“โรคตาแดง” ถือเป็นอีกโรคหนึ่งที่ใกล้ตัวเรามากๆ เชื่อได้ว่าเกือบทุกคนอาจจะต้องเคยผ่านประสบการณ์การเป็นโรคตาแดงกันมาบ้าง และที่จะมีการพูดถึงเป็นประจำสมัยตอนเป็นเด็กก็คือ เมื่อเพื่อนเป็นโรคตาแดงแล้วห้ามมองตากัน จะทำให้เกิดอาการติดต่อ รวมไปถึงให้แลบลิ้นใส่คนที่เป็นตาแดงแล้วจะได้ไม่เป็นตาแดงกับเขาด้วย
เรียกได้ว่าเป็นคำพูดที่ชวนให้เข้าใจผิดกันไปไกล ทั้งที่ “โรคตาแดง” นั้น เกิดจากการที่ดวงตามีการสัมผัสกับเชื้อโรค ซึ่งอาจเกิดจากการเอามือไปสัมผัสกับเชื้อโรคตามโต๊ะ เก้าอี้ หรือสิ่งของที่ใช้ร่วมกันกับคนเป็นตาแดงที่ใช้มือสัมผัสตาแดงของตนแล้วยังไม่ได้ล้างมือ แล้วมาสัมผัสตาตัวเองต่อ ไม่ได้เกิดจากการจ้องมองตากันแล้วเชื้อโรคกระโดดก็ใส่ดวงตาแต่อย่างใด และไม่จำเป็นต้องไปแลบลิ้นใส่คนที่เป็นตาแดงด้วย
ทั้งนี้ โรคตาแดงเป็นการอักเสบของเยื่อบุตาขาว อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ โดยทั่วไปจะมีอาการเจ็บเคืองตา ตาแดง น้ำตาไหลหรือมีขี้ตา บางคนมีเยื่อบุตาขาวบวม อาจเริ่มเป็นตาเดียวก่อน แล้วค่อยลามไปตาอีกข้าง ซึ่งสามารถแยกสาเหตุตาแดงออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. ตาแดงจากเชื้อไวรัส มักจะไม่ค่อยมีขี้ตา แต่มีน้ำตาไหล เคืองตามาก อาจมีต่อมน้ำเลืองที่หน้าหูโต มักเริ่มเป็นที่ตาใดตาหนึ่งก่อน และลามไปเป็นทั้งสองตาอย่างรวดเร็ว มีประวัติติดต่อกันในคนหมู่มากหรือจากที่ทำงาน โรงเรียน หรือในครอบครัว มักจะหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์
2. ตาแดงจากเชื้อแบคทีเรีย จะมีขี้ตาเป็นสีเขียวหรือสีเหลือง อาจเป็นตาเดียวหรือสองตาก็ได้ ติดต่อกันได้เช่นกัน แต่จะระบาดน้อยกว่าตาแดงจากเชื้อไวรัส และ 3.ตาแดงจากโรคภูมิแพ้ จะมีอาการคันตามาก น้ำตาไหล อาจมีขี้ตาขาวหรือเหนียว หนังตาบวม มักมีประวัติเป็นๆ หายๆ อาจมีสาเหตุของการแพ้ชัดเจนหรือมีอาการแพ้ของร่างกายส่วนอื่น เช่น หอบหืดร่วมด้วย เป็นต้น
โดยทั่วไปโรคตาแดงมักไม่ทำให้ปวดตามาก หรือตามัว ดังนั้น หากคนที่เป็นตาแดงแล้วมีอาการปวดตา ตาแดงมาก ตามัว หรือมองสู้แสงไม่ได้ ควรรีบพบจักษุแพทย์ เนื่องจากอาจเป็นโรคอื่น เช่น ต้อหิน ม่านตาอักเสบ ซึ่งถ้ารักษาช้าอาจเกิดความพิการอย่างถาวรของตาได้
สำหรับการป้องกันโรคตาแดงนั้นสามารถทำได้โดย
1. ไม่ใช้มือสัมผัสตา
2. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แว่นตา เครื่องสำอาง
3. ไม่สัมผัสมือหรือตาผู้ป่วย
4. หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งที่เผลอถูกตา รวมทั้งก่อนและหลังหยอดตา
ส่วนการรักษานั้นหากเกิดจากเชื้อไวรัส มักจะหายได้เอง 1-2 สัปดาห์ แต่การประคบเย็นที่ตาจัช่วยให้สบายตาขึ้น หรือใช้ยาหยอดตากลุ่มยาต้านฮีสตามีน เมื่อมีอาการวันละ 3-4 ครั้ง ช่วยลดอาการระคายเคืองตา ถ้าเริ่มมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ ให้หยอดยาปฏิชีวนะเช่นเดียวกับตาแดงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย โดยเมื่อหยอดยา 2 ชนิดพร้อมกันจะต้องทิ้งช่วงห่างประมาณ 5 นาที เพื่อไม่ให้ยาล้างกันออกก่อนซึมเข้าตา ที่สำคัญไม่ควรหยดยาที่มีสเตียรอยด์ เพราะจะทำให้หายช้า และอาจมีการติดเชื้ออื่นแทรกซ้อร
โรคตาแดงจากเชื้อปฏิชีวนะ ควรทำความสะอาดตา ขี้ตา และใช้ยาหยอดตาที่มียาปฏิชีวนะวันละ 4 ครั้งจนไม่มีขี้ตา แต่ต้องระวังการแพ้ยา โดยหากมีอาการหนังตาบวมแดง ให้หยุดยาและรีบนำยามาปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรว่าเกิดจากการแพ้ยาหรือไม่ ถ้าใช่ต้องจดจำชื่อยาที่แพ้ไว้ เพื่อเลี่ยงการหยอดตานั้นในครั้งต่อไป นอกจากนี้ เมื่อเป็นโรคตาแดงแล้ว สิ่งที่ควรปฏิบัติก็คือ
1. ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังสัมผัสน้ำตา ขี้ตา รวมทั้งก่อนและหลังหยอดยา
2. พักผ่อนให้เพียงพอ
3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้อื่นเป็นเวลา 7 วันหลังมีอาการเพื่อลดการแพร่เชื้อ
4. ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น
5. ไม่แนะนำให้ใช้ผ้าปิดตาเพราะจะยิ่งทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้มากขึ้น
และ 6. เปลี่ยนปลอกหมอนทุกวัน
ข้อควรรู้ ***ตาแดงอย่างไรอันตราย!***
โรคตาแดงเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และจากโรคภูมิแพ้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงถึงขั้นตาบอด ข้อสังเกตคือเมื่อเป็นตาแดงจะต้องไม่มีอาการตามัวลง แต่ถ้ามีอาการตาแดงร่วมกับการมองเห็นลดลงหรือตามัว ให้ระวังว่าอาจเกิดจากโรคตาที่อันตราย ถ้ามีอาการดังนี้แล้วมีขี้ตา อาจเกิดจากการเป็นหนองที่กระจกตา หรือการติดเชื้อรุนแรงในลูกตา ถ้าไม่มีขี้ตาอาจเกิดจากกระจกตาอักเสบหรือม่านตาอักเสบ ดังนั้น หากมีอาการดังกล่าวต้องรีบไปพยจักษุแพทย์
นอกจากนี้ ภาวะตาแดงอาจเกิดจากเลือดออกใต้เยื่อบุตาขาว มักเกิดจากการเผลอไปขยี้ตา อาจเพิ่งสังเกตเห็นในตอนตื่นนอนลักษณะตาเป็นปื้นสีแดงสดที่บริเวณตาขาว ไม่มีอันตราย เลือดจะไม่เข้าตาดำ ไม่ทำให้ตามัวและไม่ติดต่อกัน แนะนำว่าอย่าขยี้ตา อาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบตาวันละ 10 นาที เลือดมักค่อยๆ จางและหายสนิทใน 10-14 วัน
ขอบคุณข้อมูลจากคู่มือสุขภาพตาดีสำหรับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ จัดทำโดยภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรียกได้ว่าเป็นคำพูดที่ชวนให้เข้าใจผิดกันไปไกล ทั้งที่ “โรคตาแดง” นั้น เกิดจากการที่ดวงตามีการสัมผัสกับเชื้อโรค ซึ่งอาจเกิดจากการเอามือไปสัมผัสกับเชื้อโรคตามโต๊ะ เก้าอี้ หรือสิ่งของที่ใช้ร่วมกันกับคนเป็นตาแดงที่ใช้มือสัมผัสตาแดงของตนแล้วยังไม่ได้ล้างมือ แล้วมาสัมผัสตาตัวเองต่อ ไม่ได้เกิดจากการจ้องมองตากันแล้วเชื้อโรคกระโดดก็ใส่ดวงตาแต่อย่างใด และไม่จำเป็นต้องไปแลบลิ้นใส่คนที่เป็นตาแดงด้วย
ทั้งนี้ โรคตาแดงเป็นการอักเสบของเยื่อบุตาขาว อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ โดยทั่วไปจะมีอาการเจ็บเคืองตา ตาแดง น้ำตาไหลหรือมีขี้ตา บางคนมีเยื่อบุตาขาวบวม อาจเริ่มเป็นตาเดียวก่อน แล้วค่อยลามไปตาอีกข้าง ซึ่งสามารถแยกสาเหตุตาแดงออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. ตาแดงจากเชื้อไวรัส มักจะไม่ค่อยมีขี้ตา แต่มีน้ำตาไหล เคืองตามาก อาจมีต่อมน้ำเลืองที่หน้าหูโต มักเริ่มเป็นที่ตาใดตาหนึ่งก่อน และลามไปเป็นทั้งสองตาอย่างรวดเร็ว มีประวัติติดต่อกันในคนหมู่มากหรือจากที่ทำงาน โรงเรียน หรือในครอบครัว มักจะหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์
2. ตาแดงจากเชื้อแบคทีเรีย จะมีขี้ตาเป็นสีเขียวหรือสีเหลือง อาจเป็นตาเดียวหรือสองตาก็ได้ ติดต่อกันได้เช่นกัน แต่จะระบาดน้อยกว่าตาแดงจากเชื้อไวรัส และ 3.ตาแดงจากโรคภูมิแพ้ จะมีอาการคันตามาก น้ำตาไหล อาจมีขี้ตาขาวหรือเหนียว หนังตาบวม มักมีประวัติเป็นๆ หายๆ อาจมีสาเหตุของการแพ้ชัดเจนหรือมีอาการแพ้ของร่างกายส่วนอื่น เช่น หอบหืดร่วมด้วย เป็นต้น
โดยทั่วไปโรคตาแดงมักไม่ทำให้ปวดตามาก หรือตามัว ดังนั้น หากคนที่เป็นตาแดงแล้วมีอาการปวดตา ตาแดงมาก ตามัว หรือมองสู้แสงไม่ได้ ควรรีบพบจักษุแพทย์ เนื่องจากอาจเป็นโรคอื่น เช่น ต้อหิน ม่านตาอักเสบ ซึ่งถ้ารักษาช้าอาจเกิดความพิการอย่างถาวรของตาได้
สำหรับการป้องกันโรคตาแดงนั้นสามารถทำได้โดย
1. ไม่ใช้มือสัมผัสตา
2. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แว่นตา เครื่องสำอาง
3. ไม่สัมผัสมือหรือตาผู้ป่วย
4. หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งที่เผลอถูกตา รวมทั้งก่อนและหลังหยอดตา
ส่วนการรักษานั้นหากเกิดจากเชื้อไวรัส มักจะหายได้เอง 1-2 สัปดาห์ แต่การประคบเย็นที่ตาจัช่วยให้สบายตาขึ้น หรือใช้ยาหยอดตากลุ่มยาต้านฮีสตามีน เมื่อมีอาการวันละ 3-4 ครั้ง ช่วยลดอาการระคายเคืองตา ถ้าเริ่มมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ ให้หยอดยาปฏิชีวนะเช่นเดียวกับตาแดงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย โดยเมื่อหยอดยา 2 ชนิดพร้อมกันจะต้องทิ้งช่วงห่างประมาณ 5 นาที เพื่อไม่ให้ยาล้างกันออกก่อนซึมเข้าตา ที่สำคัญไม่ควรหยดยาที่มีสเตียรอยด์ เพราะจะทำให้หายช้า และอาจมีการติดเชื้ออื่นแทรกซ้อร
โรคตาแดงจากเชื้อปฏิชีวนะ ควรทำความสะอาดตา ขี้ตา และใช้ยาหยอดตาที่มียาปฏิชีวนะวันละ 4 ครั้งจนไม่มีขี้ตา แต่ต้องระวังการแพ้ยา โดยหากมีอาการหนังตาบวมแดง ให้หยุดยาและรีบนำยามาปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรว่าเกิดจากการแพ้ยาหรือไม่ ถ้าใช่ต้องจดจำชื่อยาที่แพ้ไว้ เพื่อเลี่ยงการหยอดตานั้นในครั้งต่อไป นอกจากนี้ เมื่อเป็นโรคตาแดงแล้ว สิ่งที่ควรปฏิบัติก็คือ
1. ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังสัมผัสน้ำตา ขี้ตา รวมทั้งก่อนและหลังหยอดยา
2. พักผ่อนให้เพียงพอ
3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้อื่นเป็นเวลา 7 วันหลังมีอาการเพื่อลดการแพร่เชื้อ
4. ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น
5. ไม่แนะนำให้ใช้ผ้าปิดตาเพราะจะยิ่งทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้มากขึ้น
และ 6. เปลี่ยนปลอกหมอนทุกวัน
ข้อควรรู้ ***ตาแดงอย่างไรอันตราย!***
โรคตาแดงเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และจากโรคภูมิแพ้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงถึงขั้นตาบอด ข้อสังเกตคือเมื่อเป็นตาแดงจะต้องไม่มีอาการตามัวลง แต่ถ้ามีอาการตาแดงร่วมกับการมองเห็นลดลงหรือตามัว ให้ระวังว่าอาจเกิดจากโรคตาที่อันตราย ถ้ามีอาการดังนี้แล้วมีขี้ตา อาจเกิดจากการเป็นหนองที่กระจกตา หรือการติดเชื้อรุนแรงในลูกตา ถ้าไม่มีขี้ตาอาจเกิดจากกระจกตาอักเสบหรือม่านตาอักเสบ ดังนั้น หากมีอาการดังกล่าวต้องรีบไปพยจักษุแพทย์
นอกจากนี้ ภาวะตาแดงอาจเกิดจากเลือดออกใต้เยื่อบุตาขาว มักเกิดจากการเผลอไปขยี้ตา อาจเพิ่งสังเกตเห็นในตอนตื่นนอนลักษณะตาเป็นปื้นสีแดงสดที่บริเวณตาขาว ไม่มีอันตราย เลือดจะไม่เข้าตาดำ ไม่ทำให้ตามัวและไม่ติดต่อกัน แนะนำว่าอย่าขยี้ตา อาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบตาวันละ 10 นาที เลือดมักค่อยๆ จางและหายสนิทใน 10-14 วัน
ขอบคุณข้อมูลจากคู่มือสุขภาพตาดีสำหรับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ จัดทำโดยภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย