สธ.กำชับทุกโรงพยาบาลซ้อมช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย จากโรคประจำตัวกำเริบ และอุบัติเหตุจราจรที่จุดเกิดเหตุ เตรียมพร้อมดูแลทั้งห้องฉุกเฉิน คลังเลือด ห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยหนัก เครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น แพทย์เฉพาะทาง การส่งต่อผู้ป่วย ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนวันที่ 10-17 เมษายน 2557
วันนี้ (2 เม.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลนางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เพื่อติดตามความพร้อมการรับมืออุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ 11-17 เมษายน 2557 ว่า ในช่วง 7 วันเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าจะป้องกันและลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุเหตุจราจร รวมทั้งการเจ็บป่วยฉุกเฉินจากโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคประจำตัวกำเริบ เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น ให้ได้มากที่สุด ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดทุกคนให้บริการประชาชนทุกคนอย่างเต็มกำลังตามจรรยาวิชาชีพ และเน้นความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ในด้านการเตรียมรับมือกับปัญหาการเจ็บป่วยในช่วงเทศกาลสงกรานต์นั้น ได้สั่งการให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่ง จัดเตรียมและซักซ้อมความพร้อม 3 ระบบใหญ่ คือ 1.การดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่จุดเกิดเหตุ โดยจัดเตรียมทีมแพทย์กู้ชีพทุกระดับ รถพยาบาลฉุกเฉินพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ ระบบการสื่อสารรับแจ้งเหตุ หมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง 2.เตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยที่จุดบริการสำคัญคือห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด คลังเลือด หอผู้ป่วยหนัก ทีมแพทย์เฉพาะทาง และ 3.ระบบการส่งต่อผู้เจ็บป่วยที่อาการรุนแรงให้ได้รับความปลอดภัยที่สุด โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่อยู่บนเส้นทางหลวง ซึ่งมีประมาณ 300 แห่ง ขอให้เพิ่มเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากปริมาณการใช้รถใช้ถนนมีมากกว่าช่วงปกติ ให้เริ่มตั้งแต่หลังเที่ยงคืนวันที่ 10-17 เมษายน 2557
ด้าน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ.ในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัย ด้านการแพทย์สาธารณสุข กล่าวว่า จากการตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลนางรอง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนโชคชัย-เดชอุดม เป็นชุมทางที่จะมีรถคับคั่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เนื่องจากเป็นรอยต่อเส้นทางเชื่อมสู่ภาคตะวันออก อีสานเหนือ และไปจังหวัดตามแนวชายแดน คาดว่าจะมีรถเพิ่มจากปกติประมาณ 4 เท่าตัว และที่ผ่านมาเป็นจุดที่เกิดอุบัติเหตุสูงที่สุดในพื้นที่อีสานใต้วันละ 15-20 ราย ส่วนใหญ่เกิดจากรถจักรยานยนต์ และเมาสุรา โดยขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ยกฐานะจากโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ ให้เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 300 เตียง และเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายด้านอุบัติเหตุและบาดเจ็บฉุกเฉินในพื้นที่ 8 อำเภอของจังหวัดบุรีรัมย์และพื้นที่โซนอีสานใต้ ประชากรประมาณ 5 แสนคน มีเครื่องเอกซเรย์สมองด้วยคอมพิวเตอร์ มีแพทย์เฉพาะทางครบทุกสาขา รวม 37 คน สามารถให้การดูแลประชาชนได้อย่างทันท่วงที โดยในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ ได้มอบนโยบายให้โรงพยาบาลนางรองจัดหน่วยสอบสวนเคลื่อนที่เร็วศึกษาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจรทุกราย เพื่อนำผลมาวางแผนแก้ไขการป้องกันร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังต่อไป
วันนี้ (2 เม.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลนางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เพื่อติดตามความพร้อมการรับมืออุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ 11-17 เมษายน 2557 ว่า ในช่วง 7 วันเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าจะป้องกันและลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุเหตุจราจร รวมทั้งการเจ็บป่วยฉุกเฉินจากโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคประจำตัวกำเริบ เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น ให้ได้มากที่สุด ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดทุกคนให้บริการประชาชนทุกคนอย่างเต็มกำลังตามจรรยาวิชาชีพ และเน้นความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ในด้านการเตรียมรับมือกับปัญหาการเจ็บป่วยในช่วงเทศกาลสงกรานต์นั้น ได้สั่งการให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่ง จัดเตรียมและซักซ้อมความพร้อม 3 ระบบใหญ่ คือ 1.การดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่จุดเกิดเหตุ โดยจัดเตรียมทีมแพทย์กู้ชีพทุกระดับ รถพยาบาลฉุกเฉินพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ ระบบการสื่อสารรับแจ้งเหตุ หมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง 2.เตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยที่จุดบริการสำคัญคือห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด คลังเลือด หอผู้ป่วยหนัก ทีมแพทย์เฉพาะทาง และ 3.ระบบการส่งต่อผู้เจ็บป่วยที่อาการรุนแรงให้ได้รับความปลอดภัยที่สุด โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่อยู่บนเส้นทางหลวง ซึ่งมีประมาณ 300 แห่ง ขอให้เพิ่มเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากปริมาณการใช้รถใช้ถนนมีมากกว่าช่วงปกติ ให้เริ่มตั้งแต่หลังเที่ยงคืนวันที่ 10-17 เมษายน 2557
ด้าน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ.ในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัย ด้านการแพทย์สาธารณสุข กล่าวว่า จากการตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลนางรอง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนโชคชัย-เดชอุดม เป็นชุมทางที่จะมีรถคับคั่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เนื่องจากเป็นรอยต่อเส้นทางเชื่อมสู่ภาคตะวันออก อีสานเหนือ และไปจังหวัดตามแนวชายแดน คาดว่าจะมีรถเพิ่มจากปกติประมาณ 4 เท่าตัว และที่ผ่านมาเป็นจุดที่เกิดอุบัติเหตุสูงที่สุดในพื้นที่อีสานใต้วันละ 15-20 ราย ส่วนใหญ่เกิดจากรถจักรยานยนต์ และเมาสุรา โดยขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ยกฐานะจากโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ ให้เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 300 เตียง และเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายด้านอุบัติเหตุและบาดเจ็บฉุกเฉินในพื้นที่ 8 อำเภอของจังหวัดบุรีรัมย์และพื้นที่โซนอีสานใต้ ประชากรประมาณ 5 แสนคน มีเครื่องเอกซเรย์สมองด้วยคอมพิวเตอร์ มีแพทย์เฉพาะทางครบทุกสาขา รวม 37 คน สามารถให้การดูแลประชาชนได้อย่างทันท่วงที โดยในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ ได้มอบนโยบายให้โรงพยาบาลนางรองจัดหน่วยสอบสวนเคลื่อนที่เร็วศึกษาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจรทุกราย เพื่อนำผลมาวางแผนแก้ไขการป้องกันร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังต่อไป