กรมควบคุมโรค เผยแค่เดือนกว่ามีผู้ป่วยตาแดงแล้ว 1.5 หมื่นราย เหตุปีนี้เป็นวงรอบการระบาด เตือนอย่าใช้ของร่วมกับผู้อื่น หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ถ้าป่วยต้องหยุดเรียน หยุดงาน จนกว่าจะหายเป็นปกติ 1 วัน ระบุถ้าตามัวลง ปวดตามาก กรอกตาแล้วปวด มีไข้ หรือตาแดงแล้ว 2 วัน อาการไม่ดีให้รีบพบแพทย์
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า สำนักระบาดวิทยา คร.ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคตาแดง จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-16 ก.พ.พบผู้ป่วย 15,963 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 25.09 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 35-44 ปี (ร้อยละ 11.96) รองลงมา คือ 45-54 ปี (ร้อยละ 11.53 ) และ 25-34 ปี (ร้อยละ 11.30) อาชีพส่วนใหญ่ ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง (ร้อยละ 30.0) เกษตรกร (ร้อยละ 23.8) และนักเรียน (ร้อยละ 19.8) จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรก คือ พัทลุง ปัตตานี นราธิวาส ปราจีนบุรี และสงขลา
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า โรคตาแดง เป็นโรคตาที่พบได้บ่อย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาที่คลุมหนังตาบนและล่าง รวมเยื่อบุตาที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง มีการรายงานผู้ป่วยตลอดทั้งปี และมีการระบาดมากในภาคเหนือโดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาล การระบาดมักจะเริ่มระบาดตั้งแต่ ก.ค.-ส.ค.และพบผู้ป่วยสูงสุดในเดือน ก.ย.-ต.ค.ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน มักมีการระบาดทุก 2-3 ปี โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ติดต่อโดยการสัมผัสตาหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือหรือของใช้ส่วนตัวร่วมกัน ผ้าเช็ดหน้า ของใช้มาสัมผัสที่ตาโดยตรง อาการแสดง คันตา มีขี้ตา เยื่อบุตาขาวบวมแดง ปวดตา เป็นต้น โรคแทรกซ้อน ได้แก่ อาการปวดตา หรือมองแสงจ้าไม่ได้ ม่านตาอักเสบ แม้โรคนี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อัตราป่วยในแต่ละปีสูงมากกว่า 100 ต่อแสนประชากรทุกปี การระบาดมักพบในชุมชนขนาดใหญ่ สถานที่แออัด โรงเรียน สถานที่ดูแลเด็กเล็ก หรือสถานที่มีกิจกรรมร่วมกัน ดังนั้นการป้องกันโรคควรมุ่งเป้าหมายไปในสถานที่ดังกล่าว โดยมุ่งเน้นการรักษาสุขลักษณะส่วนบุคคล การแยกผู้ป่วยและการให้สุขศึกษาในชุมชน เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค
“การป้องกันโรคตาแดง ได้แก่ 1.ไม่ใช้เครื่องสำอางร่วมกับคนอื่น 2.ไม่ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกัน 3.หมั่นล้างมือบ่อยๆ ให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะหลังเข้าห้องน้ำ 4.ไม่เอามือขยี้ตา 6.ใส่แว่นตาป้องกัน ถ้าต้องเจอสารเคมี 7.ไม่ใช้ยาหยอดตาผู้อื่น 8.อย่าว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้ใส่คลอรีน เป็นต้น” อธิบดี คร.กล่าว
นพ.โสภณ กล่าวว่า “ถ้ามีอาการตาแดง สามารถดูแลรักษาตนเองได้ ด้วยการประคบเย็นวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ10-15 นาที อย่าขยี้ตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ช่วงที่มีอาการตาแดง เพราะจะทำให้ตาระคายมากขึ้น ใส่แว่นกันแดด หากมองแสงสว่างไม่ได้ เปลี่ยนปลอกหมอนทุกวัน เป็นต้น มีอาการเจ็บป่วยเหล่านี้ เช่น ถ้าตามัวลง ปวดตามาก กรอกตาแล้วปวด มีไข้ หรือ อาการตาแดง 2 วัน อาการไม่ดีขึ้นรีบมาพบแพทย์”
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า สำนักระบาดวิทยา คร.ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคตาแดง จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-16 ก.พ.พบผู้ป่วย 15,963 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 25.09 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 35-44 ปี (ร้อยละ 11.96) รองลงมา คือ 45-54 ปี (ร้อยละ 11.53 ) และ 25-34 ปี (ร้อยละ 11.30) อาชีพส่วนใหญ่ ไม่ทราบอาชีพ/ในปกครอง (ร้อยละ 30.0) เกษตรกร (ร้อยละ 23.8) และนักเรียน (ร้อยละ 19.8) จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรก คือ พัทลุง ปัตตานี นราธิวาส ปราจีนบุรี และสงขลา
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า โรคตาแดง เป็นโรคตาที่พบได้บ่อย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาที่คลุมหนังตาบนและล่าง รวมเยื่อบุตาที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง มีการรายงานผู้ป่วยตลอดทั้งปี และมีการระบาดมากในภาคเหนือโดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาล การระบาดมักจะเริ่มระบาดตั้งแต่ ก.ค.-ส.ค.และพบผู้ป่วยสูงสุดในเดือน ก.ย.-ต.ค.ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน มักมีการระบาดทุก 2-3 ปี โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ติดต่อโดยการสัมผัสตาหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือหรือของใช้ส่วนตัวร่วมกัน ผ้าเช็ดหน้า ของใช้มาสัมผัสที่ตาโดยตรง อาการแสดง คันตา มีขี้ตา เยื่อบุตาขาวบวมแดง ปวดตา เป็นต้น โรคแทรกซ้อน ได้แก่ อาการปวดตา หรือมองแสงจ้าไม่ได้ ม่านตาอักเสบ แม้โรคนี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อัตราป่วยในแต่ละปีสูงมากกว่า 100 ต่อแสนประชากรทุกปี การระบาดมักพบในชุมชนขนาดใหญ่ สถานที่แออัด โรงเรียน สถานที่ดูแลเด็กเล็ก หรือสถานที่มีกิจกรรมร่วมกัน ดังนั้นการป้องกันโรคควรมุ่งเป้าหมายไปในสถานที่ดังกล่าว โดยมุ่งเน้นการรักษาสุขลักษณะส่วนบุคคล การแยกผู้ป่วยและการให้สุขศึกษาในชุมชน เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค
“การป้องกันโรคตาแดง ได้แก่ 1.ไม่ใช้เครื่องสำอางร่วมกับคนอื่น 2.ไม่ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกัน 3.หมั่นล้างมือบ่อยๆ ให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะหลังเข้าห้องน้ำ 4.ไม่เอามือขยี้ตา 6.ใส่แว่นตาป้องกัน ถ้าต้องเจอสารเคมี 7.ไม่ใช้ยาหยอดตาผู้อื่น 8.อย่าว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้ใส่คลอรีน เป็นต้น” อธิบดี คร.กล่าว
นพ.โสภณ กล่าวว่า “ถ้ามีอาการตาแดง สามารถดูแลรักษาตนเองได้ ด้วยการประคบเย็นวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ10-15 นาที อย่าขยี้ตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ช่วงที่มีอาการตาแดง เพราะจะทำให้ตาระคายมากขึ้น ใส่แว่นกันแดด หากมองแสงสว่างไม่ได้ เปลี่ยนปลอกหมอนทุกวัน เป็นต้น มีอาการเจ็บป่วยเหล่านี้ เช่น ถ้าตามัวลง ปวดตามาก กรอกตาแล้วปวด มีไข้ หรือ อาการตาแดง 2 วัน อาการไม่ดีขึ้นรีบมาพบแพทย์”