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นเป็นอย่างยิ่ง เพราะอยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโตมีความจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตเต็มตามศักยภาพที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารมื้อเช้า และการได้รับอาหารเช้าที่เหมาะสม ควรประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อคงสภาวะระดับน้ำตาลในเลือดของเด็กให้อยู่เป็นเวลาที่ยาวนาน จะทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้และประกอบกิจกรรม ที่ต้องใช้กำลังงานได้ดีขึ้น
“อาหารเช้าที่ดีควรประกอบด้วยอาหารอย่างน้อย 4 หมู่ ได้แก่ 1. อาหารประเภท ข้าว แป้ง จะให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรต 2. เนื้อสัตว์ นม ไข่ ให้สารอาหารโปรตีน 3. ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ให้สารอาหารไขมัน และ 4. ผักชนิดต่างๆ ให้วิตามินและแร่ธาตุ และหากมีผลไม้ด้วยก็จะครบ 5 หมู่ ซึ่งจะให้ผลดีต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ในการกินอาหารเช้านั้น ไม่ควรกินอาหารประเภทข้าวแป้งที่ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่แต่เพียงอย่างเดียว สำหรับอาหารประเภทซีเรียลต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน จะมีแป้งเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ ขอแนะนำว่า ไม่ควรกินเพียงอย่างเดียว ควรรับประทานคู่กับนม และเพิ่มไข่ ซึ่งเป็นอาหารเช้าที่ดีที่สุด และเสริมด้วยสลัดผักและผลไม้ด้วย ก็จะได้สารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรทั่วประเทศปี 2556 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวน 26,520 ครัวเรือน พบประชากรที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไปกินอาหารมื้อหลักครบ 3 มื้อในแต่ละวัน ร้อยละ 88 โดยพบสูงสุดในกลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี ร้อยละ 93 และต่ำสุดในกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี คือร้อยละ 87 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 พบว่า กลุ่มเยาวชนมีอัตราการบริโภคอาหารครบ 3 มื้อลดลงร้อยละ 0.5 ในขณะที่ประชากรกลุ่มอื่นมีอัตราเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่มีอายุ 6-14 ปีที่เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 13 ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดี
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า สำหรับประชาชนที่กินอาหารไม่ครบ 3 มื้อนั้น ส่วนใหญ่มักจะงดมื้อเช้าด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ต้องตื่นแต่เช้าเร่งรีบไปเรียนหรือทำงาน ไม่มีเวลาพอสำหรับการเตรียมอาหารเช้า บางคนงดอาหารเช้าด้วยเหตุผลที่ต้องการลดน้ำหนัก จะพบมากในกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด และเกิดผลเสียตามมา เนื่องจากการงดกินอาหารเช้าจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้ช่วงสายของวันจะรู้สึกหิว มีอารมณ์หงุดหงิด สมองตื้อ คิดอะไรไม่ออก ไม่มีสมาธิในการเรียนหรือทำงาน เกิดการผิดพลาดได้มากกว่า และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การทำงานจะด้อยกว่าคนที่กินอาหารเช้า เนื่องจากสมองต้องการน้ำตาลกลูโคสหล่อเลี้ยงตลอดเวลา และจะหันมารับประทานอาหารอื่น เช่น ขนม ประเภทกินจุบกินจิบแทนการกินอาหารเช้า ส่งผลให้อ้วนเพิ่มขึ้นหรือน้ำหนักตัวขึ้นง่ายขึ้น
ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า อาหารเช้าเป็นมื้อที่มีความสำคัญสำหรับเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นเป็นอย่างยิ่ง เพราะอยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโตมีความจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตเต็มตามศักยภาพที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารมื้อเช้า และการได้รับอาหารเช้าที่เหมาะสม ควรประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อคงสภาวะระดับน้ำตาลในเลือดของเด็กให้อยู่เป็นเวลาที่ยาวนาน จะทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้และประกอบกิจกรรม ที่ต้องใช้กำลังงานได้ดีขึ้น
“อาหารเช้าที่ดีควรประกอบด้วยอาหารอย่างน้อย 4 หมู่ ได้แก่ 1. อาหารประเภท ข้าว แป้ง จะให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรต 2. เนื้อสัตว์ นม ไข่ ให้สารอาหารโปรตีน 3. ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ให้สารอาหารไขมัน และ 4. ผักชนิดต่างๆ ให้วิตามินและแร่ธาตุ และหากมีผลไม้ด้วยก็จะครบ 5 หมู่ ซึ่งจะให้ผลดีต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ในการกินอาหารเช้านั้น ไม่ควรกินอาหารประเภทข้าวแป้งที่ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่แต่เพียงอย่างเดียว สำหรับอาหารประเภทซีเรียลต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน จะมีแป้งเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ ขอแนะนำว่า ไม่ควรกินเพียงอย่างเดียว ควรรับประทานคู่กับนม และเพิ่มไข่ ซึ่งเป็นอาหารเช้าที่ดีที่สุด และเสริมด้วยสลัดผักและผลไม้ด้วย ก็จะได้สารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว