กกจ.เตือนแรงงานไทย ตรวจสอบข้อมูลให้รอบคอบ ก่อนเดินทางทำงานต่างประเทศ เผยมีกระบวนการหลอกลวงในรูปแบบที่หลากหลาย
วันนี้ (26 มี.ค) นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวแรงงานหญิงไทยที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศในตำแหน่งพนักงานนวด โดยการชักชวนของนายหน้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ถูกบังคับให้ทำงานหนักโดยไม่ได้รับค่าจ้าง อีกทั้งยังถูกนายจ้างอ้างว่าเป็นลูกหนี้ติดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน และไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้เนื่องจากถูกนายจ้างยึดหนังสือเดินทางไว้ แต่ในภายหลังได้รับความช่วยเหลือและเดินทางกลับประเทศไทยนั้น
จากสถิติการรับเรื่องร้องทุกข์จากคนหางานกรณีถูกสาย/นายหน้าหรือบริษัทจัดหางานหลอกลวงในปี 2556 ที่ผ่านมา ได้รับเรื่องร้องทุกข์จากคนหางานรวมทั้งสิ้น 955 คน มูลค่าความเสียหายรวม 17,499,474 บาท สาเหตุส่วนใหญ่จ่ายค่าบริการไปแล้ว แต่ไม่ได้รับการจัดส่งไปทำงาน, จัดส่งไปต่างประเทศแล้ว แต่ไม่สามารถเข้าประเทศปลายทางได้, ถูกส่งไปทำงานแบบลักลอบทำงานโดยผิดกฎหมาย, ส่งไปทำงานแล้ว แต่ไม่มีงานทำ และถูกปล่อยให้ลอยแพในต่างประเทศ ทั้งนี้ พบว่า จังหวัดที่มีผู้มาร้องทุกข์มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชัยภูมิ หนองคาย นครราชสีมา และอุดรธานี
“เพื่อป้องกันไม่ ให้แรงงานไทยเสี่ยงต่อการถูกหลอกจากการไม่ได้ทำงานหรือทำงานไม่ตรงตามที่ตกลงไว้ รวมทั้งไม่ได้รับค่าจ้างจากการทำงานหรือได้รับค่าจ้างไม่ตรงตามที่ตกลง และถูกบังคับให้ทำงานอย่างหนัก กรมการจัดหางานจึงขอประชาสัมพันธ์ย้ำเตือนแรงงานไทยที่ประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศ ให้ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ ศึกษาเงื่อนไขในสัญญาจ้างงานอย่างละเอียด โดยสัญญาจ้างงานจะต้องผ่านการรับรองจากสำนักแรงงานไทย สถานทูต/สถานกงสุลไทยประจำประเทศนั้นๆ” นายประวิทย์ กล่าว
นอกจากนี้ ต้องทราบกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจ้างงานในประเทศที่จะเดินทางไปทำงาน รวมทั้งที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ของสำนักแรงงานไทยหรือสถานทูต/สถานกงสุลไทยประจำประเทศนั้นๆ เพื่อใช้ในการติดต่อขอความช่วยเหลือ หากมีข้อสงสัย ติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน อาคารสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 3 ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพฯ
วันนี้ (26 มี.ค) นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวแรงงานหญิงไทยที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศในตำแหน่งพนักงานนวด โดยการชักชวนของนายหน้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ถูกบังคับให้ทำงานหนักโดยไม่ได้รับค่าจ้าง อีกทั้งยังถูกนายจ้างอ้างว่าเป็นลูกหนี้ติดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน และไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้เนื่องจากถูกนายจ้างยึดหนังสือเดินทางไว้ แต่ในภายหลังได้รับความช่วยเหลือและเดินทางกลับประเทศไทยนั้น
จากสถิติการรับเรื่องร้องทุกข์จากคนหางานกรณีถูกสาย/นายหน้าหรือบริษัทจัดหางานหลอกลวงในปี 2556 ที่ผ่านมา ได้รับเรื่องร้องทุกข์จากคนหางานรวมทั้งสิ้น 955 คน มูลค่าความเสียหายรวม 17,499,474 บาท สาเหตุส่วนใหญ่จ่ายค่าบริการไปแล้ว แต่ไม่ได้รับการจัดส่งไปทำงาน, จัดส่งไปต่างประเทศแล้ว แต่ไม่สามารถเข้าประเทศปลายทางได้, ถูกส่งไปทำงานแบบลักลอบทำงานโดยผิดกฎหมาย, ส่งไปทำงานแล้ว แต่ไม่มีงานทำ และถูกปล่อยให้ลอยแพในต่างประเทศ ทั้งนี้ พบว่า จังหวัดที่มีผู้มาร้องทุกข์มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชัยภูมิ หนองคาย นครราชสีมา และอุดรธานี
“เพื่อป้องกันไม่ ให้แรงงานไทยเสี่ยงต่อการถูกหลอกจากการไม่ได้ทำงานหรือทำงานไม่ตรงตามที่ตกลงไว้ รวมทั้งไม่ได้รับค่าจ้างจากการทำงานหรือได้รับค่าจ้างไม่ตรงตามที่ตกลง และถูกบังคับให้ทำงานอย่างหนัก กรมการจัดหางานจึงขอประชาสัมพันธ์ย้ำเตือนแรงงานไทยที่ประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศ ให้ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ ศึกษาเงื่อนไขในสัญญาจ้างงานอย่างละเอียด โดยสัญญาจ้างงานจะต้องผ่านการรับรองจากสำนักแรงงานไทย สถานทูต/สถานกงสุลไทยประจำประเทศนั้นๆ” นายประวิทย์ กล่าว
นอกจากนี้ ต้องทราบกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจ้างงานในประเทศที่จะเดินทางไปทำงาน รวมทั้งที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ของสำนักแรงงานไทยหรือสถานทูต/สถานกงสุลไทยประจำประเทศนั้นๆ เพื่อใช้ในการติดต่อขอความช่วยเหลือ หากมีข้อสงสัย ติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน อาคารสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 3 ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพฯ