เมื่อโลกและเทคโนโลยีก้าวหน้า ไลฟ์สไตล์ของคนเราก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย จากเดิมที่อาจแค่ติดละครทีวี เดี๋ยวนี้ก็มีให้เลือกเสพติดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์เกาหลี การแชต การอัปเดตข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านทางมือถือสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะวัยเรียนหรือวัยทำงาน เรียกได้ว่าคนไทยแทบใช้ชีวิตติดจอกันเลยทีเดียว
ที่น่าตกใจคือใช้กันแบบไม่บันยะบันยัง นาน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน ส่งผลให้ใช้สายตาเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัวซึ่งพฤติกรรมการใช้สายตาเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ในระยะยาวอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคทางสายตา และอาการต่างๆ เช่น ปวดตา ตาแห้ง ปวดศีรษะ และต้นคอ หรือ ที่เรียกว่า computer vision syndrome ได้
ทั้งนี้ ในอดีตโรคทางสายตาโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ทำให้คนในวัยหนุ่มสาวมองเป็นเรื่องไกลตัว แต่ปัจจุบันจากการสำรวจและศึกษาสถิติการเป็นโรคทางสายตาในประเทศไทย พบว่า อัตราการเกิดโรคทางสายตาเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยจากผลสำรวจสุขภาพสายตาคนไทยปี 2549 ระบุว่า มีคนไทยไม่น้อยกว่า 15 ล้านคน มีสายตาผิดปกติ คาดว่าจะมีคนไทยตาบอด 369,013 คน และสายตาเลือนลาง 987,993 คน และคาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี เพราะด้วยไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของคนยุคใหม่ ที่มีการใช้สายตาทำงานมากขึ้น ส่งผลทำให้ “อายุตา” สูงมากกว่าอายุของตัวเรา
โดยปัจจุบันพบว่าเกือบ 50% ของคนไทยทั้งประเทศ ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำทุกวัน ในการเรียน หรือการทำงาน โดยใช้เวลาส่วนใหญ่กับการหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต หรือเช็กเมล อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ และยังใช้นอกเหนือจากเวลาเรียน และการทำงานแล้ว โดยเฉพาะไลฟ์สไตล์ของกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานในปัจจุบันอยู่ใน ยุค Look At “ME Generation” หรือ Gen Me ยุคที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากกว่ามนุษย์ด้วยกันเอง ทำให้เกิดปรากฏการณ์ “สังคมก้มหน้า” ที่ผู้คนรอบตัวต่างจดจ้องอยู่กับ “หน้าจอ” ของตัวเอง หรือเรียกได้ว่า “ชีวิตติดจอ” โดยไม่สนใจคนรอบข้าง ทำให้เราใช้สายตาเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว
พญ.วรางคณา ทองคำใส จักษุแพทย์ หัวหน้าฝ่ายบริการทางการแพทย์ สนง.บรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า คนยุคใหม่มีไลฟ์สไตล์แบบ “ชีวิตติดจอ” ใช้จอต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น จอคอมพิวเตอร์ จอแท็บเล็ต หรือ จอสมาร์ทโฟน ในการอัพเดทสถานะ โซเชียลมีเดีย เล่นเกม ดูหนัง ดูซีรี่ส์ ส่งข้อความ ซื้อของออนไลน์ ค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ทำให้เราใช้สายตาเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งพบว่าอัตราการใช้สายตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์และจอต่างๆ โดยเฉลี่ยวันละ 8-10 ชั่วโมงทีเดียว ซึ่งการที่คนเราใช้สายตาส่วนใหญ่ในการจ้องมองหน้าจอ หรือจ้องตัวหนังสือที่อยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงจอสมาร์ทโฟนนานๆ นั้น จะส่งผลให้กล้ามเนื้อลูกตาทำงานหนัก เพิ่มโอกาสที่จะทำให้สายตาเสียได้มากกว่าการอ่านหนังสือ หรือทำงานในกระดาษ
โดยจากสถิติพบว่า ถ้าคนเราใช้สายตาอยู่กับหน้าจอต่อเนื่องมากกว่า 3 ชั่วโมง/วัน จะทำให้เกิดอาการ ตาเบลอ ตาแห้ง แสบตา สู้แสงไม่ได้ ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายที่คุณไม่รู้ตัว และหากเราใช้สายตามากขึ้น ความรุนแรงของอาการจะยิ่งมากจนเกิดอาการคอมพิวเตอร์วิชัน ซินโดรม ซึ่งนอกจากจะมีอาการทางสายตาแล้ว ยังมีอาการของกล้ามเนื้อด้วย เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยบ่า ต้นคอ ถ้าปวดมากอาจทำให้นอนไม่หลับ และพ้กผ่อนไม่เพียงพอ และเป็นสาเหตูของโรคอื่นตามมาได้
ฉะนั้น เราควรเริ่มดูแลและถนอมสายตาตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนสายเกินแก้ เพราะดวงตาของเรามีคู่เดียวไม่มีอะไหล่เปลี่ยน โดย พญ.วรางคนา แนะนำว่า หากต้องทำงานหน้าจอคอมฯ หรือใช้สมาร์ทโฟน ควรหมั่นพักสายตา และกระพริบตาบ่อยๆ อย่างน้อย 10-15 ครั้งต่อนาที รวมถึงนั่งทำงานในที่มีแสงสว่างเพียงพอ ปรับขนาดตัวหนังสือให้อ่านง่าย ไม่เล็กเกินไป ที่สำคัญควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงสายตา เช่น วิตามินเอ ที่ผลงานวิจัยระบุว่า ช่วยในการมองเห็น และยังมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดภาวะตาแห้ง และเลือกรับประทานทานผลไม้มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะพบมากในผักและผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่างๆ เช่น บิลเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ และแบล็คเคอร์แรนต์ เป็นต้น โดยมีการวิจัยพบว่า ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มีแอนโธไซยานิน ช่วยคลายความเหนื่อยล้าของดวงตา ช่วยให้การมองเห็นในเวลากลางคืน และช่วยให้การไหลเวียนเลือดในเส้นเลือดฝอยดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีวิตามินซี อี และ ไบโอฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยปกป้องและถนอมดวงตาไม่ให้โดนทำลาย
นอกจากการบำรุงสุขภาพตาแล้ว สุขภาพร่างกายก็สำคัญ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่ดวงตาดีขึ้น หากต้องออกแดด หรือขับรถควรสวมแว่นกันแดด และควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเช็คสุขภาพดวงตาปีละครั้ง หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น ตาแดง ปวดตา หรือเคืองตา ควรรีบพบจักษุแพทย์
ที่น่าตกใจคือใช้กันแบบไม่บันยะบันยัง นาน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน ส่งผลให้ใช้สายตาเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัวซึ่งพฤติกรรมการใช้สายตาเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ในระยะยาวอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคทางสายตา และอาการต่างๆ เช่น ปวดตา ตาแห้ง ปวดศีรษะ และต้นคอ หรือ ที่เรียกว่า computer vision syndrome ได้
ทั้งนี้ ในอดีตโรคทางสายตาโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ทำให้คนในวัยหนุ่มสาวมองเป็นเรื่องไกลตัว แต่ปัจจุบันจากการสำรวจและศึกษาสถิติการเป็นโรคทางสายตาในประเทศไทย พบว่า อัตราการเกิดโรคทางสายตาเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยจากผลสำรวจสุขภาพสายตาคนไทยปี 2549 ระบุว่า มีคนไทยไม่น้อยกว่า 15 ล้านคน มีสายตาผิดปกติ คาดว่าจะมีคนไทยตาบอด 369,013 คน และสายตาเลือนลาง 987,993 คน และคาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี เพราะด้วยไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของคนยุคใหม่ ที่มีการใช้สายตาทำงานมากขึ้น ส่งผลทำให้ “อายุตา” สูงมากกว่าอายุของตัวเรา
โดยปัจจุบันพบว่าเกือบ 50% ของคนไทยทั้งประเทศ ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำทุกวัน ในการเรียน หรือการทำงาน โดยใช้เวลาส่วนใหญ่กับการหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต หรือเช็กเมล อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ และยังใช้นอกเหนือจากเวลาเรียน และการทำงานแล้ว โดยเฉพาะไลฟ์สไตล์ของกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานในปัจจุบันอยู่ใน ยุค Look At “ME Generation” หรือ Gen Me ยุคที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากกว่ามนุษย์ด้วยกันเอง ทำให้เกิดปรากฏการณ์ “สังคมก้มหน้า” ที่ผู้คนรอบตัวต่างจดจ้องอยู่กับ “หน้าจอ” ของตัวเอง หรือเรียกได้ว่า “ชีวิตติดจอ” โดยไม่สนใจคนรอบข้าง ทำให้เราใช้สายตาเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว
พญ.วรางคณา ทองคำใส จักษุแพทย์ หัวหน้าฝ่ายบริการทางการแพทย์ สนง.บรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า คนยุคใหม่มีไลฟ์สไตล์แบบ “ชีวิตติดจอ” ใช้จอต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น จอคอมพิวเตอร์ จอแท็บเล็ต หรือ จอสมาร์ทโฟน ในการอัพเดทสถานะ โซเชียลมีเดีย เล่นเกม ดูหนัง ดูซีรี่ส์ ส่งข้อความ ซื้อของออนไลน์ ค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ทำให้เราใช้สายตาเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งพบว่าอัตราการใช้สายตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์และจอต่างๆ โดยเฉลี่ยวันละ 8-10 ชั่วโมงทีเดียว ซึ่งการที่คนเราใช้สายตาส่วนใหญ่ในการจ้องมองหน้าจอ หรือจ้องตัวหนังสือที่อยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงจอสมาร์ทโฟนนานๆ นั้น จะส่งผลให้กล้ามเนื้อลูกตาทำงานหนัก เพิ่มโอกาสที่จะทำให้สายตาเสียได้มากกว่าการอ่านหนังสือ หรือทำงานในกระดาษ
โดยจากสถิติพบว่า ถ้าคนเราใช้สายตาอยู่กับหน้าจอต่อเนื่องมากกว่า 3 ชั่วโมง/วัน จะทำให้เกิดอาการ ตาเบลอ ตาแห้ง แสบตา สู้แสงไม่ได้ ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายที่คุณไม่รู้ตัว และหากเราใช้สายตามากขึ้น ความรุนแรงของอาการจะยิ่งมากจนเกิดอาการคอมพิวเตอร์วิชัน ซินโดรม ซึ่งนอกจากจะมีอาการทางสายตาแล้ว ยังมีอาการของกล้ามเนื้อด้วย เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยบ่า ต้นคอ ถ้าปวดมากอาจทำให้นอนไม่หลับ และพ้กผ่อนไม่เพียงพอ และเป็นสาเหตูของโรคอื่นตามมาได้
ฉะนั้น เราควรเริ่มดูแลและถนอมสายตาตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนสายเกินแก้ เพราะดวงตาของเรามีคู่เดียวไม่มีอะไหล่เปลี่ยน โดย พญ.วรางคนา แนะนำว่า หากต้องทำงานหน้าจอคอมฯ หรือใช้สมาร์ทโฟน ควรหมั่นพักสายตา และกระพริบตาบ่อยๆ อย่างน้อย 10-15 ครั้งต่อนาที รวมถึงนั่งทำงานในที่มีแสงสว่างเพียงพอ ปรับขนาดตัวหนังสือให้อ่านง่าย ไม่เล็กเกินไป ที่สำคัญควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงสายตา เช่น วิตามินเอ ที่ผลงานวิจัยระบุว่า ช่วยในการมองเห็น และยังมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดภาวะตาแห้ง และเลือกรับประทานทานผลไม้มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะพบมากในผักและผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่างๆ เช่น บิลเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ และแบล็คเคอร์แรนต์ เป็นต้น โดยมีการวิจัยพบว่า ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มีแอนโธไซยานิน ช่วยคลายความเหนื่อยล้าของดวงตา ช่วยให้การมองเห็นในเวลากลางคืน และช่วยให้การไหลเวียนเลือดในเส้นเลือดฝอยดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีวิตามินซี อี และ ไบโอฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยปกป้องและถนอมดวงตาไม่ให้โดนทำลาย
นอกจากการบำรุงสุขภาพตาแล้ว สุขภาพร่างกายก็สำคัญ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่ดวงตาดีขึ้น หากต้องออกแดด หรือขับรถควรสวมแว่นกันแดด และควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเช็คสุขภาพดวงตาปีละครั้ง หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น ตาแดง ปวดตา หรือเคืองตา ควรรีบพบจักษุแพทย์