ก.แรงงานจับมือผู้ประกอบการน้ำตาล-ไร่อ้อย ตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กรับลูกหลานแรงงานดูแล แก้ปัญหาใช้แรงงานเด็ก-ค้ามนุษย์ นำร่องพื้นที่ปลูกอ้อย ขอนแก่น กาญจนบุรีภายในปีนี้
นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตน และคณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้แทนกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศได้ลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของโรงงานผลิตน้ำตาลที่จังหวัดขอนแก่น และหารือกับผู้แทนกลุ่มบริษัทมิตรผล เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ในเรื่องของการใช้แรงงานเด็ก ที่ประเทศไทยถูกสหรัฐอเมริกาจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังการค้ามนุษย์ ทั้งนี้จากการพูดคุยทางผู้แทนกลุ่มบริษัทมิตรผล บอกว่า เมื่อถึงฤดูกาลตัดอ้อยลูกจ้างก็มักจะพาบุตรหลานที่เป็นเด็กเล็กเข้ามาในไร่อ้อยด้วยเนื่องจากไม่มีผู้ดูแล จึงเกรงจะถูกมองว่ามีการใช้แรงงานเด็ก ซึ่งกลุ่มบริษัทมิตรผลได้แก้ปัญหาในเรื่องนี้โดยการจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กขึ้นในบริเวณใกล้กับไร่อ้อยเพื่อให้ลูกจ้างนำบุตรหลานมาฝากไว้ ซึ่งกลุ่มบริษัทมิตรผล ได้เริ่มดำเนินการที่ จ.สุพรรณบุรี และพบว่าได้ผลดี ทำให้ลูกจ้างไม่ต้องกังวลในการทำงานและไม่มีเด็กเข้าไปในไร่อ้อย
ปลัด รง.กล่าวอีกว่า ตนเห็นว่าแนวคิดดังกล่าวเป็นแนวคิดที่ดี จึงได้ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ไปหารือกับสมาคมที่เกี่ยวข้อง เจ้าของไร่อ้อย และผู้ประกอบการที่ผลิตน้ำตาล เพื่อดำเนินการจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับไร่อ้อย เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับลูกจ้าง หรืออาจจะใช้วิธีประสานขอความร่วมมือกับศูนย์เลี้ยงเด็กของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หรือศูนย์เลี้ยงเด็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นำลูกหลานของลูกจ้างไปฝากไว้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ประกอบการแต่ละพื้นที่โดยในปี 2557 จะเริ่มดำเนินการในจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยจำนวนมาก เช่น ขอนแก่น กาญจนบุรี เป็นต้น เชื่อว่าการดำเนินการในเรื่องนี้จะมีส่วนช่วยให้ไทยหลุดพ้นจากการจับตามองในเรื่องการค้ามนุษย์
ด้าน ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองปลัดรง.กล่าวว่า รูปแบบการดำเนินการของศูนย์เด็กเล็กที่ช่วยดูแลลูกหลานของแรงงานไร่อ้อยจะรับฝากเด็กอายุตั้งแต่ 1-15 ปี โดยภายในศูนย์จะแยกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มเด็กเล็กอายุ 1-8 ปี จะจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ ส่วนเด็กอายุ 9-15 ปี จะมีกิจกรรมฝึกอาชีพให้แก่เด็ก เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปช่วยสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว คาดว่าจะนำร่องตั้งศูนย์ได้ภายในเดือนตุลาคมนี้ โดยตั้งเป้าหมายจะจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กที่ จ.กาญจนบุรี แห่งแรก เนื่องจากช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นฤดูกาลตัดอ้อย เชื่อว่าการดำเนินการจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กจะได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการน้ำตาลและไร่อ้อยโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ เนื่องจากลูกค้าต่างประเทศของบริษัทผู้ผลิตน้ำตาลมีการตรวจสอบต้นทางการผลิตอย่างละเอียดว่าบริษัทผลิตน้ำตาลมีกระบวนผลิตอย่างไร หากพบว่ามีการใช้แรงงานเด็กอาจจะสั่งระงับชั่วคราว หรือยกเลิกการสั่งซื้อได้
นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตน และคณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้แทนกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศได้ลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของโรงงานผลิตน้ำตาลที่จังหวัดขอนแก่น และหารือกับผู้แทนกลุ่มบริษัทมิตรผล เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ในเรื่องของการใช้แรงงานเด็ก ที่ประเทศไทยถูกสหรัฐอเมริกาจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังการค้ามนุษย์ ทั้งนี้จากการพูดคุยทางผู้แทนกลุ่มบริษัทมิตรผล บอกว่า เมื่อถึงฤดูกาลตัดอ้อยลูกจ้างก็มักจะพาบุตรหลานที่เป็นเด็กเล็กเข้ามาในไร่อ้อยด้วยเนื่องจากไม่มีผู้ดูแล จึงเกรงจะถูกมองว่ามีการใช้แรงงานเด็ก ซึ่งกลุ่มบริษัทมิตรผลได้แก้ปัญหาในเรื่องนี้โดยการจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กขึ้นในบริเวณใกล้กับไร่อ้อยเพื่อให้ลูกจ้างนำบุตรหลานมาฝากไว้ ซึ่งกลุ่มบริษัทมิตรผล ได้เริ่มดำเนินการที่ จ.สุพรรณบุรี และพบว่าได้ผลดี ทำให้ลูกจ้างไม่ต้องกังวลในการทำงานและไม่มีเด็กเข้าไปในไร่อ้อย
ปลัด รง.กล่าวอีกว่า ตนเห็นว่าแนวคิดดังกล่าวเป็นแนวคิดที่ดี จึงได้ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ไปหารือกับสมาคมที่เกี่ยวข้อง เจ้าของไร่อ้อย และผู้ประกอบการที่ผลิตน้ำตาล เพื่อดำเนินการจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับไร่อ้อย เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับลูกจ้าง หรืออาจจะใช้วิธีประสานขอความร่วมมือกับศูนย์เลี้ยงเด็กของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หรือศูนย์เลี้ยงเด็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นำลูกหลานของลูกจ้างไปฝากไว้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ประกอบการแต่ละพื้นที่โดยในปี 2557 จะเริ่มดำเนินการในจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยจำนวนมาก เช่น ขอนแก่น กาญจนบุรี เป็นต้น เชื่อว่าการดำเนินการในเรื่องนี้จะมีส่วนช่วยให้ไทยหลุดพ้นจากการจับตามองในเรื่องการค้ามนุษย์
ด้าน ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองปลัดรง.กล่าวว่า รูปแบบการดำเนินการของศูนย์เด็กเล็กที่ช่วยดูแลลูกหลานของแรงงานไร่อ้อยจะรับฝากเด็กอายุตั้งแต่ 1-15 ปี โดยภายในศูนย์จะแยกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มเด็กเล็กอายุ 1-8 ปี จะจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ ส่วนเด็กอายุ 9-15 ปี จะมีกิจกรรมฝึกอาชีพให้แก่เด็ก เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปช่วยสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว คาดว่าจะนำร่องตั้งศูนย์ได้ภายในเดือนตุลาคมนี้ โดยตั้งเป้าหมายจะจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กที่ จ.กาญจนบุรี แห่งแรก เนื่องจากช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นฤดูกาลตัดอ้อย เชื่อว่าการดำเนินการจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กจะได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการน้ำตาลและไร่อ้อยโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ เนื่องจากลูกค้าต่างประเทศของบริษัทผู้ผลิตน้ำตาลมีการตรวจสอบต้นทางการผลิตอย่างละเอียดว่าบริษัทผลิตน้ำตาลมีกระบวนผลิตอย่างไร หากพบว่ามีการใช้แรงงานเด็กอาจจะสั่งระงับชั่วคราว หรือยกเลิกการสั่งซื้อได้