วธ. ฟันร้านเกม/อินเทอร์เน็ต/คาราโอเกะ 3 แห่ง หลังพบพัวพันยาเสพติด ระบุพบการกระทำผิด แต่ให้คำแนะนำแล้วกว่า 2.1 หมื่นแห่ง ใช้มิติวัฒนธรรมป้องกันเด็ก เผยมี 18 จังหวัดเข้าร่วมแล้ว
วันนี้ (22 เม.ย.) นายปรีชา กันธิยะ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า จากการร่วมมือระหว่างสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม วธ. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ควบคุมปัญหายาเสพติดซึ่งกำลังเป็นปัญหาบ่อนทำลายสังคมไทยในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยใช้มิติทางศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันแก้ไขนั้น ในปี 2556 มี 18 จังหวัดที่เข้าร่วม ได้แก่ 1. โครงการพี่ได้ให้ น้องได้ยิ้ม ถวายพ่อของแผ่นดิน จ.กระบี่ 2. สื่อพื้นบ้านลิเกรณรงค์ปัญหายาเสพติดและการประกวดเรียงความ หัวข้อ “เราจะมีวิธีการปฏิเสธอย่างไร เมื่อถูกชักชวนให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด” จ.กำแพงเพชร 3. โครงการร้านเกมสีขาวเพื่อเยาวชนและโครงการละครต่อต้านยาเสพติด จ.นครปฐม 4. โครงการอัศวินไทย ขจัดภัยยาเสพติด จ.นครศรีธรรมราช 5. โครงการลานธรรมวิถีไทยและโครงการคลินิกคุณธรรม จ.นนทบุรี 6. โครงการเยาวชนคนรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติด จ.น่าน
นายปรีชา กล่าวอีกว่า 7. โครงการถนนคนเดิน ชุมชนปทุมสัมพันธ์ จ.ปทุมธานี 8. โครงการสานวัฒนธรรมเพื่อเยาวชนและโครงการต้นกล้าวัฒนธรรม ยุวดีเจ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 9. โครงการรู้ต้นทุนชีวิตอย่างสร้างสรรค์ รู้เท่าทันยาเสพติด จ.ปราจีนบุรี 10. โครงการลานศิลปะเด็กและเยาวชน จ.พะเยา 11. โครงการแฟชั่นใหม่ เด็กไทยห่างไกลยาเสพติด จ.มุกดาหาร 12. โครงการค่ายเยาวชนของพ่อพอเพียง จ.แม่ฮ่องสอน 13. โครงการลานวัฒนธรรม ลานปัญญา ลานใจสู่ภัยยาเสพติด จ.ระนอง 14. โครงการวาดภาพพุทธประวัติและหนังสือสั้นเพื่อเยาวชน จ.ราชบุรี 15. โครงการประชาธิปไตยใส่ใจคุณธรรม นำชีวิตพิชิตยาเสพติด จ.เลย 16. โครงการเยาวชนไทยหัวใจสีขาว ร่วมต่อต้านยาเสพติดในมิติวัฒนธรรม จ.สงขลา 17. โครงการค่ายเยาวชนคนสระแก้ว รู้เท่าทันสื่อ มีความรู้คู่คุณธรรม ไม่พึ่งยาเสพติด จ.สระแก้ว และ 18.โครงการลานสายใยในครอบครัว ล้อมรั้วค่ายวัฒนธรรม จ.สุพรรณบุรี
นายปรีชา กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์ปัญหายาเสพติดของเด็กและเยาวชนทั้งในและนอกสถานศึกษา เพื่อเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด พร้อมตรวจเยี่ยม กำกับควบคุมร้านเกมอินเทอร์เน็ตและคาราโอเกะให้ปลอดยาเสพติด ซึ่งจากการตรวจเยี่ยมร้านเกม/อินเทอร์เน็ต จำนวน 43,983 แห่ง และร้านคาราโอเกะ 14,159 แห่ง พบว่า มีการตรวจสอบร้านก่อนออกใบอนุญาต 11,052 ครั้ง และหลังออกใบอนุญาต 16,132 ครั้ง แต่ยังมีผู้ประกอบการกระทำความผิด และได้ให้คำแนะนำให้มีการประกอบการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 21,620 แห่ง มีการตักเตือนภาคทัณฑ์ 1,359 แห่ง สั่งพักใช้ใบอนุญาต 1,114 แห่ง สั่งเพิกถอนใบอนุญาต 8 แห่ง สั่งปรับ 9 แห่ง ดำเนินคดีอาญา 82 แห่ง และดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 3 แห่ง
“เป้าหมายของการดำเนินงานสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในมิติวัฒนธรรม คือ เด็กและเยาวชน รวมทั้งเครือข่ายทางวัฒนธรรมและทุกคนในสังคม มีภูมิคุ้มกันปัญหายาเสพติด รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่ ห่างไกลแหล่งอบายมุข และร่วมเป็นพลังในการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการสร้างจิตสำนึกและตระหนักถึงปัญหายาเสพติด ผ่านกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมต่างๆ” ปลัด วธ. กล่าว
วันนี้ (22 เม.ย.) นายปรีชา กันธิยะ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า จากการร่วมมือระหว่างสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม วธ. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ควบคุมปัญหายาเสพติดซึ่งกำลังเป็นปัญหาบ่อนทำลายสังคมไทยในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยใช้มิติทางศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันแก้ไขนั้น ในปี 2556 มี 18 จังหวัดที่เข้าร่วม ได้แก่ 1. โครงการพี่ได้ให้ น้องได้ยิ้ม ถวายพ่อของแผ่นดิน จ.กระบี่ 2. สื่อพื้นบ้านลิเกรณรงค์ปัญหายาเสพติดและการประกวดเรียงความ หัวข้อ “เราจะมีวิธีการปฏิเสธอย่างไร เมื่อถูกชักชวนให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด” จ.กำแพงเพชร 3. โครงการร้านเกมสีขาวเพื่อเยาวชนและโครงการละครต่อต้านยาเสพติด จ.นครปฐม 4. โครงการอัศวินไทย ขจัดภัยยาเสพติด จ.นครศรีธรรมราช 5. โครงการลานธรรมวิถีไทยและโครงการคลินิกคุณธรรม จ.นนทบุรี 6. โครงการเยาวชนคนรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติด จ.น่าน
นายปรีชา กล่าวอีกว่า 7. โครงการถนนคนเดิน ชุมชนปทุมสัมพันธ์ จ.ปทุมธานี 8. โครงการสานวัฒนธรรมเพื่อเยาวชนและโครงการต้นกล้าวัฒนธรรม ยุวดีเจ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 9. โครงการรู้ต้นทุนชีวิตอย่างสร้างสรรค์ รู้เท่าทันยาเสพติด จ.ปราจีนบุรี 10. โครงการลานศิลปะเด็กและเยาวชน จ.พะเยา 11. โครงการแฟชั่นใหม่ เด็กไทยห่างไกลยาเสพติด จ.มุกดาหาร 12. โครงการค่ายเยาวชนของพ่อพอเพียง จ.แม่ฮ่องสอน 13. โครงการลานวัฒนธรรม ลานปัญญา ลานใจสู่ภัยยาเสพติด จ.ระนอง 14. โครงการวาดภาพพุทธประวัติและหนังสือสั้นเพื่อเยาวชน จ.ราชบุรี 15. โครงการประชาธิปไตยใส่ใจคุณธรรม นำชีวิตพิชิตยาเสพติด จ.เลย 16. โครงการเยาวชนไทยหัวใจสีขาว ร่วมต่อต้านยาเสพติดในมิติวัฒนธรรม จ.สงขลา 17. โครงการค่ายเยาวชนคนสระแก้ว รู้เท่าทันสื่อ มีความรู้คู่คุณธรรม ไม่พึ่งยาเสพติด จ.สระแก้ว และ 18.โครงการลานสายใยในครอบครัว ล้อมรั้วค่ายวัฒนธรรม จ.สุพรรณบุรี
นายปรีชา กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์ปัญหายาเสพติดของเด็กและเยาวชนทั้งในและนอกสถานศึกษา เพื่อเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด พร้อมตรวจเยี่ยม กำกับควบคุมร้านเกมอินเทอร์เน็ตและคาราโอเกะให้ปลอดยาเสพติด ซึ่งจากการตรวจเยี่ยมร้านเกม/อินเทอร์เน็ต จำนวน 43,983 แห่ง และร้านคาราโอเกะ 14,159 แห่ง พบว่า มีการตรวจสอบร้านก่อนออกใบอนุญาต 11,052 ครั้ง และหลังออกใบอนุญาต 16,132 ครั้ง แต่ยังมีผู้ประกอบการกระทำความผิด และได้ให้คำแนะนำให้มีการประกอบการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 21,620 แห่ง มีการตักเตือนภาคทัณฑ์ 1,359 แห่ง สั่งพักใช้ใบอนุญาต 1,114 แห่ง สั่งเพิกถอนใบอนุญาต 8 แห่ง สั่งปรับ 9 แห่ง ดำเนินคดีอาญา 82 แห่ง และดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 3 แห่ง
“เป้าหมายของการดำเนินงานสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในมิติวัฒนธรรม คือ เด็กและเยาวชน รวมทั้งเครือข่ายทางวัฒนธรรมและทุกคนในสังคม มีภูมิคุ้มกันปัญหายาเสพติด รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่ ห่างไกลแหล่งอบายมุข และร่วมเป็นพลังในการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการสร้างจิตสำนึกและตระหนักถึงปัญหายาเสพติด ผ่านกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมต่างๆ” ปลัด วธ. กล่าว