เด็กๆ เรียนรู้ภาษาจากการฟังคุณพ่อ คุณแม่พูด และในทางเดียวกันเด็กๆ จะแสดงพฤติกรรมต่างๆ จากการเห็นและประพฤติตามอย่างคุณพ่อคุณแม่ คุณพ่อคุณแม่เป็นเหมือนกระจกเงาของลูก หากลูกเห็นคุณพ่อคุณแม่ออกกำลังกายทุกวันเด็กๆ จะเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายและปฏิบัติตาม

ในทางกลับกันหากทุกวันคุณพ่อ คุณแม่กลับมาบ้านและเปิดทีวีดูเป็นอันดับแรก เด็กๆ ก็จะเห็นว่าทีวีเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และสิ่งที่เด็กๆ จะทำสิ่งแรกหลังจากการกลับจากโรงเรียนคือเปิดทีวีดูเช่นเดียวกัน ดังนั้นในฐานะที่เป็นคุณพ่อคุณแม่เราต้องเป็นแบบอย่างให้ลูก สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำต่อหน้าลูกมีดังนี้
1. พูดโกหกต่อหน้าลูก ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อถูกตำรวจจับเรื่องความเร็ว คุณพ้อบอกว่าต้องรีบพาลูกไปโรงพยาบาลเพราะลูกไม่สบาย ทั้งๆที่ลูกสบายดี หรือเมื่อไปทานบุฟเฟต์ที่โรงแรมบอกว่าลูกอายุไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียสตางค์เพิ่ม ทั้งๆ ที่ลูกอายุเกินแล้ว เป็นต้น การพูดไม่จริงต่อหน้าลูกเพื่อหลีกเลี่ยงหรือหาผลประโยชน์เข้าหาตนเอง เป็นสิ่งที่ทำให้ลูกเห็นว่า การเอาเปรียบผู้อื่น หากจับไม่ได้เป็นที่ยอมรับได้และสิ่งเหล่านี้จะติดตัวเด็กๆ ไปจนถึงเมื่อเป็นผู้ใหญ่
2. พูดหยาบคายต่อหน้าลูก เมื่อขับรถและมีรถคันอื่นขับตัดหน้า คุณพ่อคุณแม่อาจเผลอตัวกล่าวคำสบถ หรือพูดหยาบคายออกไปโดยไม่ได้ตั้งใจ คำที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้ แม้จะเป็นคำสั้นๆ แต่หูเล็กๆ ของเด็กๆ จะจดจำและนึกสนุกอยากพูดบ้าง ยิ่งหากเป็นเด็กในวัยที่กำลังเริ่มพูดแล้ว จะพูดคำที่ไม่สุภาพเหล่านั้นออกมาได้ง่ายๆ ทีเดียว
3. สูบบุหรี่ บุหรี่ถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นอันตรายทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น ยิ่งถ้าเป็นเด็กๆ ด้วยแล้วควันจากบุหรี่จะเข้าไปสู่ปอดของเด็กๆ ได้โดยง่าย เราคงไม่อยากให้ลูกหรือคนรอบข้างที่เรารักได้รับผลกระทบจากบุหรี่เป็นแน่ ทั้งโรคภูมิแพ้ โรคปอด โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ หรือโรคมะเร็ง เป็นต้น
4. เรื่องนี้เป็นความลับระหว่างเราสองคน ลูกต้องไม่บอกคุณแม่ (หรือคุณพ่อ) นะ พ่อจะให้ลูกทานขนมกรุบกรอบแต่เป็นความลับระหว่างเราสองคน แม้ว่าดูเป็นเรื่องเล็กดูไม่สำคัญและทำเพื่อให้ลูกรู้สึกว่าลูกเป็นคนโปรด แต่ลูกจะเรียนรู้ว่าการโกหก หรือการมีความลับกับคุณแม่ (หรือคุณพ่อ) เป็นสิ่งปกติและทำได้ และทำให้ลูกลดอำนาจและบทบาทของคุณแม่ลง ทำให้คุณแม่ (หรือคุณพ่อ) มีความยากลำบากในการลงวินัยหรือสั่งสอนลูก
5. พูดล้อเลียนลูก การพูดจาล้อเลียนหรือเสียดสีต่อหน้าลูก ทำให้ลูกเข้าใจผิด เช่น ระวังอย่าเผลอไปกินมดเข้านะลูก เพราะกินมดตัวหนึ่งทำให้โง่ไป 7 วัน เป็นต้น ลูกยังเด็กและจะฝังความทรงจำเหล่านี้เข้าไปในสมอง และจะทำให้ลูกหลงเชื่อในเรื่องงมงาย
6. ล้อเลียนคนอื่นต่อหน้าลูก เช่นดูซิคนนั้นเป็นคนชาวเขา พูดภาษาไทยไม่ชัด พูดคำว่าแครอทไม่ได้ หรือเห็นคนพิการก็ทำท่าล้อเลียนเป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะสร้างคุณค่าให้เด็กเห็นว่าการดูถูกคนที่ด้อยโอกาสเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ และจะนำไปสู่การสร้างเด็กให้เป็นคนที่ไม่เห็นคุณค่าของทั้งตัวเองและคนอื่นโดยไม่รู้ตัว
7. หัวเราะเยาะคุณครูของลูกหรือเพื่อนของลูกที่โรงเรียน เราคงจำได้ถึงคุณครูที่เราชอบล้อเลียนลับหลัง การกระทำเหล่านี้ทำให้ลูกไม่รู้จักการให้เกียรติผู้อื่น
8. ใช้เวลามากเกินไปกับ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์หรือสื่อเทคโนโลยี ต่างๆ หากเราเห็นลูกเล่นแทปเล็ต ตั้งแต่ 6 ขวบ และติดสื่อเทคโนโลยีเหล่านี้ ให้เรารีบให้ความช่วยเหลือลูกทันที หากเราต้องการให้ลูกติดนิสัยรักการอ่าน เราต้องให้หนังสือแก่ลูก หากเราต้องการให้ลูกฝึกกล้ามเนื้อ มือและตา เราต้องให้ลูกหัดปั้นแป้ง ทำงานศิลปะ เล่นไม้บล็อก คุณพ่อคุณแม่ควรเล่นกับลูกและใช้เวลาให้เป็นประโยชน์กับลูกมากที่สุด
9. ลงอารมณ์กับลูก สิ่งนี้หมายความถึงการแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมกับคุณพ่อ คุณแม่ คุณตา คุณยาย หรือญาติผู้ใหญ่ด้วย เด็กๆมักจะคิดว่าเวลามีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้น เป็นเพราะความผิดของพวกเขา ในบางครั้งเราอาจเผลอตัว เช่น ขณะที่เรากำลังดูการแข่งขันกีฬาและทีมที่เรากำลังเชียร์อยู่แพ้ เราจึงกล่าวคำหยาบคายออกไป เด็กๆ จะคิดว่าเป็นความผิดของเขาที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่กล่าวเช่นนั้น
10. ทะเลาะกันต่อหน้าลูก ครอบครัวควรรักและให้อภัยกันและกัน การทะเลาะกันต่อหน้าลูกทำให้ลูกสับสนและไม่รู้ว่าจะเข้าข้างใคร เป็นการสร้างบาดแผลให้เกิดขึ้นในใจเด็กด้วย เพราะเด็กต้องการเห็นคุณพ่อคุณแม่รักกัน
10 ข้อเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำกับลูก หากเราเคยกระทำข้อใดข้อหนึ่ง วันนี้ยังไม่สายเกินไปที่จะเริ่มต้นใหม่ จำไว้ว่าการเป็นพ่อแม่ที่ดีคือการเป็นตัวอย่างที่ดีกับลูก อย่าลืมว่ามีสายตาเล็กๆ ที่กำลังจ้องมองเราอยู่เสมอ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวค่ะ
ในทางกลับกันหากทุกวันคุณพ่อ คุณแม่กลับมาบ้านและเปิดทีวีดูเป็นอันดับแรก เด็กๆ ก็จะเห็นว่าทีวีเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และสิ่งที่เด็กๆ จะทำสิ่งแรกหลังจากการกลับจากโรงเรียนคือเปิดทีวีดูเช่นเดียวกัน ดังนั้นในฐานะที่เป็นคุณพ่อคุณแม่เราต้องเป็นแบบอย่างให้ลูก สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำต่อหน้าลูกมีดังนี้
1. พูดโกหกต่อหน้าลูก ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อถูกตำรวจจับเรื่องความเร็ว คุณพ้อบอกว่าต้องรีบพาลูกไปโรงพยาบาลเพราะลูกไม่สบาย ทั้งๆที่ลูกสบายดี หรือเมื่อไปทานบุฟเฟต์ที่โรงแรมบอกว่าลูกอายุไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียสตางค์เพิ่ม ทั้งๆ ที่ลูกอายุเกินแล้ว เป็นต้น การพูดไม่จริงต่อหน้าลูกเพื่อหลีกเลี่ยงหรือหาผลประโยชน์เข้าหาตนเอง เป็นสิ่งที่ทำให้ลูกเห็นว่า การเอาเปรียบผู้อื่น หากจับไม่ได้เป็นที่ยอมรับได้และสิ่งเหล่านี้จะติดตัวเด็กๆ ไปจนถึงเมื่อเป็นผู้ใหญ่
2. พูดหยาบคายต่อหน้าลูก เมื่อขับรถและมีรถคันอื่นขับตัดหน้า คุณพ่อคุณแม่อาจเผลอตัวกล่าวคำสบถ หรือพูดหยาบคายออกไปโดยไม่ได้ตั้งใจ คำที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้ แม้จะเป็นคำสั้นๆ แต่หูเล็กๆ ของเด็กๆ จะจดจำและนึกสนุกอยากพูดบ้าง ยิ่งหากเป็นเด็กในวัยที่กำลังเริ่มพูดแล้ว จะพูดคำที่ไม่สุภาพเหล่านั้นออกมาได้ง่ายๆ ทีเดียว
3. สูบบุหรี่ บุหรี่ถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นอันตรายทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น ยิ่งถ้าเป็นเด็กๆ ด้วยแล้วควันจากบุหรี่จะเข้าไปสู่ปอดของเด็กๆ ได้โดยง่าย เราคงไม่อยากให้ลูกหรือคนรอบข้างที่เรารักได้รับผลกระทบจากบุหรี่เป็นแน่ ทั้งโรคภูมิแพ้ โรคปอด โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ หรือโรคมะเร็ง เป็นต้น
4. เรื่องนี้เป็นความลับระหว่างเราสองคน ลูกต้องไม่บอกคุณแม่ (หรือคุณพ่อ) นะ พ่อจะให้ลูกทานขนมกรุบกรอบแต่เป็นความลับระหว่างเราสองคน แม้ว่าดูเป็นเรื่องเล็กดูไม่สำคัญและทำเพื่อให้ลูกรู้สึกว่าลูกเป็นคนโปรด แต่ลูกจะเรียนรู้ว่าการโกหก หรือการมีความลับกับคุณแม่ (หรือคุณพ่อ) เป็นสิ่งปกติและทำได้ และทำให้ลูกลดอำนาจและบทบาทของคุณแม่ลง ทำให้คุณแม่ (หรือคุณพ่อ) มีความยากลำบากในการลงวินัยหรือสั่งสอนลูก
5. พูดล้อเลียนลูก การพูดจาล้อเลียนหรือเสียดสีต่อหน้าลูก ทำให้ลูกเข้าใจผิด เช่น ระวังอย่าเผลอไปกินมดเข้านะลูก เพราะกินมดตัวหนึ่งทำให้โง่ไป 7 วัน เป็นต้น ลูกยังเด็กและจะฝังความทรงจำเหล่านี้เข้าไปในสมอง และจะทำให้ลูกหลงเชื่อในเรื่องงมงาย
6. ล้อเลียนคนอื่นต่อหน้าลูก เช่นดูซิคนนั้นเป็นคนชาวเขา พูดภาษาไทยไม่ชัด พูดคำว่าแครอทไม่ได้ หรือเห็นคนพิการก็ทำท่าล้อเลียนเป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะสร้างคุณค่าให้เด็กเห็นว่าการดูถูกคนที่ด้อยโอกาสเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ และจะนำไปสู่การสร้างเด็กให้เป็นคนที่ไม่เห็นคุณค่าของทั้งตัวเองและคนอื่นโดยไม่รู้ตัว
7. หัวเราะเยาะคุณครูของลูกหรือเพื่อนของลูกที่โรงเรียน เราคงจำได้ถึงคุณครูที่เราชอบล้อเลียนลับหลัง การกระทำเหล่านี้ทำให้ลูกไม่รู้จักการให้เกียรติผู้อื่น
8. ใช้เวลามากเกินไปกับ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์หรือสื่อเทคโนโลยี ต่างๆ หากเราเห็นลูกเล่นแทปเล็ต ตั้งแต่ 6 ขวบ และติดสื่อเทคโนโลยีเหล่านี้ ให้เรารีบให้ความช่วยเหลือลูกทันที หากเราต้องการให้ลูกติดนิสัยรักการอ่าน เราต้องให้หนังสือแก่ลูก หากเราต้องการให้ลูกฝึกกล้ามเนื้อ มือและตา เราต้องให้ลูกหัดปั้นแป้ง ทำงานศิลปะ เล่นไม้บล็อก คุณพ่อคุณแม่ควรเล่นกับลูกและใช้เวลาให้เป็นประโยชน์กับลูกมากที่สุด
9. ลงอารมณ์กับลูก สิ่งนี้หมายความถึงการแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมกับคุณพ่อ คุณแม่ คุณตา คุณยาย หรือญาติผู้ใหญ่ด้วย เด็กๆมักจะคิดว่าเวลามีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้น เป็นเพราะความผิดของพวกเขา ในบางครั้งเราอาจเผลอตัว เช่น ขณะที่เรากำลังดูการแข่งขันกีฬาและทีมที่เรากำลังเชียร์อยู่แพ้ เราจึงกล่าวคำหยาบคายออกไป เด็กๆ จะคิดว่าเป็นความผิดของเขาที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่กล่าวเช่นนั้น
10. ทะเลาะกันต่อหน้าลูก ครอบครัวควรรักและให้อภัยกันและกัน การทะเลาะกันต่อหน้าลูกทำให้ลูกสับสนและไม่รู้ว่าจะเข้าข้างใคร เป็นการสร้างบาดแผลให้เกิดขึ้นในใจเด็กด้วย เพราะเด็กต้องการเห็นคุณพ่อคุณแม่รักกัน
10 ข้อเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำกับลูก หากเราเคยกระทำข้อใดข้อหนึ่ง วันนี้ยังไม่สายเกินไปที่จะเริ่มต้นใหม่ จำไว้ว่าการเป็นพ่อแม่ที่ดีคือการเป็นตัวอย่างที่ดีกับลูก อย่าลืมว่ามีสายตาเล็กๆ ที่กำลังจ้องมองเราอยู่เสมอ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวค่ะ