จิตแพทย์ชี้ก่อเหตุรุนแรงถึงฆาตกรรมคนในครอบครัว มีหลายปัจจัย ทั้งตัวผู้ก่อเหตุ การเลี้ยงดู และสิ่งแวดล้อม ไม่ฟันธงสาเหตุจูงใจพี่ชายฆ่ายกครัว ระบุต้องซักประวัติละเอียด แนะเลี้ยงลูกต้องสร้างสมดุลระหว่างรักและกฎระเบียบ
พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวถึงเหตุการณ์พี่ชายคนโตลงมือฆ่าพ่อแม่และน้องชายในบ้านตัวเอง ว่า เป็นเรื่องยากที่จะวิเคราะห์ว่าอะไรเป็นสาเหตุจูงใจ เพราะต้องซักประวัติอย่างละเอียด แต่ขณะนี้คงพูดได้แต่เหตุปัจจัยที่ทำให้ก่อเหตุรุนแรง โดยรวมมี 3 ปัจจัย คือ 1.ตัวผู้ก่อเหตุ โดยเฉพาะเรื่องการติดสิ่งเสพติด ทั้งสารเสพติด และเกม ทำให้ความยับยั้งชั่งใจลดน้อยลง หากติดสิ่งเสพติดก็ยิ่งก่อให้เกิดโอกาสกระทำภายใต้วัตถุออกฤทธิ์ ประสาทหลอนได้ 2.การเลี้ยงดู ทั้งเลี้ยงดูด้วยความรุนแรง หรือตามใจเด็กมากๆ และ 3.สิ่งแวดล้อม เช่น ถูกรังแกในโรงเรียน หรือรังแกคนอื่น การเข้าถึงอาวุธ
“การก่อเหตุรุนแรงกับคนใกล้ตัวได้นั้น ไม่ได้เกิดจากปัจจัยเดียว ส่วนใหญ่จะเกิดหลายๆ ปัจจัยรวมกัน อาจเคยกระทำความรุนแรงมาโดยตลอด หลายๆ ครั้งไม่ว่าจะเป็นร่างกาย หรือ จิตใจ จนทำให้ความสัมพันธ์ ความผูกพันมีปัญหา และหากไม่ได้ก่อเหตุจากการบันดาลโทสะ มักจะมีสาเหตุเยอะและซับซ้อนจนกระทั่งวางแผนให้ทำสิ่งที่ร้ายแรงที่คนทั่วไปจะคิดได้ว่าไม่ควรทำได้” พญ.วิมลรัตน์ กล่าว
พญ.วิมลรัตน์ กล่าวว่า การเลี้ยงดูเด็กจำเป็นต้องใช้ความรักและกฎระเบียบอย่างสมดุล เพราะหากใช้วิธีดุด่าหรือกฎระเบียบอย่างเดียว เด็กจะไม่สามารถรับรู้ได้ถึงความรักความปรารถนาดี เด็กอาจจะอยู่ในกฏทำตามพ่อแม่สั่ง แต่ดื้อเงียบ มักนอนตื่นสาย มีเหตุให้ครูรายงานเป็นระยะ แต่แค่ไม่ออกนอกกฏที่ร้ายแรง และส่วนใหญ่เมื่อถูกตำหนิเด็กจะรู้สึกโทษตัวเองว่าทำให้พ่อแม่ผิดหวัง เสียใจ โดยเฉพาะการดุด่าว่ากล่าว เป็นการทำให้เด็กเจ็บช้ำ เมื่อรวมกันนานๆเข้า เด็กจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีอะไรดี ไม่มีคุณค่า และตัดสินใจอะไรผิดๆ ได้ เช่นกันหากเลี้ยงลูกด้วยความรักอย่างเดียวโดยไม่มีกฎระเบียบ ตามใจลูกอยากได้อะไรก็ต้องได้ เด็กจะไม่รู้จักการยับยั้งชั่งใจ หักห้ามความต้องการของตัวเองได้ ไม่รู้สิทธิตัวเอง ไม่รู้สิทธิคนอื่น และทำสิ่งผิดๆ ได้เช่นกัน การเลี้ยงดูลูกจึงต้องสมดุลทั้งความรัก และกฎระเบียบ
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องสะเทือนอารมณ์คนในสังคม และตัวผู้กระทำเองแม้ว่าจะอายุเกิน 18 ปี แต่ก็ยังไม่ได้โตเป็นผู้ใหญ่ยังมีความคาบเกี่ยวกับความเป็นเด็ก ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้ประสานไปทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อลงไปหาสาเหตุและดูแลสภาพจิตใจ อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ทำให้ก่อเหตุรุนแรงนั้น ส่วนใหญ่มักจะเกิดได้จาก ความหุนหันพลันแล่น ด้วยการถูกกระทำด้วยความรุนแรงบ่อยครั้งจนตอบโต้กลับ ปัญหาการเกเร ติดสิ่งเสพติด จิตไม่ปกติจากโรคหรือสิ่งเสพติด จนเห็นภาพหลอน หรือเหตุกดดันอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความรุนแรงได้
พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวถึงเหตุการณ์พี่ชายคนโตลงมือฆ่าพ่อแม่และน้องชายในบ้านตัวเอง ว่า เป็นเรื่องยากที่จะวิเคราะห์ว่าอะไรเป็นสาเหตุจูงใจ เพราะต้องซักประวัติอย่างละเอียด แต่ขณะนี้คงพูดได้แต่เหตุปัจจัยที่ทำให้ก่อเหตุรุนแรง โดยรวมมี 3 ปัจจัย คือ 1.ตัวผู้ก่อเหตุ โดยเฉพาะเรื่องการติดสิ่งเสพติด ทั้งสารเสพติด และเกม ทำให้ความยับยั้งชั่งใจลดน้อยลง หากติดสิ่งเสพติดก็ยิ่งก่อให้เกิดโอกาสกระทำภายใต้วัตถุออกฤทธิ์ ประสาทหลอนได้ 2.การเลี้ยงดู ทั้งเลี้ยงดูด้วยความรุนแรง หรือตามใจเด็กมากๆ และ 3.สิ่งแวดล้อม เช่น ถูกรังแกในโรงเรียน หรือรังแกคนอื่น การเข้าถึงอาวุธ
“การก่อเหตุรุนแรงกับคนใกล้ตัวได้นั้น ไม่ได้เกิดจากปัจจัยเดียว ส่วนใหญ่จะเกิดหลายๆ ปัจจัยรวมกัน อาจเคยกระทำความรุนแรงมาโดยตลอด หลายๆ ครั้งไม่ว่าจะเป็นร่างกาย หรือ จิตใจ จนทำให้ความสัมพันธ์ ความผูกพันมีปัญหา และหากไม่ได้ก่อเหตุจากการบันดาลโทสะ มักจะมีสาเหตุเยอะและซับซ้อนจนกระทั่งวางแผนให้ทำสิ่งที่ร้ายแรงที่คนทั่วไปจะคิดได้ว่าไม่ควรทำได้” พญ.วิมลรัตน์ กล่าว
พญ.วิมลรัตน์ กล่าวว่า การเลี้ยงดูเด็กจำเป็นต้องใช้ความรักและกฎระเบียบอย่างสมดุล เพราะหากใช้วิธีดุด่าหรือกฎระเบียบอย่างเดียว เด็กจะไม่สามารถรับรู้ได้ถึงความรักความปรารถนาดี เด็กอาจจะอยู่ในกฏทำตามพ่อแม่สั่ง แต่ดื้อเงียบ มักนอนตื่นสาย มีเหตุให้ครูรายงานเป็นระยะ แต่แค่ไม่ออกนอกกฏที่ร้ายแรง และส่วนใหญ่เมื่อถูกตำหนิเด็กจะรู้สึกโทษตัวเองว่าทำให้พ่อแม่ผิดหวัง เสียใจ โดยเฉพาะการดุด่าว่ากล่าว เป็นการทำให้เด็กเจ็บช้ำ เมื่อรวมกันนานๆเข้า เด็กจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีอะไรดี ไม่มีคุณค่า และตัดสินใจอะไรผิดๆ ได้ เช่นกันหากเลี้ยงลูกด้วยความรักอย่างเดียวโดยไม่มีกฎระเบียบ ตามใจลูกอยากได้อะไรก็ต้องได้ เด็กจะไม่รู้จักการยับยั้งชั่งใจ หักห้ามความต้องการของตัวเองได้ ไม่รู้สิทธิตัวเอง ไม่รู้สิทธิคนอื่น และทำสิ่งผิดๆ ได้เช่นกัน การเลี้ยงดูลูกจึงต้องสมดุลทั้งความรัก และกฎระเบียบ
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องสะเทือนอารมณ์คนในสังคม และตัวผู้กระทำเองแม้ว่าจะอายุเกิน 18 ปี แต่ก็ยังไม่ได้โตเป็นผู้ใหญ่ยังมีความคาบเกี่ยวกับความเป็นเด็ก ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้ประสานไปทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อลงไปหาสาเหตุและดูแลสภาพจิตใจ อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ทำให้ก่อเหตุรุนแรงนั้น ส่วนใหญ่มักจะเกิดได้จาก ความหุนหันพลันแล่น ด้วยการถูกกระทำด้วยความรุนแรงบ่อยครั้งจนตอบโต้กลับ ปัญหาการเกเร ติดสิ่งเสพติด จิตไม่ปกติจากโรคหรือสิ่งเสพติด จนเห็นภาพหลอน หรือเหตุกดดันอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความรุนแรงได้