เป็นอีกหนึ่งโรคที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกปีละไม่น้อย สำหรับโรคไตวาย แต่จะทำอย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลจากโรคชนิดนี้
นพ.วุทธินันท์ สุขโต อายุรแพทย์โรคไตโรงพยาบาลเจ้าพระยา ให้ข้อมูลว่า ภาวะไตวายนั้น แบ่งเป็นสองชนิด คือภาวะไตวายเรื้อรัง กับไตวายเฉียบพลัน ซึ่งอย่างหลังนี้ ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “ภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน” เพราะเกิดจากการลดลงของการทำหน้าที่ของไตในระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
“แต่สำหรับภาวะไตวายเรื้อรัง ช่วงสิบปีหลังมานี้ เราเปลี่ยนคำพูดเป็นโรคไตเรื้อรัง เพราะเราจะได้ค้นหาคนไข้ที่ยังไม่ได้เป็นโรคไตวาย แต่เริ่มมีภาวะของคนที่เป็นโรคไต เพื่อให้ข้อมูลในการดูแลตัวเองก่อนจะดำเนินไปสู่การเป็นไตวายเรื้อรัง โรคไตเรื้อรังต้องมีอาการอย่างน้อยสามเดือนขึ้นไป”
ส่วนสาเหตุส่วนใหญ่ที่พบ อันดับต้นๆ นพ.วุทธินันท์ กล่าวว่า คนไข้เป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว แล้วควบคุมเบาหวานและความดันไม่ค่อยดี ก็ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไต ทำให้เกิดภาวะเป็นโรคไตเรื้อรัง สาเหตุอื่นๆ ก็เกิดจากการที่คนไข้เป้นโรคไตอักเสบ ซึ่งเกิดจากภาวะที่ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ อีกอย่างหนึ่งก็คือโรคนิ่ว ถุงน้ำในไต รวมไปจนถึงการทานยาเป็นระยะเวลานาน
“สาเหตุที่เบาหวาน ความดัน ส่งผลต่อโรคไต เพราะว่าไตเป็นกลุ่มก้อนของหลอดเลือดฝอย ซึ่งทำหน้าที่กรองของเสีย ซึ่งถ้าเราเป็นเบาหวานหรือความดัน มันก็จะมีผลต่อหลอดเลือดฝอย หลอดเลือดทั่วร่างกาย โดยเฉพาะหลอดเลือดเล็กๆ” นพ.วุทธินันท์ กล่าว
โรคไตเป็นโรคอันตราย แต่ใช่ว่าจะป้องกันไม่ได้ ข้อมูลจากบล็อก http://turian199.wordpress.com แนะนำไว้ดังต่อไปนี้
1.กินถั่ว ผัก ผลไม้ (ควรเป็นผลไม้ทั้งผล หรือปั่นรวมกาก)
2.เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง หรือขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีทอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
3.กินปลาสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง (ควรเป็นปลาที่ไม่ผ่านการทอด)
4.ลดอาหารประเภทผัดๆ ทอดๆ (เน้นลดอาหารทอดมากกว่าผัด)
5.รักษาน้ำหนักไว้ อย่าให้น้ำหนักเกินหรืออ้วน… ถ้าอ้วนควรเปลี่ยนจากอ้วนไม่ฟิตเป็นอ้วนฟิต
6.ออกแรง-ออกกำลังอย่างน้อยวันละ 30 นาที… วิธีที่ทำได้ง่ายคือ เดิน (ถ้าทำได้… ควรหัดเดินให้เร็ว) เดินเร็ว (ถ้าทำได้… ควรเดินให้ได้นาทีละ 100 ก้าวหรือ 25 ก้าวต่อ 15 วินาที ลดความเร็วลงเมื่อเหนื่อย ไม่นานจะเดินเร็วได้นาน) เดินขึ้นลงบันไดตามโอกาส แล้วนำเวลามารวมกัน
7.ไม่สูบบุหรี่
8.ไม่ดื่ม (แอลกอฮอล์) หนัก
9.ตรวจเช็กความดันเป็นประจำ (อย่างน้อยทุก 6 เดือน) และเช็กเบาหวานทุกปี… ถ้าเป็นโรคจำเป็นต้องรักษาให้ต่อเนื่อง และให้ความร่วมมือในการรักษา (ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ใช่กินแต่ยา)
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ www.manager.co.th/vdo
นพ.วุทธินันท์ สุขโต อายุรแพทย์โรคไตโรงพยาบาลเจ้าพระยา ให้ข้อมูลว่า ภาวะไตวายนั้น แบ่งเป็นสองชนิด คือภาวะไตวายเรื้อรัง กับไตวายเฉียบพลัน ซึ่งอย่างหลังนี้ ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “ภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน” เพราะเกิดจากการลดลงของการทำหน้าที่ของไตในระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
“แต่สำหรับภาวะไตวายเรื้อรัง ช่วงสิบปีหลังมานี้ เราเปลี่ยนคำพูดเป็นโรคไตเรื้อรัง เพราะเราจะได้ค้นหาคนไข้ที่ยังไม่ได้เป็นโรคไตวาย แต่เริ่มมีภาวะของคนที่เป็นโรคไต เพื่อให้ข้อมูลในการดูแลตัวเองก่อนจะดำเนินไปสู่การเป็นไตวายเรื้อรัง โรคไตเรื้อรังต้องมีอาการอย่างน้อยสามเดือนขึ้นไป”
ส่วนสาเหตุส่วนใหญ่ที่พบ อันดับต้นๆ นพ.วุทธินันท์ กล่าวว่า คนไข้เป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว แล้วควบคุมเบาหวานและความดันไม่ค่อยดี ก็ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไต ทำให้เกิดภาวะเป็นโรคไตเรื้อรัง สาเหตุอื่นๆ ก็เกิดจากการที่คนไข้เป้นโรคไตอักเสบ ซึ่งเกิดจากภาวะที่ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ อีกอย่างหนึ่งก็คือโรคนิ่ว ถุงน้ำในไต รวมไปจนถึงการทานยาเป็นระยะเวลานาน
“สาเหตุที่เบาหวาน ความดัน ส่งผลต่อโรคไต เพราะว่าไตเป็นกลุ่มก้อนของหลอดเลือดฝอย ซึ่งทำหน้าที่กรองของเสีย ซึ่งถ้าเราเป็นเบาหวานหรือความดัน มันก็จะมีผลต่อหลอดเลือดฝอย หลอดเลือดทั่วร่างกาย โดยเฉพาะหลอดเลือดเล็กๆ” นพ.วุทธินันท์ กล่าว
โรคไตเป็นโรคอันตราย แต่ใช่ว่าจะป้องกันไม่ได้ ข้อมูลจากบล็อก http://turian199.wordpress.com แนะนำไว้ดังต่อไปนี้
1.กินถั่ว ผัก ผลไม้ (ควรเป็นผลไม้ทั้งผล หรือปั่นรวมกาก)
2.เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง หรือขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีทอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
3.กินปลาสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง (ควรเป็นปลาที่ไม่ผ่านการทอด)
4.ลดอาหารประเภทผัดๆ ทอดๆ (เน้นลดอาหารทอดมากกว่าผัด)
5.รักษาน้ำหนักไว้ อย่าให้น้ำหนักเกินหรืออ้วน… ถ้าอ้วนควรเปลี่ยนจากอ้วนไม่ฟิตเป็นอ้วนฟิต
6.ออกแรง-ออกกำลังอย่างน้อยวันละ 30 นาที… วิธีที่ทำได้ง่ายคือ เดิน (ถ้าทำได้… ควรหัดเดินให้เร็ว) เดินเร็ว (ถ้าทำได้… ควรเดินให้ได้นาทีละ 100 ก้าวหรือ 25 ก้าวต่อ 15 วินาที ลดความเร็วลงเมื่อเหนื่อย ไม่นานจะเดินเร็วได้นาน) เดินขึ้นลงบันไดตามโอกาส แล้วนำเวลามารวมกัน
7.ไม่สูบบุหรี่
8.ไม่ดื่ม (แอลกอฮอล์) หนัก
9.ตรวจเช็กความดันเป็นประจำ (อย่างน้อยทุก 6 เดือน) และเช็กเบาหวานทุกปี… ถ้าเป็นโรคจำเป็นต้องรักษาให้ต่อเนื่อง และให้ความร่วมมือในการรักษา (ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ใช่กินแต่ยา)
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ www.manager.co.th/vdo