ก.แรงงานเผยปี 57 เน้นดูแลการค้ามนุษย์ แรงงานประมง ตรวจพบจับกุม ดำเนินคดีจริงจัง ชี้สถานประกอบการ 178 แห่งเสนอตัวเข้าร่วม GLP หวังหลุดโผจับตามองจากเมืองมะกัน จ่อแก้กฎหมายแรงงานประมงเพิ่มอายุจาก 16 ปี เป็น 18 ปี หวังแก้ปัญหาใช้แรงงานเด็ก
วันนี้ (10 ก.พ.) มล.ปุณฑริก สมิติ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานในการจัดทำรายงานการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ประจำปี 2556 เพื่อเสนอต่อสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ระหว่างการแปล โดยได้เน้นย้ำว่าในปี 2557 จะต้องให้ความสำคัญ ดูแลปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง ทั้งการปราบปรามจับกุมและดำเนินคดี ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ Good Labor Practices (GLP) หรือแนวปฏิบัติที่ดีในสถานประกอบการ โดยได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการและส่งรายชื่อแสดงความจำนงมาแล้ว 178 แห่ง เพื่อร่วมกับกระทรวงแรงงานในปรับปรุงสถานประกอบการให้ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ ไม่มีการจ้างแรงงานผิดกฎหมายและทำแนวปฏิบัติภายในสถานประกอบการ
“สำหรับการทำรายงานในปีนี้จะเน้นถึงการชี้ให้เห็นข้อบกพร่องและแนวทางที่แก้ไขที่ชัดเจน เช่น กลุ่มของแรงงานประมง ที่ทางสหรัฐอเมริกาจับตามอง โดยต้องมีการปรับการตรวจให้ชัดเจน ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น ตำรวจน้ำ กรมประมง กรมเจ้าท่า กองทัพเรือ เป็นต้น ในส่วนของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ได้จัดสรรงบประมาณเฉพาะในการตรวจตราปัญหาการค้ามนุษย์ในกิจการประมงโดยเฉพาะจำนวนกว่า 38,000 คน ซึ่งในปีที่ผ่านมาจากการแก้ไขการขึ้นทะเบียนให้แรงงานประมงสามารถจดทะเบียนได้ปีละ 3 ครั้ง ขณะนี้มีแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนแล้ว 6,188 คน ออกใบอนุญาตแล้ว 4,250 คน” มล.ปุณฑริกกล่าว
นอกจากนี้ ทาง กสร.จะปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย เช่น อายุที่อนุญาตให้แรงงานสามารถ ทำงานในเรือประมงได้จากปัจจุบันต้องมี 16 ปีขึ้นไป ปรับแก้ให้เป็น 18 ปีขึ้นไป รวมทั้งจะประกาศว่ากิจการประมงเป็นงานอันตรายสำหรับเด็ก ขณะเดียวกันในปีที่ผ่านมากระทรวงแรงงานพยายามที่จะแก้ปัญหาแรงงานลักลอบเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย โดยการทำบันทึกความเข้าใจระหว่างประเทศ (เอ็มโอยู) กับลาว พม่า และกัมพูชา ในการนำเข้าแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเพื่อลดช่องทางการเรียกเก็บค่าหัวคิว ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2553-2556 สามารถดำเนินการได้ 312,737 คน รวมไปถึงการจัดส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศ จะเน้นการจัดส่งแบบรัฐต่อรัฐเพื่อป้องกันการเรียกเก็บค่าหัวคิวที่สูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด โดยสามารถจัดส่งแรงงานไปได้ 14,509 คน
รวมไปถึงการจัดตั้งศูนย์ประสานการบริการไปทำงานต่างประเทศในภูมิภาค 10 แห่ง และศูนย์ประสานงานแรงงานประมงจังหวัด 7 แห่งด้วย ทั้งนี้ในสัปดาห์หน้าจะประชุมร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงแรงงานเพื่อดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้ ก่อนที่จะนำไปหารือกับหน่วยงานภายนอก เนื่องจากการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์เป็นปัญหาระดับประเทศที่ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกัน และเชื่อว่าทางสหรัฐอเมริกาจะเห็นถึงความตั้งใจในการแก้ปัญหาของไทย
วันนี้ (10 ก.พ.) มล.ปุณฑริก สมิติ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานในการจัดทำรายงานการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ประจำปี 2556 เพื่อเสนอต่อสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ระหว่างการแปล โดยได้เน้นย้ำว่าในปี 2557 จะต้องให้ความสำคัญ ดูแลปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง ทั้งการปราบปรามจับกุมและดำเนินคดี ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ Good Labor Practices (GLP) หรือแนวปฏิบัติที่ดีในสถานประกอบการ โดยได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการและส่งรายชื่อแสดงความจำนงมาแล้ว 178 แห่ง เพื่อร่วมกับกระทรวงแรงงานในปรับปรุงสถานประกอบการให้ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ ไม่มีการจ้างแรงงานผิดกฎหมายและทำแนวปฏิบัติภายในสถานประกอบการ
“สำหรับการทำรายงานในปีนี้จะเน้นถึงการชี้ให้เห็นข้อบกพร่องและแนวทางที่แก้ไขที่ชัดเจน เช่น กลุ่มของแรงงานประมง ที่ทางสหรัฐอเมริกาจับตามอง โดยต้องมีการปรับการตรวจให้ชัดเจน ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น ตำรวจน้ำ กรมประมง กรมเจ้าท่า กองทัพเรือ เป็นต้น ในส่วนของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ได้จัดสรรงบประมาณเฉพาะในการตรวจตราปัญหาการค้ามนุษย์ในกิจการประมงโดยเฉพาะจำนวนกว่า 38,000 คน ซึ่งในปีที่ผ่านมาจากการแก้ไขการขึ้นทะเบียนให้แรงงานประมงสามารถจดทะเบียนได้ปีละ 3 ครั้ง ขณะนี้มีแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนแล้ว 6,188 คน ออกใบอนุญาตแล้ว 4,250 คน” มล.ปุณฑริกกล่าว
นอกจากนี้ ทาง กสร.จะปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย เช่น อายุที่อนุญาตให้แรงงานสามารถ ทำงานในเรือประมงได้จากปัจจุบันต้องมี 16 ปีขึ้นไป ปรับแก้ให้เป็น 18 ปีขึ้นไป รวมทั้งจะประกาศว่ากิจการประมงเป็นงานอันตรายสำหรับเด็ก ขณะเดียวกันในปีที่ผ่านมากระทรวงแรงงานพยายามที่จะแก้ปัญหาแรงงานลักลอบเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย โดยการทำบันทึกความเข้าใจระหว่างประเทศ (เอ็มโอยู) กับลาว พม่า และกัมพูชา ในการนำเข้าแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเพื่อลดช่องทางการเรียกเก็บค่าหัวคิว ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2553-2556 สามารถดำเนินการได้ 312,737 คน รวมไปถึงการจัดส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศ จะเน้นการจัดส่งแบบรัฐต่อรัฐเพื่อป้องกันการเรียกเก็บค่าหัวคิวที่สูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด โดยสามารถจัดส่งแรงงานไปได้ 14,509 คน
รวมไปถึงการจัดตั้งศูนย์ประสานการบริการไปทำงานต่างประเทศในภูมิภาค 10 แห่ง และศูนย์ประสานงานแรงงานประมงจังหวัด 7 แห่งด้วย ทั้งนี้ในสัปดาห์หน้าจะประชุมร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงแรงงานเพื่อดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้ ก่อนที่จะนำไปหารือกับหน่วยงานภายนอก เนื่องจากการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์เป็นปัญหาระดับประเทศที่ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกัน และเชื่อว่าทางสหรัฐอเมริกาจะเห็นถึงความตั้งใจในการแก้ปัญหาของไทย