สุดยินดี! รพ.รามาฯเผยอาการ “น้องฟลุ๊ก” เหยื่อบึ้มบิ๊กซี ราชดำริ อาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แพทย์ถอดเครื่องช่วยหายใจออก ตัดไหมผ่าตัดแล้ว สามารถกินและพูดคุยได้ ย้ายออกจาก ไอ.ซี.ยู.ไปวอร์ดเด็กแล้ว ด้าน สธ.สั่งเข้มสถานการณ์ชุมนุมใกล้ชิด พบรถพยาบาลสนามจากสุราษฎร์ฯขนาด 6 เตียง ราคากว่า 10 ล้าน ถึง กทม.แล้ว ประจำการสีลมช่วยดูแลผู้บาดเจ็บจากการชุมนุม
วันนี้ (2 มี.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีการชุมนุมทางการเมือง (ส่วนหน้า) ว่า สถานการณ์ของการชุมนุมทางการเมืองทั้งใน กทม.และต่างจังหวัด ในรอบ 24 ชั่วโมงมานี้ ไม่มีผู้บาดเจ็บเพิ่ม ในการปฏิบัติงานของ สธ.ส่วนของพื้นที่ กทม.ในวันที่ 2 มี.ค.ได้ปรับพื้นที่ดูแลผู้ชุมนุม โดยจัดทีมทั้งหมดดูแล 7 ทีม ประกอบด้วย ทีมจากโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และทีมจากโรงพยาบาลหนองคาย โรงพยาบาลสุรินทร์ ปฏิบัติงานร่วมกับสภากาชาดไทย และ กทม. และสำรองทีมจากโรงพยาบาลในพื้นที่ปริมณฑล พร้อมเสริมการทำงานเพิ่มเติมกรณีฉุกเฉิน สำหรับในส่วนของภูมิภาคที่มีการชุมนุม เช่น ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อุดรธานี นครสวรรค์ และอีกหลายจังหวัด ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปที่อยู่ในสังกัดฯ ให้เตรียมพร้อมทีมแพทย์กู้ชีพ และได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช ผู้อำนวยการศูนย์ส่วนหน้า กล่าวว่า ข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากสถานการณ์ชุมนุมทางการเมือง ในรอบวัน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ถึงเวลา 10.00 น.วันนี้ (2 มี.ค.) ไม่มีผู้บาดเจ็บรายใหม่เพิ่ม ยอดรวมตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.2556 - 2 มี.ค.2557 ผู้บาดเจ็บทั้งประเทศ 768 ราย เสียชีวิต 23 ราย ยังคงนอนพักรักษาตัว 34 ราย โดยในพื้นที่ กทม.มีผู้บาดเจ็บรวม 725 ราย เสียชีวิต 20 ราย ยังคงนอนรักษา 25 ราย สำหรับเด็กที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ระเบิดที่บิ๊กซี ราชดำริ ขณะนี้ยังนอนรักษาตัวที่ รพ.รามาฯ อาการดีขึ้นมาก แผลแห้ง ตัดไหมแล้ว แผลสะเก็ดระเบิดดีขึ้น ส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัด มีบาดเจ็บรวม 43 ราย ในจังหวัดตราด ระยอง และปทุมธานี เสียชีวิต 3 ราย ขณะนี้ยังนอนพักรักษาตัว 9 ราย โดยมี 1 ราย อยู่ที่โรงพยาบาลตราด อาการสาหัส ต้องเฝ้าติดตามใกล้ชิด เป็นหญิงอายุ 52 ปี บาดเจ็บที่ช่องท้อง ทรวงอก และที่ไขสันหลัง แพทย์ตัดไตทิ้ง 1 ข้าง และมีปัญหาเรื่องการหายใจ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ อยู่ในห้องไอซียู ทีมแพทย์ดูแลรักษาเต็มที่
ด้าน รพ.รามาธิบดี เปิดเผยข้อมูลอาการของ ด.ช.โยธิน ชะเอมรัมย์ หรือ น้องฟลุ๊ก ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุขว้างระเบิดที่หน้าบิ๊กซี ราชดำริ นั้น ขณะนี้น้องรู้สึกตัวแล้วมา 4 วัน แพทย์ได้ถอดเครื่องช่วยหายใจออกแล้ว เมื่อวานได้ตัดไหมแผลผ่าตัดแล้ว ให้รอดูอาการสมองบวมเล็กน้อยและรอดูสภาพแผล ตอนนี้มีเข้าเฝือกที่ขา สามารถกินอาหารและพูดคุยได้ โดยได้ย้ายออกจากห้องไอ.ซี.ยู.ไปวอร์ดเด็กทั่วไป โดยรวมอาการดีขึ้นตามลำดับ
ทั้งนี้ แหล่งขาวกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า รถโรงพยาบาลสนามของจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำหรับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ขนาด 6 เตียง พร้อมเครื่องปั่นไฟฟ้าในตัวเอง มีแอร์ ระบบสื่อสาร ระบบออกซิเจน 3 ถัง เครื่องมือแพทย์อุปรณ์สำหรับช่วยชีวิตและดูแลผู้บาดแผล ใช้สำหรับกรณีอุบัติเหตุอุบัติภัยขนาดใหญ่ มูลค่ารถและเครื่องมือแพทย์กว่า 10 ล้านบาท ขณะนี้มุ่งหน้าถึงกรุงเทพฯ แล้ว โดยมาประจำอยู่แถวสีลม ทำหน้าที่เป็นโรงพยาบาลสนาม รองรับผู้บาดเจ็บจากการชุมนุม ซึ่งกรณีดังกล่าวกลับมีบางกลุ่มมองว่าสมควรต้องใช้รถขนาดนี้ในการเตรียมการหรือไม่
ขณะที่เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ฉุกเฉินรายหนึ่งระบุว่า เป็นการเตรียมพร้อมในเหตุวิกฤต ซึ่งสถานการณ์การเมือง ณ ปัจจุบันไม่มีใครทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น จึงต้องเตรียมพร้อม
วันนี้ (2 มี.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีการชุมนุมทางการเมือง (ส่วนหน้า) ว่า สถานการณ์ของการชุมนุมทางการเมืองทั้งใน กทม.และต่างจังหวัด ในรอบ 24 ชั่วโมงมานี้ ไม่มีผู้บาดเจ็บเพิ่ม ในการปฏิบัติงานของ สธ.ส่วนของพื้นที่ กทม.ในวันที่ 2 มี.ค.ได้ปรับพื้นที่ดูแลผู้ชุมนุม โดยจัดทีมทั้งหมดดูแล 7 ทีม ประกอบด้วย ทีมจากโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และทีมจากโรงพยาบาลหนองคาย โรงพยาบาลสุรินทร์ ปฏิบัติงานร่วมกับสภากาชาดไทย และ กทม. และสำรองทีมจากโรงพยาบาลในพื้นที่ปริมณฑล พร้อมเสริมการทำงานเพิ่มเติมกรณีฉุกเฉิน สำหรับในส่วนของภูมิภาคที่มีการชุมนุม เช่น ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อุดรธานี นครสวรรค์ และอีกหลายจังหวัด ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปที่อยู่ในสังกัดฯ ให้เตรียมพร้อมทีมแพทย์กู้ชีพ และได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช ผู้อำนวยการศูนย์ส่วนหน้า กล่าวว่า ข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากสถานการณ์ชุมนุมทางการเมือง ในรอบวัน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ถึงเวลา 10.00 น.วันนี้ (2 มี.ค.) ไม่มีผู้บาดเจ็บรายใหม่เพิ่ม ยอดรวมตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.2556 - 2 มี.ค.2557 ผู้บาดเจ็บทั้งประเทศ 768 ราย เสียชีวิต 23 ราย ยังคงนอนพักรักษาตัว 34 ราย โดยในพื้นที่ กทม.มีผู้บาดเจ็บรวม 725 ราย เสียชีวิต 20 ราย ยังคงนอนรักษา 25 ราย สำหรับเด็กที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ระเบิดที่บิ๊กซี ราชดำริ ขณะนี้ยังนอนรักษาตัวที่ รพ.รามาฯ อาการดีขึ้นมาก แผลแห้ง ตัดไหมแล้ว แผลสะเก็ดระเบิดดีขึ้น ส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัด มีบาดเจ็บรวม 43 ราย ในจังหวัดตราด ระยอง และปทุมธานี เสียชีวิต 3 ราย ขณะนี้ยังนอนพักรักษาตัว 9 ราย โดยมี 1 ราย อยู่ที่โรงพยาบาลตราด อาการสาหัส ต้องเฝ้าติดตามใกล้ชิด เป็นหญิงอายุ 52 ปี บาดเจ็บที่ช่องท้อง ทรวงอก และที่ไขสันหลัง แพทย์ตัดไตทิ้ง 1 ข้าง และมีปัญหาเรื่องการหายใจ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ อยู่ในห้องไอซียู ทีมแพทย์ดูแลรักษาเต็มที่
ด้าน รพ.รามาธิบดี เปิดเผยข้อมูลอาการของ ด.ช.โยธิน ชะเอมรัมย์ หรือ น้องฟลุ๊ก ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุขว้างระเบิดที่หน้าบิ๊กซี ราชดำริ นั้น ขณะนี้น้องรู้สึกตัวแล้วมา 4 วัน แพทย์ได้ถอดเครื่องช่วยหายใจออกแล้ว เมื่อวานได้ตัดไหมแผลผ่าตัดแล้ว ให้รอดูอาการสมองบวมเล็กน้อยและรอดูสภาพแผล ตอนนี้มีเข้าเฝือกที่ขา สามารถกินอาหารและพูดคุยได้ โดยได้ย้ายออกจากห้องไอ.ซี.ยู.ไปวอร์ดเด็กทั่วไป โดยรวมอาการดีขึ้นตามลำดับ
ทั้งนี้ แหล่งขาวกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า รถโรงพยาบาลสนามของจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำหรับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ขนาด 6 เตียง พร้อมเครื่องปั่นไฟฟ้าในตัวเอง มีแอร์ ระบบสื่อสาร ระบบออกซิเจน 3 ถัง เครื่องมือแพทย์อุปรณ์สำหรับช่วยชีวิตและดูแลผู้บาดแผล ใช้สำหรับกรณีอุบัติเหตุอุบัติภัยขนาดใหญ่ มูลค่ารถและเครื่องมือแพทย์กว่า 10 ล้านบาท ขณะนี้มุ่งหน้าถึงกรุงเทพฯ แล้ว โดยมาประจำอยู่แถวสีลม ทำหน้าที่เป็นโรงพยาบาลสนาม รองรับผู้บาดเจ็บจากการชุมนุม ซึ่งกรณีดังกล่าวกลับมีบางกลุ่มมองว่าสมควรต้องใช้รถขนาดนี้ในการเตรียมการหรือไม่
ขณะที่เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ฉุกเฉินรายหนึ่งระบุว่า เป็นการเตรียมพร้อมในเหตุวิกฤต ซึ่งสถานการณ์การเมือง ณ ปัจจุบันไม่มีใครทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น จึงต้องเตรียมพร้อม