หมอเผยคนมักเข้าใจผิดเด็กป่วย ทั้งทารกคลอดก่อนกำหนด ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจกินนมแม่ไม่ได้ ยันยิ่งต้องให้กินนมแม่เพื่อช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดการติดเชื้อ หลังพบเด็กป่วยไม่ได้กินนมแม่มากกว่า 50% แนะให้กินนมแม่ถึง 2 ขวบป้องกันสารพัดโรค
วันนี้ (12 มี.ค.) ที่โรงแรมเซนจูรี กทม. นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาตินมแม่ในเด็กป่วย ครั้งที่ 2 จัดโดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) ร่วมกับราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สภาการพยาบาล และมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ว่า โดยทั่วไปทารกป่วยยังมีอัตราการได้นมแม่ถึงอายุ 6 เดือนในระดับต่ำ สถิติของคลินิกนมแม่ รพ.เด็ก พบว่า เด็กป่วยได้รับนมแม่ถึงอายุ 6 เดือน คิดเป็นร้อยละ 43.14 หมายถึงมีเด็กป่วยอีกครึ่งหนึ่งที่ไม่สามารถกินนมแม่ใน 6 เดือนแรกได้ องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และหลัง 6 เดือนให้กินนมแม่ควบคู่กับอาหารเสริมตามวัยจนอายุ ครบ 2 ปี หรือมากกว่านั้น ยิ่งเด็กป่วย ยิ่งมีประโยชน์
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า รพ.เด็ก ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ในการดูแลทารกที่เจ็บป่วยในระดับตติยภูมิหรือสูงกว่า จึงสนับสนุนให้ทารกหรือเด็กเล็กที่เจ็บป่วยได้รับนมแม่ เนื่องจากน้ำนมแม่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ยิ่งป่วย หรือคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กที่เจ็บป่วย ยิ่งมีประโยชน์ โดยการพัฒนาวิธีการให้นมแม่ในทารกที่มีปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโรคทางสมอง โรคทางพันธุกรรม รวมทั้งในแม่ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น แม่ป่วยหรือแม่ต้องได้รับการผ่าตัด การดูแลส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับเด็กป่วยและเด็กคลอดก่อนกำหนด จะทำให้เด็กกลุ่มนี้ได้รับนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด และเมื่อแม่จะต้องพาลูกกลับบ้านจะช่วยให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ต่อเนื่องตามเป้าหมาย
พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการ รพ.เด็ก กล่าวว่า มักเข้าใจผิดว่า เด็กป่วย อาทิ ทารกคลอดก่อนกำหนด เด็กที่ยังต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ เด็กที่ต้องผ่าตัดรักษา จะไม่สามารถกินนมแม่ได้ แต่ในความเป็นจริงสามารถให้ทารกกินนมแม่ได้ อาทิ รับจากเต้านม หรือทางสายยางสำหรับให้อาหาร หรือป้อนด้วยช้อน หรือแก้ว เมื่อทารกพร้อมจึงค่อยให้ดูดจากเต้ามารดา ซึ่งน้ำนมแม่ใน 2-3 วันแรกหลังคลอดมีความสำคัญและคุณค่ามากกับทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกที่ป่วย จะช่วยให้เกิดภูมิต้านทานโรคเป็นทั้งยาและภูมิคุ้มกัน มีผลต่อพัฒนาการของสมอง จอประสาทตา การย่อย การดูดซึมสารอาหาร ลดการเกิดอักเสบของลำไส้ ลดการติดเชื้อในเด็กป่วย ทำให้เด็กป่วยสามารถออกจากโรงพยาบาลได้เร็วกว่าเด็กป่วยที่ไม่ได้รับนมแม่
“นอกจากนี้ มีการให้ความรู้แก่แม่และครอบครัว เช่น การเสวนานมแม่ การให้ความรู้ ขณะฝึกปฏิบัติ การให้ความรู้บุคลากรที่ปฏิบัติงาน การสร้างแม่อาสาในกลุ่มเด็กป่วยกลุ่มต่างๆ เช่น ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกกลุ่มอาการดาวน์ โรคหัวใจ กลุ่มแม่บีบน้ำนม พร้อมอุปกรณ์การสอน เช่น ตุ๊กตา เต้านมโมเดล โมเดลกระเพาะอาหารทารกแรกเกิด ทั้งนี้ รพ.เด็กตระหนักถึงความสำคัญของการให้นมแม่ทั้งในเด็กป่วยและเด็กปกติจึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ทารกได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่อง อาทิ ให้แม่อยู่กับลูกตลอด 24 ชั่วโมง ฝึกความพร้อมก่อนกลับบ้าน การจัดตั้งคลินิกนมแม่และให้บริการปรึกษาทางโทรศัพท์สายด่วน 1415 เพื่อให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาสุขภาพทารกแรกเกิด” พญ.ศิราภรณ์ กล่าว
วันนี้ (12 มี.ค.) ที่โรงแรมเซนจูรี กทม. นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาตินมแม่ในเด็กป่วย ครั้งที่ 2 จัดโดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) ร่วมกับราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สภาการพยาบาล และมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ว่า โดยทั่วไปทารกป่วยยังมีอัตราการได้นมแม่ถึงอายุ 6 เดือนในระดับต่ำ สถิติของคลินิกนมแม่ รพ.เด็ก พบว่า เด็กป่วยได้รับนมแม่ถึงอายุ 6 เดือน คิดเป็นร้อยละ 43.14 หมายถึงมีเด็กป่วยอีกครึ่งหนึ่งที่ไม่สามารถกินนมแม่ใน 6 เดือนแรกได้ องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และหลัง 6 เดือนให้กินนมแม่ควบคู่กับอาหารเสริมตามวัยจนอายุ ครบ 2 ปี หรือมากกว่านั้น ยิ่งเด็กป่วย ยิ่งมีประโยชน์
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า รพ.เด็ก ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ในการดูแลทารกที่เจ็บป่วยในระดับตติยภูมิหรือสูงกว่า จึงสนับสนุนให้ทารกหรือเด็กเล็กที่เจ็บป่วยได้รับนมแม่ เนื่องจากน้ำนมแม่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ยิ่งป่วย หรือคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กที่เจ็บป่วย ยิ่งมีประโยชน์ โดยการพัฒนาวิธีการให้นมแม่ในทารกที่มีปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโรคทางสมอง โรคทางพันธุกรรม รวมทั้งในแม่ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น แม่ป่วยหรือแม่ต้องได้รับการผ่าตัด การดูแลส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับเด็กป่วยและเด็กคลอดก่อนกำหนด จะทำให้เด็กกลุ่มนี้ได้รับนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด และเมื่อแม่จะต้องพาลูกกลับบ้านจะช่วยให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ต่อเนื่องตามเป้าหมาย
พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการ รพ.เด็ก กล่าวว่า มักเข้าใจผิดว่า เด็กป่วย อาทิ ทารกคลอดก่อนกำหนด เด็กที่ยังต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ เด็กที่ต้องผ่าตัดรักษา จะไม่สามารถกินนมแม่ได้ แต่ในความเป็นจริงสามารถให้ทารกกินนมแม่ได้ อาทิ รับจากเต้านม หรือทางสายยางสำหรับให้อาหาร หรือป้อนด้วยช้อน หรือแก้ว เมื่อทารกพร้อมจึงค่อยให้ดูดจากเต้ามารดา ซึ่งน้ำนมแม่ใน 2-3 วันแรกหลังคลอดมีความสำคัญและคุณค่ามากกับทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกที่ป่วย จะช่วยให้เกิดภูมิต้านทานโรคเป็นทั้งยาและภูมิคุ้มกัน มีผลต่อพัฒนาการของสมอง จอประสาทตา การย่อย การดูดซึมสารอาหาร ลดการเกิดอักเสบของลำไส้ ลดการติดเชื้อในเด็กป่วย ทำให้เด็กป่วยสามารถออกจากโรงพยาบาลได้เร็วกว่าเด็กป่วยที่ไม่ได้รับนมแม่
“นอกจากนี้ มีการให้ความรู้แก่แม่และครอบครัว เช่น การเสวนานมแม่ การให้ความรู้ ขณะฝึกปฏิบัติ การให้ความรู้บุคลากรที่ปฏิบัติงาน การสร้างแม่อาสาในกลุ่มเด็กป่วยกลุ่มต่างๆ เช่น ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกกลุ่มอาการดาวน์ โรคหัวใจ กลุ่มแม่บีบน้ำนม พร้อมอุปกรณ์การสอน เช่น ตุ๊กตา เต้านมโมเดล โมเดลกระเพาะอาหารทารกแรกเกิด ทั้งนี้ รพ.เด็กตระหนักถึงความสำคัญของการให้นมแม่ทั้งในเด็กป่วยและเด็กปกติจึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ทารกได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่อง อาทิ ให้แม่อยู่กับลูกตลอด 24 ชั่วโมง ฝึกความพร้อมก่อนกลับบ้าน การจัดตั้งคลินิกนมแม่และให้บริการปรึกษาทางโทรศัพท์สายด่วน 1415 เพื่อให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาสุขภาพทารกแรกเกิด” พญ.ศิราภรณ์ กล่าว