หมอโรคปอดชี้ “บารากู่ไฟฟ้า” หลอกลวงวัยรุ่น เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด เพราะแท้จริงคือบุหรี่ไฟฟ้าชูรส รับหากไม่มีนิโคตินจริงก็ไม่เกิดการเสพติด แต่เตือนการรับควันใดๆ ก็ตามเข้าปอดล้วนเป็นอันตรายแน่นอน ก่อนฟันธงผิดกฎหมาย เพราะเป็นสินค้าเลียนแบบบุหรี่
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ขณะนี้บารากู่ไฟฟ้ากำลังฮิตในหมู่วัยรุ่น ทั้งตามสถานที่ท่องเที่ยว ผับ บาร์ และมีการโฆษณาขายผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างเปิดเผย โดยระบุว่า มีรสผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น รสแอปเปิล รสเชอรี่ รสสตรอเบอรี และรสส้ม เป็นต้น พร้อมบรรยายสรรพคุณว่า บารากู่ไฟฟ้าไม่มีสารนิโคติน สูบแล้วมีแต่กลิ่นผลไม้ และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงมีผู้สอบถามมายังมูลนิธิฯเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ขอชี้แจงว่า บารากู่ไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ที่ออกมาหลอกเงินจากวัยรุ่น เพราะอุปกรณ์ในการสูบเหมือนบุหรี่ไฟฟ้าที่เป็นแท่งมีแบตเตอรีในตัว ภายในแท่งบรรจุแผ่นใยสังเคราะห์ชุบน้ำยากลิ่นผลไม้มีลักษณะคล้ายน้ำมัน มีกลิ่นฉุนมาก เวลาสูบแล้วพ่นออกมาจะเป็นไอ โดยใช้หมดมวนแล้วทิ้งเลยก็มี
“การที่ผู้ขายเรียกชื่อสินค้าใหม่นี้ว่า บารากู่ไฟฟ้า เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด เนื่องจากบารากู่ต้นตำรับเป็นการหมักยาเส้นกับกากผลไม้ต่างๆ ทำให้เวลาสูบบารากู่มีกลิ่นผลไม้ แต่บารากู่ไฟฟ้านั้น กลิ่นผลไม้มาจากสารเคมีสังเคราะห์ให้เกิดกลิ่นผลไม้ชนิดต่างๆ อาจจะเรียก บารากู่ไฟฟ้าว่าบุหรี่ไฟฟ้าชูรสก็คงจะไม่ผิด ส่วนที่ผู้ขายบอกว่าไม่มีสารนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้านั้นอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ แต่ถึงไม่มีสารนิโคตินในบารากู่ไฟฟ้า แต่สารเคมีชนิดต่างๆ ที่ทำให้เกิดกลิ่นผลไม้ แม้ยังไม่ทราบว่าเป็นสารเคมีตัวใดบ้าง แต่เมื่อสูดเข้าสู่ปอดแล้วถือว่าเป็นอันตรายแน่นอน แต่จะอันตรายมากน้อยเพียงใดก็ยังไม่มีข้อมูลที่สรุปได้” ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ศ.นพ.ประกิต กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม จากการแกะแท่งบารากู่ไฟฟ้าออกดูที่พบสารคล้ายน้ำมันกลิ่นฉุนจัด ในฐานะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด ขอยืนยันว่าสารเคมีปรุงแต่งกลิ่นซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอม เป็นอันตรายต่อปอดและร่างกายแน่ๆ และการรับควันอะไรก็ตามเข้าไปในปอดล้วนแต่เป็นอันตรายทั้งนั้น เพราะปอดของคนเราต้องการเพียงอากาศบริสุทธิ์ ที่น่าห่วงคือปอดคนเราไม่มีประสาทที่บอกให้รู้ว่าเกิดอาการระคายเคือง อย่างควันบุหรี่เข้าตาจะรู้สึกแสบตา แต่เมื่อเข้าปอดแล้วเราจะไม่รู้สึกระคายเคือง เว้นแต่เมื่อส่องกล้องเข้าไปจะเห็นการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม และหากเอาน้ำในหลอดลมมาตรวจก็จะพบว่ามีเม็ดเลือดขาวออกมากผิดปกติเพื่อสู้กับควันบุหรี่
ศ.นพ.ประกิต กล่าวด้วยว่า การตรวจสอบสารเคมีในบารากู่ไฟฟ้าต้องดำเนินการส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งเมื่อรับทราบว่าเป็นสารเคมีตัวใดก็จะสามารถบอกถึงอันตรายที่เกิดจากการสูบบารากู่ไฟฟ้าได้ ส่วนที่บอกว่าไม่มีสารนิโคตินในบารากู่ไฟฟ้านั้น ถ้าหากไม่มีจริงๆ บารากู่ไฟฟ้าก็จะไม่เสพติด ไม่นานคนก็จะเลิกสูบไปเอง ส่วนในทางกฎหมายนั้น ผู้ขายบารากู่ไฟฟ้าที่มีลักษณะเป็นแท่งเหมือนบุหรี่ มีความผิดตามมาตรา 10 พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 เนื่องจากเข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์เลียนแบบสินค้ายาสูบ มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
“ผมอยากเตือนวัยรุ่นว่า อย่าตกเป็นเหยื่อให้กับพ่อค้าบารากู่ไฟฟ้า เพราะจะทั้งเสียเงิน เสียสุขภาพ และเสียรู้แก่พ่อค้าที่หวังแต่ผลกำไรเท่านั้น ถ้าไม่เชื่อก็ขอให้ลองแกะแท่งบารากู่ไฟฟ้าออก แล้วดมกลิ่นดู รับรองคุณจะไม่สูบมันอีก” ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ขณะนี้บารากู่ไฟฟ้ากำลังฮิตในหมู่วัยรุ่น ทั้งตามสถานที่ท่องเที่ยว ผับ บาร์ และมีการโฆษณาขายผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างเปิดเผย โดยระบุว่า มีรสผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น รสแอปเปิล รสเชอรี่ รสสตรอเบอรี และรสส้ม เป็นต้น พร้อมบรรยายสรรพคุณว่า บารากู่ไฟฟ้าไม่มีสารนิโคติน สูบแล้วมีแต่กลิ่นผลไม้ และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงมีผู้สอบถามมายังมูลนิธิฯเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ขอชี้แจงว่า บารากู่ไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ที่ออกมาหลอกเงินจากวัยรุ่น เพราะอุปกรณ์ในการสูบเหมือนบุหรี่ไฟฟ้าที่เป็นแท่งมีแบตเตอรีในตัว ภายในแท่งบรรจุแผ่นใยสังเคราะห์ชุบน้ำยากลิ่นผลไม้มีลักษณะคล้ายน้ำมัน มีกลิ่นฉุนมาก เวลาสูบแล้วพ่นออกมาจะเป็นไอ โดยใช้หมดมวนแล้วทิ้งเลยก็มี
“การที่ผู้ขายเรียกชื่อสินค้าใหม่นี้ว่า บารากู่ไฟฟ้า เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด เนื่องจากบารากู่ต้นตำรับเป็นการหมักยาเส้นกับกากผลไม้ต่างๆ ทำให้เวลาสูบบารากู่มีกลิ่นผลไม้ แต่บารากู่ไฟฟ้านั้น กลิ่นผลไม้มาจากสารเคมีสังเคราะห์ให้เกิดกลิ่นผลไม้ชนิดต่างๆ อาจจะเรียก บารากู่ไฟฟ้าว่าบุหรี่ไฟฟ้าชูรสก็คงจะไม่ผิด ส่วนที่ผู้ขายบอกว่าไม่มีสารนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้านั้นอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ แต่ถึงไม่มีสารนิโคตินในบารากู่ไฟฟ้า แต่สารเคมีชนิดต่างๆ ที่ทำให้เกิดกลิ่นผลไม้ แม้ยังไม่ทราบว่าเป็นสารเคมีตัวใดบ้าง แต่เมื่อสูดเข้าสู่ปอดแล้วถือว่าเป็นอันตรายแน่นอน แต่จะอันตรายมากน้อยเพียงใดก็ยังไม่มีข้อมูลที่สรุปได้” ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ศ.นพ.ประกิต กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม จากการแกะแท่งบารากู่ไฟฟ้าออกดูที่พบสารคล้ายน้ำมันกลิ่นฉุนจัด ในฐานะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด ขอยืนยันว่าสารเคมีปรุงแต่งกลิ่นซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอม เป็นอันตรายต่อปอดและร่างกายแน่ๆ และการรับควันอะไรก็ตามเข้าไปในปอดล้วนแต่เป็นอันตรายทั้งนั้น เพราะปอดของคนเราต้องการเพียงอากาศบริสุทธิ์ ที่น่าห่วงคือปอดคนเราไม่มีประสาทที่บอกให้รู้ว่าเกิดอาการระคายเคือง อย่างควันบุหรี่เข้าตาจะรู้สึกแสบตา แต่เมื่อเข้าปอดแล้วเราจะไม่รู้สึกระคายเคือง เว้นแต่เมื่อส่องกล้องเข้าไปจะเห็นการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม และหากเอาน้ำในหลอดลมมาตรวจก็จะพบว่ามีเม็ดเลือดขาวออกมากผิดปกติเพื่อสู้กับควันบุหรี่
ศ.นพ.ประกิต กล่าวด้วยว่า การตรวจสอบสารเคมีในบารากู่ไฟฟ้าต้องดำเนินการส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งเมื่อรับทราบว่าเป็นสารเคมีตัวใดก็จะสามารถบอกถึงอันตรายที่เกิดจากการสูบบารากู่ไฟฟ้าได้ ส่วนที่บอกว่าไม่มีสารนิโคตินในบารากู่ไฟฟ้านั้น ถ้าหากไม่มีจริงๆ บารากู่ไฟฟ้าก็จะไม่เสพติด ไม่นานคนก็จะเลิกสูบไปเอง ส่วนในทางกฎหมายนั้น ผู้ขายบารากู่ไฟฟ้าที่มีลักษณะเป็นแท่งเหมือนบุหรี่ มีความผิดตามมาตรา 10 พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 เนื่องจากเข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์เลียนแบบสินค้ายาสูบ มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
“ผมอยากเตือนวัยรุ่นว่า อย่าตกเป็นเหยื่อให้กับพ่อค้าบารากู่ไฟฟ้า เพราะจะทั้งเสียเงิน เสียสุขภาพ และเสียรู้แก่พ่อค้าที่หวังแต่ผลกำไรเท่านั้น ถ้าไม่เชื่อก็ขอให้ลองแกะแท่งบารากู่ไฟฟ้าออก แล้วดมกลิ่นดู รับรองคุณจะไม่สูบมันอีก” ศ.นพ.ประกิต กล่าว