ไทยเจ๋งทำโปรแกรมเลิกบุหรี่สำเร็จกว่าฝรั่งถึงเท่าตัว พบนักสูบอยากเลิกบุหรี่เกินกว่าครึ่ง แต่เลิกเองไม่ได้ ชี้ 2 ใน 3 ไม่ต้องใช้ยาช่วย กำลังใจสำคัญที่สุด
วันนี้ (6 มี.ค.) ที่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กล่าวในการประชุมวิชาการ “มหกรรมวิชาการ ฟ้าใส” ครั้งที่ 1 ว่า การรณรงค์ควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทยมีความก้าวหน้าไปอย่างมากในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์ยาสูบในทุกรูปแบบ การพัฒนาภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ การห้ามตั้งแสดงบุหรี่ ณ จุดขาย การขึ้นภาษีบุหรี่ โดยมาตรการเหล่านี้แม้จะให้ผลดีมากพอสมควร แต่ก็ยังคงมีคนไทยที่ยังคงสูบบุหรี่เป็นจำนวนมากถึง 13 ล้านคน ในจำนวนนี้กว่าครึ่งหนึ่งอยากเลิก แต่เลิกไม่ได้ ในขณะที่การให้บริการเลิกบุหรี่ของประเทศไทยยังคงอ่อนแอ นอกจากนี้ ยังถูกอุตสาหกรรมบุหรี่กระตุ้น การบริโภค โดยการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดหลากหลายรูปแบบ ทำให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ตลอดเวลา
“หลักฐานทางวิชาการยืนยันได้ว่า บุหรี่นั้นมีฤทธิ์เสพติดสูงจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ประชาชนจะสามารถเลิกได้ด้วยตัวเอง คลินิกฟ้าใส ถือเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงใดๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการเลิกบุหรี่ให้ประชาชนสามารถเลิกได้สำเร็จ โดยมีการเผยแพร่ อบรม และให้ความรู้ กับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีคลินิกฟ้าใสที่ให้บริการให้คำแนะนำในการเลิกบุหรี่กับประชาชน 274 แห่งทั่วประเทศ โดยเชื่อว่าการประชุมวิชาการครั้งนี้จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรสาธารณสุข และประชาชนให้เข้าใจประโยชน์และวิธีการเลิกบุหรี่ได้อย่างกว้างขวางขึ้น” ศ.พญ.สมศรี กล่าว
ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา กรรมการเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ คลินิกฟ้าใส กล่าวว่า การเลิกบุหรี่ซึ่งเป็นสารเสพติดนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายหากประชาชนต้องเลิกด้วยตัวเองทำให้โอกาสกลับมาสูบซ้ำหรือเลิกบุหรี่ไม่สำเร็จนั้นมีสูง โดยจากสถิติการให้บริการของคลินิกฟ้าใสในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีประชาชนเข้ารับบริการประมาณ 1 หมื่นราย โดยจากการติดตามอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน พบว่ามีผู้สามารถเลิกได้โดยไม่กลับไปสูบบุหรี่ซ้ำร้อยละ 50 ซึ่งเมื่อเทียบกับอัตราความสามารถในการเลิกบุหรี่ได้จากการให้บริการในประเทศตะวันตก พบว่า อยู่ที่ร้อยละ 25 ทำให้ถือว่าแนวทางการให้บริการเลิกบุหรี่ของไทยเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก โดยผู้ที่เข้ารับการบริการจะได้รับคำปรึกษาเพื่อหาสาเหตุการติดบุหรี่ เพื่อนำไปสู่การประเมินการรักษา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไปจนถึงการใช้ยาเพื่อเลิกบุหรี่ แต่พบว่าในจำนวนผู้ที่สามารถเลิกบุหรี่ได้มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ที่ต้องใช้ยา แสดงให้เห็นว่า แนวทางการให้คำปรึกษา การให้กำลังใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญในการเลิกบุหรี่อย่างมาก
“การเลิกบุหรี่จำเป็นต้องมีการวางแผน มีแนวทางที่ถูกต้อง จึงจะทำให้โอกาสเลิกบุหรี่สำเร็จเกิดขึ้นได้สูง โดยในการประชุมวิชาการครั้งที่ 1 นี้ จะมีการให้ความรู้กับบุคลากรที่ให้คำแนะนำในการเลิกบุหรี่ เช่น การสื่อสาร การทำสื่อให้ความรู้ กลวิธีการสร้างแรงจูงใจ ให้กำลังใจ กลยุทธ์บุหรี่ใหม่ รวมทั้งให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปที่สนใจ เช่น กินอย่างไรระหว่างเลิกบุหรี่ หรือการออกกำลังกายเพื่อขจัดสารพิษ เป็นต้น โดยเฉพาะการเสวนาถึงโทษและพิษภัยของผลิตภัณฑ์ยาสูบรุ่นใหม่ๆ เช่น บุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ และ บารากู่ไฟฟ้า ที่ผู้จำหน่ายมักให้ความรู้ผิดๆ ว่าบุหรี่เหล่านี้ไม่มีพิษภัย ทั้งที่จริงแล้วมีพิษไม่น้อยไปกว่าบุหรี่ชนิดปกติแต่อย่างใด” ผศ.นพ.สุทัศน์ กล่าว
วันนี้ (6 มี.ค.) ที่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กล่าวในการประชุมวิชาการ “มหกรรมวิชาการ ฟ้าใส” ครั้งที่ 1 ว่า การรณรงค์ควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทยมีความก้าวหน้าไปอย่างมากในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์ยาสูบในทุกรูปแบบ การพัฒนาภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ การห้ามตั้งแสดงบุหรี่ ณ จุดขาย การขึ้นภาษีบุหรี่ โดยมาตรการเหล่านี้แม้จะให้ผลดีมากพอสมควร แต่ก็ยังคงมีคนไทยที่ยังคงสูบบุหรี่เป็นจำนวนมากถึง 13 ล้านคน ในจำนวนนี้กว่าครึ่งหนึ่งอยากเลิก แต่เลิกไม่ได้ ในขณะที่การให้บริการเลิกบุหรี่ของประเทศไทยยังคงอ่อนแอ นอกจากนี้ ยังถูกอุตสาหกรรมบุหรี่กระตุ้น การบริโภค โดยการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดหลากหลายรูปแบบ ทำให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ตลอดเวลา
“หลักฐานทางวิชาการยืนยันได้ว่า บุหรี่นั้นมีฤทธิ์เสพติดสูงจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ประชาชนจะสามารถเลิกได้ด้วยตัวเอง คลินิกฟ้าใส ถือเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงใดๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการเลิกบุหรี่ให้ประชาชนสามารถเลิกได้สำเร็จ โดยมีการเผยแพร่ อบรม และให้ความรู้ กับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีคลินิกฟ้าใสที่ให้บริการให้คำแนะนำในการเลิกบุหรี่กับประชาชน 274 แห่งทั่วประเทศ โดยเชื่อว่าการประชุมวิชาการครั้งนี้จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรสาธารณสุข และประชาชนให้เข้าใจประโยชน์และวิธีการเลิกบุหรี่ได้อย่างกว้างขวางขึ้น” ศ.พญ.สมศรี กล่าว
ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา กรรมการเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ คลินิกฟ้าใส กล่าวว่า การเลิกบุหรี่ซึ่งเป็นสารเสพติดนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายหากประชาชนต้องเลิกด้วยตัวเองทำให้โอกาสกลับมาสูบซ้ำหรือเลิกบุหรี่ไม่สำเร็จนั้นมีสูง โดยจากสถิติการให้บริการของคลินิกฟ้าใสในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีประชาชนเข้ารับบริการประมาณ 1 หมื่นราย โดยจากการติดตามอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน พบว่ามีผู้สามารถเลิกได้โดยไม่กลับไปสูบบุหรี่ซ้ำร้อยละ 50 ซึ่งเมื่อเทียบกับอัตราความสามารถในการเลิกบุหรี่ได้จากการให้บริการในประเทศตะวันตก พบว่า อยู่ที่ร้อยละ 25 ทำให้ถือว่าแนวทางการให้บริการเลิกบุหรี่ของไทยเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก โดยผู้ที่เข้ารับการบริการจะได้รับคำปรึกษาเพื่อหาสาเหตุการติดบุหรี่ เพื่อนำไปสู่การประเมินการรักษา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไปจนถึงการใช้ยาเพื่อเลิกบุหรี่ แต่พบว่าในจำนวนผู้ที่สามารถเลิกบุหรี่ได้มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ที่ต้องใช้ยา แสดงให้เห็นว่า แนวทางการให้คำปรึกษา การให้กำลังใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญในการเลิกบุหรี่อย่างมาก
“การเลิกบุหรี่จำเป็นต้องมีการวางแผน มีแนวทางที่ถูกต้อง จึงจะทำให้โอกาสเลิกบุหรี่สำเร็จเกิดขึ้นได้สูง โดยในการประชุมวิชาการครั้งที่ 1 นี้ จะมีการให้ความรู้กับบุคลากรที่ให้คำแนะนำในการเลิกบุหรี่ เช่น การสื่อสาร การทำสื่อให้ความรู้ กลวิธีการสร้างแรงจูงใจ ให้กำลังใจ กลยุทธ์บุหรี่ใหม่ รวมทั้งให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปที่สนใจ เช่น กินอย่างไรระหว่างเลิกบุหรี่ หรือการออกกำลังกายเพื่อขจัดสารพิษ เป็นต้น โดยเฉพาะการเสวนาถึงโทษและพิษภัยของผลิตภัณฑ์ยาสูบรุ่นใหม่ๆ เช่น บุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ และ บารากู่ไฟฟ้า ที่ผู้จำหน่ายมักให้ความรู้ผิดๆ ว่าบุหรี่เหล่านี้ไม่มีพิษภัย ทั้งที่จริงแล้วมีพิษไม่น้อยไปกว่าบุหรี่ชนิดปกติแต่อย่างใด” ผศ.นพ.สุทัศน์ กล่าว