แรงงานก่อเหตุเมาอาละวาด ทำคนเจ็บตายอื้อ คุกคามทางเพศมากถึง 135 ข่าวในรอบ 1 ปี พบเป็นกลุ่มรับจ้างทั่วไปมากที่สุด รองลงมาเป็นแรงงานต่างด้าว กลุ่มสหภาพแรงงาน องค์กรสตรี จี้กระทรวงจับกังช่วยแก้ปัญหาก๊งเหล้าในไซต์งาน
วันนี้ (29 เม.ย.) นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พร้อมด้วย น.ส.อรุณี ศรีโต นายกสมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา เครือข่ายแรงงานนอกระบบ กลุ่มสหภาพแรงงาน และภาคีเครือข่ายกว่า 30 คน เข้าพบผู้บริหารกระทรวงแรงงาน พร้อมยื่นจดหมายเปิดผนึกข้อเรียกร้องให้แก้ปัญหาคุณภาพชีวิตแรงงานไทย หลังพบข่าวแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติเมาสุราก่อเหตุจำนวนมาก โดยมีนายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เป็นตัวแทนรับจดหมาย
นายจะเด็จ กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลข่าวปัญหาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พบว่า เป็นข่าวเกี่ยวกับผู้ใช้แรงงาน 135 ข่าว จาก 647 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 20.86 มีผู้เสียชีวิตถึง 99 ข่าว บาดเจ็บ 28 ข่าว เมาจนขาดสติ ก่อเหตุข่มขืนและคุกคามทางเพศ จำนวน 16 ข่าว พบในกลุ่มรับจ้างทั่วไปมากที่สุด เช่น ก่อสร้าง ทำสวนยาง ทำงานในรีสอร์ต กว่า 114 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 84 รองลงมาเป็นผู้ใช้แรงงานต่างด้าว เช่น คนงานพม่า 10 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 7.4 แรงงานไทยไม่ระบุอาชีพอีก 6 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 4.4 และกลุ่มผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม 5 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 3.7 ส่วนใหญ่เป็นการทะเลาะวิวาท จนเสียชีวิต 99 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 73.3 บาดเจ็บ 28 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 20 รวมทั้งเมาจนขาดสติ ก่อเหตุข่มขืนและคุกคามทางเพศ จำนวน 16 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 11.85
นายจะเด็จ กล่าวว่า จากข้อมูลดังกล่าว จึงอยากเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และผู้ประกอบการ ร่วมกันกำหนดแนวทางป้องกันและแก้ปัญหา ทั้งการส่งเสริมให้พื้นที่ก่อสร้างมีการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ การกำหนดกฎเกณฑ์ที่พักคนงานให้เป็นพื้นที่ควบคุมปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอบายมุขทุกชนิด และเร่งประชาสัมพันธ์ข้อบังคับใช้กฎหมาย ห้ามขายหรือห้ามบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. 2555 โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้หากภาครัฐไม่จริงจังเรื่องคุณภาพชีวิตแรงงาน เชื่อว่าหลังเปิด ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปัญหายิ่งขยายวง จนรับมือไม่ไหว
นายพีรพัฒน์ กล่าวว่า ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องที่กระทรวงแรงงานไม่ได้นิ่งนอนใจ ซึ่งปัจจุบันมีการสอดแทรก เรื่องพิษภัยของแอลกอลฮอล์ล บุหรี่ ให้กับผู้ใช้แรงงานอยู่เสมอ ในการรณรงค์โครงการโรงงานสีขาว และโครงการอื่นๆ เพราะส่งผลกระทบต่อปัญหาความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ทั้งนี้ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ไขยาก เพราะไม่ได้มีข้อห้ามตามกฎหมาย ซื้อหาง่าย และเป็นสิ่งที่ติดตัวของแรงงานไทย ในการดื่มสุรา และเล่นการพนัน ที่นายจ้างหลายประเทศร้องเรียนมา จึงได้เน้นย้ำกับแรงงานไทยอยู่เสมอว่าวัตถุประสงค์ของการทำงานคือการหารายได้ เพื่อไปเลี้ยงครอบครัวใช้หรือไม่ โดยกระทรวงแรงงานยินดีรับข้อเรียกร้องเหล่านี้ไปพิจารณาดำเนินการ และนำไปประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหานี้ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
วันนี้ (29 เม.ย.) นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พร้อมด้วย น.ส.อรุณี ศรีโต นายกสมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา เครือข่ายแรงงานนอกระบบ กลุ่มสหภาพแรงงาน และภาคีเครือข่ายกว่า 30 คน เข้าพบผู้บริหารกระทรวงแรงงาน พร้อมยื่นจดหมายเปิดผนึกข้อเรียกร้องให้แก้ปัญหาคุณภาพชีวิตแรงงานไทย หลังพบข่าวแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติเมาสุราก่อเหตุจำนวนมาก โดยมีนายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เป็นตัวแทนรับจดหมาย
นายจะเด็จ กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลข่าวปัญหาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พบว่า เป็นข่าวเกี่ยวกับผู้ใช้แรงงาน 135 ข่าว จาก 647 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 20.86 มีผู้เสียชีวิตถึง 99 ข่าว บาดเจ็บ 28 ข่าว เมาจนขาดสติ ก่อเหตุข่มขืนและคุกคามทางเพศ จำนวน 16 ข่าว พบในกลุ่มรับจ้างทั่วไปมากที่สุด เช่น ก่อสร้าง ทำสวนยาง ทำงานในรีสอร์ต กว่า 114 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 84 รองลงมาเป็นผู้ใช้แรงงานต่างด้าว เช่น คนงานพม่า 10 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 7.4 แรงงานไทยไม่ระบุอาชีพอีก 6 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 4.4 และกลุ่มผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม 5 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 3.7 ส่วนใหญ่เป็นการทะเลาะวิวาท จนเสียชีวิต 99 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 73.3 บาดเจ็บ 28 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 20 รวมทั้งเมาจนขาดสติ ก่อเหตุข่มขืนและคุกคามทางเพศ จำนวน 16 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 11.85
นายจะเด็จ กล่าวว่า จากข้อมูลดังกล่าว จึงอยากเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และผู้ประกอบการ ร่วมกันกำหนดแนวทางป้องกันและแก้ปัญหา ทั้งการส่งเสริมให้พื้นที่ก่อสร้างมีการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ การกำหนดกฎเกณฑ์ที่พักคนงานให้เป็นพื้นที่ควบคุมปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอบายมุขทุกชนิด และเร่งประชาสัมพันธ์ข้อบังคับใช้กฎหมาย ห้ามขายหรือห้ามบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. 2555 โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้หากภาครัฐไม่จริงจังเรื่องคุณภาพชีวิตแรงงาน เชื่อว่าหลังเปิด ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปัญหายิ่งขยายวง จนรับมือไม่ไหว
นายพีรพัฒน์ กล่าวว่า ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องที่กระทรวงแรงงานไม่ได้นิ่งนอนใจ ซึ่งปัจจุบันมีการสอดแทรก เรื่องพิษภัยของแอลกอลฮอล์ล บุหรี่ ให้กับผู้ใช้แรงงานอยู่เสมอ ในการรณรงค์โครงการโรงงานสีขาว และโครงการอื่นๆ เพราะส่งผลกระทบต่อปัญหาความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ทั้งนี้ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ไขยาก เพราะไม่ได้มีข้อห้ามตามกฎหมาย ซื้อหาง่าย และเป็นสิ่งที่ติดตัวของแรงงานไทย ในการดื่มสุรา และเล่นการพนัน ที่นายจ้างหลายประเทศร้องเรียนมา จึงได้เน้นย้ำกับแรงงานไทยอยู่เสมอว่าวัตถุประสงค์ของการทำงานคือการหารายได้ เพื่อไปเลี้ยงครอบครัวใช้หรือไม่ โดยกระทรวงแรงงานยินดีรับข้อเรียกร้องเหล่านี้ไปพิจารณาดำเนินการ และนำไปประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหานี้ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น