สปสช.ชวน ขรก.-พนักงาน อปท. “เบิกจ่ายตรงกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาล อปท.” ฟุ้งสะดวกรับบริการ ไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า ย้ำระบบใกล้สมบูรณ์เกือบ 100% เผยความคืบหน้าหลังดำเนินงาน 4 เดือน มีหน่วยบริการทำเรื่องขอเบิกจ่ายตรง 3.6 แสนครั้ง เป็นเงิน 7.4 ร้อยล้านบาท
วันนี้ (25 ก.พ.) ที่โรงแรมริเวอร์ไซด์ กทม. นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวชี้แจงทำความเข้าใจ “ระบบการเบิกจ่ายตรงสิทธิสวัสิการค่ารักษาพยาบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)” ในการประชุมแนวทางปฏิบัติในการเข้ารับบริการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างประจำ และครอบครัว” จัดโดยสมาคมข้าราชการและพนักงานจ้างท้องถิ่นแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีตัวแทนข้าราชการส่วนท้องถิ่นเข้าร่วม 300 คน
นพ.วินัย กล่าวว่า การรักษาพยาบาลของข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่น แต่เดิมเป็นระบบที่แยกกองทุนรักษาพยาบาลของแต่ละท้องถิ่นในการดำเนินการกันเอง โดยข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่นที่เข้ารับบริการรักษาพยาบาลต้องสำรองจ่ายไปก่อนและนำมาเบิกจ่ายในภายหลัง ส่งผลให้เกิดปัญหาการกู้หนี้ยืมเงินในการนำมาสำรองจ่ายนี้ ถือเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าถึงการรักษา ด้วยเหตุนี้จึงมีการผลักดันจัดตั้งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการส่วนท้องถิ่น หรือ กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาล อปท.พร้อมให้มีสิทธิเบิกจ่ายตรงเทียบเท่าข้าราชการสังกัดสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ถือเป็นนโยบายรัฐบาล และได้ลงนามความร่วมมือ 13 องค์กร พร้อมออกประกาศเป็น พ.ร.ก.มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา และมอบให้ สปสช.ทำหน้าที่ในการจัดการบริหารกองทุน
“สมัยก่อนค่ารักษาพยาบาลแต่เดิมจะถูกส่งกระจายไปยังท้องถิ่นก่อน แต่การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลนี้จะทำการตัดงบประมาณแต่ต้นน้ำเพื่อนำมาเข้ากองทุน ที่คำนวณอ้างอิงจากค่ารักษาพยาบาลในระบบสวัสดิการข้าราชการ อยู่ที่ 12,000 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งจำนวนข้าราชการท้องถิ่นมีราว 2 แสนคน เมื่อรวมคนในครอบครัว คาดว่าจะอยู่ที่ 7 แสนคน เบื้องต้นทางองค์กรส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดเตรียมงบประมาณไว้นที่ 7.061 ล้านบาท และได้โอนมายัง สปสช.เพื่อดำเนินการ 4.061 ล้านบาทแล้ว” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.วินัย กล่าวว่า จากการดำเนินงานภายหลังเริ่มกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาล อปท.ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมานั้น จากข้อมูล ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 มีหน่วยบริการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากระบบเบิกจ่ายตรงมายัง สปสช.928 แห่ง แยกเป็นการเบิกจ่ายผู้ป่วยนอก 341,560 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 342,061,381 ล้านบาท เบิกจ่ายผู้ป่วยใน 22,594 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 400,810,316 ล้านบาท รวมจำนวนบริการ 364,154 ครั้ง เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 742,871,697 ล้านบาท ทั้งนี้ จากข้อมูลดังกล่าวถือว่ามีการเบิกจ่ายตรงที่น้อยมาก จึงอยากให้ข้าราชการและพนักงาน อปท. ลงทะเบียนเพื่อเบิกจ่ายตรงเพิ่มมากขึ้น ขณะที่การเบิกจ่ายโดยใบเสร็จมี 70,140 ใบเสร็จ เป็นเงินประมาณ 137.9 ล้านบาท โดย สปสช.อนุมัติแล้ว 55.1 ล้านบาท ที่เหลืออยู่ระหว่างตรวจสอบ
นพ.วินัย กล่าวย้ำว่า ขณะนี้ข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่นสามารถลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงไม่ต้องสำรองจ่ายได้ เพียงแค่ลงทะเบียนผู้มีสิทธิกับทาง อปท.ที่สังกัดก่อนเท่านั้น เพื่อให้มีรายชื่อปรากฎในฐานทะเบียนของทาง สปสช.ที่เป็นการยืนยันว่า ท่านเป็นผู้มีสิทธิในกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลนี้ ทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้หน่วยบริการทั่วประเทศในการตรวจสอบว่าไม่มีปัญหาในการเบิกจ่ายค่ารักษาแน่นอน ทั้งนั้ท่านสามารถตรวจสอบว่ามีชื่อในฐานทะเบียน สปสช.แล้วหรือไม่ เพียงสอบถามผ่านสายด่วน 1330 และหากพบว่ายังไม่มีรายชื่อให้ติดต่อกับทาง อปท.เพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิโดยเร็ว
อย่างไรก็ตามในกรณีที่เข้ารักษาพยาบาลโดยไม่ได้ลงในฐานทะเบียนเพื่อเบิกจ่ายตรงและได้สำรองจ่ายไปก่อนนั้น ทาง สปสช.ได้ออกแบบการเบิกจ่ายไว้เช่นกัน เพียงแต่ให้นำใบเสร็จส่งผ่านทาง อปท.ต้นสังกัดเพื่อเบิกค่ารักษากับทาง สปสช.ได้ แต่จะมีความยุ่งยากและต้องใช้เวลามากกว่าต่างจากระบบเบิกจ่ายตรง ดังนั้นจึงอยากให้ข้าราชการพนักงาน อปท.ลงทะเบียนระบบเบิกจ่ายตรง ซึ่งขณะนี้ความสมบูรณ์ของระบบเกือบ 100% แล้ว ทั้งนี้ในกรณีมีปัญหาการเข้ารับบริการสามารถแจ้งมายัง สปสช. โดยผ่านทางสายด่วน 1330 ได้เช่นกัน
วันนี้ (25 ก.พ.) ที่โรงแรมริเวอร์ไซด์ กทม. นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวชี้แจงทำความเข้าใจ “ระบบการเบิกจ่ายตรงสิทธิสวัสิการค่ารักษาพยาบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)” ในการประชุมแนวทางปฏิบัติในการเข้ารับบริการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างประจำ และครอบครัว” จัดโดยสมาคมข้าราชการและพนักงานจ้างท้องถิ่นแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีตัวแทนข้าราชการส่วนท้องถิ่นเข้าร่วม 300 คน
นพ.วินัย กล่าวว่า การรักษาพยาบาลของข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่น แต่เดิมเป็นระบบที่แยกกองทุนรักษาพยาบาลของแต่ละท้องถิ่นในการดำเนินการกันเอง โดยข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่นที่เข้ารับบริการรักษาพยาบาลต้องสำรองจ่ายไปก่อนและนำมาเบิกจ่ายในภายหลัง ส่งผลให้เกิดปัญหาการกู้หนี้ยืมเงินในการนำมาสำรองจ่ายนี้ ถือเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าถึงการรักษา ด้วยเหตุนี้จึงมีการผลักดันจัดตั้งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการส่วนท้องถิ่น หรือ กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาล อปท.พร้อมให้มีสิทธิเบิกจ่ายตรงเทียบเท่าข้าราชการสังกัดสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ถือเป็นนโยบายรัฐบาล และได้ลงนามความร่วมมือ 13 องค์กร พร้อมออกประกาศเป็น พ.ร.ก.มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา และมอบให้ สปสช.ทำหน้าที่ในการจัดการบริหารกองทุน
“สมัยก่อนค่ารักษาพยาบาลแต่เดิมจะถูกส่งกระจายไปยังท้องถิ่นก่อน แต่การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลนี้จะทำการตัดงบประมาณแต่ต้นน้ำเพื่อนำมาเข้ากองทุน ที่คำนวณอ้างอิงจากค่ารักษาพยาบาลในระบบสวัสดิการข้าราชการ อยู่ที่ 12,000 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งจำนวนข้าราชการท้องถิ่นมีราว 2 แสนคน เมื่อรวมคนในครอบครัว คาดว่าจะอยู่ที่ 7 แสนคน เบื้องต้นทางองค์กรส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดเตรียมงบประมาณไว้นที่ 7.061 ล้านบาท และได้โอนมายัง สปสช.เพื่อดำเนินการ 4.061 ล้านบาทแล้ว” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.วินัย กล่าวว่า จากการดำเนินงานภายหลังเริ่มกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาล อปท.ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมานั้น จากข้อมูล ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 มีหน่วยบริการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากระบบเบิกจ่ายตรงมายัง สปสช.928 แห่ง แยกเป็นการเบิกจ่ายผู้ป่วยนอก 341,560 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 342,061,381 ล้านบาท เบิกจ่ายผู้ป่วยใน 22,594 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 400,810,316 ล้านบาท รวมจำนวนบริการ 364,154 ครั้ง เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 742,871,697 ล้านบาท ทั้งนี้ จากข้อมูลดังกล่าวถือว่ามีการเบิกจ่ายตรงที่น้อยมาก จึงอยากให้ข้าราชการและพนักงาน อปท. ลงทะเบียนเพื่อเบิกจ่ายตรงเพิ่มมากขึ้น ขณะที่การเบิกจ่ายโดยใบเสร็จมี 70,140 ใบเสร็จ เป็นเงินประมาณ 137.9 ล้านบาท โดย สปสช.อนุมัติแล้ว 55.1 ล้านบาท ที่เหลืออยู่ระหว่างตรวจสอบ
นพ.วินัย กล่าวย้ำว่า ขณะนี้ข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่นสามารถลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงไม่ต้องสำรองจ่ายได้ เพียงแค่ลงทะเบียนผู้มีสิทธิกับทาง อปท.ที่สังกัดก่อนเท่านั้น เพื่อให้มีรายชื่อปรากฎในฐานทะเบียนของทาง สปสช.ที่เป็นการยืนยันว่า ท่านเป็นผู้มีสิทธิในกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลนี้ ทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้หน่วยบริการทั่วประเทศในการตรวจสอบว่าไม่มีปัญหาในการเบิกจ่ายค่ารักษาแน่นอน ทั้งนั้ท่านสามารถตรวจสอบว่ามีชื่อในฐานทะเบียน สปสช.แล้วหรือไม่ เพียงสอบถามผ่านสายด่วน 1330 และหากพบว่ายังไม่มีรายชื่อให้ติดต่อกับทาง อปท.เพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิโดยเร็ว
อย่างไรก็ตามในกรณีที่เข้ารักษาพยาบาลโดยไม่ได้ลงในฐานทะเบียนเพื่อเบิกจ่ายตรงและได้สำรองจ่ายไปก่อนนั้น ทาง สปสช.ได้ออกแบบการเบิกจ่ายไว้เช่นกัน เพียงแต่ให้นำใบเสร็จส่งผ่านทาง อปท.ต้นสังกัดเพื่อเบิกค่ารักษากับทาง สปสช.ได้ แต่จะมีความยุ่งยากและต้องใช้เวลามากกว่าต่างจากระบบเบิกจ่ายตรง ดังนั้นจึงอยากให้ข้าราชการพนักงาน อปท.ลงทะเบียนระบบเบิกจ่ายตรง ซึ่งขณะนี้ความสมบูรณ์ของระบบเกือบ 100% แล้ว ทั้งนี้ในกรณีมีปัญหาการเข้ารับบริการสามารถแจ้งมายัง สปสช. โดยผ่านทางสายด่วน 1330 ได้เช่นกัน