แพทยสภาทำหนังสือตอบสมาคมจิตแพทย์ฯ หลังได้รับการร้องเรียนให้ตรวจสอบ “หมอวัชรพล” อ้างตัวเองเป็นจิตแพทย์และจิตแพทย์การสงคราม 1 ใน 5 ของโลก ยันชัดจบแพทย์จริง แต่ไม่ใช่จิตแพทย์ การอวดอ้างตน มีความผิด พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ชัดเจน แต่แค่ตักเตือนเบื้องต้นว่าห้ามใช้จิตแพทย์
วันนี้ (15 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา ได้ทำหนังสือแพทยสภา ที่ พส.001/872 เรื่อง การอ้างตนเป็นจิตแพทย์ของนายวัชรพล กำเนิดศิริ ถึงเลขาธิการสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 13 ธ.ค.2556 มีใจความว่า ตามที่อ้างถึงสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้แจ้งว่า ได้รับจดหมายร้องเรียนการอ้างตนเป็นจิตแพทย์และจิตแพทย์การสงคราม 1 ใน 5 ของโลก มีผลงานเป็นหนังสือเรื่องชีวิตพลัดถิ่น และได้รับเชิญไปบรรยายในหน่วยงาน องค์การต่างๆ ในประเทศไทย ผู้ร้องหาข้อมูลแล้วคาดว่าเป็นการโอ้อวดตน สมาคมจิตแพทย์ฯได้มีมติวันที่ 3 ต.ค. 2556 โดยให้เลขาธิการฯทำหนังสือส่งเรื่องร้องเรียนพร้อมหลักฐานเพิ่มเติมไปยังแพทยสภา โดยมีคำถาม 3 ประเด็นดังนี้ 1.ขอให้แพทยสภาตรวจสอบข้อเท็จจริง เรื่องการอ้างตนเป็นจิตแพทย์ว่าเป็นจิตแพทย์จริงหรือไม่ รวมถึงวุฒิการศึกษา ตามที่ปรากฏว่าเป็นจริงหรือไม่ 2.กรณีที่ไม่ใช่สมาชิกแพทยสภาแต่เวลาสัมภาษณ์ออกสื่อมวลชน รวมถึงการตีพิมพ์หนังสือใช้คำนำหน้าว่านายแพทย์,จิตแพทย์ น่าจะผิดมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ขอให้แพทยสภาดำเนินการ 3.ทางสมาคมจิตแพทย์ฯ ขอทราบแนวทางในการดำเนินการในกรณีที่มีผู้แอบอ้างว่าเป็นจิตแพทย์และให้สัมภาษณ์ ผ่านสื่อมวลชน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อวงการจิตแพทย์
สำนักงานเลขาธิการแพทมยสภาพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วขอเรียนชี้แจงดังนี้ 1.ตามเอกสารวุฒิการศึกษาที่ได้รับจากนายวัชรพล กำเนิดศิริ พบว่า นายวัชรพลได้รับ Masters of Science Degree in War and Psychiatry เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2550 ซึ่งการใช้คำว่าจิตแพทย์จึงไม่น่าจะถูกต้อง 2.นายวัชรพล กำเนิดศิริ จบแพทยศาสตรบัณฑิต มีสิทธิใช้คำว่านายแพทย์นำหน้า ได้ตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ซึ่งนายวัชรพล ได้สมัครเป็นสมาชิกแพทยสภาแล้ว อยู่ระหว่างการสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม 3.ในกรณีที่มีผู้แอบอ้างตน เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในสาขาต่างๆ ถือเป็นการกระทำผิดพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525
มาตรา 28 ที่กำหนดว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดใช้คำหรือข้อความที่แสดงให้ผู้อื่น เข้าใจว่า ตนเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่างๆ ทั้งนี้ รวมถึงการใช้ จ้างวาน หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำดังกล่าวให้แก่ตน เว้นแต่ผู้ได้รับวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขานั้นๆ จากแพทยสภา หรือที่แพทยสภารับรอง หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้มีสมบัติตามที่กำหนดในข้อบังคับแพทยสภา” และมาตรา 44 “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 27 หรือมาตรา 28 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิด 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ซึ่งในเบื้องต้นสำนักงานเลขางธิการแพทยสภา ได้มีหนังสือแจ้งเตือนนายวัชรพล กำเนิดศิริ ไม่ให้ใช้คำว่า “จิตแพทย์” แล้ว
นพ.สัมพันธ์ กล่าวอีกว่า เหตุที่ยังไม่มีบทลงโทษนายวัชรพล กำเนิดศิริ เนื่องจากทางเเพทยสภายังไม่มีการพิจารณาโทษเเละไม่มีการร้องเรียนว่ามีการกระทำผิดใดๆ จึงเป็นเพียงการออกหนังสือห้ามไม่ให้ใช้เเละอวดอ้างการเป็นจิตแพทย์และจิตแพทย์การสงคราม โดยทางเเพทยสภาจะหารือกันต่อไปว่าจะสามารถนำคำดังกล่าวมาใช้ได้หรือไม่เนื่องจากไม่มีคำนิยามและความหมายที่ชัดเจน
วันนี้ (15 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา ได้ทำหนังสือแพทยสภา ที่ พส.001/872 เรื่อง การอ้างตนเป็นจิตแพทย์ของนายวัชรพล กำเนิดศิริ ถึงเลขาธิการสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 13 ธ.ค.2556 มีใจความว่า ตามที่อ้างถึงสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้แจ้งว่า ได้รับจดหมายร้องเรียนการอ้างตนเป็นจิตแพทย์และจิตแพทย์การสงคราม 1 ใน 5 ของโลก มีผลงานเป็นหนังสือเรื่องชีวิตพลัดถิ่น และได้รับเชิญไปบรรยายในหน่วยงาน องค์การต่างๆ ในประเทศไทย ผู้ร้องหาข้อมูลแล้วคาดว่าเป็นการโอ้อวดตน สมาคมจิตแพทย์ฯได้มีมติวันที่ 3 ต.ค. 2556 โดยให้เลขาธิการฯทำหนังสือส่งเรื่องร้องเรียนพร้อมหลักฐานเพิ่มเติมไปยังแพทยสภา โดยมีคำถาม 3 ประเด็นดังนี้ 1.ขอให้แพทยสภาตรวจสอบข้อเท็จจริง เรื่องการอ้างตนเป็นจิตแพทย์ว่าเป็นจิตแพทย์จริงหรือไม่ รวมถึงวุฒิการศึกษา ตามที่ปรากฏว่าเป็นจริงหรือไม่ 2.กรณีที่ไม่ใช่สมาชิกแพทยสภาแต่เวลาสัมภาษณ์ออกสื่อมวลชน รวมถึงการตีพิมพ์หนังสือใช้คำนำหน้าว่านายแพทย์,จิตแพทย์ น่าจะผิดมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ขอให้แพทยสภาดำเนินการ 3.ทางสมาคมจิตแพทย์ฯ ขอทราบแนวทางในการดำเนินการในกรณีที่มีผู้แอบอ้างว่าเป็นจิตแพทย์และให้สัมภาษณ์ ผ่านสื่อมวลชน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อวงการจิตแพทย์
สำนักงานเลขาธิการแพทมยสภาพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วขอเรียนชี้แจงดังนี้ 1.ตามเอกสารวุฒิการศึกษาที่ได้รับจากนายวัชรพล กำเนิดศิริ พบว่า นายวัชรพลได้รับ Masters of Science Degree in War and Psychiatry เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2550 ซึ่งการใช้คำว่าจิตแพทย์จึงไม่น่าจะถูกต้อง 2.นายวัชรพล กำเนิดศิริ จบแพทยศาสตรบัณฑิต มีสิทธิใช้คำว่านายแพทย์นำหน้า ได้ตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ซึ่งนายวัชรพล ได้สมัครเป็นสมาชิกแพทยสภาแล้ว อยู่ระหว่างการสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม 3.ในกรณีที่มีผู้แอบอ้างตน เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในสาขาต่างๆ ถือเป็นการกระทำผิดพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525
มาตรา 28 ที่กำหนดว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดใช้คำหรือข้อความที่แสดงให้ผู้อื่น เข้าใจว่า ตนเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่างๆ ทั้งนี้ รวมถึงการใช้ จ้างวาน หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำดังกล่าวให้แก่ตน เว้นแต่ผู้ได้รับวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขานั้นๆ จากแพทยสภา หรือที่แพทยสภารับรอง หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้มีสมบัติตามที่กำหนดในข้อบังคับแพทยสภา” และมาตรา 44 “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 27 หรือมาตรา 28 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิด 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ซึ่งในเบื้องต้นสำนักงานเลขางธิการแพทยสภา ได้มีหนังสือแจ้งเตือนนายวัชรพล กำเนิดศิริ ไม่ให้ใช้คำว่า “จิตแพทย์” แล้ว
นพ.สัมพันธ์ กล่าวอีกว่า เหตุที่ยังไม่มีบทลงโทษนายวัชรพล กำเนิดศิริ เนื่องจากทางเเพทยสภายังไม่มีการพิจารณาโทษเเละไม่มีการร้องเรียนว่ามีการกระทำผิดใดๆ จึงเป็นเพียงการออกหนังสือห้ามไม่ให้ใช้เเละอวดอ้างการเป็นจิตแพทย์และจิตแพทย์การสงคราม โดยทางเเพทยสภาจะหารือกันต่อไปว่าจะสามารถนำคำดังกล่าวมาใช้ได้หรือไม่เนื่องจากไม่มีคำนิยามและความหมายที่ชัดเจน