ผู้สูงอายุกว่า 1 ล้านคนสุขภาพย่ำแย่ นอนติดเตียง ต้องพึ่งคนอื่นดูแล แนวโน้มอยู่ลำพังไร้ลูกหลานดูแลเพิ่มขึ้น เร่งพัฒนาการดูแลทั้งระบบ ทั้งการรักษา การชะลอความเสื่อมร่างกาย สธ.เผยปี 2557 ทุ่มงบประมาณ 39 ล้านบาท พัฒนาการตรวจคัดกรองสุขภาพ การดูแลในชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และทำสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุใช้ได้ทั่วประเทศ
วันนี้ (19 มี.ค.) ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดประชุม เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ จัดโดยสมาคมแม่บ้านสาธารณสุข ว่า ไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยขณะนี้มีประชากรทั้งหมด 64.5 ล้านคน จำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 9.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 14.5 ของประชากร เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 5 แสนคน คาดว่าภายในปี 2568 ไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) จำนวนผู้สูงอายุจะมีประมาณ 14.4 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด คือจะมีผู้สูงอายุ 1 คน ในประชากรทุก 5 คน
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ผลการศึกษาปัญหาการเจ็บป่วยจากการตรวจร่างกายของผู้สูงอายุไทยล่าสุดในปี 2552 โดยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ปรากฏว่ามีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 85 หรือจำนวนประมาณ 6 ล้านคน ที่สามารถดูแลตนเองได้ และมีผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง ติดบ้าน ต้องพึ่งพิงคนอื่นช่วยดูแลกว่า 1 ล้านคนคิดเป็นเกือบร้อยละ 15 หรือประมาณ 960,000 คน ที่ช่วยเหลือตนเองได้บางส่วน ส่วนอีกประมาณ 63,000 คน ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย โรคเรื้อรัง 5 อันดับที่พบมากในผู้สูงอายุคือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วนลงพุง และโรคข้อเสื่อม นอกจากนี้พบว่า มีผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 70 ที่สายตาไม่ดี มองเห็นไม่ชัดเจน และเกือบครึ่งหนึ่ง มีปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร เนื่องจากเหลือฟันแท้ในปากไม่ถึง 20 ซี่ สร้าง และที่น่าเป็นห่วงพบว่าแนวโน้มผู้สูงอายุอยู่คนเดียวหรืออยู่ลำพังเพิ่มมากขึ้น 2 เท่าตัว จากร้อยละ 3.6 ในปี 2537 เป็นร้อยละ 7.6 ในปี 2550 จึงต้องเร่งพัฒนาระบบการดูแลที่เหมาะสมทั้งการดูแลในโรงพยาบาล การดูแลในชุมชน การดูแลที่บ้าน การชะลอความเสื่อมร่างกาย โดยเฉพาะเรื่องการดูแลรักษาฟื้นฟูผู้สูงอายุนั้น มีความแตกต่างจากประชาชนทั่วไป ทั้งลักษณะอาการป่วย การตรวจวินิจฉัยโรค เพราะร่างกายอยู่ในวัยเสื่อม เสี่ยงบาดเจ็บ พิการ อาจเสียชีวิตได้ง่ายกว่าวัยอื่น
ทั้งนี้ ในปี 2557 สธ.ได้จัดสรรงบประมาณ 39 ล้านบาท พัฒนาระบบการดูแล 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1.การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เช่นโรคซึมเศร้า โดยเน้นที่ระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกว่า 8,000 แห่งร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยพัฒนาบุคลากรดูแลผู้สูงอายุ พัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุในหมู่บ้านชุมชน ประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน เพื่อดูแลที่เหมาะสม โดยขณะนี้ สธ.ได้พัฒนาสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุคล้ายคู่มือการดูแลเด็กแรกเกิด เพื่อดูแลอย่างต่อเนื่อง ใช้ได้ทั่วประเทศ อยู่ระหว่างการประเมินผล 2.พัฒนาระบบบริการสุขภาพเชื่อมโยงจากสถานพยาบาลสู่ชุมชน เช่น การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม การดูแลผู้สูงอายุติดเตียงที่บ้าน และ 3.ส่งเสริมให้ชุมชน ท้องถิ่นมีระบบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การสร้างตำบล/อำเภอสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว
วันนี้ (19 มี.ค.) ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดประชุม เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ จัดโดยสมาคมแม่บ้านสาธารณสุข ว่า ไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยขณะนี้มีประชากรทั้งหมด 64.5 ล้านคน จำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 9.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 14.5 ของประชากร เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 5 แสนคน คาดว่าภายในปี 2568 ไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) จำนวนผู้สูงอายุจะมีประมาณ 14.4 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด คือจะมีผู้สูงอายุ 1 คน ในประชากรทุก 5 คน
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ผลการศึกษาปัญหาการเจ็บป่วยจากการตรวจร่างกายของผู้สูงอายุไทยล่าสุดในปี 2552 โดยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ปรากฏว่ามีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 85 หรือจำนวนประมาณ 6 ล้านคน ที่สามารถดูแลตนเองได้ และมีผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง ติดบ้าน ต้องพึ่งพิงคนอื่นช่วยดูแลกว่า 1 ล้านคนคิดเป็นเกือบร้อยละ 15 หรือประมาณ 960,000 คน ที่ช่วยเหลือตนเองได้บางส่วน ส่วนอีกประมาณ 63,000 คน ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย โรคเรื้อรัง 5 อันดับที่พบมากในผู้สูงอายุคือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วนลงพุง และโรคข้อเสื่อม นอกจากนี้พบว่า มีผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 70 ที่สายตาไม่ดี มองเห็นไม่ชัดเจน และเกือบครึ่งหนึ่ง มีปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร เนื่องจากเหลือฟันแท้ในปากไม่ถึง 20 ซี่ สร้าง และที่น่าเป็นห่วงพบว่าแนวโน้มผู้สูงอายุอยู่คนเดียวหรืออยู่ลำพังเพิ่มมากขึ้น 2 เท่าตัว จากร้อยละ 3.6 ในปี 2537 เป็นร้อยละ 7.6 ในปี 2550 จึงต้องเร่งพัฒนาระบบการดูแลที่เหมาะสมทั้งการดูแลในโรงพยาบาล การดูแลในชุมชน การดูแลที่บ้าน การชะลอความเสื่อมร่างกาย โดยเฉพาะเรื่องการดูแลรักษาฟื้นฟูผู้สูงอายุนั้น มีความแตกต่างจากประชาชนทั่วไป ทั้งลักษณะอาการป่วย การตรวจวินิจฉัยโรค เพราะร่างกายอยู่ในวัยเสื่อม เสี่ยงบาดเจ็บ พิการ อาจเสียชีวิตได้ง่ายกว่าวัยอื่น
ทั้งนี้ ในปี 2557 สธ.ได้จัดสรรงบประมาณ 39 ล้านบาท พัฒนาระบบการดูแล 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1.การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เช่นโรคซึมเศร้า โดยเน้นที่ระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกว่า 8,000 แห่งร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยพัฒนาบุคลากรดูแลผู้สูงอายุ พัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุในหมู่บ้านชุมชน ประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน เพื่อดูแลที่เหมาะสม โดยขณะนี้ สธ.ได้พัฒนาสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุคล้ายคู่มือการดูแลเด็กแรกเกิด เพื่อดูแลอย่างต่อเนื่อง ใช้ได้ทั่วประเทศ อยู่ระหว่างการประเมินผล 2.พัฒนาระบบบริการสุขภาพเชื่อมโยงจากสถานพยาบาลสู่ชุมชน เช่น การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม การดูแลผู้สูงอายุติดเตียงที่บ้าน และ 3.ส่งเสริมให้ชุมชน ท้องถิ่นมีระบบการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การสร้างตำบล/อำเภอสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว