สมเด็จพระเทพฯ ทรงแนะ สพฐ. ปรับรูปแบบการสอน ร.ร.การศึกษาพิเศษให้เด็กที่พิการด้านอื่นๆ และเด็กปกติเรียนร่วม “อภิชาติ” เผยเตรียมนำร่อง 10% ของ ร.ร.ด้านความพิการในปีการศึกษา 57
นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสที่ทรงพระราชทานเลี้ยงหลังวันคล้ายวันพระราชสมภพ ทรงมีพระราชดำรัสเรื่องเด็กพิเศษที่มีความบกพร่องทางกาย สติปัญญา และเด็กที่มีปัญหาทางครอบครัวว่านับวันจะทวีมากขึ้น จึงทรงมีความคิดที่จะให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปรับโรงเรียนการศึกษาพิเศษที่ปัจจุบันเป็นโรงเรียนเฉพาะความพิการ เนื่องจากพระองค์สันนิษฐานว่าแนวโน้มนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน พิการทางสายตามีจำนวนลดลง เพราะสภาพการอนามัยของแม่และเด็กดีขึ้น และจากผลวิจัยพบว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเมื่อไปเรียนร่วมกับเด็กปกติแล้วจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมากเกินกว่าการเรียนเฉพาะทางเพียงอย่างเดียว
ทั้งนี้ เพื่อสนองพระราชดำรัส สพฐ. จะปรับเปลี่ยนโรงเรียนเฉพาะความพิการให้สอนควบกันระหว่างโรงเรียนเรียนปกติ หรือความหลากหลายความพิการปีละประมาณ 10% โดยจะเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 นี้เป็นต้นไป ซึ่งจะต้องใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไปจะไม่ทำพร้อมกันทั้งหมดทั่วประเทศ เนื่องจากอาจจะทำให้ได้รับงบประมาณไม่ทั่วถึง และหากไม่มีความพร้อมด้านครูและผู้บริหารอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ แต่หากเริ่มในจำนวนที่น้อย และเมื่อได้ผลดีจึงค่อยเพิ่มจำนวนจะดีกว่า ทั้งนี้ในปัจจุบันโรงเรียนเฉพาะความพิการบางแห่งมีจำนวนนักเรียนที่ลดลงเช่น โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ กรุงเทพมหานครที่เคยรับเด็กเฉพาะเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน ปีละกว่า 400 คน แต่ปัจจุบันมีนักเรียนเข้าเรียนเพียง 100 กว่าคน ดังนั้นจึงต้องให้โรงเรียนปรับเปลี่ยนรับเด็กปกติและความพิการด้านอื่นเข้ามาเรียนร่วม
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า ขณะนี้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษได้เริ่มปรับให้มีการรับเด็กพิการด้านอื่นเข้ามาเรียนร่วมในโรงเรียนเฉพาะความพิการบ้างแล้ว แต่มีปัญหาว่าครูที่สอนในโรงเรียนเฉพาะความพิการสอนได้เฉพาะความพิการเพียงด้านเดียว ดังนั้นอาจจะต้องให้ครูที่สอนความบกพร่องด้านอื่นๆ เข้ามาสอนในโรงเรียนเฉพาะความพิการเพิ่มขึ้นหรืออาจใช้วิธีอบรมครูในโรงเรียนเฉพาะความพิการให้สามารถสอนเด็กที่มีความพิการด้านอื่นได้ด้วย ซึ่งจะทำให้สามารถแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนครูผู้สอนได้ นอกจากนี้จะใช้อัตราว่างของแต่ละโรงเรียนที่มีอยู่ย้ายครูที่สามารถสอนได้เข้ามาในโรงเรียนกลุ่มนี้อีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน สพฐ. มีนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มการศึกษาพิเศษ เช่น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนเฉพาะความพิการ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ รวมกันประมาณ 100,000 กว่าคน
นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสที่ทรงพระราชทานเลี้ยงหลังวันคล้ายวันพระราชสมภพ ทรงมีพระราชดำรัสเรื่องเด็กพิเศษที่มีความบกพร่องทางกาย สติปัญญา และเด็กที่มีปัญหาทางครอบครัวว่านับวันจะทวีมากขึ้น จึงทรงมีความคิดที่จะให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปรับโรงเรียนการศึกษาพิเศษที่ปัจจุบันเป็นโรงเรียนเฉพาะความพิการ เนื่องจากพระองค์สันนิษฐานว่าแนวโน้มนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน พิการทางสายตามีจำนวนลดลง เพราะสภาพการอนามัยของแม่และเด็กดีขึ้น และจากผลวิจัยพบว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเมื่อไปเรียนร่วมกับเด็กปกติแล้วจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมากเกินกว่าการเรียนเฉพาะทางเพียงอย่างเดียว
ทั้งนี้ เพื่อสนองพระราชดำรัส สพฐ. จะปรับเปลี่ยนโรงเรียนเฉพาะความพิการให้สอนควบกันระหว่างโรงเรียนเรียนปกติ หรือความหลากหลายความพิการปีละประมาณ 10% โดยจะเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 นี้เป็นต้นไป ซึ่งจะต้องใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไปจะไม่ทำพร้อมกันทั้งหมดทั่วประเทศ เนื่องจากอาจจะทำให้ได้รับงบประมาณไม่ทั่วถึง และหากไม่มีความพร้อมด้านครูและผู้บริหารอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ แต่หากเริ่มในจำนวนที่น้อย และเมื่อได้ผลดีจึงค่อยเพิ่มจำนวนจะดีกว่า ทั้งนี้ในปัจจุบันโรงเรียนเฉพาะความพิการบางแห่งมีจำนวนนักเรียนที่ลดลงเช่น โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ กรุงเทพมหานครที่เคยรับเด็กเฉพาะเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน ปีละกว่า 400 คน แต่ปัจจุบันมีนักเรียนเข้าเรียนเพียง 100 กว่าคน ดังนั้นจึงต้องให้โรงเรียนปรับเปลี่ยนรับเด็กปกติและความพิการด้านอื่นเข้ามาเรียนร่วม
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า ขณะนี้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษได้เริ่มปรับให้มีการรับเด็กพิการด้านอื่นเข้ามาเรียนร่วมในโรงเรียนเฉพาะความพิการบ้างแล้ว แต่มีปัญหาว่าครูที่สอนในโรงเรียนเฉพาะความพิการสอนได้เฉพาะความพิการเพียงด้านเดียว ดังนั้นอาจจะต้องให้ครูที่สอนความบกพร่องด้านอื่นๆ เข้ามาสอนในโรงเรียนเฉพาะความพิการเพิ่มขึ้นหรืออาจใช้วิธีอบรมครูในโรงเรียนเฉพาะความพิการให้สามารถสอนเด็กที่มีความพิการด้านอื่นได้ด้วย ซึ่งจะทำให้สามารถแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนครูผู้สอนได้ นอกจากนี้จะใช้อัตราว่างของแต่ละโรงเรียนที่มีอยู่ย้ายครูที่สามารถสอนได้เข้ามาในโรงเรียนกลุ่มนี้อีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน สพฐ. มีนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มการศึกษาพิเศษ เช่น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนเฉพาะความพิการ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ รวมกันประมาณ 100,000 กว่าคน