รพ.โกสุมพิสัย ปั้นนักกายภาพบำบัดเป็นครูฝึกพูด ส่งติดตามแก้ไขเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ 2 ปี พบช่วยพูดชัดขึ้น เข้าถึงบริการง่ายขึ้น
นายยศศักดิ์ หาญชาญเลิศ งานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู รพ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม นำเสนอผลการศึกษา เรื่อง “การฝึกพูดในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่” ภายในงานประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 15 ว่า เด็กปากแหว่งเพดานโหว่จะมีปัญหาด้านภาษาและการพูด แม้การผ่าตัดรักษาจะช่วยลดความพิการของปากและใบหน้า แต่หลังผ่าตัดเด็กจะยังมีปัญหาพูดไม่ชัด ส่งผลต่อการเรียนรู้ พัฒนาการและการเข้าสังคมของเด็กในภายหลังได้ การแก้ไขทำได้ด้วยการฝึกพูดโดยนักแก้ไขการพูด แต่จำนวนนักแก้ไขการพูดไม่เพียงพอ ทำให้เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ไม่ได้รับการฝึกพูดเท่าที่ควร ล่าช้าและไม่ต่อเนื่อง งานกายภาพบำบัด รพ.โกสุมพิสัย ได้ดำเนินการฝึกพูดในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ เพื่อให้เด็กสามารถพูดได้ชัดขึ้น โดยดำเนินการในชุมชนในระยะแรก และนัดผู้ป่วยมาฝึกพูดที่คลินิกกายภาพบำบัดในระยะที่ 2 รวมระยะเวลา 2 ปี ซึ่งประสานความร่วมมือกับคลินิกฝึกพูด ภาควิชาโสต ศอ นาสิก คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น
นายยศศักดิ์ กล่าวว่า กิจกรรมการพัฒนา ได้สร้างเครือข่ายฝึกพูดโดยนักกายภาพบำบัดได้รับการอบรมการเป็นครูผู้ช่วยฝึกพูดให้เด็กปากแหว่งเพดานโหว่จากนักแก้ไขการพูด จากนั้นนักแก้ไขการพูดจะตรวจประเมินเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ และส่งต่อกับนักกายภาพบำบัดไปฝึกต่อ โดยมีเด็ก 2 คนที่ต้องได้รับการฝึกพูดใน อ.โกสุมพิสัย โดยนักกายภาพบำบัดจะติดตามฝึกพูดที่บ้านเด็กสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ปรึกษานักแก้ไขการพูดเพื่อตรวจประเมินเด็กและส่งต่อนักกายภาพบำบัดฝึกพูด โดยปรับวิธีการฝึก ด้วยการนัดเด็กเข้ารับการฝึกพูดที่คลินิกกายภาพบำบัดในปีที่ 2 โดยนัดมาฝึกพูดเดือนละ 2 ครั้ง มีการปรึกษากับนักแก้ไขการพูดเมื่อมีปัญหาในการฝึกผ่านโปรแกรม สไกป์ และประชุมเพื่อประเมินการฝึกพูดร่วมกับนักแก้ไขการพูด เมื่อครบปีที่ 2
นายยศศักดิ์ กล่าวว่า ผลการศึกษาพบว่า เด็กคนที่ 1 มีจำนวนเสียงไม่ชัดก่อนเข้าโครงการ 9 เสียง หลังเข้าร่วมโครงการเหลือเพียง 1 เสียง เด็กคนที่ 2 จำนวนเสียงไม่ชัดก่อนเข้าโครงการ 14 เสียง หลังเข้าร่วมโครงการเหลือ 4 เสียง นอกจากนี้ ยังเกิดเครือข่ายการฝึกพูดในชุมชน เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ได้รับการฝึกพูดอย่างต่อเนื่องมากขึ้น เข้าถึงบริการง่ายขึ้น ได้รับการฟื้นฟูอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้น จะยังไม่สามารถทำตามที่สอนได้ ในระยะแรกจึงยังไม่เน้นการฝึกมากนัก แต่เน้นการลงไปเยี่ยมเด็กบ่อยๆ ชวนเล่นและชวนคุย เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับเด็ก เมื่อเด็กยอมรับเด็กจึงจะยอมพูดตามครูผู้ช่วยฝึกพูด ทั้งนี้ โรงพยาบาลจะมีการค้นหาและนัดเด็กเข้ารับการฝึกพูดเพิ่มอีก 3 คนในระยะที่ 3
นายยศศักดิ์ หาญชาญเลิศ งานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู รพ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม นำเสนอผลการศึกษา เรื่อง “การฝึกพูดในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่” ภายในงานประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 15 ว่า เด็กปากแหว่งเพดานโหว่จะมีปัญหาด้านภาษาและการพูด แม้การผ่าตัดรักษาจะช่วยลดความพิการของปากและใบหน้า แต่หลังผ่าตัดเด็กจะยังมีปัญหาพูดไม่ชัด ส่งผลต่อการเรียนรู้ พัฒนาการและการเข้าสังคมของเด็กในภายหลังได้ การแก้ไขทำได้ด้วยการฝึกพูดโดยนักแก้ไขการพูด แต่จำนวนนักแก้ไขการพูดไม่เพียงพอ ทำให้เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ไม่ได้รับการฝึกพูดเท่าที่ควร ล่าช้าและไม่ต่อเนื่อง งานกายภาพบำบัด รพ.โกสุมพิสัย ได้ดำเนินการฝึกพูดในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ เพื่อให้เด็กสามารถพูดได้ชัดขึ้น โดยดำเนินการในชุมชนในระยะแรก และนัดผู้ป่วยมาฝึกพูดที่คลินิกกายภาพบำบัดในระยะที่ 2 รวมระยะเวลา 2 ปี ซึ่งประสานความร่วมมือกับคลินิกฝึกพูด ภาควิชาโสต ศอ นาสิก คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น
นายยศศักดิ์ กล่าวว่า กิจกรรมการพัฒนา ได้สร้างเครือข่ายฝึกพูดโดยนักกายภาพบำบัดได้รับการอบรมการเป็นครูผู้ช่วยฝึกพูดให้เด็กปากแหว่งเพดานโหว่จากนักแก้ไขการพูด จากนั้นนักแก้ไขการพูดจะตรวจประเมินเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ และส่งต่อกับนักกายภาพบำบัดไปฝึกต่อ โดยมีเด็ก 2 คนที่ต้องได้รับการฝึกพูดใน อ.โกสุมพิสัย โดยนักกายภาพบำบัดจะติดตามฝึกพูดที่บ้านเด็กสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ปรึกษานักแก้ไขการพูดเพื่อตรวจประเมินเด็กและส่งต่อนักกายภาพบำบัดฝึกพูด โดยปรับวิธีการฝึก ด้วยการนัดเด็กเข้ารับการฝึกพูดที่คลินิกกายภาพบำบัดในปีที่ 2 โดยนัดมาฝึกพูดเดือนละ 2 ครั้ง มีการปรึกษากับนักแก้ไขการพูดเมื่อมีปัญหาในการฝึกผ่านโปรแกรม สไกป์ และประชุมเพื่อประเมินการฝึกพูดร่วมกับนักแก้ไขการพูด เมื่อครบปีที่ 2
นายยศศักดิ์ กล่าวว่า ผลการศึกษาพบว่า เด็กคนที่ 1 มีจำนวนเสียงไม่ชัดก่อนเข้าโครงการ 9 เสียง หลังเข้าร่วมโครงการเหลือเพียง 1 เสียง เด็กคนที่ 2 จำนวนเสียงไม่ชัดก่อนเข้าโครงการ 14 เสียง หลังเข้าร่วมโครงการเหลือ 4 เสียง นอกจากนี้ ยังเกิดเครือข่ายการฝึกพูดในชุมชน เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ได้รับการฝึกพูดอย่างต่อเนื่องมากขึ้น เข้าถึงบริการง่ายขึ้น ได้รับการฟื้นฟูอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้น จะยังไม่สามารถทำตามที่สอนได้ ในระยะแรกจึงยังไม่เน้นการฝึกมากนัก แต่เน้นการลงไปเยี่ยมเด็กบ่อยๆ ชวนเล่นและชวนคุย เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับเด็ก เมื่อเด็กยอมรับเด็กจึงจะยอมพูดตามครูผู้ช่วยฝึกพูด ทั้งนี้ โรงพยาบาลจะมีการค้นหาและนัดเด็กเข้ารับการฝึกพูดเพิ่มอีก 3 คนในระยะที่ 3