สธ.ยันป่วยไข้หวัดตาย 2 ราย ที่นครศรีธรรมราชไม่ใช่ไข้หวัดนก แต่เป็นหวัด 2009 ยอมรับน่าเป็นห่วง เหตุปีนี้ระบาดสูงขึ้น ไม่ถึง 3 เดือน พบผู้ป่วยทั่วประเทศกว่า 16,000 ราย ตาย 9 ราย ขณะที่ปีที่แล้วป่วย 4.3 หมื่นราย ไร้ผู้เสียชีวิต สั่งทุกจังหวัดเข้ม 4 มาตรการป้องกันและรักษา ให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย พักงานหรือหยุดเรียนเมื่อป่วยเป็นหวัด ล้างมือบ่อยๆ และให้ยาโอเซลทามิเวียร์ตามแนวทางการรักษา
วันนี้ (18 มี.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีข่าวพบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1 เสียชีวิต 2 ราย ที่ จ.นครศรีธรรมราช และ รพ.มหาราชนครศรีธรรมราชรับผู้ป่วยไข้หวัดไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล 12 ราย ว่า จากผลการตรวจวิเคราะห์เชื้ออย่างละเอียดในห้องปฏิบัติการพบว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ H1N1 ซึ่งเป็นไข้หวัดประจำฤดูกาล ไม่ใช่ไข้หวัดนกแต่อย่างใด และจากการประสานเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ ได้ตรวจสอบไปยัง รพ.มหาราชนครศรีธรรมราชแล้ว พบว่า ขณะนี้โรงพยาบาลได้รับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัดใหญ่ H1N1 รักษาตัวในโรงพยาบาลเพียง 4 รายเท่านั้น โดย 2 ราย อาการหายดีกลับบ้านแล้ว ทั้งนี้ โรคที่น่าเป็นห่วงขณะนี้คือ ไข้หวัดใหญ่ H1N1 หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล มีแนวโน้มพบผู้ป่วยมากขึ้น เนื่องจากติดต่อกันง่ายผ่านระบบทางเดินหายใจ และประชาชนยังขาดการป้องกันตนเอง จากการติดตามของ สธ.ไม่พบเชื้อกลายพันธุ์ ในปี 2557 ตั้งแต่ ม.ค. - มี.ค.พบผู้ป่วยทั่วประเทศ 16,065 ราย เสียชีวิต 9 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานและผู้สูงอายุ ขณะที่ปี 2556 พบผู้ป่วย 43,791 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ได้สั่งกำชับให้ทุกจังหวัดเข้ม 4 มาตรการป้องกันและรักษา ได้แก่ 1.รณรงค์ประชาชนล้างมือบ่อยๆ ซึ่งให้ผลดีมากป้องกันได้ทั้งไข้หวัดใหญ่และท้องเสีย 2.เมื่อป่วยให้ใส่หน้ากากอนามัย 3.ให้หยุดงานหรือหยุดเรียนเมื่อป่วย และ 4.ให้แพทย์ให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ตามแนวทางการรักษาอย่างเคร่งครัด เชื้อยังไม่มีการดื้อยา ขณะนี้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งสำรองยาไว้อย่างเพียงพอและให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ผลิตยานี้เพิ่มอีกจำนวน 3.5 ล้านแคปซูล ในสัปดาห์หน้า และให้โรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยที่เข้าข่ายสงสัยไข้หวัดใหญ่เพิ่มมากผิดปกติให้จัดจุดตรวจให้บริการแบบเบ็ดเสร็จแยกผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจจากผู้ป่วยอื่นและแจกหน้ากากอนามัยทุกราย เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายของเชื้อไปสู่ผู้ป่วยอื่น พร้อมทั้งให้กรมการแพทย์ตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อทางเดินหายใจและปอดจาก สธ.และมหาวิทยาลัยให้คำปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษากรณีที่พบผู้ป่วยมีอาการหนัก
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ได้ให้สำนักควบคุมโรคทั้ง 12 เขต ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เฝ้าระวังผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจที่ไปรับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลทุกแห่ง เพื่อตรวจจับสัญญาณผิดปกติได้อย่างรวดเร็วและปรับระบบบริการให้เหมาะสม และจัดให้มีการประชุมผู้เชี่ยวชาญทุกสัปดาห์ ประเมินสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศ และให้ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วลงพื้นที่ควบคุมโรคทันทีหากพบผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่
“ขอย้ำเตือนประชาชนที่ที่มีอาการป่วย ได้แก่ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ ขอให้นึกถึงไข้หวัดใหญ่ ขอให้หยุดงานหรือหยุดเรียน ผู้ใหญ่ควรใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู้ผู้อื่นโดยเฉพาะเด็กๆ หรือลูกหลานที่อยู่ในบ้าน หากไม่ดีขึ้นใน 2 วันให้รีบพบแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงจากอันตรายของโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคทางเดินหายใจอุดตัน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ให้พบแพทย์ทันที” อธิบดี คร. กล่าว
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า ปัญหาความเข้าใจสับสนของเชื้อไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดนกนั้น คร.กำลังระหว่างเสนอปลัด สธ.ลงนามออกประกาศภายในสัปดาห์นี้ เพื่อแจ้งไปยัง สสจ.ทั่วประเทศ ให้ระมัดระวังในการสื่อสาร เนื่องจากหากพูดสั้นๆ เพียง H1N1 อาจเกิดความไม่เข้าใจ ควรพูดให้ชัดเจนว่าเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
วันนี้ (18 มี.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีข่าวพบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1 เสียชีวิต 2 ราย ที่ จ.นครศรีธรรมราช และ รพ.มหาราชนครศรีธรรมราชรับผู้ป่วยไข้หวัดไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล 12 ราย ว่า จากผลการตรวจวิเคราะห์เชื้ออย่างละเอียดในห้องปฏิบัติการพบว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ H1N1 ซึ่งเป็นไข้หวัดประจำฤดูกาล ไม่ใช่ไข้หวัดนกแต่อย่างใด และจากการประสานเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ ได้ตรวจสอบไปยัง รพ.มหาราชนครศรีธรรมราชแล้ว พบว่า ขณะนี้โรงพยาบาลได้รับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัดใหญ่ H1N1 รักษาตัวในโรงพยาบาลเพียง 4 รายเท่านั้น โดย 2 ราย อาการหายดีกลับบ้านแล้ว ทั้งนี้ โรคที่น่าเป็นห่วงขณะนี้คือ ไข้หวัดใหญ่ H1N1 หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล มีแนวโน้มพบผู้ป่วยมากขึ้น เนื่องจากติดต่อกันง่ายผ่านระบบทางเดินหายใจ และประชาชนยังขาดการป้องกันตนเอง จากการติดตามของ สธ.ไม่พบเชื้อกลายพันธุ์ ในปี 2557 ตั้งแต่ ม.ค. - มี.ค.พบผู้ป่วยทั่วประเทศ 16,065 ราย เสียชีวิต 9 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานและผู้สูงอายุ ขณะที่ปี 2556 พบผู้ป่วย 43,791 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ได้สั่งกำชับให้ทุกจังหวัดเข้ม 4 มาตรการป้องกันและรักษา ได้แก่ 1.รณรงค์ประชาชนล้างมือบ่อยๆ ซึ่งให้ผลดีมากป้องกันได้ทั้งไข้หวัดใหญ่และท้องเสีย 2.เมื่อป่วยให้ใส่หน้ากากอนามัย 3.ให้หยุดงานหรือหยุดเรียนเมื่อป่วย และ 4.ให้แพทย์ให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ตามแนวทางการรักษาอย่างเคร่งครัด เชื้อยังไม่มีการดื้อยา ขณะนี้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งสำรองยาไว้อย่างเพียงพอและให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ผลิตยานี้เพิ่มอีกจำนวน 3.5 ล้านแคปซูล ในสัปดาห์หน้า และให้โรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยที่เข้าข่ายสงสัยไข้หวัดใหญ่เพิ่มมากผิดปกติให้จัดจุดตรวจให้บริการแบบเบ็ดเสร็จแยกผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจจากผู้ป่วยอื่นและแจกหน้ากากอนามัยทุกราย เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายของเชื้อไปสู่ผู้ป่วยอื่น พร้อมทั้งให้กรมการแพทย์ตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อทางเดินหายใจและปอดจาก สธ.และมหาวิทยาลัยให้คำปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษากรณีที่พบผู้ป่วยมีอาการหนัก
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ได้ให้สำนักควบคุมโรคทั้ง 12 เขต ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เฝ้าระวังผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจที่ไปรับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลทุกแห่ง เพื่อตรวจจับสัญญาณผิดปกติได้อย่างรวดเร็วและปรับระบบบริการให้เหมาะสม และจัดให้มีการประชุมผู้เชี่ยวชาญทุกสัปดาห์ ประเมินสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศ และให้ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วลงพื้นที่ควบคุมโรคทันทีหากพบผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่
“ขอย้ำเตือนประชาชนที่ที่มีอาการป่วย ได้แก่ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ ขอให้นึกถึงไข้หวัดใหญ่ ขอให้หยุดงานหรือหยุดเรียน ผู้ใหญ่ควรใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู้ผู้อื่นโดยเฉพาะเด็กๆ หรือลูกหลานที่อยู่ในบ้าน หากไม่ดีขึ้นใน 2 วันให้รีบพบแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงจากอันตรายของโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคทางเดินหายใจอุดตัน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ให้พบแพทย์ทันที” อธิบดี คร. กล่าว
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า ปัญหาความเข้าใจสับสนของเชื้อไข้หวัดใหญ่ และไข้หวัดนกนั้น คร.กำลังระหว่างเสนอปลัด สธ.ลงนามออกประกาศภายในสัปดาห์นี้ เพื่อแจ้งไปยัง สสจ.ทั่วประเทศ ให้ระมัดระวังในการสื่อสาร เนื่องจากหากพูดสั้นๆ เพียง H1N1 อาจเกิดความไม่เข้าใจ ควรพูดให้ชัดเจนว่าเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล