โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง มีลักษณะเป็นผื่นแดงนูน และมีขุยสีขาวเป็นมันคล้ายสีเงิน เกิดจากมีจำนวนเซลล์มากผิดปกติที่ผิวหนัง ตามปกติเซลล์ผิวหนัง จะใช้เวลาในการเติบโตตั้งแต่เป็นเซลล์อ่อนจนโตเต็มที่ประมาณ 28 วัน แต่ในสะเก็ดเงินมีอัตราการเติบโตของเซลล์ผิดปกติโดยใช้เวลาเพียง 4 วันเท่านั้น ทำให้บริเวณนั้นมีผิวหนากว่าปกติ
พญ.ปรียา กุลละวณิชย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโรคผิวหนัง/ที่ปรึกษาสถาบันโรคผิวหนังกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสาเหตุแห่งโรคผิวหนังชนิดนี้ว่าส่วนมากเป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรม คนในครอบครัวเดียวกันอาจเป็นเหมือนกัน แต่มีอาการมากน้อยไม่เท่ากัน ทั้งนี้ สะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ใช่โรคเชื้อรา
“ในเรื่องของอาการนั้น จะมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง มีลักษณะนูนแดงเป็นวงๆ ขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง อาจเป็นวงกว้างรูปร่างไม่แน่นอน คล้ายรูปแผนที่ และมีสะเก็ดปกคลุม เมื่อขูดสะเก็ดออกจะร่วงเป็นขุย และอาจมีจุดเลือดออกเล็กๆ ที่ผิว มักเป็นบริเวณข้อ เช่น ข้อศอก หัวเข่า ข้อนิ้วมือ บริเวณสันกระดูก เช่น หน้าผาก หน้าแข้ง ฝ่ามือฝ่าเท้า หนังศีรษะ และบริเวณที่ถูกเสียดสีบ่อยๆ เช่นหลังเท้า ข้อเท้า อาจเป็นมากบ้างน้อยบ้าง แตกต่างกันในแต่ละบุคคล บางคนเป็นแค่ 2-3 จุด บางคนอาจลุกลามไปทั่วทั้งตัว ที่ศีรษะเป็นรังแคบางๆ หรือเป็นปื้นหนาเป็นหย่อมๆ เล็บผิดปกติ เล็บล่อนไม่ติดกับผิว หรือหนาขรุขระเปื่อยยุ่ย สีเปลี่ยนแปลง หรือเล็บกร่อนจนไม่เหลือเล็บดี ลักษณะคล้ายกับเป็นเชื้อราที่เล็บ อาจมีอาการปวดข้อและข้อพิการได้”
อย่างไรก็ดี ถ้าหากเป็นขึ้นมาแล้ว จะดูแลรักษาอย่างไร พญ.ปรียา แนะนำไว้ดังนี้
“หลักการรักษาคือ รักษาตามอาการที่เป็น เช่น ใช้ยาทาเฉพาะที่ ได้แก่ ครีมหรือขี้ผึ้งผสมคอร์ติโคสเตียรอยด์ โคลทาร์ กรดซาลิซิลิกหรือแอนทราลิน ที่ศีรษะใช้แชมพูสระผมผสมโคลทาร์ ก่อนสระหมักผมด้วยน้ำมัน เช่น น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันมะกอกทิ้งไว้ค้างคืน อาจใช้โลชั่นผสมกรดซาลิซิลิก หรือสารละลายขุยนวดศีรษะเพื่อช่วยให้รังแคหลุดลอกออก ที่เล็บใช้ยาทา ยาฉีด หรือยารับประทาน ไม่ควรถอดเล็บ ให้ตากแดด หรือฉายแสงอัลตราไวโอเลต ส่วนยารับประทาน ใช้เฉพาะรายที่มีอาการรุนแรงตามความจำเป็น เช่น โซลาเรน (ใช้ร่วมกับการฉายแสง) เรตินอยด์ หรือเมทโทเทรกเสท แพทย์จะเลือกใช้ยาและวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้ยาด้วย”
ถึงแม้โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคที่ไม่หายขาด แต่จะมีช่วงเวลาที่มีอาการดีขึ้นเป็นระยะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนของผู้ป่วย ภายหลังการรักษาที่ถูกต้องอาจหายไปนานเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้
“ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกำเริบ ก็คือ รักษาสุขภาพของร่างกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนเพียงพอ อยู่ในที่อากาศสดชื่น หลีกเลี่ยงแสงแดดที่ร้อนจัดเกินไป รักษาความสะอาดของร่างกายสม่ำเสมอ ป้องกันการติดเชื้อ เช่น เป็นหวัด เจ็บคอ ไม่เครียด ป้องกันการบาดเจ็บที่ผิวหนังเนื่องจากมีบาดแผล รวมถึงระวังไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนอันจะนำไปสู่การกำเริบของโรคได้” พญ.ปรียา กล่าว
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ www.manager.co.th/vdo
พญ.ปรียา กุลละวณิชย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโรคผิวหนัง/ที่ปรึกษาสถาบันโรคผิวหนังกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสาเหตุแห่งโรคผิวหนังชนิดนี้ว่าส่วนมากเป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรม คนในครอบครัวเดียวกันอาจเป็นเหมือนกัน แต่มีอาการมากน้อยไม่เท่ากัน ทั้งนี้ สะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ใช่โรคเชื้อรา
“ในเรื่องของอาการนั้น จะมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง มีลักษณะนูนแดงเป็นวงๆ ขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง อาจเป็นวงกว้างรูปร่างไม่แน่นอน คล้ายรูปแผนที่ และมีสะเก็ดปกคลุม เมื่อขูดสะเก็ดออกจะร่วงเป็นขุย และอาจมีจุดเลือดออกเล็กๆ ที่ผิว มักเป็นบริเวณข้อ เช่น ข้อศอก หัวเข่า ข้อนิ้วมือ บริเวณสันกระดูก เช่น หน้าผาก หน้าแข้ง ฝ่ามือฝ่าเท้า หนังศีรษะ และบริเวณที่ถูกเสียดสีบ่อยๆ เช่นหลังเท้า ข้อเท้า อาจเป็นมากบ้างน้อยบ้าง แตกต่างกันในแต่ละบุคคล บางคนเป็นแค่ 2-3 จุด บางคนอาจลุกลามไปทั่วทั้งตัว ที่ศีรษะเป็นรังแคบางๆ หรือเป็นปื้นหนาเป็นหย่อมๆ เล็บผิดปกติ เล็บล่อนไม่ติดกับผิว หรือหนาขรุขระเปื่อยยุ่ย สีเปลี่ยนแปลง หรือเล็บกร่อนจนไม่เหลือเล็บดี ลักษณะคล้ายกับเป็นเชื้อราที่เล็บ อาจมีอาการปวดข้อและข้อพิการได้”
อย่างไรก็ดี ถ้าหากเป็นขึ้นมาแล้ว จะดูแลรักษาอย่างไร พญ.ปรียา แนะนำไว้ดังนี้
“หลักการรักษาคือ รักษาตามอาการที่เป็น เช่น ใช้ยาทาเฉพาะที่ ได้แก่ ครีมหรือขี้ผึ้งผสมคอร์ติโคสเตียรอยด์ โคลทาร์ กรดซาลิซิลิกหรือแอนทราลิน ที่ศีรษะใช้แชมพูสระผมผสมโคลทาร์ ก่อนสระหมักผมด้วยน้ำมัน เช่น น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันมะกอกทิ้งไว้ค้างคืน อาจใช้โลชั่นผสมกรดซาลิซิลิก หรือสารละลายขุยนวดศีรษะเพื่อช่วยให้รังแคหลุดลอกออก ที่เล็บใช้ยาทา ยาฉีด หรือยารับประทาน ไม่ควรถอดเล็บ ให้ตากแดด หรือฉายแสงอัลตราไวโอเลต ส่วนยารับประทาน ใช้เฉพาะรายที่มีอาการรุนแรงตามความจำเป็น เช่น โซลาเรน (ใช้ร่วมกับการฉายแสง) เรตินอยด์ หรือเมทโทเทรกเสท แพทย์จะเลือกใช้ยาและวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้ยาด้วย”
ถึงแม้โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคที่ไม่หายขาด แต่จะมีช่วงเวลาที่มีอาการดีขึ้นเป็นระยะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนของผู้ป่วย ภายหลังการรักษาที่ถูกต้องอาจหายไปนานเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้
“ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกำเริบ ก็คือ รักษาสุขภาพของร่างกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนเพียงพอ อยู่ในที่อากาศสดชื่น หลีกเลี่ยงแสงแดดที่ร้อนจัดเกินไป รักษาความสะอาดของร่างกายสม่ำเสมอ ป้องกันการติดเชื้อ เช่น เป็นหวัด เจ็บคอ ไม่เครียด ป้องกันการบาดเจ็บที่ผิวหนังเนื่องจากมีบาดแผล รวมถึงระวังไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนอันจะนำไปสู่การกำเริบของโรคได้” พญ.ปรียา กล่าว
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ www.manager.co.th/vdo