มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ หนุนแนวคิดต่างชาติ ขึ้นภาษียาสูบอีก 3 เท่าตามสภาพน้ำหนักหรือต่อมวนบุหรี่ ช่วยลดคนตายจากบุหรี่ได้ถึง 200 ล้านคน รัฐบาลทั่วโลกได้ภาษีเพิ่มอีกหลายล้านล้านดอลลาร์
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า จากรายงานการวิจัยโดย เซอร์ริชาร์ด ปีโต จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดพบว่า หากขึ้นภาษียาสูบอีก 3 เท่าตัวทั่วโลก จะลดคนที่จะตายจากการสูบบุหรี่ได้กว่า 200 ล้านคน โดยการขึ้นภาษีดังกล่าวต้องเก็บภาษีตามสภาพน้ำหนักหรือต่อมวนบุหรี่ ที่จะทำให้บุหรี่ชนิดราคาถูกมีราคาเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อป้องกันการหันไปสูบบุหรี่ราคาถูกเมื่อมีการขึ้นภาษี ทั้งนี้ หากขึ้นภาษียาสูบไป 3 เท่า จะลดการสูบบุหรี่ทั้งโลกได้ 1 ใน 3 นอกจากนี้ การขึ้นภาษี 3 เท่าจะทำให้รัฐบาลทั่วโลกเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านล้านดอลลาร์ เป็น 4 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี หรือเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสาม
ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า ไทยเพิ่งจะเริ่มเก็บภาษีตามน้ำหนักในการขึ้นภาษีเมื่อปี 2555 โดยก่อนหน้านี้ใช้วิธีประเมินภาษีตามราคาต้นทุนที่บริษัทบุหรี่แจ้ง ซึ่งทำให้บริษัทบุหรี่แจ้งราคาต้นทุนต่ำกว่าความจริง รวมทั้งผลิตบุหรี่ราคาถูกออกจำหน่าย การขึ้นภาษีครั้งสุดท้ายเก็บในอัตรา 1 บาทต่อกรัม เพื่อให้บุหรี่ซอง 20 มวน มีภาระภาษีขั้นต่ำ 20 บาท สำหรับบุหรี่ที่ประเมินภาษีตามราคาต้นทุนที่บริษัทบุหรี่แจ้งแล้ว มีภาระภาษีไม่ถึงซองละ 20 บาท แต่บริษัทบุหรี่ก็แก้เกมด้วยการทำบุหรี่ให้มีน้ำหนักน้อยกว่า 20 มวนต่อซอง กระทรวงการคลัง จึงต้องขึ้นภาษีตามสภาพเป็นอย่างน้อย 1.5 บาท หรือ 2.0 บาทต่อกรัม หรือ 1.5 บาท หรือ 2.0 บาท ต่อมวน เพื่อทำให้คนสูบบุหรี่น้อยลง และรัฐเก็บภาษียาสูบได้เพิ่มขึ้นด้วย ขณะเดียวกัน ต้องขึ้นภาษีบุหรี่ยาเส้นให้เพิ่มขึ้นด้วย เพื่อป้องกันคนสูบบุหรี่หันไปสูบยาเส้น เมื่อมีการขึ้นภาษีบุหรี่ซิกาแรต
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า จากรายงานการวิจัยโดย เซอร์ริชาร์ด ปีโต จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดพบว่า หากขึ้นภาษียาสูบอีก 3 เท่าตัวทั่วโลก จะลดคนที่จะตายจากการสูบบุหรี่ได้กว่า 200 ล้านคน โดยการขึ้นภาษีดังกล่าวต้องเก็บภาษีตามสภาพน้ำหนักหรือต่อมวนบุหรี่ ที่จะทำให้บุหรี่ชนิดราคาถูกมีราคาเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อป้องกันการหันไปสูบบุหรี่ราคาถูกเมื่อมีการขึ้นภาษี ทั้งนี้ หากขึ้นภาษียาสูบไป 3 เท่า จะลดการสูบบุหรี่ทั้งโลกได้ 1 ใน 3 นอกจากนี้ การขึ้นภาษี 3 เท่าจะทำให้รัฐบาลทั่วโลกเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านล้านดอลลาร์ เป็น 4 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี หรือเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสาม
ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า ไทยเพิ่งจะเริ่มเก็บภาษีตามน้ำหนักในการขึ้นภาษีเมื่อปี 2555 โดยก่อนหน้านี้ใช้วิธีประเมินภาษีตามราคาต้นทุนที่บริษัทบุหรี่แจ้ง ซึ่งทำให้บริษัทบุหรี่แจ้งราคาต้นทุนต่ำกว่าความจริง รวมทั้งผลิตบุหรี่ราคาถูกออกจำหน่าย การขึ้นภาษีครั้งสุดท้ายเก็บในอัตรา 1 บาทต่อกรัม เพื่อให้บุหรี่ซอง 20 มวน มีภาระภาษีขั้นต่ำ 20 บาท สำหรับบุหรี่ที่ประเมินภาษีตามราคาต้นทุนที่บริษัทบุหรี่แจ้งแล้ว มีภาระภาษีไม่ถึงซองละ 20 บาท แต่บริษัทบุหรี่ก็แก้เกมด้วยการทำบุหรี่ให้มีน้ำหนักน้อยกว่า 20 มวนต่อซอง กระทรวงการคลัง จึงต้องขึ้นภาษีตามสภาพเป็นอย่างน้อย 1.5 บาท หรือ 2.0 บาทต่อกรัม หรือ 1.5 บาท หรือ 2.0 บาท ต่อมวน เพื่อทำให้คนสูบบุหรี่น้อยลง และรัฐเก็บภาษียาสูบได้เพิ่มขึ้นด้วย ขณะเดียวกัน ต้องขึ้นภาษีบุหรี่ยาเส้นให้เพิ่มขึ้นด้วย เพื่อป้องกันคนสูบบุหรี่หันไปสูบยาเส้น เมื่อมีการขึ้นภาษีบุหรี่ซิกาแรต