กรมศิลป์นำนักวิชาการลงพื้นที่ย้อนรอยชีวิตชาวอยุธยาในพม่า ยังไม่ชัดสุสาน “ลินซินกง” ใช่มีสถูปขุนหลวงหาวัดกษัตริย์แห่งอยุธยาด้วยหรือไม่ ย้ำต้องพิสูจน์รอบคอบป้องกันเกิดข้อโต้แย้งภายหลัง
นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กรมศิลปากร ได้นำคณะผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ เดินทางไปยังเมืองมัณฑะเลย์ และเมืองสะกาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ตามโครงการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เรื่อง ชาวอยุธยาในเมียนมาร์ : ศึกษาในเขตปกครองมัณฑะเลย์และเขตปกครองสะกาย ซึ่งสืบเนื่องมาจากที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ได้แจ้งกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เมื่อปี 2555 ว่า คณะกรรมการพัฒนาเมืองมัณฑะเลย์ มีแผนปรับสภาพพื้นที่สุสานลินซินกง ซึ่งเชื่อว่า มีสถูปบรรจุพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 หรือ สมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง ดังนั้น กต.จึงได้ขอความร่วมมือ วธ.โดยกรมศิลปากร มาดำเนินการศึกษาเรื่องของประวัติศาสตร์และโบราณคดีเรื่องราวของชาวอยุธยาในเมียนมาร์ เพื่อศึกษาความเป็นอยู่ ชุมชนของคนไทย ในมิติทางวัฒนธรรม ในการส่งความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศไทยกับเมียนมาร์ด้วย
นายเอนก กล่าวต่อไปว่า การมาศึกษาเรื่องราวของชาวอยุธยาในเมียนมาร์ ครั้งนี้ กรมศิลปากร ได้ดำเนินการศึกษาเอกสาร และข้อมูล ทั้งเอกสารทางประวัติศาสตร์ ภาพถ่าย แผนผัง แผนที่ ภาพลายเส้น สถานที่จริง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลมาประมวลผลทางวิชาการที่เกี่ยวเนื่อง กับเรื่องราวของชาวอยุธยาในเมียนมาร์ เนื่องจากการดำเนินงานทางโบราณคดี โดยเฉพาะการพิสูจน์ที่มาของการตั้งชุมชนคนไทยและตัวบุคคลต่างๆ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและถือเป็นกรณีพิเศษ จึงต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนหลายด้านประกอบ ซึ่งหากเป็นเรื่องของอดีตที่เกี่ยวเนื่องกับบุคคลสำคัญของชาติด้วยแล้ว จะต้องมีการพิสูจน์ทราบอย่างละเอียดรอบคอบ มีข้อมูลที่ชัดเจนไม่ให้มีข้อโต้แย้งได้
“ขณะนี้ผมและคณะผู้เชี่ยวชาญ ได้เข้าหารือกับนายเหนี่ยว หมิน ตุล รองอธิบดีกรมโบราณคดี ของเมียนมาร์ รวมทั้งกำลังดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่จริง โดยเฉพาะการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับคนในพื้นที่ที่สืบเชื้อสายไทย จากการบอกเล่าเรื่องราวที่บรรพบุรุษได้เล่าสืบต่อกันมา เพื่อนำมารวบรวมวิเคราะห์ จากข้อมูลทางรายงานวิชาการ ที่นักวิชาการได้เคยได้ลงพื้นที่สำรวจเอาไว้ รวมถึงต้องใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการตรวจพิสูจน์หลักฐานต่างๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญได้พบเจอ ซึ่งคาดว่า จะต้องใช้เวลาสักระยะในการสืบพิสูจน์ เพื่อให้ได้ข้อมูลยืนยันได้ว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ของไทยต่อไป” อธิบดีกรมศิลปากร กล่าว
นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กรมศิลปากร ได้นำคณะผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ เดินทางไปยังเมืองมัณฑะเลย์ และเมืองสะกาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ตามโครงการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เรื่อง ชาวอยุธยาในเมียนมาร์ : ศึกษาในเขตปกครองมัณฑะเลย์และเขตปกครองสะกาย ซึ่งสืบเนื่องมาจากที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ได้แจ้งกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เมื่อปี 2555 ว่า คณะกรรมการพัฒนาเมืองมัณฑะเลย์ มีแผนปรับสภาพพื้นที่สุสานลินซินกง ซึ่งเชื่อว่า มีสถูปบรรจุพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 หรือ สมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง ดังนั้น กต.จึงได้ขอความร่วมมือ วธ.โดยกรมศิลปากร มาดำเนินการศึกษาเรื่องของประวัติศาสตร์และโบราณคดีเรื่องราวของชาวอยุธยาในเมียนมาร์ เพื่อศึกษาความเป็นอยู่ ชุมชนของคนไทย ในมิติทางวัฒนธรรม ในการส่งความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศไทยกับเมียนมาร์ด้วย
นายเอนก กล่าวต่อไปว่า การมาศึกษาเรื่องราวของชาวอยุธยาในเมียนมาร์ ครั้งนี้ กรมศิลปากร ได้ดำเนินการศึกษาเอกสาร และข้อมูล ทั้งเอกสารทางประวัติศาสตร์ ภาพถ่าย แผนผัง แผนที่ ภาพลายเส้น สถานที่จริง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลมาประมวลผลทางวิชาการที่เกี่ยวเนื่อง กับเรื่องราวของชาวอยุธยาในเมียนมาร์ เนื่องจากการดำเนินงานทางโบราณคดี โดยเฉพาะการพิสูจน์ที่มาของการตั้งชุมชนคนไทยและตัวบุคคลต่างๆ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและถือเป็นกรณีพิเศษ จึงต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนหลายด้านประกอบ ซึ่งหากเป็นเรื่องของอดีตที่เกี่ยวเนื่องกับบุคคลสำคัญของชาติด้วยแล้ว จะต้องมีการพิสูจน์ทราบอย่างละเอียดรอบคอบ มีข้อมูลที่ชัดเจนไม่ให้มีข้อโต้แย้งได้
“ขณะนี้ผมและคณะผู้เชี่ยวชาญ ได้เข้าหารือกับนายเหนี่ยว หมิน ตุล รองอธิบดีกรมโบราณคดี ของเมียนมาร์ รวมทั้งกำลังดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่จริง โดยเฉพาะการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับคนในพื้นที่ที่สืบเชื้อสายไทย จากการบอกเล่าเรื่องราวที่บรรพบุรุษได้เล่าสืบต่อกันมา เพื่อนำมารวบรวมวิเคราะห์ จากข้อมูลทางรายงานวิชาการ ที่นักวิชาการได้เคยได้ลงพื้นที่สำรวจเอาไว้ รวมถึงต้องใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการตรวจพิสูจน์หลักฐานต่างๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญได้พบเจอ ซึ่งคาดว่า จะต้องใช้เวลาสักระยะในการสืบพิสูจน์ เพื่อให้ได้ข้อมูลยืนยันได้ว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ของไทยต่อไป” อธิบดีกรมศิลปากร กล่าว