แพทย์แนะป่วยความดันโลหิตสูงเต้นแอโรบิก เดินวิ่ง ช่วยร่างกายมีประสิทธิภาพดีขึ้น ระบุความดันสูงไม่มากสามารถออกกำลังกายได้เลย ช่วยรักษาและควบคุมความดัน แต่หากเป็นมากต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เตือนหากออกกำลังแล้วพบอาการผิดปกติควรหยุดพักและพบแพทย์ทันที
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ความดันโลหิตสูงในคนไทยเป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป แต่โรคนี้มักไม่ค่อยแสดงอาการ ทำให้ผู้ป่วยร้อยละ 40-50 ไม่ทราบว่าป่วย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะเป็นสาเหตุนำไปสู่โรคหัวใจและโรคอื่นๆ ตามมา ผู้ป่วยจึงต้องมีการดูแลตนเองอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะการออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย จึงจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง ซึ่งถ้าบุคคลใดทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูงแล้ว ก่อนจะเริ่มการออกกำลังกายจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อที่แพทย์จะได้ตรวจวัดระดับความดันโลหิตเป็นพื้นฐาน และสามารถแนะนำชนิดและขนาดความแรงของการออกกำลังกายได้
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า หากความดันโลหิตสูงเล็กน้อย อาจเริ่มออกกำลังกายได้เลย จะเป็นการช่วยการรักษาและควบคุมความดันโลหิตได้ โดยอาจไม่จำเป็นจะต้องใช้ยาร่วมในการรักษา แต่หากความดันโลหิตสูงระดับปานกลาง แพทย์จำเป็นจะต้องให้ยา เพื่อควบคุมความดันโลหิตให้ได้ดีก่อนแนะนำให้เริ่มออกกำลังกาย และตรวจร่างกายโดยละเอียดเพื่อดูว่าบุคคลนั้นมีโรคอื่นที่เป็นผลต่อเนื่องจากความดันโลหิตสูงหรือโรคอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ซึ่งเมื่อแพทย์ได้ประเมินระดับความดันโลหิต และสภาพร่างกายแล้ว จะสามารถกำหนดและให้คำแนะนำในการออกกำลังกายที่ถูกต้องได้
“ข้อแนะนำในการออกกำลังกายในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควรเดินหรือวิ่งเหยาะๆ หรือเต้นแอโรบิค วันละประมาณ 30 นาที ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายและสะดวก ควรเริ่มจากการเดินช้าๆ และค่อยๆ ปรับจนเป็นการเดินเร็ว เมื่อสามารถทำได้ดีแล้ว อาจเปลี่ยนเป็นการเดินเร็วสลับวิ่งช้าๆ และเมื่อทำได้ดีไม่มีอาการเหนื่อยก็สามารถเปลี่ยนมาเป็นการวิ่งเหยาะๆ ทั้งหมด ซึ่งจะเห็นได้ว่าคนที่ออกกำลังเป็นประจำจะมีชีพจรช้าลง ความดันโลหิตต่ำลงทั้งขณะนั่งพักและออกแรง เท่ากับว่าความต้องการออกซิเจนของหัวใจลดลง ผู้ป่วยสามารถเพิ่มความแรงของการออกกำลังกายได้ เพื่อให้ร่างกายมีประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งจะสังเกตได้จากอาการเหนื่อยจะน้อยลง และขณะออกกำลังกายชีพจรจะช้าลง ส่งผลให้ร่างกายผู้ป่วยทนต่อการออกกำลังต่างๆ ได้ดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างปกติ โอกาสที่จะหกล้มเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดได้น้อยลง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างกระดูกเป็นการป้องกันโรคกระดูกผุบางได้ด้วย” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบางราย หากออกกำลังกายแล้วพบอาการผิดปกติ เช่น ชีพจรเต้นเร็วหรือใจสั่น เจ็บหรือแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หน้าซีด ตัวเย็น ควรหยุดพักทันทีและรีบพบแพทย์โดยเร็ว
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ความดันโลหิตสูงในคนไทยเป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป แต่โรคนี้มักไม่ค่อยแสดงอาการ ทำให้ผู้ป่วยร้อยละ 40-50 ไม่ทราบว่าป่วย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะเป็นสาเหตุนำไปสู่โรคหัวใจและโรคอื่นๆ ตามมา ผู้ป่วยจึงต้องมีการดูแลตนเองอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะการออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย จึงจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง ซึ่งถ้าบุคคลใดทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูงแล้ว ก่อนจะเริ่มการออกกำลังกายจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อที่แพทย์จะได้ตรวจวัดระดับความดันโลหิตเป็นพื้นฐาน และสามารถแนะนำชนิดและขนาดความแรงของการออกกำลังกายได้
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า หากความดันโลหิตสูงเล็กน้อย อาจเริ่มออกกำลังกายได้เลย จะเป็นการช่วยการรักษาและควบคุมความดันโลหิตได้ โดยอาจไม่จำเป็นจะต้องใช้ยาร่วมในการรักษา แต่หากความดันโลหิตสูงระดับปานกลาง แพทย์จำเป็นจะต้องให้ยา เพื่อควบคุมความดันโลหิตให้ได้ดีก่อนแนะนำให้เริ่มออกกำลังกาย และตรวจร่างกายโดยละเอียดเพื่อดูว่าบุคคลนั้นมีโรคอื่นที่เป็นผลต่อเนื่องจากความดันโลหิตสูงหรือโรคอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ซึ่งเมื่อแพทย์ได้ประเมินระดับความดันโลหิต และสภาพร่างกายแล้ว จะสามารถกำหนดและให้คำแนะนำในการออกกำลังกายที่ถูกต้องได้
“ข้อแนะนำในการออกกำลังกายในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควรเดินหรือวิ่งเหยาะๆ หรือเต้นแอโรบิค วันละประมาณ 30 นาที ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายและสะดวก ควรเริ่มจากการเดินช้าๆ และค่อยๆ ปรับจนเป็นการเดินเร็ว เมื่อสามารถทำได้ดีแล้ว อาจเปลี่ยนเป็นการเดินเร็วสลับวิ่งช้าๆ และเมื่อทำได้ดีไม่มีอาการเหนื่อยก็สามารถเปลี่ยนมาเป็นการวิ่งเหยาะๆ ทั้งหมด ซึ่งจะเห็นได้ว่าคนที่ออกกำลังเป็นประจำจะมีชีพจรช้าลง ความดันโลหิตต่ำลงทั้งขณะนั่งพักและออกแรง เท่ากับว่าความต้องการออกซิเจนของหัวใจลดลง ผู้ป่วยสามารถเพิ่มความแรงของการออกกำลังกายได้ เพื่อให้ร่างกายมีประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งจะสังเกตได้จากอาการเหนื่อยจะน้อยลง และขณะออกกำลังกายชีพจรจะช้าลง ส่งผลให้ร่างกายผู้ป่วยทนต่อการออกกำลังต่างๆ ได้ดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างปกติ โอกาสที่จะหกล้มเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดได้น้อยลง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างกระดูกเป็นการป้องกันโรคกระดูกผุบางได้ด้วย” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบางราย หากออกกำลังกายแล้วพบอาการผิดปกติ เช่น ชีพจรเต้นเร็วหรือใจสั่น เจ็บหรือแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หน้าซีด ตัวเย็น ควรหยุดพักทันทีและรีบพบแพทย์โดยเร็ว