เครือข่ายลดอุบัติเหตุ เตือน! “ง่วงไม่ขับ” เผยข้อมูลขับรถความเร็ว 100 กม./ชม. วูบหลับเพียง 3 นาทีรถไถลถึง 84 ม. แนะผู้ใช้รถใช้ถนนเตรียมร่างกายพร้อมก่อนเดินทางกลับหลังฉลองสงกรานต์ หากง่วงควรแวะปั๊ม - จุดพักบริการ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ควรทานยาแก้แพ้ หรือยาลดน้ำมูกที่มีฤทธิ์กดประสาท
นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) และประธานศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อความปลอดภัย (ศสป.) เพื่อการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2557 กล่าวว่า ในช่วงวันที่ 15-16 เมษายน 2557 นี้ ประชาชนบางส่วนได้เริ่มทยอยเดินทางกันกลับ เพื่อเริ่มงานตามปกติในวันที่ 17 เมษายน ส่งผลให้ปริมาณรถบนถนนเกือบทุกสายติดขัดในหลายเส้นทาง และผู้ที่ต้องเดินทางในเส้นทางตรงที่มีระยะทางไกลหลายกิโลเมตร อาจทำให้คนขับเกิดความอ่อนล้าและง่วงได้ ต้องระวังการ “หลับใน” โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่มีคนขับรถคนเดียวต้องเพิ่มความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ ขณะเดียวกันข้อมูลศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2557 ได้รายงานสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางถนที่มาจากการหลับในตั้งแต่วันที่ 11-14 เม.ย. 57 พบมีผู้เสียชีวิตจากการหลับใน 16 ครั้ง บาดเจ็บ 50 ครั้ง ซึ่งความง่วงถือเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ไม่ควรประมาทเพราะสามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรงได้
นายพรหมมินทร์ กล่าวอีกว่า ความเสี่ยงสำคัญของการวูบหลับใน คือ ความอ่อนล้า ดื่มแล้วขับ โดยส่วนใหญ่เกิดบนถนนสายหลัก โดยข้อมูลพบว่าการขับรถด้วยความเร็ว 100 กม./ชม. แล้ววูบหลับไปเพียง 3 วินาที รถจะไถลไปไกลถึง 84 เมตร ซึ่งส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ ทั้งนี้ การหลับในสังเกตได้ตัวเอง ดังนี้ 1. หาวนอนไม่หยุด 2. ลืมตาไม่ขึ้น 3. บังคับรถให้อยู่ในเลนไม่ได้ 4. จิตใจล่องลอยไม่มีสมาธิ 5. จำไม่ได้ว่าขับผ่านอะไรมา ทั้งหมดนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าอาการหลับในกำลังจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ การป้องกันความอ่อนล้าทำได้ คือ การเตรียมร่างกายให้พร้อม ผู้ขับขี่ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน คือ ควรงดเว้นการดื่มเครื่องที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หรือทานยาที่มีฤทธิ์กดประสาท จำพวกยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการขับรถลดน้อยลง และควรมีคนขับสำรองหากต้องเดินทางไกล หรือ ถ้าเกิดความเหนื่อยล้า ขอให้พักรถตามจุดแวะพักค้าง จุดตรวจเส้นทางหลักทุกสาย ซึ่งจะมีบริการน้ำดื่ม ผ้าเย็น จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากการหลับในได้
หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลในการเดินทาง สามารถติดต่อหมายเลขสายด่วนได้ดังนี้ คือ 1356 ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม, 1146 สอบถามเส้นทางกรมทางหลวงชนบท, 1669 การแพทย์ฉุกเฉิน, 1584 ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ กรมขนส่งทางบก
นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) และประธานศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อความปลอดภัย (ศสป.) เพื่อการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2557 กล่าวว่า ในช่วงวันที่ 15-16 เมษายน 2557 นี้ ประชาชนบางส่วนได้เริ่มทยอยเดินทางกันกลับ เพื่อเริ่มงานตามปกติในวันที่ 17 เมษายน ส่งผลให้ปริมาณรถบนถนนเกือบทุกสายติดขัดในหลายเส้นทาง และผู้ที่ต้องเดินทางในเส้นทางตรงที่มีระยะทางไกลหลายกิโลเมตร อาจทำให้คนขับเกิดความอ่อนล้าและง่วงได้ ต้องระวังการ “หลับใน” โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่มีคนขับรถคนเดียวต้องเพิ่มความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ ขณะเดียวกันข้อมูลศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2557 ได้รายงานสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางถนที่มาจากการหลับในตั้งแต่วันที่ 11-14 เม.ย. 57 พบมีผู้เสียชีวิตจากการหลับใน 16 ครั้ง บาดเจ็บ 50 ครั้ง ซึ่งความง่วงถือเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ไม่ควรประมาทเพราะสามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรงได้
นายพรหมมินทร์ กล่าวอีกว่า ความเสี่ยงสำคัญของการวูบหลับใน คือ ความอ่อนล้า ดื่มแล้วขับ โดยส่วนใหญ่เกิดบนถนนสายหลัก โดยข้อมูลพบว่าการขับรถด้วยความเร็ว 100 กม./ชม. แล้ววูบหลับไปเพียง 3 วินาที รถจะไถลไปไกลถึง 84 เมตร ซึ่งส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ ทั้งนี้ การหลับในสังเกตได้ตัวเอง ดังนี้ 1. หาวนอนไม่หยุด 2. ลืมตาไม่ขึ้น 3. บังคับรถให้อยู่ในเลนไม่ได้ 4. จิตใจล่องลอยไม่มีสมาธิ 5. จำไม่ได้ว่าขับผ่านอะไรมา ทั้งหมดนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าอาการหลับในกำลังจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ การป้องกันความอ่อนล้าทำได้ คือ การเตรียมร่างกายให้พร้อม ผู้ขับขี่ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน คือ ควรงดเว้นการดื่มเครื่องที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หรือทานยาที่มีฤทธิ์กดประสาท จำพวกยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการขับรถลดน้อยลง และควรมีคนขับสำรองหากต้องเดินทางไกล หรือ ถ้าเกิดความเหนื่อยล้า ขอให้พักรถตามจุดแวะพักค้าง จุดตรวจเส้นทางหลักทุกสาย ซึ่งจะมีบริการน้ำดื่ม ผ้าเย็น จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากการหลับในได้
หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลในการเดินทาง สามารถติดต่อหมายเลขสายด่วนได้ดังนี้ คือ 1356 ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม, 1146 สอบถามเส้นทางกรมทางหลวงชนบท, 1669 การแพทย์ฉุกเฉิน, 1584 ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ กรมขนส่งทางบก