เด็กคลอดก่อนกำหนดสุดเสี่ยงตาบอด หลังพบตาบอดในเด็กไทยเกิดจากโรคจอตาในทารกคลอดก่อนกำหนดถึง 66% ที่เหลือเกิดจากตาพร่ามัวแต่ไม่ยอมแก้ไข จี้ควบคุมโรคจอตา โดยเฉพาะเด็กสายตาผิดปกติต้องพบจักษุแพทย์ เพื่อแก้ไขก่อนสายเกินไป หวังลดอัตราตาบอดตามเป้าหมาย WHO
วันนี้ (10 ต.ค.) ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวโครงการลดอัตราตาบอดในด็กไทย : Better Sight for Child ว่า สภาวะตาบอด สายตาเลือนราง รวมถึงโรคตาเป็นปัญหาสาธารณสุขในไทย ซึ่งจากการสำรวจในปี 2549-2550 พบว่า คนไทยมีความชุกของตาบอดร้อยละ 0.59 สายตาเลือนรางร้อยละ 1.57 โดยโรคที่เป็นสาเหตุของตาบอดที่สำคัญมี 5 โรค ได้แก่ ต้อกระจก ต้อหิน โรคของจอตา โรคที่ทำให้ตาบอดในเด็ก และโรคของกระจกตา กรมการแพทย์จึงจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านจักษุวิทยา โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสภาวะตาบอดและสายตาเลือนรางของประชากร
ด้าน นพ.สรศักดิ์ โล่ห์จินดารัตน์ รองผู้อำนวยการ รพ.เด็ก กล่าวว่า อัตราความชุกของสภาวะตาบอดในเด็กไทยอายุ 1-14 ปี คิดเป็นร้อยละ 0.11 เป็นอัตราที่สูงกว่าประมาณการขององค์การอนามัยโลกร้อยละ 0.07 ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกตั้งเป้าว่าในปี 2563 อัตราตาบอดของเด็กในทุกประเทศจะไม่ควรเกินร้อยละ 0.04 อย่างไรก็ตาม พบว่า สาเหตุของตาบอดในเด็กไทยเกิดจากโรคจอตาในทารกคลอดก่อนกำหนดร้อยละ 66.66 และตามัวที่เกิดจากภาวะสายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไข ร้อยละ 33.33 ดังนั้น การที่จะลดอัตราความชุกของสภาวะตาบอดในเด็กไทย ต้องมุ่งเน้นการควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญ คือ โรคจอตา ในทารกคลอดก่อนกำหนด และภาวะสายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไข โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กที่มีปัญหาภาวะสายตาผิดปกติให้ได้รับการวินิจฉัยจากจักษุแพทย์และได้รับแว่นตาอันแรกที่เหมาะสม เพื่อลดอัตราการตาบอดในอนาคต
พญ.ขวัญใจ วงศ์กิตติรักษ์ หัวหน้ากลุ่มงานจักษุวิทยา รพ.เด็ก กล่าวว่า การวินิจฉัยและรักษาภาวะสายตาผิดปกติไม่ยุ่งยาก แต่มีปัญหาที่ขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์ที่จะทำหน้าที่คัดกรองและส่งต่อสถานพยาบาลเพื่อรับการตรวจและวัดสายตาประกอบแว่นที่ได้มาตรฐาน
วันนี้ (10 ต.ค.) ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวโครงการลดอัตราตาบอดในด็กไทย : Better Sight for Child ว่า สภาวะตาบอด สายตาเลือนราง รวมถึงโรคตาเป็นปัญหาสาธารณสุขในไทย ซึ่งจากการสำรวจในปี 2549-2550 พบว่า คนไทยมีความชุกของตาบอดร้อยละ 0.59 สายตาเลือนรางร้อยละ 1.57 โดยโรคที่เป็นสาเหตุของตาบอดที่สำคัญมี 5 โรค ได้แก่ ต้อกระจก ต้อหิน โรคของจอตา โรคที่ทำให้ตาบอดในเด็ก และโรคของกระจกตา กรมการแพทย์จึงจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านจักษุวิทยา โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสภาวะตาบอดและสายตาเลือนรางของประชากร
ด้าน นพ.สรศักดิ์ โล่ห์จินดารัตน์ รองผู้อำนวยการ รพ.เด็ก กล่าวว่า อัตราความชุกของสภาวะตาบอดในเด็กไทยอายุ 1-14 ปี คิดเป็นร้อยละ 0.11 เป็นอัตราที่สูงกว่าประมาณการขององค์การอนามัยโลกร้อยละ 0.07 ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกตั้งเป้าว่าในปี 2563 อัตราตาบอดของเด็กในทุกประเทศจะไม่ควรเกินร้อยละ 0.04 อย่างไรก็ตาม พบว่า สาเหตุของตาบอดในเด็กไทยเกิดจากโรคจอตาในทารกคลอดก่อนกำหนดร้อยละ 66.66 และตามัวที่เกิดจากภาวะสายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไข ร้อยละ 33.33 ดังนั้น การที่จะลดอัตราความชุกของสภาวะตาบอดในเด็กไทย ต้องมุ่งเน้นการควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญ คือ โรคจอตา ในทารกคลอดก่อนกำหนด และภาวะสายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไข โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กที่มีปัญหาภาวะสายตาผิดปกติให้ได้รับการวินิจฉัยจากจักษุแพทย์และได้รับแว่นตาอันแรกที่เหมาะสม เพื่อลดอัตราการตาบอดในอนาคต
พญ.ขวัญใจ วงศ์กิตติรักษ์ หัวหน้ากลุ่มงานจักษุวิทยา รพ.เด็ก กล่าวว่า การวินิจฉัยและรักษาภาวะสายตาผิดปกติไม่ยุ่งยาก แต่มีปัญหาที่ขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์ที่จะทำหน้าที่คัดกรองและส่งต่อสถานพยาบาลเพื่อรับการตรวจและวัดสายตาประกอบแว่นที่ได้มาตรฐาน